1 / 11

การค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์. ε їз ความหมายของ การค้ามนุษย์ ε їз สภาพปัญหา ε їз ผลกระทบ ε їз แนวทางแก้ไข ε їз รูปภาพ. การค้ามนุษย์.

glora
Download Presentation

การค้ามนุษย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การค้ามนุษย์ εїзความหมายของ การค้ามนุษย์ εїзสภาพปัญหา εїзผลกระทบ εїзแนวทางแก้ไข εїзรูปภาพ

  2. การค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ หมายความรวมถึง เด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และพึงได้รับการช่วยเหลือ ในกรณีดังนี้ คือ เด็กหรือหญิงที่ถูกบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด รับไว้ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือ ซ่อนเร้น ซึ่งเด็กหรือหญิงโดยใช้อุบายล่อลวง ขู่เข็ญ ประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือนอกราชอาณาจักร และการกระทำดังกล่าวทำให้เด็กหรือหญิงนั้น ตกอยู่ในสภาวะจำยอมกระทำการหรือยอมรับการกระทำใดๆ อันมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น การค้าบริการทางเพศ การข่มขู่บังคับจิตใจ การใช้แรงงานโดยกดขี่ทารุณ บังคับขู่เข็ญให้เป็นขอทาน งานรับใช้ในบ้านและหรือการกระทำอื่นใดที่ไร้คุณธรรม ซึ่งเด็กและหญิงนั้นหมายความรวมถึงเด็กและหญิงต่างชาติ หรือที่ไม่สามารถระบุสัญชาติได้เข้าประเทศไทยแบบถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม หน้าหลัก

  3. สภาพปัญหา สถานการณ์ของประเทศไทยกับการค้ามนุษย์ ประเทศไทย มีความเกี่ยวข้องกับการค้าเด็กและหญิง ทั้ง 3 สถานะ คือเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่านและปลายทาง ประเทศต้นทาง คือ ประเทศที่มีการส่งเด็กและหญิงไปค้าต่างประเทศ ประเทศทางผ่าน คือ ประเทศที่ใช้เป็นเส้นทางผ่านของการนำเด็กและหญิงไปค้าในประเทศอื่นๆประเทศปลายทาง คือ ประเทศที่มีการนำเด็กและหญิงเข้ามาค้าหรือแสวงหาประโยชน์ หรือมีการล่วงละเมิดสิทธิประเทศไทยมีความเปิดเผยของระบบข้อมูลข่าวสาร และเสรีภาพด้านการสื่อสาร รวมทั้งความสะดวกด้านเส้นทางคมนาคมภายในประเทศ ประกอบกับไทยมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อน บ้าน ดังนั้น จึงมีช่องทางที่จะแสวงหารายได้เพื่อปรับปรุงสภาพชีวิต ประเทศไทยจึงเป็นจุดปลายทาง หรือทางผ่านของการค้าเด็กและหญิงของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจำนวนเด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ไม่สามารถ จัดเก็บได้ เนื่องจากผู้ที่ถูกค้ามักไม่ต้องการเปิดเผยตน เพราะเกรงกลัวอิทธิพลของแก๊งอาชญากรรม หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ ทำให้ไม่สามารถสำรวจได้อย่างสมบูรณ์ หน้าหลัก ถัดไป

  4. สภาพปัญหา(ต่อ) การค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการ ย้ายถิ่น และการนำพาเข้าเมืองทำให้ยาก ที่จะจำแนกจำนวนเด็กและหญิง ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ได้อย่างเด็ดขาดปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าเด็กและหญิง เป็นปัญหาที่ประชาคมโลกห่วงใยและเร่งหามาตรการ เพื่อแก้ไขและป้องกัน เพราะถือว่าเป็นปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กและหญิงอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดอาชญากรรมทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น และปัญหาสังคมต่างๆ เช่น การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ยาเสพติดและโรคติดต่ออื่นๆ เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ และความมั่นคงของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรมของประเทศและประชาคมโลก ดังนั้นองค์การสหประชาชาติ จึงได้มีการจัดทำอนุสัญญา ปฏิญญาและพิธีสารต่างๆ อาทิ พิธีสารเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2543 เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานโลกในการขจัดปัญหาการค้าหญิงและเด็ก และให้แต่ละประเทศเร่ง ปรับปรุงตัวบทกฎหมาย และมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองเด็กและหญิงจากภัยของอาชญากรรมข้ามชาติในรูปของการค้ามนุษย์ ย้อนกลับ หน้าหลัก

