170 likes | 300 Views
การเสนอขอบรรจุหลักสูตรใหม่และการจัดตั้งคณะใหม่. เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 11 (2555-2559). งานวางแผนและประเมินผล กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1. นโยบายด้านการศึกษาตามแผนพัฒนาอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 11(2555-2559).
E N D
การเสนอขอบรรจุหลักสูตรใหม่และการจัดตั้งคณะใหม่การเสนอขอบรรจุหลักสูตรใหม่และการจัดตั้งคณะใหม่ เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 11 (2555-2559) งานวางแผนและประเมินผล กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. นโยบายด้านการศึกษาตามแผนพัฒนาอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 11(2555-2559)
1.1 ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านการจัดการศึกษา (หลักสูตร) มหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญลำดับสูงแก่หลักสูตรที่มีลักษณะ ดังนี้ • หลักสูตรที่เป็นการผลิตร่วมกันระหว่างคณะต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคการผลิตจริง ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะเป็นเจ้าภาพสนับสนุนเพื่อให้เกิดหลักสูตรลักษณะดังกล่าว • หลักสูตรใหม่ของคณะต่างๆ ที่นำเสนอและมีกระบวนการกลั่นกรอง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (TQF) • จำนวนรับนักศึกษา กำหนดจำนวนรับนักศึกษาทั้งหมด มีจำนวนไม่เกิน 45,000 คน โดยเพิ่มจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและเพิ่มจำนวนนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพให้สูงขึ้น • คณาจารย์เพิ่มจำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ตำแหน่งศาสตราจารย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ3 และจำนวนอาจารย์ชาวต่างชาติไม่ต่างกว่าร้อยละ 5
โดยตามแผนพัฒนาอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอแก่นฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) มีหลักเกณฑ์การพิจารณาหลักสูตรใหม่ ดังนี้ • สนับสนุนการเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการทำวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เผยแพร่ผลงาน (ปริญญาเอก และปริญญาโท แผน ก) • สนับสนุนการเปิดหลักสูตรลักษณะพหุสาขาวิชา ที่สอดรับการพัฒนาประเทศซึ่งอาจเป็นหลักสูตรร่วม/บูรณาการ ระหว่างสาขาวิชาหรือหลักสูตรร่วมระหว่างคณะ • สนับสนุนการเปิดหลักสูตรนานาชาติ • สนับสนุนการเปิดหลักสูตรที่ดำเนินการร่วมกับภาคการผลิตจริง • หลักสูตรใหม่ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบคุณภาพมาตรฐานของหลักสูตร ตลอดจนมีระยะเวลาการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดรับนักศึกษา
1.2 การขอบรรจุหลักสูตรใหม่ ประกาศ/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อ มาตรฐานการศึกษาอุดมศึกษา • ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 • ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 • หนังสือที่ ศธ 0506(2)/ว569 ลงวันที่ 18 เมษายน 2549 เรื่อง การกำหนดจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 • ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา
1.2.1 การขอบรรจุหลักสูตรระดับปริญญาตรี ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น ซึ่งมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่า 5 คน และในจำนวนนั้นต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้ อาจารย์ประจำในแต่ละหลักสูตรจะเป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มี จำนวน 1-2 คน โดยต้องเป็น ผู้มีคุณวุฒิปริญญาโทอย่างน้อย 1 คน
1.2.2 การขอบรรจุหลักสูตรระดับปริญญาโท ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน โดยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ นอกจากนี้อาจารย์ประจำหลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใดเท่านั้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จำนวนอย่างน้อย 3 คน
1.2.3 การขอบรรจุหลักสูตรระดับปริญญาเอก ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน โดยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ นอกจากนี้อาจารย์ประจำหลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใดเท่านั้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จำนวนอย่างน้อย 3 คน
1.2.4 การขอบรรจุหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน โดยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ นอกจากนี้อาจารย์ประจำหลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใดเท่านั้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จำนวนอย่างน้อย 3 คน *คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนให้เป็นไปตามระดับปริญญาโทโดยอนุโลม
1.2.5 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 ไว้ดังนี้ • อาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับปริญญาตรีหรือในระดับบัณฑิตศึกษา ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาได้กำหนดให้อาจารย์ประจำผู้ใดเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งแล้ว สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนด ให้อาจารย์ประจำผู้นั้นเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) ได้อีก 1 หลักสูตร โดยต้องเป็นหลักสูตรที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่ได้ประจำอยู่แล้ว 2. สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาได้กำหนดให้อาจารย์ประจำผู้ใดเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งแล้ว สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้อาจารย์ประจำผู้นั้นเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโทในสาขาวิชาเดียวกันได้อีก 1 หลักสูตร
1.2.6 ขั้นตอนและวิธีการเสนอหลักสูตรใหม่
1.3 การเสนอขอบรรจุโครงการจัดตั้งคณะใหม่ ประกาศ/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2555 • ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 1231/2555) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งและยุบเลิกหน่วยงานในกำกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.3.1ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านการจัดการศึกษา (การปฏิรูปโครงสร้างและจัดตั้งหน่วยงานใหม่) การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ในระดับคณะ/หน่วยงานเทียบเท่าและในระดับที่ต่ำกว่าคณะ/หน่วยงานเทียบเท่า ต้องมีระบบและกลไกที่มีหลักประกันอย่างชัดเจนว่าจะสามารถบริหารงานได้อย่างดีมีประสิทธิภาพมีส่วนเพิ่มหรือเสริมสร้างศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้นมีกระบวนการกลั่นกรองและสนับสนุนการจัดตั้งเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ก่อปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในการบริหารจัดการองค์กร หน่วยงานใหม่ในระดับคณะสามารถเพิ่มขึ้นได้ตามความจำเป็น มีการกลั่นกรองอย่างเป็นระบบโดยให้จัดตั้งเป็นองค์กรในกำกับ และมีกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดดำเนินการไม่น้อยกว่า 1 ปี
1.3.2 แนวทางการจัดตั้งองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วย หน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2555 ข้อ 6 หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น ต้องมีวัตถุประสงค์หลัก ดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน 2. เป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างรายได้จากศักยภาพของตนเอง หรือดำเนินการเพื่อสังคมเป็นหลัก 3. มีระบบการบริหารที่เป็นอิสระจากระบบราชการ มีความคล่องตัว สามารถวางระบบบริหารจัดการหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล นอกจากนี้ยังมีแนวทางการจัดตั้งตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 1231/2555) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งและยุบเลิกหน่วยงานในกำกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.3.3 ขั้นตอนและวิธีการเสนอโครงการจัดตั้งคณะใหม่
2. สรุปการขอบรรจุหลักสูตรใหม่และการจัดตั้งคณะใหม่ คณะ/หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบที่จะขอบรรจุหลักสูตรใหม่และจัดตั้งคณะใหม่ไว้ใน แผนพัฒนาอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอแก่นฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) จะต้องจัดทำรายละเอียดตามแบบฟอร์มที่กำหนด ดังนี้ • แบบฟอร์มการขอบรรจุหลักสูตรใหม่ • แบบฟอร์มการจัดตั้งคณะใหม่