1 / 59

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ( NQF) : ปัจจัยสู่คุณภาพบัณฑิตของไทย

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ( NQF) : ปัจจัยสู่คุณภาพบัณฑิตของไทย. ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ วิทย บริการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ABAC : 19 ตุลาคม 2552. เรื่องที่จะคุย. ความเป็นมา/ความหมาย/ความสำคัญ องค์ประกอบหลัก 4 ประการ

Download Presentation

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ( NQF) : ปัจจัยสู่คุณภาพบัณฑิตของไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (NQF) :ปัจจัยสู่คุณภาพบัณฑิตของไทย ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิทยบริการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ABAC : 19 ตุลาคม 2552

  2. เรื่องที่จะคุย • ความเป็นมา/ความหมาย/ความสำคัญ • องค์ประกอบหลัก 4 ประการ - โครงสร้าง (Structure) - มาตรฐานคุณวุฒิ (Domains) - กระบวนการ (Process) - การดำเนินงาน (Specifications) • โครงสร้าง - โครงสร้างของต่างประเทศ - โครงสร้างของไทย • มาตรฐานคุณวุฒิ (Domains) / คุณลักษณะของบัณฑิต - ของมาเลเซีย / อังกฤษ - ของ สกอ. - กรอบการพัฒนา • เงื่อนไขการเรียนรู้ - กระบวนการ - หลักสูตร/การสอน/กิจการนักศึกษา/สิ่งแวดล้อม - การพัฒนาทั้ง 4 ด้าน - วิธีการสอน - การเปลี่ยนวัฒนธรรม • Specifications / Report • แนวปฏิบัติในสถาบัน - 9 ขั้นตอน - ปรัชญาอุดมศึกษา - มาตรฐานแต่ละระดับ • ของฝาก

  3. เงื่อนไข  ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (2 กรกฎาคม 2552)  ประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2522 (12 กรกฎาคม 2552)  วัตถุประสงค์หลัก เพื่อคุณภาพของบัณฑิต โดยการพัฒนาถึงหลักสูตร และการสอน  ให้มีคุณภาพ 5 ประการ  คุณธรรม จริยธรรม  ความรู้  ทักษะทางปัญญา  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี  ดูที่ผลการเรียนรู้  จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาวิชาต่าง ๆ ของแต่ละรอง (มคอ 1)  จัดทำหลักสูตร (มคอ 2) รายละเอียดของรายวิชา (มคอ 3) รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี)(มคอ 4)  จัดทำรายงานผลการดำเนินงานรายได้ (มคอ 5) รายงานผลการดำเนินงานประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) มคอ 6 และผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ 7)  ใช้ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2553 (ใหม่) ปรับปรุงเก่า ปีการศึกษา 2555

  4. ความเป็นมา  2542 พรบ. การศึกษาจุดเริ่มของความคิด  2545 ดำเนินการวิจัยเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์)  2546 ขอความช่วยเหลือจากออสเตรเลีย  2547 ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียเสนอแนวคิด (Ian Allen) คณะกรรมการดูงานออสเตรเลีย (จิรณี ตันติรัตน์วงศ์)  2548 จัดทำร่างข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญ (Ian Allen)  2549 จัดทำร่างกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์) จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิในสาขาวิทย์ คณิต คอมพิวเตอร์  2550 จัดทำร่างประกาศกรอบมาตรฐาน  2551 จัดทำ Program and Course Specifications (สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, สาขาวิชาครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาโลจิสติกส์, สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์) European Qualifications Framework (EQF) Southern African Development Community Qualifications Framework (SADCQF)

