1 / 26

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

การก่อตั้งและข้อมูลทั่วไปขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2424 โทรศัพท์ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระราชปิตุลาบรมวงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ เจ้ากรมกลาโหมในขณะนั้น

guy-jenkins
Download Presentation

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การก่อตั้งและข้อมูลทั่วไปขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทยการก่อตั้งและข้อมูลทั่วไปขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2424 โทรศัพท์ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระราชปิตุลาบรมวงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ เจ้ากรมกลาโหมในขณะนั้น พ.ศ. 2497 สถาปนาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 24กุมภาพันธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2507 ติดตั้งชุมสาย CROSS SARในนครหลวง และรับโอนโทรศัพท์ทางไกลนำชุมสาย CROSS BAR มาติดตั้งที่ชุมสายชัยพฤกษ์เป็นแห่งแรก พ.ศ. 2521 ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย นำบริการโทรศัพท์ไร้สาย (MULTI ACCESS RADIO TELEPHONE) มาให้บริการแก่ผู้อยู่นอกพื้นที่ข่ายสายโทรศัพท์ทั่วประเทศ โดยให้บริการในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบชุมสายที่ติดตั้งสถานีฐาน พ.ศ. 2522 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะแบบไม่มีผู้ดูแล นำโทรศัพท์สาธารณะแบบผู้ใช้หยอดเหรียญ (BOOTH) และไม่มีผู้ดูแล มาติดตั้งในเขตโทรศัพท์นครหลวง 100 เครื่อง และเปิดใช้โทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทางเดียวแห่งที่ 2 กรุงเทพฯ - พัทยา องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

  2. พ.ศ. 2529 เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นำบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (NORDIC MOBILE TELEPHONE) 470 MHZ มาเปิดให้บริการ พ.ศ. 2534 สู่เทคโนโลยีนำสมัย เปิดให้สัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (CARDPHONE)ในเขตนครหลวง ติดตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน เพื่อใช้เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมสำรอง เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลเพือธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) พ.ศ. 2536 ความก้าวหน้าของบริการ และโครงการใหญ่ - เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ - เปิดให้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เปิดบริการระบบข้อมูลธุรกิจ (VIDEOTEX) - เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สาธารณะ แบบใช้บัตรบนรถโดยสารปรับอากาศรุ่นใหม่ พ.ศ. 2541เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT CARD ระยะแรกติดตั้งในเขตนครหลวง และภูมิภาคบางส่วน รวมทั้งให้บริการในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้ง 13 พ.ศ. 254314 ม.ค. เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตสาธารณะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรก เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศ มีโอกาสใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ในอัตราครั้งละ 3 บาท 1 พ.ค. ปรับปรุงอัตราค่าบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลภายในประเทศ เป็นอัตรา 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาท/นาที

  3. พ.ศ. 2545 31 ก.ค. แปลงสภาพเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TOT Corporation Public Company Limited) วันที่ 9 ส.ค. เปิดให้บริการ TOT POSTPAID บริการบัตรรหัสโทรศัพท์ และบริการ PRIVATE NET บริการโครงข่ายเฉพาะกลุ่ม บนโครงข่าย IN วันที่ 12 ก.ย. เปิดให้บริการ BROADBAND-ISDN บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงพ.ศ. 2547 4 ก.พ. เปิดให้บริการโครงการการให้บริการระบบเครือข่ายสำหรับ Electronic Draff Capture (EDC Network Pool) ภายใต้ชื่อการค้า “EDC Pool” วันที่ 30 ส.ค. เปิดให้บริการชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทั่วประเทศพ.ศ. 2548 วันที่1ก.ค. เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)วันที่ 4 ส.ค.ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และแบบที่สาม และใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จาก กทช. ซึ่งออกให้ตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม

  4. บทบาทและความสำคัญขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทยบทบาทและความสำคัญขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย องค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ บริษัททศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นเป็น บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำ ด้วยนวัตกรรมใหม่ พร้อมมอบความพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า และมีความ มุ่งมั่นเป็นบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้วยนวัตกรรมใหม่ เข้าใจและ ส่งมอบบริการที่ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มีการปรับเปลี่ยนตนเองโดยการปรับเปลี่ยนยุทธ ศาสตร์ โครงสร้าง และกระบวนการการบริหารงานภายในองค์กรให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนธุรกิจ สำหรับรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อบรรลุพันธกิจของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดังต่อไปนี้ 1. มุ่งมั่นเป็นบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำ 2. สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้วยนวัตกรรมใหม่ 3. เข้าใจและส่งมอบบริการที่ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด

