1 / 55

ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลือง และระบบภูมคุ้มกัน

ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลือง และระบบภูมคุ้มกัน. การลำเลียงสารในร่างกาย. การลำเลียงสาร หมายถึง การนำสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจน เอนไซม์ ฮอร์โมน แร่ธาตุต่างๆ ฯลฯ ไปยังเซลล์และกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ ด้วย. การลำเลียง สารในร่างกายสัตว์.

gotzon
Download Presentation

ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลือง และระบบภูมคุ้มกัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลือง และระบบภูมคุ้มกัน

  2. การลำเลียงสารในร่างกายการลำเลียงสารในร่างกาย การลำเลียงสาร หมายถึง การนำสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจน เอนไซม์ ฮอร์โมน แร่ธาตุต่างๆ ฯลฯ ไปยังเซลล์และกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติด้วย

  3. การลำเลียงสารในร่างกายสัตว์การลำเลียงสารในร่างกายสัตว์ สิ่งมีชีวิต จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายสารต่างๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเสมอ เช่น หลังย่อยต้องลำเลียงสารไปเก็บไว้ที่เซลล์ หรือเมื่อมีการสลายโมเลกุลของอาหารเพื่อให้ได้พลังงานก็จำเป็นต้องลำเลียงก๊าซออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่เซลล์ เมื่อมีของเสียที่เกิดจากเมทาบอลิซึมของร่างกายก็จะลำเลียงไปกำจัดออกที่ไต สัตว์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีขนาดใหญ่เซลล์ที่อยู่ภายในร่างกายไม่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงจำเป็นต้องมี ระบบลำเลียงสาร

  4. การลำเลียงสารของสัตว์ที่ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือดการลำเลียงสารของสัตว์ที่ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด โพรทิสต์ (protist) อะมีบา (Ameba) และ พารามีเซียม (Paramecium) มีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการแพร่และการไหลเวียนของไซโทพลาสซึม ภายในเซลล์ (cyclosis) ทำให้สารอาหารเคลื่อนไหวไปโดยรอบๆเซลล์ เพื่อให้ทุกส่วนของเซลล์ได้รับสารอาหารได้ทั่วถึง ส่วนของเสียจะแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นน้ำจะถูกขับถ่ายโดย contractilevacuole

  5. ฟองน้ำ (sponge) ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อ แต่มีเซลล์เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ มีเซลล์ปลอกคอ (collarcell) ทำหน้าที่จับอาหารโดยใช้เท้าเทียมโอบล้อมอาหารแบบฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) มีการลำเลียงอาหารโดยกระบวนการแพร่และกระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ต

  6. ไฮดรา (hydra) ไฮดรามีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ ชั้นนอก (ectoderm) และชั้นใน (endoderm) มีช่องว่างกลางลำตัว (gascovascularcavity) ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหาร และลำเลียงสารต่างๆ มีเนื้อเยื่อชั้นในทำหน้าที่ย่อยอาหาร เมื่อย่อยแล้วสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กก็จะแพร่ผ่านออกจากเซลล์ไปสู่ช่องว่างกลางลำตัว และจะถูกขับออกไปนอกลำตัวทางช่องปาก การแลกเปลี่ยนก๊าซของไฮดราสามารถแลกเปลี่ยนกับสิ่งแวดล้อม ได้โดยตรง เพราะเซลล์เกือบทุกเซลล์สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมได้

  7. พลานาเรีย (planaria) พลานาเรียเมื่อกินอาหารเข้าไป อาหารจะเข้าทางปากแล้วผ่านไปยังทางเดินอาหารที่แตกแขนงไปทั่วร่างกาย เซลล์จะสร้างน้ำย่อยมาย่อย อาหาร อาหารที่ย่อยแล้วจะแพร่เข้าสู่เซลล์ที่ผิวของทางเดินอาหารที่แทรกอยู่ทั่วไป หรือใช้กระบวนการ activetransport ก็ได้

