1 / 14

คู่มือปฏิบัติโครงการ ลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร

คู่มือปฏิบัติโครงการ ลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร. กลุ่มแก้ไขปัญหาหนี้สินสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สำนักพัฒนาระบบการบริหารการจัดการสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ โทร. 0 2282 5848. 1.เจตนารมณ์ของการดำเนินโครงการ. 2.หลักการ. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 บาทต่อปี. ฟื้นฟูอาชีพ.

gyula
Download Presentation

คู่มือปฏิบัติโครงการ ลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คู่มือปฏิบัติโครงการลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรคู่มือปฏิบัติโครงการลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแก้ไขปัญหาหนี้สินสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สำนักพัฒนาระบบการบริหารการจัดการสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ โทร. 0 2282 5848

  2. 1.เจตนารมณ์ของการดำเนินโครงการ1.เจตนารมณ์ของการดำเนินโครงการ

  3. 2.หลักการ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 บาทต่อปี ฟื้นฟูอาชีพ • ลดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 บาทต่อปีให้กับเกษตรกรสมาชิกที่มาชำระหนี้ต้นเงินกู้คงค้างทั้งหมดหรือบางส่วน และดอกเบี้ยประจำปีให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร โดยรัฐจะเป็นผู้รับภาระจ่ายดอกเบี้ยในส่วนที่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรลดให้กับสมาชิกแทน • สนับสนุนให้เกษตรกรสมาชิกของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการลดภาระหนี้ ให้สามารถฟื้นฟูอาชีพเดิม หรือประกอบอาชีพใหม่หรือสร้างแหล่งรายได้เสริม เพื่อให้กลับมาประกอบอาชีพอย่างมั่นคง มีรายได้เพียงพอที่จะดำรงชีพอยู่ได้อย่างพอเพียง และเพิ่มขีดความ สามารถในการชำระหนี้

  4. 3.เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ3.เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ • เป็นสมาชิกของสหกรณ์ภาคเกษตร ได้แก่สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สำหรับ สหกรณ์เครดิตยูเนียนเฉพาะสมาชิกที่เป็นเกษตรกร และสมาชิกกลุ่มเกษตรกร • มีหนี้เงินกู้แต่ละราย รวมทุกสัญญา ไม่เกิน 100,000 บาททั้งที่เข้าร่วมโครงการปีที่ 1 และปีที่ 2 • เกษตรกรสมาชิกที่เป็นหนี้เงินกู้ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2551 สำหรับปีที่ 1 และเกษตรกรรายเดิมที่ขอกู้เงินอีกครั้งต้องอยู่ในระยะเวลาของโครงการ • เกษตรกรสมาชิกต้องชำระหนี้ต้นเงินกู้คงค้างทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรถึงจะได้รับสิทธิการลดดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อปี ตามสัดส่วนของต้นเงินกู้คงค้างที่ชำระ • เกษตรกรสมาชิกต้องยืนยันว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ

  5. 4.แนวปฏิบัติของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร4.แนวปฏิบัติของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร • 4.1 กิจกรรมการลดภาระหนี้ 1.สำรวจสมาชิกที่ได้รับสิทธิ ส่งให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทราบและตรวจสอบ 4.ทำหนังสือขอเบิกเงิน 2.สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิก ร้อยละ 3 บาทต่อปี 5.ออกใบเสร็จรับเงินชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อปีให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด 3.ออกใบเสร็จรับเงินชำระหนี้จากสมาชิก 6.การกู้ใหม่ภายในระยะเวลาของโครงการ ฯ