  5. บริษัททศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 9 ข้อ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรและสมรรถนะบุคลากร เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น การสร้างบริการใหม่ๆและการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ตลอดจนเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายที่ทันสมัย และเป็นศูนย์กลางด้านโทรคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของ ภูมิภาคนี้แผนงาน/โครงการดำเนินงานในอนาคต1. โครงการขยายบริการโทรศัพท์ จำนวน 565,500 เลขหมาย เป็นโครงการที่มุ่งตอบสนองแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ พ.ศ.2545-2549 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคไทยและสังคมไทย ทำให้เกิดภูมิปัญญาแห่งการเรียนรู้ 2. โครงข่ายอินเตอร์เน็ต IP เป็นโครงข่ายหนึ่งที่สามารถให้บริการเกี่ยวกับการสื่อสารได้เป็นอย่างดี และคาดว่าบริการบนโครงข่ายอินเตอร์เน็ต IP จะสามารถครอบครองตลาดของธุรกิจสื่อสารได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้สามารถลดต้นทุนและกำหนดอัตราค่าบริการให้สามารถแข่งขันได้โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐานสากล

  6. 3. บริการเสริมพิเศษอื่นๆ ของโทรศัพท์พื้นฐานโดยบริษัทจะจัดหาเครื่องโทรศัพท์พื้นฐานแบบใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า 4. บริการอัจฉริยะบนโครงข่าย IN ที่บริษัทจะเปิดให้บริการเพิ่มอีกในอนาคตเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าในการใช้บริการของบริษัท มีดังนี้ - บริการ FOLLOW MEเป็นบริการเลขหมายส่วนบุคคล ช่วยให้สามารถรับการติดต่อจากบุคคลอื่นได้ตลอดเวลาด้วยเลขหมายส่วนตัวเพียงเลขหมายเดียว - บริการ ONE NUMBERเป็นบริการเลขหมายเดียวทั่วไทย สำหรับธุรกิจที่ต้องการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการติดต่อกับองค์กรได้ง่ายขึ้น - บริการ VOTE NOW เป็นบริการสำรวจประชามติ หรือ โหวตสินค้าและบริการต่างๆทางโทรศัพท์ มุ่งให้บริการความสะดวกแก่องค์กรธุรกิจ หรือหน่วยงานรัฐที่ต้องการสำรวจความคิดเห็น ความนิยมของลูกค้าหรือประชาชนในราคาประหยัด - บริการ PRIVATE NET หรือบริการโครงข่ายเฉพาะกลุ่ม มีรูปแบบการให้บริการลักษณะเดียวกับตู้สาขา(PABX) คือผู้ใช้บริการสามารถกำหนดกลุ่มเลขหมายภายในกลุ่มเดียวกันและติดต่อภายนอกกลุ่มได้

  7. 5. การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บริษัทจะขยายขีดความสามารถในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจในพื้นที่เขตกรุงเทพและปริมณฑลทั้งหมด ซึ่งคาดว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงในอนาคต

  8. ผลการดำเนินงานขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผลการดำเนินงานขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ผลการดำเนินงานปี 2545 1. ด้านการให้บริการ 1.1 บริการโทรศัพท์พื้นฐาน - เลขหมายที่มี (Line Capacity)มีจำนวนเลขหมายที่สามารถให้บริการได้ทั้งสิ้น 8,033,863 เลขหมาย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 187,584 เลขหมาย สัดส่วนจำนวนเลขหมายที่มีต่อประชากร 100 คน เท่ากับ 12.81 หมายเลข - เลขหมายที่มีผู้เช่า (Line Connected) โทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Line) มีเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ ที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 6,241,406 เลขหมาย สัดส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ต่อประชากร 100 คน เท่ากับ 9.90 เลขหมาย โทรศัพท์สาธารณะ (Public Telephone) เมื่อสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2545 มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น6,566,771 เลขหมาย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 401,453 เลขหมาย สัดส่วนจำนวนเลขหมายที่มีผู้เช่าต่อประชากร 100 คน เท่ากับ 10.47 เลขหมาย

