1 / 27

สรุปเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

สรุปเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1. การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์. เสนอ. นายไกรลาส ผุดผา. จัดทำโดย. นายเกรียงไกร ทองเรียม. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เลขที่ 30. จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์. จุดประสงค์งานทัศนศิลป์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ 1. วิจิตรศิลป์ ( Fine Art )

guang
Download Presentation

สรุปเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

  2. เสนอ นายไกรลาส ผุดผา

  3. จัดทำโดย นายเกรียงไกร ทองเรียม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เลขที่ 30

  4. จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์ จุดประสงค์งานทัศนศิลป์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ 1.วิจิตรศิลป์ ( Fine Art ) 2.ศิลปะประยุกต์( Applied Art )

  5. 1.วิจิตรศิลป์ วิจิตรศิลป์ คืองานศิลปะที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย อาจเรียกอีกอย่างว่า ศิลปะบริสุทธิ์ ( pure art ) เพราะศิลปินจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาด้วยความพอใจ ความบริสุทธิ์ใจ มิได้หวังผลตอบแทนใดๆ หรืออาจเพื่อประโยชน์บ้าง แต่ก็เน้นความละเอียดลออในการสร้างสรรค์ให้วิจิตรพิสดารหรูหราเกินความจำเป็นแก่ประโยชน์ใช้สอย จึงอาจเรียกศิลปะสาขานี้ว่า ประณีตศิลป์ วิจิตรศิลป์ แบ่งออกเป็น 6ประเภท

  6. 1.จิตรกรรม จิตรกรรม ( painting ) คือการเขียนภาพลงบนวัตถุต่างๆ เช่น กระดาษ ไม้อัด ผ้าใบ ผนังปูน ฯลฯ สีที่ใช้ในการเขียน เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีฝุ่น สีชอล์ก สีน้ำมัน สีอะคริลิก ผงถ่านคาร์บอน ภาพที่เขียนมีหลายลักษณะ เช่น ภาพคนเหมือน (portrait) ภาพสัตว์ (animal)ภาพทิวทัศน์บก (landscape)ภาพทิวทัศน์ทะเล (seascape) ภาพหุ่นนิ่ง (still life) ภาพชีวิตประจำวัน (genre painting)ภาพประกอบ (illustration)

  7. 2.ประติมากรรม ประติมากรรม ( sculpture ) หมายถึง งานศิลปกรรมที่สร้างเป็นรูปทรง 3 มิติ โดยวิธีการแกะสลัก การปั้น หรือการใช้หลายวิธีการร่วมกัน ได้แก่ การปั้น การแกะสลัก การหล่อ การทุบ การตี การเคาะ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ดิน ขี้ผึ้ง สบู่ ไม้ หิน  ปูนปลาสเตอร์ โลหะต่างๆ งานประติมากรรมมีลักษณะเป็น 3 มิติ กล่าวคือ นอกจากความกว้างและความยาวแล้ว ยังมีความหนาหรือความลึกรวมทั้งปริมาตรของรูปทรงด้วยงานประติมากรรมแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

  8. 2.1. ประติมากรรมนูนต่ำ  (bas - relief) มีลักษณะเป็นเส้นร่องหรือเป็นแอ่งลึกลงไปเพียงเล็กน้อย หรือนูนจากพื้นขึ้นมาเพียงเล็กน้อยสามารถมองด้านหน้าได้เพียงด้านเดียว เช่น เหรียญ ศิลาจารึก ฯลฯ 2.2. ประติมากรรมนูนสูง ( high – relief ) คืองานที่มีลักษณะนูนขึ้นมาจากผิวพื้นมากกว่าแบบนูนต่ำ สามารถมองเห็นด้านข้างของงานได้พอสมควร เช่น รูปแกะสลักเทพอัปสรแห่งนครวัด รูปแกะสลักที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  ฯลฯ 2.3.  ประติมากรรมลอยตัว เป็นงานที่มีลักษณะมองเห็นได้รอบด้าน เช่น รูปหล่อทหาร – ตำรวจที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระประธานในพระอุโบสถ  ฯลฯ

