320 likes | 547 Views
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ในเวทีการเงินโลกที่มีผลกับประเทศไทย. จันทวรรณ สุจริตกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เมษายน 255 2. หัวข้อการบรรยาย. ประวัติศาสตร์ของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ ความร่วมมือระดับโลก
E N D
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ในเวทีการเงินโลกที่มีผลกับประเทศไทย จันทวรรณ สุจริตกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เมษายน 2552
หัวข้อการบรรยาย • ประวัติศาสตร์ของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ • ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ • ความร่วมมือระดับโลก • ความร่วมมือระดับภูมิภาคและ อนุภูมิภาค
1. ประวัติศาสตร์ของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ เหตุการณ์สำคัญ • หลังสงครามโลกครั้งที่1(2473): ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2(2487): กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ ธนาคารโลก (World Bank) • วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย (2540): ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย
2. ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ • วัตถุประสงค์: เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมี 2 ระดับ คือ • ความร่วมมือระดับโลกอาทิ IMF World Bank และ BIS • ความร่วมมือระดับภูมิภาคหรือ อนุภูมิภาคอาทิอาเซียน+3 และธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (EMEAP) GMS ACMEC BIMSTEC
2. ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงิน รูปแบบความร่วมมือทางการเงิน • ความร่วมมือที่ไม่ได้มีความช่วยเหลือทางการเงิน - ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ (Surveillance eg.OECD) - ความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานสากล (Basle Core Principles) • ความร่วมมือเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ (Crisis resolution) - ความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน (Financial assistance eg IMF WB ADB) 3. ความร่วมมือที่เน้นการพัฒนา เช่น GMS ACMEC BIMS-TEC
3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ความเป็นมา • จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2485 • มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงินของโลก ผ่านระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ในช่วงแรก • บทบาทปัจจุบัน: ป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์ผ่านการสอดส่องดูแลภาวะเศรษฐกิจ และโดยให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก • ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 185 ประเทศ
3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลไกการป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ • การสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ: จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ • แบบทวิภาคี (Bilateral surveillance): Article IV Consultation • แบบพหุภาคี (Multilateral surveillance): - รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Report) - รายงานเสถียรภาพการเงินโลก (Global Financial Stability Report)
3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลไกการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ • การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน: ผ่านโครงการเงินกู้ (facility) ต่างๆ แก่ประเทศสมาชิกที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ - ประเทศที่กู้ยืมเงินภายใต้โครงการเงินกู้ของ IMF จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข (Program) ที่กำหนดโดย IMF - การกู้จากกองทุนการเงินฯมีลักษณะเป็นพันธะสัญญาที่ประเทศสมาชิกผู้กู้แสดงเจตจำนงต่อ IMF ว่าจะดำเนินนโยบายหรือมาตรการใด (conditionality) ในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent)
ร้อยละของโควตา 3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
3. ความร่วมมือระดับโลก: ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ความเป็นมา • ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2473 • มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายชำระค่าปฏิกรณ์สงครามของประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 • บทบาทปัจจุบัน: - ประสานงานระหว่างธนาคารกลางในการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริม เสถียรภาพการเงินระหว่างประเทศ - หน้าที่เป็นธนาคารสำหรับธนาคารกลางและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ • ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 55 ประเทศ
3. ความร่วมมือระดับโลก: ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) กลไกการป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ • การสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ: - Committee on the Global Financial System และ Markets Committee • การจัดทำมาตรฐานสากล: - Basel Committee on Banking Supervision อาทิ Basel Capital Accord (ปี 2531) Basel Core Principle (ปี 2540) และ New Basel Capital Accord หรือ Basel II (ปี 2549) - Committee on Payment and Settlement Systems อาทิ Core Principles for Systemically Important Payment Systems (ปี 2544)