  9. 1.2 บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (Integrated Services Digital Network - ISDN) ณ 31 ธันวาคม 2545 มีผู้ใช้บริการเลขหมาย ISDN ของบริษัท โดยแบ่งเป็นประเภท BAI จำนวน 11,792 BAI และประเภท PRI จำนวน 772 PRI เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2,764 BAI คิดเป็นร้อยละ 30.62 และ 317 PRI คิดเป็นร้อยละ 69.671.3 บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เมื่อรวมโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกระบบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10,168,585 เลขหมาย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเป็นจำนวนถึง 5,342,009 เลขหมายคิดเป็นร้อยละ 110.681.4บริการโทรศัพท์สาธารณะประเภทใช้บัตรTOT Card โทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตรTOT Cardทั่วประเทศ ณ 31 ธันวาคม 2545 มีจํานวนทั้งสิ้น 25,641 เลขหมาย 1.5 บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ สิ้นสุด 31ธันวาคม 2545สถานภาพวงจรเชื่อมโยงของบริษัทกับประเทศเพื่อนบ้านติดชายแดนมีจำนวนทั้งสิ้น 3,250 วงจร1.6 บริการบนโครงข่ายIP (Internet Protocol) สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2545 โครงข่าย IP ของบริษัทสามารถรองรับบริการด้านVoiceได้เพิ่มอีกจํานวน 70,200 Ports และ Remote Access จำนวน 81,600 Ports

  10. 2. ผลการดำเนินงานตามโครงการที่สำคัญ 2.1 โครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทระดับหมู่บ้าน ณ 31 ธันวาคม 2545 บริษัทสามารถดำเนินการติดตั้งและเปิดให้บริการได้แล้วเสร็จตามเป้าหมายจำนวน 45,000 แห่ง และเป็นหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่ 1,696 แห่ง รวมทั้งสิ้น 46,696 แห่งคิดเป็นร้อยละ 103.77 2.2 โครงการขยายโครงข่ายของ ทศท. บริษัทจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายของบริษัทให้สามารถรองรับเลขหมายและบริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น ณ 31 ธันวาคม 2545 สามารถดำเนินงานได้ร้อยละ 69.5 2.3 โครงการอินเทอร์เน็ตตำบล ณ 31 ธันวาคม 2545 บริษัทสามารถดำเนินการติดตั้งได้ทั้งสิ้น 3,941 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 56.32.4 โครงการกองทุนพัฒนาอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา ในรอบปี 2545 บริษัทสามารถดำเนินการติดตั้งได้ทั้งสิ้น 4,039 แห่ง

  11. 3. ด้านการเงิน 3.1 ผลประกอบการ ในช่วง 31 กรกฎาคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2545 (5 เดือน) องค์การโทรศัพท์ฯ ได้จดทะเบียน เป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวมทั้งสิ้น 35,692.23 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม29,158.05 ล้านบาท กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 6,534.18 ล้านบาท 3.2 ฐานะการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน ณ 30 กรกฎาคม 2545 มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเท่ากับ1.21 เท่า อัตราหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 0.44 เท่า อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและสินทรัพย์ถาวรเป็นร้อยละ 7.39 และ 9.66 ตามลำดับ4. ด้านการลงทุนในรอบ 15 เดือน บริษัทได้ใช้จ่ายเงินเพื่อการลงทุนทั้งสิ้น 13,344.435 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติจำนวน 5,256.354 ล้านบาท งบลงทุนที่ทำเป็นโครงการจำนวน 7,962.325 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของงบลงทุนที่ทำเป็นโครงการอีกจำนวน 125.756 ล้านบาท5. ด้านการบริหารและการจัดการได้ปรับโครงสร้างภายในองค์กรใหม่ โดย แบ่งเป็น 4 กลุ่มงาน ดังนี้ กลุ่มงานนโยบายและการกำไร กลุ่มกับดูแล กลุ่มงานธุรกิจ กลุ่มงานเลขานุการ กลุ่มงานตรวจสอบสำหรับการพัฒนาคุณภาพงานบริการลูกค้า