  8. สัตว์ชั้นสูง มีระบบหมุนเวียนเลือดช่วยในการลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆของร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ1) ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ( Opencirculatorysystem) เป็นระบบที่เลือดไหลออกจากหัวใจแล้วมีทั้งอยู่ในเส้นเลือด ช่องว่างในลำตัวและที่ว่างระหว่างอวัยวะต่างๆ พบในสัตว์ไฟลัมอาร์โทรโพดา เช่น เเมลง กุ้ง กั้ง ปู ไรน้ำ(ไรเเดง) เพรียงหิน เเมงมุมเเมงป่อง เห็บ ไร เเมงดาทะเล ตะขาบ กิ้งกือ ฯลฯ และไฟลัมมอลลัสกา เช่น พวกหอย เป๋าฮื้อ หมึก ลิ่นทะเล ทาก หอยทาก 2) ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ( Closed circulatory system ) เป็นระบบที่เลือดไหลอยู่ในเส้นเลือดโดยตลอด พบในสัตว์ไฟลัมแอนเนลิดา(ไส้เดือนดิน เเม่เพรียง ( ไส้เดือนทะเล ) ปลิงน้ำจืด ) คอร์ดาตา(เพรียงหัวหอม เพรียงลอย เพรียงสาย เเอมฟิออกซัส ) และสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด

  9. ไส้เดือนดิน มีหลอดเลือดทอดยาวตลอดลำตัวทั้งด้านบนและด้านล่างโดยหลอดเลือดทางหัวมีลักษณะเป็นห่วงหลอดเลือดรอบบริเวณหลอดอาหารติดต่อระหว่างหลอดเลือดด้านบนและด้านล่างทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเหมือนกับหัวใจจึงเรียกห่วงหลอดเลือดบริเวณนี้ว่าหัวใจเทียม(pseuduheart) โดยเลือดของไส้เดือนดินจะไหลวนอยู่ในหลอดเลือดต่อเนื่องกับตลอด เป็นระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (closed circulatory system) 

  10. แมลง มีหลอดเลือดใหญ่อยู่ทางด้านหลังของลำตัวหลอดเลือดบางส่วนขยายขนาดขึ้นทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเรียกว่า หัวใจบางช่วงเลือดจะออกจากหลอดเลือดแทรกซึมตามช่องว่างภายในลำตัวส่วนต่างเลือดจะสัมผัสกับเนื้อเยื่อโดยตรงและมีการแลกเปลี่ยนสารเลือดที่เลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจโดยการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อลำตัวส่วนกุ้งมีการหมุนเวียนเลือดที่แตกต่างจากพวกแมลงเล็กน้อยกล่าวคือมีหัวใจอยู่ทางด้านหัวเพียงตำแหน่งเดียวเลือดส่วนหนึ่งที่ออกจากหัวใจจะไหลผ่านเหงือกเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สกับน้ำภายนอกก่อนแล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย

  11. การลำเลียงสารในสัตว์พวกปลาการลำเลียงสารในสัตว์พวกปลา ปลามีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด ซึ่งประกอบด้วยหัวใจ (heart) มี 2 ห้อง คือหัวใจห้องบน (atrium) ทำหน้าที่รับเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนต่ำจากร่างกาย แล้วเข้าสู่หัวใจห้องล่าง หัวใจห้องล่าง (ventricle) ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนต่ำไปยังเหงือก atrium ventricle

  12. การลำเลียงสารในร่างกายของคนการลำเลียงสารในร่างกายของคน คนจำเป็นต้องลำเลียงสารไปสู่เซลล์ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้วนำสารที่ร่างกายไม่ต้องการไปกำจัดออกเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการ ลำเลียงสารในร่างกาย คือ หลอดเลือด และ หัวใจ

  13. หัวใจหัวใจคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่างๆ มีโครงสร้างที่คล้ายกัน โครงสร้างภายนอกของหัวใจ

