1 / 33

หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต. จัดทำโดย. นางสาวจุฬาพรรณ จอมศิลป์ เลขที่ 10ก นางสาว ชนิ กานต์ เผื่อนพินิจ เลขที่ 11ก นางสาว ณัฏฐ ฤทธิ์ตา สุขสำราญ เลขที่ 13ก นายจิรากร ไพชยนต์วิจิตร เลขที่ 8ข นางสาวสุรีฉาย สุขเกษม เลขที่ 18ข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6.

hafwen
Download Presentation

หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

  2. จัดทำโดย • นางสาวจุฬาพรรณ จอมศิลป์ เลขที่ 10ก • นางสาวชนิกานต์ เผื่อนพินิจ เลขที่ 11ก • นางสาวณัฏฐฤทธิ์ตา สุขสำราญ เลขที่ 13ก • นายจิรากร ไพชยนต์วิจิตร เลขที่ 8ข • นางสาวสุรีฉาย สุขเกษม เลขที่ 18ข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6

  3. 1. หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต โดยปกติเมื่อสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ตายลงก็มักจะถูกย่อยสลายให้เน่าเปื่อยผุพังลงจนไม่มีซากเหลืออยู่ แต่สำหรับบางสภาวะที่ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของซากสิ่งมีชีวิตได้ดี เช่น การอยู่ในน้ำแข็ง การอยู่ในยางไม้ (อำพัน) หรือการฝังตัวอยู่ในดินโคลนจนกลายเป็นหินจะทำให้สิ่งมีชีวิตที่ตายลงยังคงเหลือให้เห็นเป็นซากดึกดำบรรพ์ (fossil)

  4. ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้เราทราบว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตมากมายที่เกิดขึ้นในอดีต หลายชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์ และส่วนใหญ่ที่มีชีวิตอยู่ก็มีสัณฐานเปลี่ยนแปลงไป

  5. ซากดึกดำบรรพ์จะพบมากในหินชั้นหรือหินตะกอน นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณอายุของซากดึกดำบรรพ์ได้จากอายุของชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหินชั้นล่างย่อมมีอายุมากกว่าซากที่พบในหินชั้นบน และเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างแล้วซากดึกดำบรรพ์ในหินชั้นบนจะมีความซับซ้อนและมีโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมากกว่า

  6. ภาพแสดงชั้นหินตามระยะเวลาภาพแสดงชั้นหินตามระยะเวลา

  7. อย่างไรก็ตามซากดึกดำบรรพ์เป็นเพียงหลักฐานหนึ่งเท่านั้นที่สามารถนำมาใช้อธิบายการเกิดวิวัฒนาการ เพราะซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบอาจไม่สมบูรณ์จึงให้รายละเอียดได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นการเข้าใจถึงวิวัฒนาการจึงต้องใช้หลักฐานอื่นมาสนับสนุนเพิ่มเติม

  8. ซากดึกดำบรรพ์ของม้าที่แตกต่างกันในยุคต่างๆ ทำให้สามารถอธิบายถึงวิวัฒนาการของม้าจากอดีตถึงปัจจุบันได้

  9. ซากดึกดำบรรพ์ของอาร์คีออปเทอริกซากดึกดำบรรพ์ของอาร์คีออปเทอริก

  10. หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบหลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ

  11. 18.1.2หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ18.1.2หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของระบบอวัยวะใน สัตว์ชนิดต่างๆ สัตว์ มีกระดูกสันหลังจำพวกสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต่างมีแบบแผนของโครงกระดูกขาหน้าเช่นเดียวกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์ปีก เช่น ครีบโลมา ปีก ค้างคาวและแขนคน เป็นต้น อวัยวะเหล่านี้เมื่อสังเกตภายนอกจะเห็นว่ามีรูปร่าง ต่างกัน และทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าศึกษาโครงสร้างภายใน จะพบการเรียงตัวของโครงสร้างคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนอีกอย่างว่าครั้งหนึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น สืบสายมาจาก บรรพบุรุษร่วมกันแต่ในสัตว์หลายชนิดที่มีอวัยวะบางอย่างที่มีรูปร่างภายนอก คล้ายคลึงกัน และทำหน้าที่เหมือนกัน เช่น ปีกนก ปีกแมลง ฯลฯ แม้จะมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าได้ศึกษาโครงสร้างภายในและพบว่าแตกต่างกันแสดงว่าสัตว์เหล่านั้นสืบทอดมาจากบรรพบุรุษต่างกัน

  12. 18.1.2.1 homologous structure  สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะภายนอกแตกต่างกัน และไม่น่าจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่เมื่อศึกษาโครงสร้างโดยพิจารณารยางค์คู่หน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลังบาง ชนิดแล้วนำมาเปรียบเทียบกันจะพบว่ามีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่แตกต่างกันในการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเรียก โครงสร้างลักษณะนี้ว่า ฮอมอโลกัส(homologous structure) ซึ่งเป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มนี้มีวิวัฒนาการมา จากบรรพบุรุษเดียวกัน กายวิภาคเปรียบเทียบของแขนคน ขาแมว รยางค์คู่หน้าของวาฬและปีกค้างคาว

  13. 18.1.2.2analogous structure ในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะที่ทำหน้าที่เหมือนกัน เช่น ปีกแมลง และปีกนก หากพิจารณาถึงโครงสร้างกายวิภาคจะพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน เราเรียกโครงสร้างที่มีลักษณะต่างกันแต่ทำหน้าที่เหมือนกันนี้ว่า อะนาโลกัส (analogous structure) ปีแมลง ปีกนก กายวิภาคเปรียบเทียบของปีกแมลงและปีกนก