  5. ความหมายและความสำคัญ (1) นิยาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Qualifications Frameworks) คือระบบที่แสดงความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการศึกษาของชาติ ระบบดังกล่าวจะบ่งบอกโครงสร้างของการศึกษา ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงของแต่ละระดับ การเข้าสู่แต่ละระดับ รวมทั้งวุฒิหรือผลลัพธ์ของผู้จบการศึกษาแต่ละระดับ ในบางกรณีจะแสดงผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการศึกษาแต่ละระดับ รวมทั้งกระบวนการจัดไว้ด้วย (Allen, 2003, Adhoc Inter Agency Meeting, 2003) คำนิยามนี้เป็นการประมวลภาพของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่สมบูรณ์ครบถ้วน ทำให้เห็นภาพของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้ชัดเจน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว รายละเอียดของคำนิยามก็จะออกมาในลักษณะของผลลัพธ์ (Outcomes) เป็นหลัก (Young, 2003) จากคำนิยามของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิดังกล่าวทำให้เห็นภาพว่า กรอบคุณวุฒินั้นแสดงถึงระบบการศึกษาที่แสดงระดับต่างๆ ในแต่ละระดับสัมพันธ์กันอย่างไร แต่ละระดับเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะมีคุณวุฒิอะไรเป็นหลัก คุณวุฒินั้นเป็นอย่างไรบ้าง การที่จะให้ได้คุณวุฒินั้นทำอย่างไร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิถือได้ว่าเป็นเครื่องมือของการประกันคุณภาพ เป็นการสื่อสารถึงกันในหมู่ผู้ให้การศึกษาและผู้ใช้การศึกษาเองและจะเป็นหลักประกันว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับนั้นมีคุณสมบัติตรงตามที่เข้าใจกันหรือไม่ นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องในการเทียบเคียงคุณภาพระหว่างประเทศอีกด้วย

  6. ความหมายและความสำคัญ (2) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(Thai Qualifications Frameworks for Higher Education : TQF : HEd) หมายถึง กรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ การแบ่งสายวิชา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นในในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

  7. โครงสร้างและองค์ประกอบของกรอบมาตรฐานโครงสร้างและองค์ประกอบของกรอบมาตรฐาน 1.โครงสร้างของระดับการศึกษา/และจุดเน้น  ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก/ประกาศนียบัตร/นก. เวลา ฯลฯ 2.มาตรฐานคุณวุฒิในแต่ละกลุ่ม (Domains)  ความรู้ ความคิด ทักษะ คุณธรรม ความรู้ / ความเข้าใจ ทักษะการคิด สมรรถนะ คุณธรรม (เฉพาะทาง)  คุณธรรมจริยธรรมความรู้ ทักษะเชาวน์ปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ ทักษะวิเคราะห์และการสื่อสาร 3. ปัจจัย สู่ความสำเร็จ  หลักสูตร การสอน กิจกรรม สิ่งแวดล้อม 4. แนวทางปฏิบัติ Specifications

  8. โครงสร้าง - โครงสร้างของต่างประเทศ - โครงสร้างของไทย

  9. โครงสร้างของต่างประเทศโครงสร้างของต่างประเทศ

  10. โครงสร้างของไทย

  11. มาตรฐานคุณวุฒิ / คุณลักษณะของบัณฑิต - มาเลเซีย / อังกฤษ - ของ สกอ. - จากงานวิจัย - แนวคิดไทย

  12. มาตรฐานคุณวุฒิ คุณลักษณะบัณฑิตของผู้จบปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ของมาเลเซีย ที่มา : Adhoc Inter Agency Meeting, (2003)

  13. มาตรฐานคุณวุฒิ คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกของอังกฤษ ระดับปริญญาเอก ผู้ศึกษาระดับปริญญาเอกจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1) มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบของงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ 2) องค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบต้องเกี่ยวข้องกับงานวิชาการและวิชาชีพของตนเอง 3) ความสามารถในการสร้างแนวคิด ออกแบบและดำเนินการเพื่อสร้างความรู้ใหม่ การประยุกต์ใช้ หรือความเข้าใจ และสามารถปรับการออกแบบโครงการให้พร้อมรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 4) ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคเพื่อการวิจัยโดยละเอียด โดยรวมแล้ว นักศึกษาระดับปริญญาเอกมีความสามารถต่อไปนี้ 1) ตัดสินเกี่ยวกับประเด็นที่ซับซ้อน และสามารถสื่อสารความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 2) สามารถสานต่องานวิจัยทั้งงานวิจัยบริสุทธิ์และงานวิจัยประยุกต์ในระดับสูงได้ โดยมีการพัฒนา เทคนิคและแนวคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ 3) มีคุณสมบัติและทักษะที่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งใน สภาพแวดล้อมที่เป็นมืออาชีพหรือปกติก็ตาม ที่มา : England National Qualification Framework, (2003)