  14. โครงสร้างภายในของหัวใจโครงสร้างภายในของหัวใจ การทำงานของหัวใจ

  15. ห้องหัวใจมี 4 ห้องด้วยกันคือ 1.ห้องบนซ้าย (Left auricle) ทำหน้าที่รับเลือดซึ่งฟอกจากปอดแล้วออกทางเส้นเลือด พัลโมนารี เวน (Pulmonary vein) 2.ห้องบนขวา (Right auricle) รับเลือดที่ใช้แล้วจาก ซูพีเรียเวนาคา ซึ่งนำเลือดจากส่วนบนของร่างกายและอินฟีเรียเวนาคาวา ซึ่งนำเลือดมาจากส่วนล่างของร่างกาย

  16. 3.ห้องล่างซ้าย (left ventricle) ทำหน้าที่ส่งเลือดซึ่งรับมาจากห้องบนซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ตา (aorta) เพื่อไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจห้องนี้ผนังหนาที่สุดเนื่องจากต้องใช้แรงในการบีบตัวมากกว่าหัวใจห้องอื่นๆ 4.ห้องล่างขวา (rifht ventricle) ทำหน้าที่ส่งเลือดที่ใช้แล้ว ซึ่งรับมาจากห้องบนขวาไปฟอกที่ปอด โดยผ่านไปทางเส้นเลือด พัลโมนารี อาร์เตอรี (pulmonary artery) หัวใจห้องนี้มีผนังหนา เช่นกันแต่บางกว่าห้องล่างซ้ายเนื่องจากส่งเลือดไปยังปอดเท่านั้น ไม่ต้องใช้แรงบีบมากนัก

  17. หลอดเลือดทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ

  18. 1.หลอดเลือดแดงหรืออาร์เตอรี ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังเส้นเลือดฝอย ได้แก่ เอออร์ตา(aorta)มีขนาดใหญ่ที่สุด อาร์เตอรี (artery) ขนาดต่างๆ และอาร์เตอริโอล (arteriole) ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงที่มีขนาดเล็กที่สุด หลอดเลือดแดงหยืดหยุ่นได้ดี เนื่องจากมีอีลาสไฟติกเบอร์ (Elastic Fiber) อยู่มาก เส้นเลือดแดงขนาดใหญ่จะยืดหยุ่นได้ดีกว่าเส้นเลือดแดงขนาดเล็ก เส้นเลือดแดงมักมีผนังหนา เนื่องจากมีกล้ามเนื้อเรียบค่อนข้างมาก เพื่อต้านทานแรงดันของเลือดที่ส่งออกจากหัวใจและปรับระดับความดันเลือดไม่ให้ลดลงมากหนัก

  19. 2. หลอดเลือดดำหรือเวน ทำหน้าที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ ได้แก่ เวนาคาวา (Vena cava)มีขนาดใหญ่ที่สุด เวน (Vein) ขนาดต่างๆ เวนูล (Venule) ซึ่งเป็นเส้นเลือดดำที่มีขนาดเล็กที่สุด เส้นเลือดดำขนาดใหญ่มีอีลาสติกไฟเบอร์และกล้ามเนื้อเรียบอยู่บ้าง แต่น้อยกว่าเส้นเลือดแดงมาก เส้นเลือดดำเล็ก เช่น เวนูลมีผนังบางมากไม่มีกล้ามเนื้อเรียบเลย เส้นเลือดดำสามารถยืดขยายได้ดีจึงมีความจุสูง สามารถบรรจุเลือดได้ถึง 60-70% ของเลือดทั้งหมด เนื่องจากความดันในเส้นเลือดดำต่ำ ดังนั้นภายในเส้นเลือดดำจึงตองลิ้นอยู่ด้วยช่วยป้องกัน ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับทาง

  20. 3. เส้นเลือดฝอยหรือคะปิลลารี(capillary) เป็นเส้นเลือดที่อยู่ระหว่างเส้นเลือดแดงอาเตอริโอลและเส้นเลือดดำ เวนูล เส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุด ผนังประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว สานกันเป็น ตาข่ายร่างแหแทรกอยู่ทุกส่วนของร่างกาย การที่ เส้นเลือดฝอยมีขนาดเล็กและผนังบางมาก ทำให้เลือดไหลผ่านเส้นเลือดฝอยอย่างช้าๆ และเกิดการแลกเปลี่ยน ก๊าซสารอาหารและของเสียต่างๆ ระหว่างเลือดใน เส้นเลือดฝอยและเซลล์ทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ

  21. ความดันเลือด ( blood pressure)หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดงที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) เป็นตัวเลข 2 ค่าคือ

  22. ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท- ค่าตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจเรียกว่าความดันระยะหัวใจบีบตัว (Systolic Pressure) • ส่วนตัวเลข 80 แสดงความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เพื่อรับเลือดเข้าสู่หัวใจเรียกว่าความดันระยะหัวใจคลายตัว (Diastolic Pressure)

  23. เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า “ มาตรความดันเลือด จะใช้คู่กับสเตตโตสโคป (stetoscope)'' โดยจะวัดความดันที่หลอดเลือดแดง ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะหัวใจรับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่นหลอดเลือดตีบตัน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดจากอารมณ์โกรธทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อการบีบตัวของหัวใจโดยตรง

  24. ชีพจรหมายถึง การหดตัวและการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติหัวใจเต้นเฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที การเต้นของชีพจรแต่ละคนจะแตกต่างกันปกติอัตราการเต้นของชีพจรในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง

  25. ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด มีดังนี้ • อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก • เพศ เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นเพศหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือน • จะมีความดันเลือดค่อนข้างสูง • 3. ขนาดของร่างกาย คนที่มีร่างกายขนาดใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกาย • ขนาดเล็ก • 4. อารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์เครียด วิตกกังวล โกรธหรือตกใจง่ายทำให้ความดันเลือดสูงกว่าคนที่ • อารมณ์ปกติคนทำงานหนักและการออกกำลังกาย ทำให้มีความดันเลือดสูง

  26. เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า “ น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma)”และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด

  27. เซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) มีลักษณะค่อนข้างกลมตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน ( คล้ายขนมโดนัท ) เนื่องจากไม่มีนิวเคลียส องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า “ ฮีโมโกลบิน ” ซึ่งมีสมบัติในการรวมตัวกับแก๊สต่างๆ ได้ดี เช่น แก๊สออกซิเจนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะเอ็มบริโอ สร้างจาก ตับ ม้าม ไขกระดูก ภายหลังคลอดแล้ว สร้างจากไขกระดูก เมื่อสร้างมาใหม่ๆจะมีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส

  28. หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส โดยจะลำเลียงแกสออกซิเจน ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับไปที่ปอดแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดงคือ ไขกระดูก ผู้ชายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้หญิง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 110-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม

  29. เซลล์เม็ดเลือดขาว (leucocyte) มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง มีอายุราว 2-3วัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกlymphocyte ทำหน้าที่สร้างสารต่อต้าน จำเพาะ(antibody)กลุ่มที่สอง แบบไม่ จำเพาะ ได้แก่ phagocyteทำลายเชื้อโรคแบบฟาโกไซโทซิส

  30. หน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกายหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย แหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาวคือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 7-14 วัน

  31. เพลตเลต (platelet) ลักษณะ เพลตเลตไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาสซึมชนิดหนึ่งของกระดูกไขสันหลังที่ขาดเป็นชิ้น เพลตเลตมีเยื่อหุ้มเซลล์แต่ไม่มีนิวเคลียส มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ไมโครเมตร

  32. มีรูปร่างไม่แน่นอน ภายในประกอบด้วยทอมโบรพลาสติน (thromboplastin) ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

  33. หน้าที่ของเพลตเลต เพลตเลตเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด (blood clotting)

  34. การแข็งตัวของเลือด - เมื่อเกิดบาดแผล เพลตเลตจะปล่อยเอนไซม์ทอมโบพลาสติน ทำงานร่วมกับ Ca+ วิตามินเค - โดยเอนไซม์ทอมโบพลาสตินจะไปเปลี่ยนเอนไซม์ โพรทอมบิน ซึ่งไม่ว่องไว ให้เป็นเอนไซม์ทอมบิน

