530 likes | 1.63k Views
บทเรียนที่ 4 สมุดรายวันขั้นต้น. หัวข้อที่ศึกษา. ความสำคัญและประเภทของสมุดรายวันขั้นต้น หลักการพิจารณาการใช้และออกแบบสมุดรายวันขั้นต้น สมุดรายวันเฉพาะ. สมุดรายวันขั้นต้น (Books of original entry).
E N D
บทเรียนที่ 4สมุดรายวันขั้นต้น
หัวข้อที่ศึกษา • ความสำคัญและประเภทของสมุดรายวันขั้นต้น • หลักการพิจารณาการใช้และออกแบบสมุดรายวันขั้นต้น • สมุดรายวันเฉพาะ
สมุดรายวันขั้นต้น (Books of original entry) • เป็นสมุดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเป็นลำดับแรก โดยบันทึกรายการเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง โดยมีคำอธิบายกำกับแต่ละรายการแบบย่อ ๆ ก่อนที่จะผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง
ข้อพิจารณาในการใช้สมุดรายวันข้อพิจารณาในการใช้สมุดรายวัน • กิจการมีรายการต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากหรือน้อย • แบ่งบันทึกรายการลักษณะเดียวกันไว้ในเล่มเดียวกัน • จำนวนช่องกำหนดจากรายการที่เกิดขึ้นบ่อย • ชื่อช่องจำนวนเงินเป็นชื่อเดียวกันชื่อบัญชี • กำหนดหน้าที่ในการลงบัญชี
ประเภทของสมุดรายวันขั้นต้นประเภทของสมุดรายวันขั้นต้น 1. สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) 2. สมุดรายวันเฉพาะ ได้แก่ • สมุดเงินสดรับ/สมุดรายวันรับเงิน (Cash Receipts Journal) • สมุดเงินสดจ่าย/สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payment Journal) • สมุดรายวันซื้อ (Purchase Journal) • สมุดรายวันขาย (Sales Journal) • สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด (Sale Returns and Allowances Journal) • สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด (Purchase Returns and Allowances Journal)
สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) • เป็นสมุดรายวันขั้นต้นที่มีไว้สำหรับบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการไว้เป็นหลักฐาน เรียงตามลำดับระยะเวลาก่อนหลังแสดงรายการทั้งด้านเดบิตและเครดิตของบัญชีที่เกี่ยวข้อง • แต่ถ้ารายการค้าถูกบันทึกสมุดรายวันเฉพาะเล่มอื่นแล้ว สมุดรายวันทั่วไปก็จะใช้บันทึกรายการที่ไม่สามารถบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะเล่มอื่น ๆ เช่น รายการปรับปรุง รายการปิดบัญชี เป็นต้น ในสมุดรายวันทั่วไปจะต้องมีคำอธิบายย่อ ประกอบรายการนั้น
ตัวอย่างรูปแบบสมุดรายวันทั่วไปตัวอย่างรูปแบบสมุดรายวันทั่วไป
ประโยชน์ของสมุดรายวันเฉพาะประโยชน์ของสมุดรายวันเฉพาะ • เพื่อรวบรวมรายการลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกัน ลดงานการผ่านบัญชีย่อย เพราะสามารถรวบยอดทุดสิ้นเดือนผ่านบัญชีครั้งเดียวได้ • สามารถแยกประเภทรายการที่บันทึกได้ตามความเหมาะสม • แบ่งงานให้พนักงานหลาย ๆ คนลงบัญชีรายวันเบื้อต้น • ทำให้เกิดการแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ เกิดการควบคุมภายใน
หลักกฎหมาย ประกาศของกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544 อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 “กำหนดบัญชีที่ต้องจัดทำ”