  5. ผลกระทบ • เอฟทีเอกับผลกระทบด้านมนุษยชน การค้าเสรี คือ การค้าที่ไม่เสรี • "ผลกระทบเขตการค้าเสรี โดยเฉพาะไทย-สหรัฐนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะสิทธิเสรีภาพของประชาชนเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อสิทธิอธิปไตยของชาติด้วย" • ศ.เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในงานสัมมนาเรื่อง "เอฟทีเอไทย-สหรัฐ : ผลกระทบด้านมนุษยชน" ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกับพันธมิตรจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 มกราคมที่ผ่านมา • ศ.เสน่ห์กล่าวด้วยว่า เขตการค้าเสรีเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เฉพาะในไทย เป็นการแผ่อำนาจเศรษฐกิจการเมืองออกไปทั่วโลกท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันเป็นความต่อเนื่องจากยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยโลกาภิวัตน์แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 คือ การแผ่ขยายของจักรวรรดิอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สหรัฐเป็นมหาอำนาจ ส่วนโลกาภิวัตน์ยุค 2 จะมาในรูปลักษณ์ของเสรีนิยมใหม่ภายใต้อำนาจของสหรัฐ • "มีข้อสังเกตว่า หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น จากเดิมที่ถือว่า เศรษฐกิจรับใช้สังคม แต่เศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ถือว่า สังคมต้องรับใช้เศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม" • การค้าเสรีในยุคฉันทมติวอชิงตันแตกต่างจากโลกา ภิวัตน์ในช่วงแรก เพราะเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่เป็นการขยายอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งการขยายการค้าเสรีของตะวันตกเป็นการขยายผ่านสิทธิมนุษยชนชุดหนึ่งที่ตอบ สนองอำนาจทุน เป็นการใช้สิทธิของตน แต่ไม่ยอมรับสิทธิด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างสิทธิมนุษยชนของโลกตะวันตกกับสังคมนอกตะวันตก • ดังนั้นเราจึงได้เห็นความพยายามที่จะให้มีการลด ภาษี แปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งผลักดันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อจะรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจเอาไว้ อย่างเรื่อง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นการทำให้มีความชัดเจนขึ้น แต่เมื่อกระทบต่อความสะดวกและคล่องตัวของธุรกิจต่างชาติ ทำให้หอการค้าต่างประเทศมีท่าทีอย่างมาก ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างสะท้อนถึงความพยายามในการแผ่อำนาจทางการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีที่ไม่ได้คำนึงถึงความชอบธรรม หน้าหลัก ถัดไป

  6. ผลกระทบ(ต่อ) • "แท้จริงแล้ว การค้าเสรีคือ การค้าที่ใช้กำลังบังคับด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ต่างกับในยุคจักรวรรดินิยม การค้าเสรีก็คือ การค้าที่ไม่เสรีนั่นเอง" • สำหรับเอฟทีเอไทย-สหรัฐมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน มาก เพราะสหรัฐใช้กฎหมาย Trade Promotion Act เป็น กรอบในการเจรจา แต่ไม่ได้คำนึงถึงกฎหมายภายในของไทย ซี่งส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน สหรัฐพยายามบอกว่าการเจรจาเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่มีทั้งได้และเสีย แต่ไม่เคยแยกแยะว่า ส่วนที่ได้ ใครได้ ส่วนที่เสีย ใครเสีย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเสียเปรียบ รวมทั้งทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินทางปัญญาที่สหรัฐใช้เป็นอาวุธแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าที่มีมา ตลอด • ด้าน อาจารย์จักรกฤษณ์ ควรพจน์อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวูลองกอง ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มีข้อด้อยในเรื่องที่ถูกจำกัดหรือลิดรอนได้ในบาง ขณะ ทำให้มีการคิดกันว่า สิทธิมนุษยชนถูกจำกัดได้ เพื่อให้มีการเปิดเสรีการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งที่เป้าหมายสุดท้ายในการเปิดเสรีการค้าและเศรษฐกิจ คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของคน ดังนั้น สิทธิมนุษยชนควรจะเป็นเป้าหมายสูงสุด และโลกาภิวัตน์หรือการค้าเสรีน่าจะเป็นเพียงเครื่องมือในการยกระดับสิทธิ มนุษยชน • นอกจากนี้ ยังมีผลพวงจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ศาลจะไม่มีอำนาจพิจารณาคดีที่คนต่าง ชาติมีข้อพิพาท ซึ่งในทางธุรกิจจะพยายามดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาจัดการปัญหาเอง รวมทั้งพยายามจะสร้างเงื่อนไขที่ไทยต้องระวัง นั่นคือ การห้ามประเทศคู่เจรจาทำ indirect expropriation นอกเหนือจาก direct expropriation ซึ่งในละตินอเมริกามีการดำเนินการเรื่องนี้มาก โดยแปรรูปธุรกิจต่างชาติ เช่น น้ำมัน ซึ่งกฎระหว่างประเทศกำหนดให้จ่ายค่าตอบแทนให้บริษัทที่ถูกยึดกิจการ แต่ปัจจุบันการทำ direct expropriation มีน้อยมาก แต่รัฐบาลจะใช้การกำกับดูแลมากกว่า เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย--ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 25 - 28 ม.ค. 2550-- ย้อนกลับ หน้าหลัก