  6. ขั้นตอนที่ 1 : การสำรวจสมาชิก • สำรวจสมาชิกที่ได้รับสิทธิแล้วแจ้งชื่อ พร้อมยอดหนี้ต้นเงินกู้คงค้าง อัตราดอกเบี้ย วันที่กู้และวันครบกำหนดสัญญาเงินกู้ พร้อมทั้งประมาณการจำนวนเงินที่จะต้องลดดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อปีให้กับสมาชิกพร้อมรับรองรายชื่อดังกล่าว ส่งให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทราบและตรวจสอบ • ในครั้งแรกให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวบรวมแล้วรายงานภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 หากมีสมาชิกกู้เงินหลังจากวันที่ 31 สิงหาคม 2551 ให้ทยอยแจ้งให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทราบต่อไป • ทั้งนี้ต้องไม่เกิน หรือภายในวันที่ 1 ต.ค. 2551 ในรอบแรกและในรอบ 2 เกษตรกรรายเดิมที่ขอกู้เงินอีกครั้งต้องอยู่ในระยะเวลาของโครงการ อนึ่ง ขอให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแยกแผ่นลูกหนี้รายตัวของสมาชิกเฉพาะโครงการลดภาระหนี้เป็นการเฉพาะ หรือใช้ตรายางประทับตราว่า “โครงการลดภาระหนี้ปี 1 หรือ 2” เพื่อสะดวกในการลดภาระหนี้ให้กับสมาชิกในการชำระหนี้แต่ละครั้ง ขั้นตอนที่ 2

  7. ขั้นตอนที่ 2 : การลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิก *** เมื่อสมาชิกมาชำระหนี้ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรต้องลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิก ร้อยละ 3 บาทต่อปี ทันที *** 1. กรณีการรับชำระหนี้ที่เป็นหนี้ปกติที่ไม่ผิดสัญญาในรอบปีบัญชี หากชำระภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2551ถึง 30 กันยายน 2553ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิกได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาเงินกู้เช่น สมาชิกกู้เงิน ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2551 กำหนดชำระคืน 31มีนาคม 2552 หากสมาชิกมาชำระภายในเวลาตามสัญญา สามารถลดดอกเบี้ยให้สมาชิกได้ ตั้งแต่วันกู้ถึงวันชำระ ตัวอย่าง

  8. ขั้นตอนที่ 2 : การลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิก (ต่อ) 2. กรณีการรับชำระหนี้ที่ค้างชำระหรือหนี้ที่ผิดสัญญา สมาชิกจะได้รับสิทธิลดดอกเบี้ยไม่เกิน 1ปี ส่วนที่เกินจาก 1ปี สมาชิกต้องจ่ายดอกเบี้ยและค่าปรับ ตามปกติที่สหกรณ์คิด เช่น สมาชิกกู้เงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 กำหนดชำระ 31มีนาคม 2551แต่สมาชิกผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ หากสมาชิกมาชำระในวันที่ 1ตุลาคม 2551จะได้รับการลดดอกเบี้ยในระยะเวลาเพียง 1ปี คือตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2550ถึง วันที่ 1ตุลาคม 2551 ส่วนก่อนวันที่ 1ตุลาคม 2550 สมาชิกต้องเสียดอกเบี้ยและค่าปรับตามอัตราปกติตัวอย่าง

  9. ขั้นตอนที่ 2 : การลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิก (ต่อ) 3. กรณีสมาชิกชำระหนี้เพียงบางส่วน จะได้รับการลดดอกเบี้ย ตามสัดส่วนของต้นเงินที่ชำระจริงเท่านั้น ตัวอย่าง มีหนี้เงินกู้ 10,000 บาท สหกรณ์คิดดอกเบี้ย 10% แต่ชำระต้นเงินได้เพียง 5,000 บาท จะได้รับการช่วยเหลือลดดอกเบี้ย 3% จากต้นเงินที่ชำระได้เท่านั้น ขั้นตอนที่ 3

  10. ขั้นตอนที่ 3 : การออกใบเสร็จรับเงินชำระหนี้จากสมาชิก • ให้ระบุจำนวนเงินที่ลดดอกเบี้ยให้เกษตรกร อัตราร้อยละ 3บาทต่อปี ให้ชัดเจนในใบเสร็จรับเงิน ทั้งนี้ให้ถือว่าใบสำคัญของสหกรณ์ที่ลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิก เริ่มใช้ ณ วันที่ 1 ต.ค. 2551 เป็นต้นไป (หากสมาชิกมาชำระหนี้ก่อนวันที่ 1 ต.ค.2551 จะไม่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ย 3 บาทต่อปี ทั้งนี้ควรชี้แจงให้สหกรณ์เลื่อนการชำระหนี้ในช่วงเดือน ส.ค. 2551 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2551) และเริ่มการชำระหนี้ 1 ต.ค. 2551 เป็นต้นไป • หมายเหตุ ให้เลือกใช้เฉพาะที่มีรายการในแต่ละกรณี • การลงบัญชีลดดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อปี ให้ลงบัญชีในลักษณะตั้งกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นลูกหนี้รอการเรียกเก็บเงินสด