  12. 6. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปี 2545 ได้จัดทำโครงการระบบบริหารงานบริการลูกค้า (Customer Care and Billing System) ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วย ระบบใบแจ้งหนี้(Invoice Management System) และระบบบริการลูกค้า7. ด้านวิจัยและพัฒนาบริษัทได้ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม โดยการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์/เครื่องมือด้านโทรคมนาคมที่ใช้อยู่และจะนำมาใช้ในอนาคต อาทิ ระบบAC/DC SurgeGenerator รูปแบบการให้บริการโครงข่ายยุคใหม่ (Next Generation Network ServiceModel Research)8. ด้านทรัพยากรบุคคล เมื่อสิ้นสุดปี 2545 มีพนักงานเข้าร่วมโครงการลาออกก่อนเกษียณอายุ(Early Retirement) จำนวน 868 คน และมีกำลังคนเคลื่อนไหวออกระหว่างปีจำนวน 1,264 คน ทำให้ ณ31 ธันวาคม 2545 มีพนักงานทั้งสิ้น 21,645 คน

  13. ผลการดำเนินปี 2546 ผลงานสำคัญๆในรอบปี สรุปได้ คือ1. ผลการดำเนินงานตอบสนองนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความสำเร็จจากการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการสำคัญของ ทศท ที่ตอบสนองรองรับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้เกิดการพัฒนามาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมสามารถแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงความพยายามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและยกระดับสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 2. ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของ ทศท ผลงานในรอบปี 2546 โดยสรุปประกอบด้วย 2.1 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายโทรคมนาคม ซึ่งผลงานที่สำคัญๆ มีดังนี้

  14. 1. โครงการขยายเลขหมายโทรศัพท์ 565,500 เลขหมายเพื่อขยายโทรศัพท์ในพื้นที่ขาดแคลน 2. โครงการขยายโครงข่ายของ ทศท (Transmission Network Expansion Project :TNEP)เป็นโครงการขนาดใหญ่ในการสร้างระบบสื่อสัญญาณความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงชุมสายโทรศัพท์ทั่วประเทศเข้าด้วยกัน 3.โครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าระบบจัดการบริหารโครงข่ายและระบบการจัดการบริการ(พ.ศ. 2546-2549) 4.โครงการขยายและปรับปรุงโครงข่ายเพื่อรองรับสนามบินสุวรรณภูมิ ทศท ได้จัดทำแผนให้บริการระบบสื่อสารภายในบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะติดตั้งชุมสายพร้อมสื่อสัญญาณจำนวน 6 ชุมสาย 30,000 เลขหมาย 5.โครงการขยายและปรับปรุงโครงข่ายเพื่อรองรับรถไฟฟ้าใต้ดิน

  15. กิจกรรมเพื่อสังคม• สนับสนุนโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และได้รับรางวัลชนะเลิศแปลงปลูกป่าขนาด 3,000 ไร่ติดต่อกันเป็นปีที่ 2• สนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยของนักเรียน นักศึกษา และประชาชน• สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนในถิ่นทุรกันดาร• ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา โดยติดตั้งโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 455 แห่งทั่วประเทศ• สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนทั่วประเทศ• พัฒนาและเปิดใช้งานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตรสำหรับคนตาบอด• สนับสนุนการรณรงค์ต้านความพิการในชนบท• สนับสนุนการต้านภัยยาเสพติด• สนับสนุนกิจการของสภากาชาดไทย• สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์แก่โรงพยาบาลของรัฐ• สนับสนุนการดูแลและคุ้มครองสัตว์

  16. ผลการดำเนินงานปี 2547 ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ในปี 2547 บริษัทมีรายได้รวม62,160.89 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 42,983.93 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 69.15 ของรายได้รวม กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 19,418.16 ล้านบาท อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเท่ากับ 2.00 เท่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 1.46 เท่า อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อทุนเท่ากับ 0.19 เท่า อัตราผลตอบแทนต่อส่วนทุนและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเป็นร้อยละ 11.57 และ 4.46 ตามลำดับ