  14. มาตรฐานคุณวุฒิ (จากการวิจัย) กรอบแนวคิดคุณลักษณะ

  15. ผลลัพธ์การเรียนรู้จาก 7 ประเทศ • ความรู้ความชำนาญทั่วไป (Generic Knowledge, Skills, Competence)1.1 ความรู้และความเข้าใจ - รู้และเข้าใจข้อเท็จจริงในศาสตร์ที่ศึกษา - รู้และเข้าใจหลักการ แนวคิด และทฤษฏี - รู้และเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติ - ความรู้เชิงสหวิทยาการ1.2 ทักษะการคิด - คิดวิเคราะห์ วิพากษ์ สังเคราะห์ - คิดประยุกต์ บูรณาการ สร้างสรรค์1.3 สมรรถนะ - Interpersonal Skills - Communication Skills - Responsibility ด้านตนเองและสังคม1.4 คุณธรรมและจริยธรรมด้านสังคมและอาชีพ(Ethics and Value) - จริยธรรม / ค่านิยม / ทัศนคติ / ศักดิ์ศรีในวิชาชีพ • ทักษะปฏิบัติเฉพาะทาง (Specific Skills)

  16. การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย(1) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นในตนเองจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้บัณฑิตมีอย่างน้อย 5 ด้านดังนี้ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม (2) ด้านความรู้ (Knowledge)หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

  17. การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (2) (3) ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)หมายถึงความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึงภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบ ในการเรียนรู้ตนเอง (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านนี้ บางสาขาวิชาต้องการทักษะทางกายภาพสูง เช่น การเต้นรำ ดนตรี การวาดภาพ การแกะสลัก พลศึกษา การแพทย์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงต้องเพิ่มการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skill)

  18. “ปัญจลักษณ์” เป้าหมายเพื่อความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิต

  19. ปัจจัยสู่ความสำเร็จเงื่อนไขการเรียนรู้ปัจจัยสู่ความสำเร็จเงื่อนไขการเรียนรู้ - หลักสูตร - การสอน - กิจกรรมนักศึกษา - สิ่งแวดล้อม

  20. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ • คุณธรรม / จริยธรรม • หลักสูตร / การสอน / กิจกรรม / สิ่งแวดล้อม • 2. ความรู้ • หลักสูตร / การสอน / กิจกรรม / สิ่งแวดล้อม • 3. ทักษะทางสังคมหลักสูตร / การสอน / กิจกรรม / สิ่งแวดล้อม • 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลักสูตร / การสอน / กิจกรรม / สิ่งแวดล้อม • การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ • หลักสูตร / การสอน / กิจกรรม / สิ่งแวดล้อม •  บุคลากร  ทรัพยากร  การบริหารจัดการ  การประเมิน

  21. การดำเนินงาน มาตรฐานคุณวุฒิระดับ..../ สาขา...... - Program Specifications - Course Specifications - Field Experience Specifications

  22. แนวคิดหลัก กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ มาตรฐานคุณวุฒิระดับ / สาขา รายการปรับปรุงและพัฒนา รายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม รายการปรับปรุงและพัฒนา รายการปรับปรุงและพัฒนา กระบวนการเรียนการสอน

  23. Templates for Specifications Qualifications Standard มาตรฐานคุณวุฒิ มคอ. 1  ProgramSpecifications Program Report มคอ. 7 รายละเอียดของหลักสูตร มคอ. 2  Course Specifications Course Report มคอ. 5 รายละเอียดของรายวิชา มคอ. 3  Field Experience Specifications Field Experience Report มคอ. 6รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม มคอ. 4

  24. มคอ. 1 มาตรฐานคุณวุฒิ 11. คุณสมบัติและผู้เข้าศึกษาและการเทียบโอน12. คณาจารย์และบุคลากร13. ทรัพยากรการเรียนการสอนและการจัดการ14. แนวทางการพัฒนาคณาจารย์15. การประกันคุณภาพ16. การเผยแพร่17. รายชื่อคณาจารย์18. ภาคผนวก (ถ้ามี) 1. ชื่อสาขา / สาขาวิชา2. ชื่อปริญญา และสาขาวิชา3. ลักษณะเฉพาะสาขา / สาขารับ4. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์5. มาตรฐานผลการเรียนรู้6. องค์กรราชการที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 7. โครงสร้างหลักสูตร8. เนื้อหาสาระสำคัญของสาขา / สาขาวิชา9. กลยุทธ์การสอนและการประเมิน10. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้