  9. 3.สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม (architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ เช่น ที่อยู่อาศัย สาธารณสถาน ศาสนสถาน ฯลฯ โดยคำนึงถึงความสะดวกเหมาะสมกับการใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรงความสวยงามน่าชื่นชม ซึ่งถ้างานก่อสร้างอาคารสถานที่แห่งใดมีความวิจิตรหรือประดับประดาสวยงามเกินจุดมุ่งหมายแค่เพียงที่อยู่อาศัยหรือใช้สอยอื่นๆก์ยิ่งมีคุณค่าในทางวิจิตรศิลป์มากยิ่งขึ้น

  10. 4.ภาพพิมพ์ ภาพพิมพ์ (print) เป็นงานที่มีลักษณะเป็น 2 มิติบนพื้นระนาบคล้ายกับงานจิตรกรรม ต่างกันคือภาพพิมพ์จะต้องสร้างสรรค์บนแม่พิมพ์ก่อน แล้วจึงนำไปพิมพ์บนแผ่นภาพ การพิมพ์ภาพมีหลายเทคนิควิธีการ เช่น ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (sillk screen) ภาพพิมพ์กัดกรด (etching) ภาพพิมพ์สเตนซิล (stencil) ภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) ฯลฯ

  11. 5.สื่อผสม สื่อผสม (mixed media) เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรือเทคนิควิธีการต่างๆเข้าด้วยกัน อาจมีลักษณะเป็น 2 มิติหรือ 3 มิติก็ได้

  12. 6.ศิลปะภาพถ่าย การถ่ายภาพ (photography) ที่จัดอยู่ในประเภทวิจิตรศิลป์นั้นเป็นการถ่ายภาพที่ใช้เทคนิคและวิธีการที่แปลกกว่าภาพถ่ายที่ทำให้ผู้ชมเกิคความคิดความเจริญทางสติปัญญา มีผลในทางสร้างสรรค์ มิใช่ภาพอนาจารหรือภาพถ่ายโดยทั่วไป

  13. 2.ศิลปะประยุกต์ ศิลปะประยุกต์( Applied Art)เป็นศิลปะที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ใช้สอย เพื่อตอบสนองความต้องการทางร่างกายเป็นอันดับแรก และคำนึงถึงความงามเป็นอันดับรอง มี 4 ประเภท คือ

  14. 1.พานิชยศิลป์ พาณิชยศิลป์ (commercial art) เป็นศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อประโยชน์ทางการค้า ธุรกิจ การสื่อสาร เช่น ภาพโฆษณา โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ปกหนังสือ ปกซีดีเพลง การตกแต่งหน้าร้านค้า (display)และโชว์รูม

  15. 2.มัณฑณศิลป์ มัณฑนศิลป์ (decorative art) คือ ศิลปะที่เกี่ยวกับการตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร หรืองานสถาปัตยกรรมให้มีความสวยงามควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย มัณฑนศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรม ช่วยส่งเสริมให้งานก่อสร้างมีความสวยงามน่าอยู่มากขึ้น เช่น การตกแต่งภายใน (interior design) ได้แก่ การเลือกใช้สีเครื่องเรือน การตกแต่งภายในสำนักงาน โรงแรม ห้องประชุมสัมมนา การตกแต่งภายนอก(exterior design) ได้แก่ การตกแตงสวนหย่อม สวนพักผ่อน น้ำตก น้ำพุ สนามหญ้านอกบ้านหรืออาคาร ให้มีความสวยงาม เป็นการช่วยเสริมให้งานสถาปัตยกรรมมีคุณค่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  16. 3.ศิลปหัตถกรรม ศิลปหัตกรรม(art and crafts) เป็นศิลปะที่ทำด้วยมือ สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้สอยหรือประกอบพิธีกรรมตามประเพณี หรือประกอบการละเล่นพื้นบ้าน มักจะถูกสร้างขึ้นมาจำนวนไม่มากนัก แค่พอเพียงที่จะใช้ตามความต้องการเท่านั้น ลักษณะรูปแบบจึงมักแตกต่างกันออกไปตามแต่วัสดุที่มีในท้องถิ่นและความพอใจของผู้ทำ อาจใช้เครื่องมือบ้างแต่ก็ทำด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ งานเหล่านี้มักจะพบในท้องถิ่นชนบทอาจเรียกศิลปะประเภทนี้ว่าศิลปะพื้นบ้าน (folk art) ซึ่งจะพบเห็นทั้งในรูปของจิตรกรรม ประติมากรรม และอื่นๆ ประกอบรวมกันอย่างเหมาะสมกลมกลืน ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติด้วย