  17. สรุปผลงานเด่นในรอบปี 1. ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศราคาประหยัดผ่านรหัส 008 เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้กับลูกค้า 2. ให้บริการศูนย์กลางเครือข่ายในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิต (Electronic Draft Capture Pool : EDC Pool)ได้ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ประจำที่และโครงข่ายอัจฉริยะของบริษัท 3. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ให้มีความคล่องตัวและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ 4. ร่วมดำเนินธุรกิจ “TNET @ POST” กับ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัดให้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เปิดให้บริการแห่งแรกที่ไปรษณีย์ราชดำเนิน 5. ผลงานพัฒนาระบบการชำระเงินแบบ One Stop Service ได้นำมาให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ของบริษัทและผู้ให้บริการอื่นๆ ณ ศูนย์บริการลูกค้าของบริษัท 6. ได้รับการรับรองสอบเทียบตามข้อกำหนดระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7. บริจาคเงินจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อสร้างบ้านพักอาศัยสำหรับผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ และสนับสนุนไมโครชิพ จำนวน 4,000 ชิ้น มูลค่า 500,000 บาท เพื่อนำไปใช้ ฝังในร่างผู้เสียชีวิต

  18. บริษัท ทศท คอรปอเรชั่น จํากัด ( มหาชน ) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และ 2546หนวย : บาท 2547 2546สินทรัพย์สินทรัพยหมุนเวียนเงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด 2,642,675,774 18,248,894,983เงินลงทุนชั่วคราว 2,277,655,452 2,833,886,258เงินฝากเพื่อไถถอนหนี้สินระยะยาว 16,128,162,804 17,540,762,608ลูกหนี้การค้า – สุทธิ 13, 138,111,265 3,415,085,202ลูกหนี้อื่น – สุทธิ 84,472,294123,025,258เงินให้กูยืมแกพนักงาน - สวนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป 229,017,074228,888,244เงินทดรองจายแกกิจการที่เกี่ยวของกัน 1,684,939,730 1,652,325,144สินคาและพัสดุคงเหลือ – สุทธิ 3,041,193,081 3,581,348,275สินทรัพยหมุนเวียนอื่น 741,037,491659,451,564รวมสินทรัพยหมุนเวียน 59,967,264,965 58,283,667,536สินทรัพยไมหมุนเวียนเงินลงทุนในบริษัทรวม 1,818,828,249 1,447,775,686เงินลงทุนระยะยาวอื่น 6,219,583,414 3,476,496,818เงินใหกูยืมแกพนักงาน 1,534,278,271 1,495,280,549เงินฝากเพื่อไถถอนหนี้สินระยะยาว - เกิน 1 ป 1,641,825,080 -ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ – สุทธิ 95,166,039,187 99,907,595,944ที่ดิน อาคาร และอุปกรณจากการรวมการงานและรวมลงทุน – สุทธิ 90,190,881,354 95,362,237,455สินทรัพยไมมีตัวตน 326,976,317 41,857,992รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน 196,898,411,872 202,031,244,444รวมสินทรัพย 256,865,676,837 260,314,911,980

  19. บริษัท ทศท คอรปอเรชั่น จํากัด ( มหาชน ) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และ 2546 หนวย : บาท หมายเหตุ 25472546หนี้สินและสวนของผูถือหุน หนี้สินหมุนเวียน เจาหนี้การคา 163,217,992,0423,637,841,109 เจาหนี้ตามสัญญาสวนแบงรายได 1710,229,926,0389,661,147,881 เจาหนี้อื่น 853,502,050571,973,854 เจาหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน 3523,301,098518,121,098 เงินกูยืมระยะยาว - สวนที่ครบกําหนดชําระภายในหนึ่งป 231,045,615,8151,309,974,405 หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - สวนที่ครบกําหนด ชําระภายในหนึ่งป 242,140,296,2911,768,357,714 คาใชจายคางจาย 183,865,640,7654,629,106,734 ภาษีเงินไดคางจาย 2,136,667,5262,337,460,969 เงินประกันการใชโทรศัพท 194,312,553,7446,384,540,588 รายไดรอตัดบัญชี - สวนที่จะรับรู เปนรายไดภายในหนึ่งป 2213,776,744,94214,428,541,642 สํารองหนี้สิน 20811,043,818 - หนี้สินหมุนเวียนอื่น 211,409,718,1641,694,156,753รวมหนี้สินหมุนเวียน43,823,002,29346,941,222,747 หนี้สินไมหมุนเวียน รายไดรอตัดบัญชี 2275,803,988,68680,981,985,154 เงินกูยืมระยะยาว 2319,642,818,90624,298,071,932 หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน 249,079,323,7599,970,303,145 เงินกองทุนสวัสดิการสงเคราะหพนักงาน ทศท 254,036,081,3173,408,916,489 รวมหนี้สินไมหมุนเวียน 108,562,212,668118,659,276,720รวมหนี้สิน152,385,214,961165,600,499,467