บัญชีที่ต้องจัดทำ • บัญชีรายวัน • บัญชีเงินสด • บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร • บัญชีรายวันซื้อ • บัญชีรายวันขาย • บัญชีรายวันทั่วไป
บัญชีที่ต้องจัดทำ • บัญชีแยกประเภท • บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน • บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย • บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ • บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
บัญชีที่ต้องจัดทำ • บัญชีสินค้า • บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ
การออกแบบสมุดรายวันขั้นต้นการออกแบบสมุดรายวันขั้นต้น • จะต้องมีชื่อสมุดบัญชีที่สั้นแต่เข้าใจว่าควรนำรายการค้าประเภทใด มาบันทึก • วันที่ เดือน ปี ที่เกิดรายการ • ช่องอธิบายรายการ ซึ่งแสดงถึงรายละเอียดของรายการที่นำมาบันทึกหรือชื่อบุคคล • ช่องเลขที่เอกสารอ้างอิง • ช่องจำนวนเงินรวมที่เป็นเงินตราไทย
การออกแบบสมุดรายวันขั้นต้น (ต่อ) • ช่องรายการเฉพาะที่ใช้บันทึกรายการที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง • หน้าบัญชี • ช่องเดบิต บัญชี…….. ช่องเครดิต บัญชี………. • ช่องรายการที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง“บัญชีอื่น ๆ”
สมุดรายวันเฉพาะ • สมุดเงินสดรับ/สมุดรายวันรับเงิน (Cash Receipts Journal) • สมุดเงินสดจ่าย/สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payment Journal) • สมุดรายวันซื้อ (Purchase Journal) • สมุดรายวันขาย (Sales Journal)
ทะเบียนใบสำคัญสั่งจ่ายและทะเบียนเช็คจ่าย(Voucher Register and Payments Check Register) • ในกิจการที่ใช้ระบบใบสำคัญ โดยรายการที่จะจ่ายเงินจากกิจการ ไม่ว่าจะจ่ายเงินทันทีหรือรอเวลาจ่ายจะนำมาบันทึกไว้ในทะเบียนใบสำคัญสั่งจ่าย (ใบสำคัญค้างจ่าย) และตั้งรายการที่จะจ่ายเงินหรือรอการจ่ายเป็นเจ้าหนี้ทั้งหมด • การออกแบบทะเบียนใบสำคัญสั่งจ่ายจะคล้ายกับสมุดเงินสดจ่าย แต่ช่องเงินสดจ่ายจะเป็นช่องเจ้าหนี้ • เมื่อถึงกำหนดการจ่ายก็จะนำใบสำคัญสั่งจ่ายนั้นมาออกเช็คสั่งจ่ายแล้วบันทึกการจ่ายในทะเบียนเช็คจ่าย เมื่อผ่านรายการจ่ายนี้ไปบัญชีแยกประเภทก็จะล้างบัญชีเจ้าหนี้ ทำให้ยอดบัญชีเจ้าหนี้คงเหลือเท่ากับจำนวนเงินตามใบสำคัญสั่งจ่ายที่ยังไม่ได้จ่าย
การใช้ใบสำคัญแทนการบันทึกสมุดรายวันเบื้องต้นการใช้ใบสำคัญแทนการบันทึกสมุดรายวันเบื้องต้น • ใช้ใบสำคัญปะหน้าเอกสารและวิเคราะห์รายการบัญชี แทนการบันทึกลงสมุด • ในปัจจุบันใช้ระบบใบสำคัญในการวิเคราะห์รายการบัญชีก่อนการบันทึกลง “โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป” • ในปัจจุบันรายงานสมุดรายวันต่าง ๆ สามารถจัดทำได้จา “โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป”
ตัวอย่าง โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ของสภาวิชาชีพบัญชี • My GL • ฟรีซอฟท์แวร์
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้อมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552 โดยกำหนดไว้ 5 แบบ (ตามประเภทนิติบุคคลผู้มีหน้าที่ทำบัญชี) ให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลมาล่วงหน้าเพื่อใช้ในชั่วโมงเรียนถัดไป