  25. มอค. 2 รายละเอียดของหลักสูตร หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและประเมินผล หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร หมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร

  26. มอค. 3 รายละเอียดของรายวิชา หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

  27. มอค. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ หมวดที่ 4 ลักษณะและการดำเนินการ หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

  28. มอค. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 การจัดการเรียนการสอนเปรียบเทียบกับแผนการสอน หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ 4 ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ หมวดที่ 5 การประเมินรายวิชา หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

  29. มอค. 6 รายงานผลการดำเนินการ ของประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 การดำเนินการที่ต่างไปจากแผนการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 3 ผลการดำเนินการ หมวดที่ 4 ปัญหาและผลกระทบด้านการบริหาร หมวดที่ 5 การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

  30. มอค. 7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเชิงสถิติ หมวดที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร หมวดที่ 4 ข้อมูลสรุปรายวิชาของหลักสูตร หมวดที่ 5 การบริหารหลักสูตร หมวดที่ 6 สรุปการประเมินหลักสูตร หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน หมวดที่ 8 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพหลักสูตรจากผู้ประเมินอิสระ หมวดที่ 9 แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร

  31. ตัวอย่างรายละเอียดของรายวิชาตัวอย่างรายละเอียดของรายวิชา 1. ลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไปของรายวิชา 1.1 ชื่อรายวิชาและรหัส 1.2 จำนวนหน่วยกิต 1.3 หลักสูตรที่เรียนรายวิชานี้ 1.3.1 ประเภทของรายวิชา 1.4 รายนามของคณาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา 1.5 ภาคการศึกษา / ปีการศึกษาที่เปิดสอนรายวิชานี้ 1.6 วิชาบังคับก่อนสำหรับรายวิชานี้ 1.7 วิชาที่ต้องเรียนร่วมกับรายวิชานี้ 1.8 สถานที่เรียน 1.9 วันที่จัดทำข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา หรือวันที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุด

  32. รายละเอียดของรายวิชา (ต่อ) 2. จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ 2.1 จุดมุ่งหมายของรายวิชา 2.2 อธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนารายวิชา (เช่น เพิ่มการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ web based , การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของรายวิชาซึ่ง เป็นผลจากงานวิจัยใหม่ๆ ในสาขา 3. ลักษณะและการดำเนินงาน 3.1 คำอธิบายรายวิชา (ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร) 3.2 จำนวนชั่วโมงที่ใช้ / ภาคการศึกษา 3.3 จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่คณาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ

  33. รายละเอียดของรายวิชา (ต่อ) 4. การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สำหรับแต่กลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ให้แสดงข้อมูลดังนี้ (1) ข้อสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับความรู้ หรือทักษะที่รายวิชามุ่งหวังที่จะพัฒนานักศึกษา (2) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้ในรายวิชาเพื่อพัฒนาความรู้ หรือทักษะในข้อ (1) (3) วิธีการที่จะใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชา 4.1 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (1) คำอธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะพัฒนา (เช่น ปลูกฝังความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและความมีน้ำใจ) (2) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้นั้น โดยสอดแทรกระหว่างการเรียน การสอนในทุกรายวิชา (3) วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษา

  34. รายละเอียดของรายวิชา (ต่อ) 4.2 ความรู้ (1) คำอธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะได้รับ (เช่น ความรู้/ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา) (2) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้ (เช่น บรรยาย ให้แบบฝึกหัด สอนเสริม ทำปฏิบัติการและเขียนรายงาน (3) วิธีการประเมินความรู้ที่ได้รับ 4.3 ทักษะเชาว์ปัญญา (1) ทักษะเชาว์ปัญญาที่จะต้องพัฒนา (เช่น การนำความรู้ไปใช้แก้โจทย์ปัญหา และการวิเคราะห์ปัญหา) (2) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้ในการพัฒนาทักษะเชาว์ปัญญาเหล่านี้ (เช่น แก้โจทย์ ปัญหาร่วมกัน ให้ทำการบ้าน ทำแบบฝึกหัดในชั่วโมงสอนเสริม) (3) วิธีการประเมินผลทักษะเชาวน์ปัญญาของนักศึกษา

