160 likes | 332 Views
การจัดการความรู้เพื่อพัฒนางานด้านการสร้างแบบของพนักงานสร้างแบบ (PATTERN) บริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด. Knowledge management on the pattern Development of the pattern marker design in Georgie & Lou Co.lt. นางสาว กรรณิการ์ ปัญญาเมืองใจ 542132002.
E N D
การจัดการความรู้เพื่อพัฒนางานด้านการสร้างแบบของพนักงานสร้างแบบ(PATTERN) บริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด • Knowledge management on the pattern Development of the pattern marker design in Georgie & Lou Co.lt นางสาว กรรณิการ์ ปัญญาเมืองใจ 542132002
ปัจจุบันเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มอยู่ในสภาวการณ์แข่งขันที่ค่อนข้างสูง ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอแข่งขันได้นั้นคือ ต้องมีการทำวิจัยพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างจริงจัง โดยการพัฒนาความสามารถในการนำงานวิจัยไปต่อยอด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปรับเปลี่ยนกระบวน การผลิตให้เพิ่มผลิตภาพ (Productivity) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ (นายวิรัตน์ตันเดชานุรัตน์ 2555:ระบบออนไลน์) หลักการ ทฤษฎี เหตุผล และ/หรือสมมุติฐาน
ดังนั้นภายใต้กระแสของการพัฒนาที่ต้องการความมั่นคงยั่งยืน • - มุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Creative and Green Economy) ต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก • พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ ความแปลกใหม่ สร้างความแตกต่าง • -สร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น แตกต่าง สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค • (นายวิรัตน์ตันเดชานุรัตน์ 2550:ระบบออนไลน์)
ดังนั้นแนวคิดที่อยู่บนพื้นที่ว่า การทำงานในโลกปัจจุบันจะเต็มไปด้วยการเรียนรู้มากขึ้น หากองค์กรใดสามารถพัฒนาศักยภาพบุคคลกรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด องค์กรก็จะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าคู่แข่ง องค์กรก็จะได้เปรียบในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ดังที่ สมบัติ กุสุมาวลี (2540:79) กล่าวว่า องค์กรไทยในอนาคตควรหันมาให้ความสัมพันธ์กับพัฒนาทรัพกรมนุษย์อย่างจริงจัง โดยช้กรอบแนวคิดและวิธีการพัฒนาตามแนวทางทฤษฏีองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยการสนับสนุนให้ทุกฝ่ายได้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานของพนักงานอย่างต่อเนื่องเพราะองค์กรในทศวรรษหน้า คือ องค์กรต้งเผชิญกับกระแสความท้าทายที่รุนแรงและหลากหลาย
รวมทั้ง (Marquardt 1996 อ้างถึงใน : พันจ่าตรีวิรัตน์ ทวีทรัพย์สมบัติ ) กล่าวถึงองค์กรห่งการเรียนรู้ คือที่ซึ่งมีบรรยากาศการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีการสอนคนสอนตนเองให้มีการคิดวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้เข้าใจในสรรพสิ่งขณะเดียวกันทุกคนก็ช่วยให้องค์กรเรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จ ซึ่งผลคือให้ทุกคนตระหนักในการเปลี่ยนแปลและปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ (พันจ่าตรีวิรัตน์ ทวีทรัพย์สมบัติ :2552)
ความจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์การเรียนรู้ (Learning Organization)ตามแนวคิดของเซงเก้ (PeterSenge)(อ้างใน:พันจ่าตรีวิรัตน์ ทวีทรัพย์สมบัติ :2552) คือ การสร้างวินัย 5 ประการ “The FIFTH Disciplines”ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ขององค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย การมีแบบแผนความคิด การสร้างวิสัยทัศน์ การเรียนรู้เป็นทีม การคิดอย่างเป็นระบบ และทฤษฎี เป็นการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มย่อยทีมีการนำปัญหาที่กลุ่มสนใจและมีผลกระทบ ต่อทั้งกลุ่มและองค์กรมาเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาและการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา และนำไปลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจริง เพื่อพัฒนางานของพนักงานแพทเทริ์น ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสื่อสารติดต่อประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง และค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน และทำให้งานมีการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องรองรับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตในอนาคต หากองค์กรไม่มีการพัฒนาการเรียนรู้ของพนักงาน ( พันจ่าตรีวิรัตน์ ทวีทรัพย์สมบัติ :2552)
บริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด • เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเสื้อผ้ายืดและไหมพรหมส่งออกต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน วิสัยทัศน์ที่ว่า มุ่งสูผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความทันสมัย มีการส่งเสริมพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพ ด้วยการวิจัยพัฒนาและเพิ่มมูลค่าด้วยการเพิ่มคุณภาพและคุณบัติต่างๆให้มีตรงตามที่ความต้องการของตลาด ตลอดจนการพัฒนาการออกแบบและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมและมีคุณภาพ ผลการวิจัยจะทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติใหม่ๆในการใช้งาน ความสวยงาม เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีคุณค่า เกิดการขยายตัวของการผลิต สามารถขายแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ ปัจจุบันบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ได้ขยายกิจการจากแต่เดิมบริษัทมีเพียงโรงงานเย็บ แต่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงพัฒนาระบบการผลิตที่ครบวงจร โดยมีการสร้างฐานการผลิตเอง ไม่ว่าจะเป็นโรงงานทอผ้า ,โรงงานย้อมผ้า , และโรงไฟฟ้า ตลอดจนการพัฒนาด้านการตลาด เริ่มมีการจัดระบบหรือกระบวนการภายในการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ในองค์กร แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่องค์ขาดคือการพัฒนาด้านทรัพยกรบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม หรือการสร้างและปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความรู้
เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในบริษัทสามารถบรรลุถึงจุดหมายที่กำหนดไว้บริษัทฯได้กำหนดนโยบายคุณภาพพัฒนาระบบบริหารคุณภาพเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในบริษัทสามารถบรรลุถึงจุดหมายที่กำหนดไว้บริษัทฯได้กำหนดนโยบายคุณภาพพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ พยายามสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้า ด้วยการนำเสนอสินค้าที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าในระดับสูงสุด ดังนั้น การสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีนั้นเป็นเรื่องของพนักงานที่ต้องมีความพิถีพิถันเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนการผลิต บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างแบบ (Pattern) เสื้อผ้า ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ถือเป็นหน้าที่สำคัญ เป็นต้นแบบของการผลิตซึ่งเป็นตัวกำหนดงานให้กับแผนกอื่น ๆ ที่นำไปสู่กระบวนการผลิตต่อ เช่น แผนกตัด แผนกเย็บ และแผนกทั่วไป จนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
พนักงานสร้างแบบต้องเป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ความเชี่ยวชาญการสร้างแบบ (Pattern) มีความรู้เรื่องผ้า เทคนิคการเย็บ รวมไปถึงวิธีการผลิตที่รวดเร็วและมีคุณภาพ ซึ่งจากการสัมภาษณ์หัวหน้าแผนก production บริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด (นางสาวศิริญา บุญรอด:2554 )ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เย็บที่ผลิตออกมาที่เกิดความผิดพลาด ไม่ผ่านการตรวจของแผนก Q,C มากกว่า 50 % มีสาเหตุมาจาก ความผิดพลาดขึ้นในการทำงาน ที่มักจะพบอยู่เสมอ คือเกิดจากความผิดพลาดของพนักงาน หรือที่เรียกว่า Human error ซึ่งจาการศึกษาจากผลการตรวจยอดงานการผลิตในแผนก Q,C และการสัมภาษณ์ หัวหน้าแผนก production บริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด (นางสาวศิริญา บุญรอด:2554 )80% มีสาเหตุมาจาก Human error ดังนี้ • พนักงานที่เข้ามาทำงานเป็นพนักงานใหม่ยังขาดประสบการณ์และทักษะในการทำงาน เพราะไม่ได้รับการสอนงาน ส่งผลให้เกิดการทำ pattern ผิดแบบ ทำ pattern ไม่ตรงตามสเปค ที่นักออกแบบได้กำหนดไว้ • ความเร่งรีบในการทำงานส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติ โดยงานตัวของมันเองมีความยาก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย • ปัญหาในการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและชัดเจน ซึ่งเป็นส่วนงานสำคัญของพนักงาน Pattern ที่ต้องถ่ายทอดข้อมูลให้สำหรับคนเย็บเพื่อไปดำเนินงานต่อได้อย่างถูกต้องตามแบบ ถ้าการให้ข้อมูลนั้นผิดพลาดและไม่ครบถ้วน ส่งผลให้งานที่ออกมาผิดพลาดและเสียหายตามออร์เดอร์ในแต่ละเดือนนั้น
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นทางผู้วิจัยมีความสนใจที่จะทดลองนำทฤษฎีการจัดการความรู้มาพัฒนางานด้านการสร้งแบบ (Pattern) โดยใช้แนวคิดองค์การเรียนรู้ (Learning Organization) ทั้ง 5 ด้านมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาการสร้างวินัย 5 ประการ “The FIFTH Disciplines” มาประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ขององค์กร เพื่อแก้ปัญที่เกิดจากความผิดพลาดของพนักงาน • 1. Team Learnการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร แก้ปัญหาพนักงานใหม่ที่ไม่ได้รับการสอนงาน และช่วยลดปัญหาในการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและชัดเจนเมื่อพนักงานรู้สึก • 2.System Thinkingมีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถทำให้พนักงานคิดได้อย่างมีแบบแผนและรอบคอบ สามารถแก้ปัญหาเมื่อมีความเร่งรีบในการทำงานที่ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติ • 3. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและชัดเจน
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง •แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ •แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของงานด้านการสร้างแบบโดยนำการจัดการความรู้มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา 2. เพื่อสร้างระบบการจัดการความรู้ของงานด้านการสร้างแบบ 3. เพื่อเป็นการปรับปรุงเทคนิค กระบวนการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำความรู้ นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์
. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. พนักงานเกิดการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ทำให้พนักงานสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคและปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานด้านการสร้างแบบแนวทางแก้ไขเพื่อนำไปสู่การผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
วิธีการดำเนินการวิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย วิธีการนำมาตรฐานISO 12207 มาประยุกต์ใช้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้3.1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เก็บความต้องการของระบบ และศึกษาขั้นตอนการทำงานของหัวข้อความรู้3.2 วิเคราะห์ตามมาตรฐาน ISO 122007 ที่จะนำมาใช้ 3.3 ศึกษาเครื่องมือที่ใช้พัฒนาการจัดการความรู้3.4 จัดทำเอกสารประกอบการใช้งานและพัฒนาการจัดการองค์ความรู้3.5 ดำเนินการตามคุณภาพมาตรฐาน ISO 122007 จำนวน 15 กิจกรรม
สถานที่ที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูลบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ระยะเวลาในการดำเนินวิจัย เดือนมีนาคม 2555 – มิถุนายน 2555 . ผลที่คาดว่าจะได้รับ