140 likes | 749 Views
โรคพยาธิในเลือด. โรคพยาธิในเลือดส่วนใหญ่จะหมายความถึง เชื้อโปรโตซัว ที่อยู่ในเลือด ไม่ได้รวมถึงหนอนพยาธิที่อยู่ในเส้นเลือด เช่นพยาธิใบไม้เลือด
E N D
โรคพยาธิในเลือด • โรคพยาธิในเลือดส่วนใหญ่จะหมายความถึงเชื้อโปรโตซัวที่อยู่ในเลือด ไม่ได้รวมถึงหนอนพยาธิที่อยู่ในเส้นเลือด เช่นพยาธิใบไม้เลือด • พยาธิในเลือดมักทำให้เกิดโรคที่มีความร้ายแรงกว่าพยาธิในทางเดินอาหารมาก แต่ความรุนแรงของโรคขึ้นกับพันธุ์สัตว์และเป็นความไวต่อโรคของสัตว์แต่ละตัวด้วย และโดยทั่วไปพยาธิในเลือดจะมีความรุนแรงในสัตว์อายุมาก > สัตว์อายุน้อย โรคพยาธิในเลือด
ระบาดวิทยา • เป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดกับโคในประเทศไทย โดยเฉพาะในโคเลือดยุโรป (Bos taurus)จะมีความต้านทานโรคน้อยกว่าโคเลือดอินเดีย (Bos indicus) และโคพื้นเมืองจะมีความต้านทานโรคมากที่สุด • โคพื้นเมืองอาจจะป่วยด้วยโรคนี้ได้เมื่ออยู่ในภาวะ immunocompromise เช่น เครียดจากการขาดอาหาร การออกกำลังมากเกินไป โรคพยาธิในเลือด
การติดต่อ • มีสัตว์ที่ดูดเลือดเป็นพาหะนำโรคแล้วแต่ชนิดของโรค เช่น เห็บจะเป็นตัวนำโรคไข้เห็บ (Babesiosis) เหลือบจะเป็นพาหะที่สำคัญของ Trypanosomiasis แมลงวันคอกเป็นพาหะได้หลายโรค อาการ • ระยะฟักตัวของโรคคือ 2-3 อาทิตย์ • สัตว์มีอาการไข้สูง (106-107F) ไม่กินอาหาร ซึม กระเพาะรูเม็นหยุดทำงาน ช่วงที่มีไข้เยื่อบุต่างๆ มีเลือดคั่ง แต่เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกมากขึ้น เยื่อบุจะซีดและมีอาการอื่นร่วมด้วย โรคพยาธิในเลือด
โรคไข้เห็บโค (Babesiosis) โคอายุ ~ 4-5 ปี แสดงอาการไข้สูง ซึม หยุดเคี้ยวเอื้อง ปัสสาวะสีโคลา (ในถุงพลาสติก) และ B.bovisจะทำให้เกิดอาการทางประสาทร่วมด้วย เห็บที่เป็นพาหะของโรคในประเทศไทย(Boophilus microplus) ระยะดูดเลือดเต็มที่ ที่มาภาพwww.au.merial.com/producers/dairy/disease/boo.html เห็บระยะนำโรค
การวินิจฉัยโรค โดยการฟิล์มเลือดบางแล้วย้อมสียิมซ่า Babesia bigeminaมีขนาดใหญ่ ความยาวเกินรัศมีของเม็ดเลือดแดงและทำมุมแหลม Classical form Babesia bovisมีขนาดเล็กกว่า ความยาวเกินรัศมีของเม็ดเลือดแดงและทำมุมป้าน โรคพยาธิในเลือด
การรักษา Babesiosis • ใช้ยาฉีดเข้ากล้าม เช่น • Diaminazene aceturate (BerenilR ) • Imidocarb (ImizolR) • Quinuronium sulfate (AcaprinR) โรคพยาธิในเลือด
โรคอนาพลาสโมซีส • เกิดจากเชื้อริคเก็ทเซียที่ต้องมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำโรค อาการ • ใกล้เคียงกับโรคไข้เห็บ แต่จะไม่พบอาการปัสสาวะสีโคล่า และในรายที่ป่วยจาก Anaplasmosis มักพบว่าสัตว์มีอาการดีซ่านร่วมด้วย • อาการรุนแรงในโคที่มีสายเลือดยุโรปเช่นเดียวกับไข้เห็บ • โดยทั่วไปแล้วมักทำให้เกิดโรคอย่างเรื้อรัง คือ แคระแกร็น ซีด การวินิจฉัย • ทำฟิล์มเลือดบางจะพบลักษณะจุดที่ขอบเม็ดเลือดแดง การรักษา • ให้ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เช่น Oxytetracycline หรือ ImizolR โรคพยาธิในเลือด
Trypanosomiosis • พบการระบาดประปรายในทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นในภาคใต้มีการระบาดน้อยมาก • มักเกิดการระบาดในสัตว์ในฟาร์มที่เลี้ยงใกล้กับฟาร์มเลี้ยงม้า โดยมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำโรค (โดยเฉพาะเหลือบ) • เป็นพยาธิในเลือดชนิด flagellates ที่อยู่นอกเม็ดเลือด มีขนาดใหญ่กว่าพยาธิในเลือดชนิดอื่นๆ • สัตว์ป่วยมีอาการไข้สูง โลหิตจาง แท้ง เดินขาแข็งๆ นัยน์ตาอักเสบ • สามารถรักษาได้ด้วย SuraminR โรคพยาธิในเลือด
Theileriosis • พบการระบาดมากในภาคใต้ของประเทศไทย แต่ไม่เป็นปัญหาให้เกิดโรคที่รุนแรง • ยังไม่ทราบชนิดของพาหะที่แน่ชัด เข้าใจว่าแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำโรค • เป็นพยาธิที่อยู่ในเม็ดเลือด มีรูปร่างแตกต่างกันได้หลายชนิด • สัตว์ป่วยมีอาการไข้สูง โลหิตจาง ต่อมน้ำเหลืองบวม (superficial lymph nodes) • สามารถรักษาได้ด้วย AcaprinR โรคพยาธิในเลือด
Anaplasma marginaleเป็นจุดอยู่ที่ขอบของเม็ดเลือดแดง Trypanosoma evansi (flagellate) Theileria spp. (pleomorphic) เชื้อโปรโตซัวในเลือด
การควบคุมและป้องกันโรคพยาธิในเลือดการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิในเลือด • 1. กำจัดพาหะนำโรค • ให้ยาฆ่าแมลงบนตัวสัตว์และบริเวณโรงเรือน ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ • พักแปลงหญ้าก่อนปล่อยสัตว์ที่กำจัดพยาธิแล้วลงไป • 2. ให้ยาต้านโปรโตซัวแก่สัตว์ในระดับป้องกันโรคเป็นโปรแกรมประจำ โรคพยาธิในเลือด