  20. บริษัท ทศท คอรปอเรชั่น จํากัด ( มหาชน ) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และ 2546 หนวย : บาท หมายเหตุ 25472546 หุนสามัญ 6,000,000,000 6,000,000,000 ทุนที่ออกและชําระแลว หุนสามัญ 266,000,000,0006,000,000,000 กําไรสะสม จัดสรรแลว 272,118,110,793 1,675,468,376 ยังไมไดจัดสรร 96,000,339,41989,420,019,069 รายการกําไร (ขาดทุน) ที่ยังไมเกิดขึ้นในหลักทรัพยเผื่อขาย 28362,011,664 (2,381,074,932) รวมสวนของผูถือหุน 104,480,461,87694,714,412,513รวมหนี้สินและสวนของผูถือหุน 256,865,676,837260,314,911,980

  21. บริษัท ทศท คอรปอเรชั่น จํากัด ( มหาชน ) งบกําไรขาดทุน สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 และ2546 หนวย : บาท หมายเหตุ 25452546 รายไดจากการใหบริการโทรคมนาคม 44,707,472,39742,853,559,513 รายไดจากการรวมการงานและรวมลงทุน 5,800,529,1006,356,597,571 รายไดจากสวนแบงรายได้ 10,486,003,94810,051,146,216 รายไดตัดบัญชี - รายไดรอตัดบัญชีสินทรัพย ที่ไดจากการรวมการงานและรวมลงทุน 22 14,743,796,45816,083,354,216 รายไดจากการใหบริการอื่น 265,495,458331,474,264 กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ – สุทธิ - 167,311,623 รายไดอื่น 29901,395,4341,224,521,488 รวมรายได 76,904,692,79577,067,964,891 คาใชจาย ตนทุนในการใหบริการ 22,983,025,05321,969,815,851 คาเสื่อมราคา - สินทรัพย ที่ไดรับจากการรวมการงานและรวมลงทุน 14,31 14,502,598,04615,715,348,395 คาใชจายในการขายและบริหาร 18,808,478,20518,667,488,491 คาตอบแทนกรรมการ 364,353,2918,651,925 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ – สุทธิ 421,413,139 - สวนแบงขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีสวนไดเสีย 10 766,659,246466,504,360 รวมคาใชจาย 57,486,526,98056,827,809,022 กําไรกอนดอกเบี้ยจายและภาษีเงินได 19,418,165,81520,240,155,869 ดอกเบี้ยจาย 30 (2,407,728,352) (2,714,819,342) ภาษีเงินได (5,487,474,696) (6,260,186,657) กําไรสุทธิสําหรับงวด 11,522,962,76711,265,149,870 กําไรตอหุนกําไรสุทธิสําหรับงวด 3219.2018.78

  22. ปัญหาในการดำเนินการขององค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ปัญหาในการดำเนินงานในปี 2545 สรุปภาวะเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท เศรษฐกิจโลก ถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นแต่ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในภาวะการฟื้นตัวยังคงเปราะบาง อันสืบเนื่องมาจากผลประกอบการของธุรกิจที่ยังไม่แข็งแกร่ง และระบบการลงบัญชีของภาคธุรกิจที่บิดเบือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทำให้การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำปลายปี 2545 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลสืบเนื่องมาจากแรงกดดันหลายด้านซึ่งล้วนแต่เพิ่มแรงกดดันอย่างหนักต่อการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเศรษฐกิจไทย ในปี 2545 มีอัตราการขยายตัวโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศอาเซียนปรับตัวดีขึ้น ตลอดจนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนล้วนมีอัตราการขยายตัวที่ดี ภาคโทรคมนาคม ยังคงขยายตัวดีสะท้อนถึงภาวะใช้จ่ายของประชาชนในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 6.5 เป็น 6.6 ล้านเลขหมาย และผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มกว่าเท่าตัวจากปีก่อนเป็น 17.4 ล้านเลขหมาย การใช้บริการที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเปิดให้บริการของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหม่