  17. 4.อุตสาหกรรมศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์( industrial art ) หมายถึง ผลงานที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสังคม มีทั้งคุณค่าประโยชน์ใช้สอย และความงามควบคู่กันไป เป็นงานที่ผลิตจำนวนมากๆโดยใช้เครื่องจักรเป็นตัวผลิตที่สำคัญ ผลงานที่ออกมามีลักษณะเหมือนๆกันเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของสังคม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์(product design )

  18. เนื้อหาของงานทัศนศิลป์เนื้อหาของงานทัศนศิลป์ เนื้อหาของงานทัศนศิลป์ คือ สาระสำคัญของผลงานทัศนศิลป์ที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นตามแนวความคิดหรือแนวเรื่องที่ต้องการนำเสนอผ่านผลงานทัศนศิลป์ เนื้อหาของงานทัศนศิลป์มี 2 ประเภทคือ - เนื้อหาภายใน - เนื้อหาภายนอก ลักษณะเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ แบ่งเป็น 5 เนื้อหา 1.เนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อ 2.เนื้อหาเกี่ยวกับบุคคล 3.เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ 4.เนื้อหาเกี่ยวกับสังคม 5.เนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์

  19. ประเภทเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ประเภทเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ 1.เนื้อหาภายใน เนื้อหาภายใน คือ ผลงานทัศนศิลป์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยความบริสุทธิ์ทางทัศนศิลป์ ซึ่งเนื้อหาประเภทนี้เป็นเนื้อหาประเภทนามธรรม

  20. 2.เนื้อหาภายนอก เนื้อหาภายนอกคือผลงานทัศนศิลป์ที่เป็นเรื่องราวสามารถแปลออกมาเป็นรูปภาพได้ มีการใช้องค์ประกอบศิลป์เพื่อสื่อความหมาย เรียกเนื้อหาประเภทนนี้ว่า รูปธรรม

  21. ลักษณะเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ลักษณะเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ 1.เนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อ (Belief) คือ การแสดงออกจากความศรัทธาในศาสนาผ่านทัศนศิลป์ เช่นรูปปั้นพระพุทธรูป

  22. 2.เนื้อหาเกี่ยวกับบุคคล (Personal) คือ การแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ต่อบุคคลสำคัญ

  23. 3.เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ (Natural) คือ การแสดงออกถึงความประทับใจในธรรมชาติที่มีความงดงาม

  24. 4.เนื้อหาเกี่ยวกับสังคม (Social) คือ การแสดงถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมที่มีความรู้สึกสะเทือนใจ

  25. 5.เนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์ (Emotion) คือ การแสดงถึงความรู้สึกในผลงานที่ผ่านกระบวนการและกรรมวิธีของศิลปิน

  26. สรุป/การประยุกต์ใช้ จากเนื้อหาที่ได้พูดทั้งหมดมานั้นเราสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการกำหนดจุดประสงค์และเนื้อหาในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เช่น การออกแบบตกแต่งห้องนอน ออกแบบตกแต่งเวทีคอนเสิร์ต เป็นต้น

  27. THE END จบแล้วครับครู

More Related