  14. หลักฐานจากวิทยาเอ็มบริโอเปรียบเทียบหลักฐานจากวิทยาเอ็มบริโอเปรียบเทียบ

  15. Comparative embryology • เฮคเกล (Haekel) เป็นผู้ศึกษาหลักฐานทางด้านนี้ เรียกว่า ทฤษฎีการย้อนลักษณะ(Theory of Recapitulation) กล่าวว่า ในการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอลักษณะของเอ็มบริโอในขั้นต่างๆจะเป็นการย้อนรอยหรือทบทวนสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของ บรรพบุรุษ •  ในบางกรณีที่ไม่สามารถ ศึกษากายวิภาคเปรียบเทียบในระยะตัวเต็มวัยได้ แต่เมื่อศึกษาการเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอแล้ว พบว่าใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้

  16. ภาพกายวิภาคเปรียบเทียบของ embryo สัตว์มีกระดูกสันหลัง • (ที่มาภาพ : http://biology.kenyon.edu/slonc/bio3/comparative_embryo.jpg)

  17. ภาพเพรียงหัวหอมระยะตัวเต็มวัย (a,b) และตัวอ่อน (c) • (ที่มาภาพ : http://kentsimmons.uwinnipeg.ca/16cm05/1116/34-03-Tunicate-L.jpg)

  18. ภาพเปรียบเทียบตัวอ่อนของหนูกับตัวอ่อนของเพรียงหัวหอมภาพเปรียบเทียบตัวอ่อนของหนูกับตัวอ่อนของเพรียงหัวหอม • (ที่มาภาพ : http://evolution.berkeley.edu/evosite/history/images/notochords.jpg)

  19. ภาพให้เห็นแบบแผนการเจริญของเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังพบว่าคล้ายกัน คือ ขณะเป็นตัวอ่อนจะมีช่องเหงือก (gill slits) น่าจะวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน • (ที่มาภาพ : http://www.sc.chula.ac.th/courseware/naturev2/ppt/5.pps#)

  20. หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลหลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล

  21. ในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ก้าวหน้าไปมาก นับตั้งแต่ที่เมนเดลได้จุดประกายการศึกษาสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต และจุดเปลี่ยนสำคัญที่ เจมส์ วัตสัน (James Watson)และฟรานซิสคริก(Francis Crick) ได้ค้นพบโครงสร้างสามมิติของดีเอ็นเอ ในปี พ.ศ.2496

  22. ความรู้ทางพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการศึกษาสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอก็ก้าวหน้านับแต่นั้นมา สิ่งมีชีวิตพื้นฐานทุกชนิดมีดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม (ยกเว้นไวรัสบางชนิด)

  23. ความเหมือนหรือความแตกต่างของลำดับเบสในดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดสามารถใช้บ่งชี้ถึงความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ กล่าวคือสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดกันเชิงวิวัฒนาการจะมีความเหมือนกันของดีเอ็นเอมากกว่าสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น

  24. และเนื่องจากโปรตีนเป็นผลิตภัณฑ์จากรหัสของ ดีเอ็นเอ ดังนั้นจึงอาจใช้การศึกษาเปรียบเทียบความต่างของโปรตีนในการเปรียบเทียบความต่างของยีนในสิ่งมีชีวิตเพื่อศึกษาวิวัฒนาการได้เช่นกัน

  25. ตารางแสดงไซโทโครม ซี ซึ่งเป็นโปรตีนตัวสำคัญที่ช่วยในการหายใจระดับเซลล์ พบในไมโทคอนเดรีย

  26. ตัวอย่างเช่น ความต่างของลำดับเบสในไซโทโครม ซี ของมนุษย์ (human_cytc) และลิงชิมแพนซี (chimp_cytc) ซึ่งมีเบสต่างกันเพียง 4 ตัว จาก 318 เบส หรือคิดเป็นความแตกต่าง 1.2% แสดงว่ามนุษย์และลิงชิมแพนซีน่าจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในเชิงวิวัฒนาการ

  27. ตารางแสดงจำนวนกรดอะมิโนของสิ่งมีชีวิตซึ่งเปรียบเทียบจากมนุษย์ตารางแสดงจำนวนกรดอะมิโนของสิ่งมีชีวิตซึ่งเปรียบเทียบจากมนุษย์

  28.  หลักฐานทางชีวะภูมิศาสตร์ หลักฐานทางชีวะภูมิศาสตร์

  29. ชาร์ลส์ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ทำการศึกษานกฟินซ์บนเกาะ กาลาปากอสมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศเอกวาดอร์

  30. ดาร์วินมีความสนใจในการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในแต่ละภูมิภาคอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางสำรวจหมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands) ซึ่งก่อตัวจากภูเขาไฟใต้น้ำ ตั้งอยู่บริเวณศูนย์สูตร ห่างจากชายฝั่งทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ประมาณ 900 กิโลเมตร ที่นั่นดาร์วินพบสิ่งมีชีวิตรูปร่างแปลกๆ ที่ไม่เคยเจอที่ใดในโลก

  31. สายพันธุ์ของนกฟินซ์

  32. จบแล้ว...ขอบคุณค่ะ

More Related