  23. ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท 1. ด้านการตอบสนองความต้องการโทรศัพท์จากการที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้โทรศัพท์ประจำที่ของบริษัทสูงขึ้นทำให้ไม่สามารถรองรับต่อความต้องการใช้โทรศัพท์ได้อย่างเต็มที่ในช่วงระยะแรก2. ด้านเทคโนโลยี การให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในบางพื้นที่ของบริษัทยังดำเนินการได้ไม่เต็มรูปแบบ เนื่องจากข้อจำกัดของเทคโนโลยีข่ายสายทองแดง(Copper cable)ที่ไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่นอกบริเวณ ข่ายสายได้ 3. ด้านการแข่งขัน มีการแข่งที่รุนแรงและมีอัตราการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เร็วกว่าโทรศัพท์ประจำที่ ส่งผลให้บริษัทและผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายอื่นๆ เร่งพัฒนารูปแบบการให้บริการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในด้านราคา การตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าทำให้เกิดการขาดทุนบ้างในช่วงแรกๆ4. ด้านทรัพยากรบุคคล การแปลงสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)ทำให้บุคลากรในบริษัทยังไม่เข้าโครงสร้างในการดำเนินงาน จึงต้องมีการปรับปรุง พัฒนาองค์กร และ บุคลากรให้สามารถรองรับกับรูปแบบการบริหารจัดการเชิงธุรกิจเอกชนที่จะมีการแยกธุรกิจต่าง ๆ ออกจากโครงสร้างเดิมในลักษณะเป็นกลุ่มธุรกิจ หรือBusiness Group (BG)เพื่อเพิ่มความ คล่องตัวในการบริหารจัดการ

  24. ปัญหาในการดำเนินงานในปี 2546 ปัจจัยความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้นได้กับ ทศท สามารถจำแนกได้ ดังนี้ 1. การตัดสินใจแปรสัญญาต่าง ๆ ของ ทศท อาจถูกแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก อันอาจทำให้ ทศท เสียเปรียบ และส่งผลกระทบต่อสถานภาพการดำเนินงานในอนาคต 2. ในการควบรวมกิจการระหว่าง ทศท และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ยังไม่ชัดเจนจึงมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ไม่เอื้อประโยชน์แก่ ทศท อย่างเต็มที่ 3. ทศท เป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐ มีความเสี่ยงที่นโยบายของรัฐที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อ ทศท 4. การเปิดเสรีโทรคมนาคมในปี 2549 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการรักษาฐานลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน นอกจากนี้บทบาทของ ทศท จะเปลี่ยนจากผู้กำกับดูแลและผู้ให้บริการไปเป็นผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียวภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง-ชาติ (กทช.) 5. เกิดภาวการณ์ขาดผู้นำขององค์กรในส่วนของผู้บริหารระดับสูงในตำแหน่งรองลงมา ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง รวมทั้งยังขาดกระบวนการสืบทอดตำแหน่ง จึงมีความเสี่ยงในด้านความต่อเนื่องของผู้นำซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงลบได้ และหากไม่มีการวางแผนเพื่อรองรับความต่อเนื่องของการบริหารงาน อาจส่งผลให้เกิดความไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ ทศท

  25. การแปรรูปองค์การการโทรศัพท์แห่งประเทศไทยการแปลงสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบายพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ทั้งได้กำหนดแผนการเตรียมความพร้อมในการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยกำหนดให้องค์การโทรศัพท์ฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และกระจายหุ้นให้สาธารณชนคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทขององค์การโทรศัพท์ฯ ได้จัดทำข้อเสนอการแปลงสภาพองค์การโทรศัพท์ฯ เสนอคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจและคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบการแปลงสภาพองค์การโทรศัพท์ฯ เป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 องค์การโทรศัพท์ฯ จึงได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 โดยรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมดจากองค์การโทรศัพท์ฯ ซึ่งยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจโดยกระทรวงการคลังถือหุ้น 100%

  26. นอกจากนี้ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะปรับโครงสร้างภายในองค์กรใหม่ให้เป็นไปในเชิงธุรกิจ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน สามารถแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อย่างไม่เป็นทางการโดยครบถ้วนแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการปรับแผนการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในต้นปี 2546 ซึ่งบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมที่จะดำเนินการให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

More Related