  35. รายละเอียดของรายวิชา (ต่อ) 4.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (1) คำอธิบายเกี่ยวกับทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบที่จะพัฒนา (เช่น การทำงานเป็นกลุ่มและรับผิดชอบร่วมกัน) (2) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้พัฒนาทักษะและความสามารถเหล่านี้ (เช่น มอบหมายงานให้ทำงานเป็นกลุ่ม) (3) วิธีการวัดและประเมินทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบของ นักศึกษา (เช่น ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย) 4.5 ทักษะวิเคราะห์และการสื่อสาร (1) คำอธิบายเกี่ยวกับทักษะทางการคิดคำนวณและการสื่อสารที่จะพัฒนา (เช่น ทักษะในการใช้ คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการฐานข้อมูล) (2) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้ในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ (เช่น มอบหมายงานที่ต้องสืบค้น จัดการ และ นำเสนอข้อมูล) (3) วิธีการวัดและประเมินผลทักษะการคิดคำนวณและการสื่อสารของนักศึกษา

  36. รายละเอียดของรายวิชา (ต่อ) 5. แผนการสอนและการประเมินผล 5.1 หัวข้อในรายวิชา 5.2 การประเมินผล

  37. รายละเอียดของรายวิชา (ต่อ) 6. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน 6.1 ตำราและเอกสารหลักที่กำหนด 6.2 หนังสือที่แนะนำและเอกสารอ้างอิง 6.3 ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ และอื่นๆ 7. การประเมินและปรับปรุงการดำเนินงาน 7.1 กลยุทธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลจากนักศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลของรายวิชา 7.2 กลยุทธ์การประเมินการสอนรายวิชาโดยภาควิชา 7.3 กระบวนการต่างๆ ในการปรับปรุงการสอนรายวิชา 7.4 กระบวนการตรวจสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา 7.5 การวางแผนการปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

  38. ตัวอย่างTemplates for Course Report 1. ลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไปของรายวิชา 2. ลักษณะรายวิชา - แผนการสอน - การสอนที่ไม่เป็นไปตามแผน - ประสิทธิภาพของกลยุทธ์การเรียนการสอน  การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ  ความรู้  ทักษะเชาว์ปัญญา  ทักษะความสัมพันธ์  ทักษะการวิเคราะห์ - สรุปข้อเสนอแนะ การปรับปรุงกลยุทธ์การสอน

  39. ตัวอย่างTemplates for Course Report 3. สรุปผล - การกระจายของระดับคะแนน - ความคลาดเคลื่อนจากแผนที่กำหนด - การตรวจสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ 4. ทรัพยากรประกอบการเรียน 5. ประเด็นด้านการบริหาร 6. การประเมินรายวิชา - ระบุประเด็นสำคัญที่นักศึกษาวิพากษ์อาจารย์ผู้สอน - การตอบข้อวิพากษ์พร้อมข้อคิดเห็นของอาจารย์ 7. แผนการปรับปรุง - แผนการสอนสำหรับภาคเรียนต่อไป - ข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้สอนต่อหัวหน้าสาขาวิชา /หัวหน้าภาควิชา/คณบดี

  40. - ขั้นตอน - ปรัชญาอุดมศึกษา - มาตรฐานคุณวุฒิแต่ละระดับ แนวปฏิบัติในสถาบัน

  41. การดำเนินงานในสถาบัน  กำหนดปรัชญา / จุดมุ่งหมาย  จัดทำเงื่อนไขการเรียนรู้ของสถาบัน  พัฒนา Specifications ของสาขาวิชา (คณะ)  วางแผนพัฒนารายละเอียดตาม Specifications  จัดระบบตาม Specifications  มีการประเมิน / ตรวจสอบตามกรอบคุณวุฒิ  มีหน่วยงานดูแล –ประสานกับ POD Network – มีคณะกรรมการการเรียนการสอน – มีหน่วยเฉพาะ / ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน  มีการให้รางวัล / ผลตอบแทนพิเศษ  มีการสัมมนา / ประเมิน / วิจัยเป็นฐาน – Instructional Development – Faculty Development – Organization Development

  42. ปรัชญาอุดมศึกษาไทย จุดเน้น / ผสมผสาน / ภาพรวม • อุดมคตินิยม / พระธรรมปิฎก / พระไพศาล / ส.ศิวรักษ์ มนุษย์ ความหลุดพ้น ศาสนา / อุดมคติ / ความเสียสละ / จิตใจ • ปัญญานิยม / หมอจรัส / หมอวิจารณ์ / อ.ไพฑูรย์ มนุษย์ ความสามารถทางปัญญา ปรัชญา / ที่มา / ประวัติศาสตร์ / อภิปราย / วิเคราะห์