3. ความร่วมมือระดับโลก: จุดอ่อนของ IMF • การดำเนินงานถูกชี้นำโดยประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้องค์การระหว่างประเทศเพื่อผลักดันผลประโยชน์ภายใน • เน้นการสอดส่องดูแลประเทศเล็ก ไม่ได้เข้มงวดจนเกิดวิกฤตในประเทศมหาอำนาจ • ยึดหลักกรอบแนวคิดเสรีนิยม ขาดประสบการณ์การผสมผสานการพัฒนาที่สมดุลระหว่างการเปิดเสรีแบบไม่มีข้อจำกัด และการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกติกา • เมื่อสมาชิกต้องการกู้ยืมเงิน กำหนดเงื่อนไขปฏิบัติที่ยึดหลักแนวคิดตะวันตก
4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: ความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาค จุดอ่อนของความร่วมมือระดับโลก แนวทางการแก้ไขโดยความร่วมมือระดับภูมิภาค • ถูกควบคุมโดยประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ • กระบวนการสอดส่องดูแลไม่มีประสิทธิภาพ • มาตรฐานสากลที่ไม่เหมาะสม • เงื่อนไขเข้มงวดเกินไป • วงเงินช่วยเหลือไม่เพียงพอ • เพิ่มบทบาทของเอเชีย • พัฒนากระบวนการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจในภูมิภาค • มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานสากล • ใช้กระบวนการสอดส่องแทน • จัดตั้งความช่วยเหลือทางการเงินในภูมิภาค
4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค:อาเซียน+3 ความเป็นมา • อาเซียน+3 หรือการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี • ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 • มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในภูมิภาค • มีสมาชิกจำนวน 13 ประเทศ
4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3 กลไกการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ • การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน: ผ่านแนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative - CMI) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือทางการเงินจากองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้ง IMF สำหรับประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน - ปัจจุบัน CMI มีวงเงินรวมจำนวน 120 พันล้านดอลลาร์ สรอ. - สามารถกู้ได้ 20 % แรกของวงเงินกู้รวมโดยไม่มีเงื่อนไขเหมือน IMF
4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3
4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: BIMSTEC กลไกการทำงานและการประชุม การประชุมระดับผู้นำเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่จะผลักดันให้ กรอบความร่วมมือมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนตามกระบวนการ Top-down เพื่อผลักดันกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ในระดับนโยบาย • การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) : เดิมมีการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำ 2 การประชุมด้วยกันต่อมาในการประชุมผู้นำครั้งที่ 1 ได้มีการเสนอจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาอื่นๆ • การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meeting) : ด้านการค้าและเศรษฐกิจ และด้านต่างประเทศ • การประชุมคณะทำงาน BIMSTEC (BIMSTEC Working Group) : เป็นการประชุมร่วมระหว่างอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกประจำประเทศไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group Meeting) : จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ • การประชุม Business Forum และ Economic Forum : เป็นการประชุมภายใต้สาขาการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามีส่วนร่วม
4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: BIMSTEC ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) ความเป็นมา • BIMSTEC เริ่มก่อตั้งครั้งแรกจากสมาชิก 4 ประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) • ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperationเมื่อพม่า เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมประชุมในฐานะสมาชิกใหม่BIMSTEC ได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันโดยใช้ตัวย่อเดิม วัตถุประสงค์ • ช่วยประสานนโยบาย Look West ของไทย เข้ากับนโยบาย Look East ของอินเดีย • ช่วยเน้นจุดยืนนโยบายต่างประเทศแบบ Forward Engagement ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรเดิม และบุกเบิกความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ • ความร่วมมือที่ประสานจุดแข็งของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันใน BIMSTEC ความร่วมมือ • 13 สาขา การค้าและการลงทุน การคมนาคมและการสื่อสาร พลังงาน การท่องเที่ยว เทคโนโลยี ประมง เกษตร สาธารณสุข การลดความยากจน การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ วัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน • ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 7 ประเทศ (บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฏาน)
4. ความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค • ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( Greater Mekong Subregion : GMS) • ADB ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือ 9 สาขา • ปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันอย่างชัดเจน • ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย (Ayeyawady-Chao Phraya- Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS หรือ ECS) - ดำเนินการระหว่างไทยและประเทศที่มีชายแดนติดกันเพื่อแก้ปัญหาอันเกิดจากความ แตกต่างระดับการพัฒนา โดยดำเนินความร่วมมือ 5 สาขา การอำนวยความสะดวกด้าน การค้าการลงทุน ความร่วมมือด้านเกษตร-อุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ Sister City เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า การ • ท่องเที่ยวระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรม • ที่ใช้แรงงานและใช้วัตถุดิบจากไทยไปสู่เพื่อนบ้าน
4. ความเป็นมา GMS • เริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่ปี 2535 โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) สนับสนุนทางวิชาการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง • มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณพื้นที่ของยุโรปตะวันตก • มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน • อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ • เป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาค เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
MyanmarArea 679 thou sq km Pop 47.4 MillionGDP per Capita US$320 LaosArea 237 thou sq km Pop 6.4 MillionGDP per Capita US$410 VietnamArea 330 thou sq km Pop 84.4 MillionGDP per Capita US$480 YunnanArea 394 thou sq km Pop 44.5 MillionGDP per Capita US$957 ThailandArea 514 thou sq km Pop 65 MillionGDP per Capita US$2,240 CambodiaArea 181 thou sq km Pop 13.9 MillionGDP per Capita US$320 All GMS CountriesArea 2.3 mil sq km Pop 261.6 Million 4. โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงGreater Mekong Sub-regional Economic Cooperation (GMS-EC) YUNNAN Note : Area, Pop = 2006 data GDP per Capita = 2003 data Yunnan data = 2005 data Source : CIA, ADB, CEIC
Source : ADB 4. โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงGreater Mekong Sub-regional Economic Cooperation (GMS-EC) สมาชิก - ประกอบด้วย 6 ประเทศ : ไทย สหภาพพม่า สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม มณฑลยูนนาน - เมื่อเดือนธันวาคม 2547 เขต ปกครองตนเองกวางสีได้เข้ามา เป็นสมาชิกใหม่
Myanmar South China Sea Lao PDR Thailand Vietnam Andaman sea Cambodia Siam Gulf 4. ACMECS สมาชิก : กัมพูชา สปป.ลาว สหภาพพม่า ไทยและ เวียดนาม ประชากร : 213 ล้านคน พื้นที่ : 1.94 ล้านตร.กมเริ่มก่อตั้ง : 2546
4. ทำไมต้องมี ACMECS? Korea Afghanistan China Japan Pakistan Bangladesh India Myanmar Laos Thailand Vietnam Philippines Cambodia Sri Lanka Malaysia Brunei Singapore Indonesia Existing Forum --- GMS/BIMSTEC/IMT-GT/JDS
4. ความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ประกอบด้วย 5 สาขาสำคัญ • การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุน • การพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม • การส่งเสริมการท่องเที่ยว • การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่กำลังเป็นที่จับตามอง กลุ่มประเทศอุตสาหรรม G7 และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ หรือกลุ่ม G 20 สมาชิก อาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมณี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป การก่อตั้ง เริ่มก่อตั้งในปี 2542 (ปี 1999) ในการประชุมที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศ เยอรมัน
4. G 20 industrial nations การประชุม • 1999: Berlin, Germany • 2000: Montreal, Canada • 2001: Ottawa, Canada • 2002: Delhi, India • 2003: Morelia, Mexico • 2004: Berlin, Germany • 2005: Beijing, China • 2006: Melbourne, Australia • 2007: Cape Town, South Africa • 2008: São Paulo, Brazil • 2008: Washington, D.C., United States • 2009: London, United Kingdom
สรุป ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ • การดำเนินงาน:เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย หลายประเทศ การดำเนินงานและการประสานงานอาจจะไม่ได้รวดเร็วนัก • ประโยชน์: - เป็นเวทีปรึกษาหารือเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจประสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของกันและกัน ในการช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ - มีกลไกช่วยเหลือที่ดีขึ้นในกรณีที่ประเทศประสบปัญหา มีทางเลือกในการกู้ยืมเงิน นอกจากตลาดทุนเอกชนที่อาจจะประสบปัญหา credit crunch เช่นในปัจจุบัน
สรุป ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ Q & A