220 likes | 428 Views
แถลงข่าว โรคมือเท้าปาก โดย นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.30 น ณ ห้องแก้วมุกดา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก ( HFMD) ประเทศไทย.
E N D
แถลงข่าว โรคมือเท้าปากโดยนายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.30 น ณ ห้องแก้วมุกดา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) ประเทศไทย ปี 2555ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 9 ก.ค.55 มีรายงานผู้ป่วย 12,581 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย 19.80 ต่อประชากรแสนคน พบมากในเด็กอายุ 1 ปี (ร้อยละ 28.19) อายุ 2 ปี ร้อยละ25.94 และอายุ 3 ปี ร้อยละ 17.45
สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จำแนกรายจังหวัด ประเทศไทย ปี 2555
สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 15 ก.ค.55 มีรายงานผู้ป่วย 176 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย 13.44 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยมากกว่าปี 2554 ประมาณ 2.7 เท่า
กลุ่มอายุผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555 ร้อยละ @กลุ่มอายุที่พบว่ามีรายงานผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 1- 2 ปี (ร้อยละ 55.11) และ กลุ่มอายุ 3 - 4 ปี (ร้อยละ 32.39) @ส่วนใหญ่พบการระบาดในศูนย์เด็กเล็ก @ปัจจัยเสี่ยง : การเล่นคลุกคลีกับเด็กที่ป่วย การใช้แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือร่วมกัน
สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จำแนกรายอำเภอ จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555 พบผู้ป่วย 176 ราย 16 อำเภอ
จำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก จำแนกรายอำเภอ รายเดือน จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555
โรค มือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) • สาเหตุ • เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัส หลายชนิด • (EV71) • พบบ่อยในกลุ่มเด็กทารก และ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี • โรคเกิด ประปรายตลอดปี • เพิ่มมากขึ้น ในหน้าฝน ช่วงอากาศเย็น และ ชื้น • โดยทั่วไป อาการไม่รุนแรง • ผื่น และตุ่มน้ำใส หายได้เอง ในเวลา 5 - 7 วัน
อาการที่สำคัญ 1 • หลังได้รับเชื้อ 3-6 วัน จะเริ่มแสดงอาการป่วย • เริ่มด้วย มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย • ต่อมาอีก1-2 วัน จะพบ ตุ่ม หรือ ผื่นนูนสีแดงเล็ก(มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ(มักอยู่ที่ด้านข้างของนิ้ว) ฝ่าเท้า(มักอยู่ที่ส้นเท้า) • บริเวณอื่น : หัวเข่า ข้อศอก หรือ ก้น • ในปาก : เป็นตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก หรือ กระพุ้งแก้ม
อาการที่สำคัญ 2 • ตุ่มจะกลายเป็น ตุ่มพองใส บริเวณ รอบๆอักเสบ และ แดงกดแล้วเจ็บ ต่อมา จะแตกออก เป็นแผลหลุมตื้นๆ ระยะนี้ เด็กจะมีอาการ เจ็บปากรับประทานอาหารได้น้อย • อาการจะทุเลา และ หายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน
การติดต่อ • สัมผัสโดยตรงจากสารคัดหลั่ง : จมูก, ลําคอ และ นํ้าในตุ่มใส • อุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) • แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ • ยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ • เชื้อเอนเทอโรไวรัส สามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ • เชื้อมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน • โรคนี้ไม่สามารถติดต่อ จากคนสู่สัตว์ หรือ จากสัตว์สู่คนได้
การรักษา • หายได้เอง ( 7 วัน) • การรักษาประคับประคอง และ บรรเทาอาการ • การลดไข้ และลดอาการเจ็บปวด จากแผลในปาก • ภาวะแทรกซ้อน อยู่ในความดูแลแพทย์ • มีภูมิคุ้มกัน เฉพาะต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค • ผู้ปกครอง/ครูพี่เลี้ยง • สังเกตอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง : ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อยๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารและ นํ้าแจ้งผู้ปกครอง /แจ้งจนท. รพ.สต.
จะทำลายเชื้อได้อย่างไรจะทำลายเชื้อได้อย่างไร • โดยแสงอัลตราไวโอเล็ต ในสภาพที่แห้ง • โดยการต้มที่ 50-60oC นาน 30 นาที • โดยใช้น้ำยาซักล้างทั่วไป โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 1% • โดยใช้น้ำประปา ที่มีคลอรีน 0.2-0.5 ppm. • โดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ
การป้องกันโรค • โรคนี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน • ป้องกันโดยการ รักษาสุขอนามัย • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น • จัดให้มีอ่างล้างมือ และส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
การป้องกันโรค • หากพบเด็กป่วย รีบป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ ไปยังเด็กคนอื่น ๆ • แนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วันหรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ • ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และ ห้างสรรพสินค้า
มาตรการช่วงที่เกิดโรคระบาดต้องเน้นการสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งอาจมีความจำเป็นจะต้องประกาศเขตติดโรคและปิดสถานที่ อาคาร สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น ฯลฯ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กป่วย และเน้น การล้างมือบ่อยๆ หากมีเด็กป่วยจำนวนมากในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรทำอย่างไร
แจ้งการระบาดไปยังหน่วยงานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ (สอบสวนการระบาด ให้ความรู้ และคำแนะนำ) • เผยแพร่คำแนะนำเรื่อง โรคมือเท้าปาก แก่ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อม • ควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ • เฝ้าระวัง โดยตรวจเด็กทุกคนหากพบคนใดที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน 7-10 วัน หรือจนกว่าจะหาย