  43. ปรัชญาอุดมศึกษาไทย (ต่อ) • ชุมชนนิยม / ศ.เสน่ห์ / ดร.เสรี / ดร.นิธิ มนุษย์ รู้จัก / เข้าใจ / ชุมชน เรียนรู้สังคม / มีส่วนร่วม / ตระหนักสำนึก • ปฏิบัตินิยม / ดร.โอฬาร / กลุ่มนักธุรกิจ / โลกาภิวัตน์ มนุษย์ ปรับเปลี่ยนตามสังคม ภาษา / คอมพิวเตอร์ / ธุรกิจ / นานาชาติ • เทคโนโลยีนิยม / ดร.ศรีศักดิ์ / ดร.ชัยยงค์ / อ.ยืน มนุษย์ ใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยี / นวัตกรรม / Media / E-education

  44. ความรู้ ความรู้ ตำรา/หนังสือ IT ผู้เรียน ผู้เรียน สภาพแวดล้อมกับการสอนใหม่ ความรู้ ความรู้ ครู สื่อ/เทคโนโลยี ผู้เรียน ผู้เรียน บรรยาย บอก จด รายงาน สรุป รวมความรู้ ผู้สอน ติดตามสื่อ ทำรายงาน สรุป/วิเคราะห์ ค้นคว้า วิจัย สังเคราะห์ความรู้ ผู้เรียน • มีเนื้อหา / กระบวนการ / แม่น / แน่น / ครบ • คิด วางแผนและเตรียมการ • ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ผู้เรียนลงมือทำ • เรียนรู้ด้วยตนเองมีผลงาน • ผู้สอน ติดตามดูแลให้คำแนะนำ แก้ปัญหา • ประเมิน ให้ข้อเสนอแนะ ข้อปรับปรุง • กระตุ้น หนุน ให้กำลังใจ

  45. สัตตศิลาของครูผู้เอื้อความรู้สัตตศิลาของครูผู้เอื้อความรู้ 1. ผู้กำหนดจุดมุ่งหมาย 2. ผู้หาความรู้ให้เด็ก 3. วิเคราะห์ความรู้ให้ดู 4. ประเมินความรู้ให้เป็นตัวอย่าง 5. อธิบายการใช้ความรู้ให้เด็ก 6. อธิบายองค์ความรู้เดิม 7. ประเมินผลเพียงคนเดียว 1. ช่วยให้เด็กกำหนดจุดมุ่งหมายได้ 2. ชี้แนะวิธีหาความรู้ให้เด็ก 3. แนะให้เด็กวิเคราะห์ความรู้ได้ 4. ช่วยให้เด็กประเมินความรู้ที่ได้ 5. ส่งเสริมให้ประยุกต์ความรู้เป็น 6. ให้เด็กสร้างองค์ความรู้ขึ้นเอง 7. ให้เด็กประเมินการเรียนรู้เอง ครู ผู้ให้ความรู้ ครู ผู้เอื้อความรู้

  46. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านความรู้ (Knowledge)

  47. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านความคิด (Thinking)

  48. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านความสามารถ (Skill)

  49. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านคุณธรรมจริยธรรม (Ethics)

  50. มาตรฐานคุณวุฒิแต่ละระดับมาตรฐานคุณวุฒิแต่ละระดับ  มาตรฐานคุณวุฒิระดับอนุปริญญา 1. มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพได้ 2. สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ 3. มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี 4. มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและวิชาชีพ  เงื่อนไขการเรียนรู้ เงื่อนไขการเรียนรู้เพื่อให้ได้คุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษาดังที่กล่าวมาประกอบไปด้วยหลักสูตรวิชาพื้นฐานและวิชาชีพที่เหมาะสมกับสาขาวิชา มีรายวิชาให้เลือกและมีรายวิชาฝึกปฏิบัติงาน ในขณะที่การเรียนการสอนต้องให้มีลักษณะการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รู้จักสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมได้มีโอกาสวิเคราะห์ วิจารณ์ได้เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับงานและได้ฝึกงานในสภาพจริง รวมทั้งต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกการใช้ชีวิตการทำงานร่วมกันและมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่นและ ปลอดภัย

More Related