  35. - เอนไซม์ทอมบินไปเปลี่ยนโปรตีนไฟบริโนเจน ให้เป็นโปรตีนไฟบริน ซึ่งจะประสานกันเป็นร่างแหบริเวณ ปากแผล และเพลตเลตก็จะมาเกาะทำให้เลือดหยุดไหล ภาพการประสานกันของโปรตีนไฟบริน

  36. น้ำเลือด ( plasma ) น้ำเลือดเป็นของเหลวค่อนข้างใส มีสีเหลืองอ่อน ภาพแสดงลักษณะของน้ำเลือด

  37. น้ำเลือดประกอบด้วย 1. น้ำ ประมาณ 90-93 % รักษาระดับของน้ำเลือด และความดันเลือดให้คงที่ เป็นตัวกลางในการลำเลียงสาร 2. โปรตีน 7-10 % (โพรบริโนเจน, อัลบูมิน, โกลบูลิน) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด 3. สารอาหารโมเลกุลเล็กๆ ยูเรียคาร์บอนไดออกไซด์ เอนไซม์และฮอร์โมนชนิดต่างๆ - ถ้านำลือดที่ทิ้งให้แข็งตัวก่อนแล้วนำไปปั่น เพื่อแยกเซลล์เม็ดเลือด เพลตเลต และโพรไฟบรินออกจากส่วนที่เหลือจะเป็นของเหลวใสๆ เรียกว่า ซีรัม (serum)

  38. หน้าที่ของน้ำเลือด 1. ลำเลียงเม็ดเลือด และสารอื่นๆ ได้แก่ อาหารที่ย่อยแล้ว แร่ธาตุ ฮอร์โมน แอนติบอดี 2. ช่วยรักษาสมดุลความเป็น กรด - เบส สมดุลของน้ำ และรักษาอุณหภูมิของร่างกาย

  39. หมู่เลือดและการให้เลือดหมู่เลือดและการให้เลือด ระบบหมู่เลือด ABO คนที่มีเลือดต่างกันนั้นมีสารพวกโปรตีนภายในพลาสมา ที่เรียกว่า แอนติบอดี ( Antibody ) ที่หมุนเวียนไปทั่วร่างกายแตกต่างกันและมีสารเคมีที่เรียกว่า แอนติเจน ( Antigen ) อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแตกต่างกัน ในระบบ ABO จำแนกหมู่เลือดออกเป็น 4 หมู่คือ หมู่เลือด A, B, AB และ O แอนติเจนและแอนติบอดีในเม็ดเลือด ในประชากรทั้งหมดคนที่มีเลือดหมู่ O จะมีมากที่สุดมีอยู่ราว ๆ  40 – 50 % หมู่ A มีประมาณ 40 % หมู่ B มีอยู่ราว ๆ 10 -50 % หมู่ AB  มีอยู่ราว ๆ 5 %

  40. แอนติเจนและแอนติบอดีในเม็ดเลือดและพลาสมาในหมู่เลือดแอนติเจนและแอนติบอดีในเม็ดเลือดและพลาสมาในหมู่เลือด หมู่เลือด แอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดง แอนติบอดีในพลาสม่า O - Anti A, Anti B A A Anti B B BAnit A AB A, B -

  41. หลักการให้เลือดและการรับเลือดของคนในหมู่เลือดระบบ ABO ผู้ให้กับผู้รับ ควรจะมีเลือดหมู่เดียวกัน จึงจะปลอดภัยที่สุด เลือดของผู้ให้จะต้องไม่มีแอนติเจนตรงกับ แอนติเจนของผู้รับ ผู้ให้สากล คือ เลือดหมู่โอ สามารถให้ได้ทุกหมู่ ผู้รับสากล คือ เลือดหมู่เอบี สามารถรับได้ทุกหมู่