  11. ขั้นตอนที่ 4 : การทำหนังสือขอเบิกเงิน • ทำหนังสือขอเบิกเงิน พร้อมทั้งถ่ายเอกสารใบเสร็จรับเงิน เพื่อขอเบิกส่วนที่ลดดอกเบี้ยร้อยละ 3บาทต่อปี จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดได้ทันที ขั้นตอนที่ 5 : การออกใบเสร็จรับเงินชดเชยฯ • เมื่อได้รับเงินจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดให้ออกใบเสร็จรับเงินชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อปี ให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เพื่อใช้เป็นเอกสารใบสำคัญจ่ายเงิน และเป็นหลักฐานที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เพื่อรอ สตง. ตรวจสอบต่อไป ขั้นตอนที่ 6 : หากกู้ใหม่ภายในระยะเวลาของโครงการฯ • เมื่อสมาชิกรายเดิมที่ชำระหนี้แล้ว หากกู้ใหม่ภายในระยะเวลาของโครงการ ตั้งแต่ วันที่1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2553 จะได้รับสิทธิในการลดดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อปี อีก 1 ปี เป็นปีที่ 2 ตามหลักเกณฑ์เดิม แต่ต้องชำระหนี้เงินกู้ไม่เกิน วันที่ 30 กันยายน 2553 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ

  12. 4.แนวปฏิบัติของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร (ต่อ) • 4.2 กิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ เนื่องจากกิจกรรมการฟื้นฟูอาชีพ ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในปี งบประมาณ 2552 ดังนั้น ในชั้นนี้ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้สมาชิกที่ได้รับสิทธิในการลดดอกเบี้ย ยืนยันว่าจะเข้าร่วมกระบวนการฟื้นฟูอาชีพ เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ

  13. 5.แนวปฏิบัติของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด5.แนวปฏิบัติของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด • ชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที่ในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะโอน ค่าใช้สอยให้กับสำนักงานสหกรณ์จังหวัด เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน • ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สำรวจสมาชิกที่ได้รับสิทธิ แล้วแจ้งชื่อ พร้อมยอดหนี้ อัตราดอกเบี้ยปกติที่คิดกับสมาชิก วันที่กู้เงินและวันครบกำหนดสัญญาเงินกู้ พร้อมทั้งประมาณการจำนวนเงินที่จะต้องลดดอกเบี้ยร้อยละ 3% ต่อปีให้กับสมาชิก ส่งให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพร้อมรับรองรายชื่อและจำนวนหนี้ (ตามแบบ กปก.1) • รวบรวมประมาณการจำนวนเงินที่จะต้องเบิกให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร แจ้งกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นรายเดือนของแต่ละสหกรณ์และกลุ่มเกษตรในภาพของจังหวัด (ตามแบบ กปก.2) • กรมส่งเสริมสหกรณ์ จะโอนเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ย 3% ต่อปี ไปเบิกจ่ายที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตามความต้องการใช้เงินชดเชยดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ตามประมาณการข้อ 5.3 • เมื่อได้รับหนังสือขอเบิกเงินและสำเนาใบเสร็จรับเงินจากสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้เบิกจ่ายเงินให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรทันที โดยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรจะต้องออกใบเสร็จรับเงินชดเชยดอกเบี้ย 3% ต่อปีให้กับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดไว้เป็นหลักฐาน และเก็บไว้ ณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เพื่อให้ สตง. ตรวจสอบต่อไป • รายงานผลการดำเนินงาน ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบทุกเดือน (ตามแบบ กปก.3) • หากมีกรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละจังหวัด ที่ไม่เป็นตามเงื่อนไขในหนังสือฉบับนี้ สามารถแจ้งและสอบถามได้ เบอร์โทร. 02-282-5848

More Related