  7. แนวทางแก้ไข รัฐมีนโยบายในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและหญิง ดังนี้ 5.1 ขจัดการค้าเด็กและหญิงภายในประเทศและข้ามชาติโดยเด็ดขาด 5.2 ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้มีการคุ้มครองป้องกัน ปราบปรามและแก้ไข ปัญหาเด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับชุมชน ระดับจังหวัด ระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ ทั้งในด้านการป้องกัน คุ้มครอง ฟื้นฟูสภาพ ร่างกายและจิตใจการจัดที่พักพิง การดำเนินการทางกฎหมาย การส่งกลับสู่ครอบครัวหรือสู่ประเทศ ภูมิลำเนา รวมทั้งสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากรและวิชาการ • 5.3 ส่งเสริมให้มีการสร้างความร่วมมือในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหา • การค้าเด็กและหญิงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ทั้ง 3591 ในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ จน • ถึงระดับระหว่างประเทศที่สอดคล้องหลักการในอนุสัญญา ปฏิญญา พิธีสาร หรือกฎหมายระหว่าง • ประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อขจัดบุคคลและกลุ่มขบวนการก่ออาชญากรรมการค้ามนุษย์ถึงระดับระหว่างประเทศที่สอดคล้องหลักการในอนุสัญญา ปฏิญญา พิธีสาร หรือกฎหมายระหว่าง ประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อขจัดบุคคลและกลุ่มขบวนการก่ออาชญากรรมการค้ามนุษย์ หน้าหลัก ถัดไป

  8. แนวทางแก้ไข(ต่อ) 5.4 ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัวในฐานะที่เป็นหน่วยของ สังคม รวมทั้งครอบครัวที่มีเด็กและหญิงได้รับความรู้ ทำความเข้าใจเจตคติที่เกี่ยวกับหญิงและมีความ ตระหนักในเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรีและสิทธิมนุษยชน เพื่อลดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและหญิง และเพื่อ ขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้งให้ความสำคัญในลำดับต้นต่อการสนับสนุนให้เด็กหญิง ครอบครัว และ ประชาชนได้รับการพัฒนาศักยภาพในทุก ๆ ด้านโดยสนับสนุนขั้นพื้นฐาน เช่น การเข้าถึงบริการของ รัฐ อย่างเท่าเทียมกันและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการศึกษาการฝึกทักษะอาชีพและการมี อาชีพ พร้อมทั้งให้มีการพึ่งพาตนเองได้ 5.5 ดำเนินการอย่างจริงจัง เข้มงวด และขจัดผู้กระทำผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าเด็ก และหญิงทั้งในรูปขององค์กรอาชญากรรม หรือในฐานะบุคคล และผู้ที่เอารัดเอาเปรียบในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งผู้ละเมิดทางเพศแก่เด็กและหญิง ย้อนกลับ หน้าหลัก

  9. รูปภาพ หน้าหลัก ถัดไป

  10. รูปภาพ(ต่อ) ย้อนกลับ หน้าหลัก ถัดไป

  11. รูปภาพ(ต่อ) ย้อนกลับ หน้าหลัก

More Related