  42. การให้เลือดกลุ่ม ABO - หมู่เลือด A มีแอนติเจน A และมีแอนติบอดีB ดังนั้นหมู่เลือดA ไม่สามารถให้แก่หมู่เลือด B เพราะหมู่เลือด B มีแอนติเจน B และแอนติบอดีA ( แอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ ) เลือดจะตกตะกอน - หมู่เลือด O ไม่มีแอนติเจนใดๆเลย ดังนั้นจึงสามารถถ่ายเลือดให้ผู้รับได้ทุกหมู่เรียก หมู่เลือด O ว่า ผู้ให้สากล ( Universal donor ) แต่จะรับเลือดจากหมู่เลือดอื่นไม่ได้เลย เพราะมีแอนติบอดีทั้ง A และ B - หมู่เลือด AB มีแอนติเจน A และ B ดังนั้นจึงไม่สามารถถ่ายเลือดให้หมู่เลือดอื่นได้เลย เป็นผู้รับอย่างเดียวเท่านั้น เรียกหมู่เลือด AB ว่าเป็นผู้รับสากล ( Universal recipient )

  43. ระบบหมู่เลือด Rh เป็นหมู่เลือดอีกหมู่ที่มีความสำคัญแก่ชีวิต หมู่เลือดระบบ Rhซึ่งได้มาจากคำว่า Rhesus monkey ซึ่งเป็นลิงวอกชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Macacamuluttaหมู่เลือดระบบ Rhแบ่งเป็น 2 พวก คือ Rh+และ Rh- Rh + คือ เลือดที่มีแอนติเจน Rhอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่ไม่มี Antibody ( แอนติบอดี ) Rhในน้ำเลือด ซึ่งคนไทยประมาณร้อยละ 90 จะเป็น Rh + Rh - คือ เลือดที่ไม่มีแอนติเจน Rhอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง และน้ำเลือดก็ไม่มีแอนติบอดี Rhแต่สามารถสร้างแอนติบอดีRhได้เมื่อได้รับแอนติเจนRh( Rh+)

  44. การให้เลือดและรับเลือดของคนที่มีหมู่เลือด Rh 1. คนที่มีเลือด Rh + สามารถรับได้ทั้ง Rh + และ Rh - เพราะคนที่มีเลือดRh+ไม่สามารถสร้างแอนติบอดีได้ 2. คนที่มีเลือด Rh - รับเลือด Rh + ครั้งแรกไม่เกิดอันตรายเพราะว่าแอนติบอดียังน้อย แต่จะเกิดอันตรายรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆในครั้งต่อไป 3. ถ้าแม่มีเลือด Rh + รับเลือด Rh - เมื่อมีลูก ลูกจะปลอดภัยไม่ว่าลูกจะมีเลือดเป็น Rh + หรือ Rh – 4. ถ้าแม่มีเลือด Rh - พ่อ Rh + ถ้าลูกมีเลือด Rh - ลูกจะปลอดภัยแต่ถ้าลูกมีเลือด Rh + ลูกจะไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะลูกคนต่อ ๆไป เพราะแอนติบอดีRhที่อยู่ในเลือดจากการตั้งครรภ์ครั้งแรกจะเข้าสู่เลือดของเด็กและเกิดปฏิกิริยาขึ้นได้

  45. ในกรณีที่หญิงมีเลือด  Rh-แต่งงานกับชายที่มีเลือด Rh+หากเกิดทารกในครรภ์มีเลือด Rh+ซึ่งได้ยีนมาจากพ่อ เลือดทารกในครรภ์นั้นจะกระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี Rhขึ้นมาต่อต้าน Rh+ทารกคนแรกอยู่ในครรภ์เพียง 9 เดือนแอนติบอดี Rhของแม่ยังไม่มากพอที่จะทำลาย Rh+ได้ ลูกคนแรกจึงคลอดออกมาปกติ แต่ถ้าลูกคนถัดมาเกิดมี Rh+เป็นคนที่สองอีก เลือดของแม่จะสร้างแอนติบอดี Rhเพิ่มมากขึ้น และสามารถส่งเข้าไปยังรกสู่ทารกในครรภ์ ทำให้เม็ดเลือดแดงของทารกจับกลุ่มตกตะกอน ทารกถึงตายได้ โรคนี้เรียกว่า อิริโทรบลาสโทซิสฟีทาลิส  ( Erythroblastosisfetalis ) 

More Related