270 likes | 687 Views
กา รบริหารคลังสินค้า. กา รบริหารคลังสินค้า. Inventory Management.
E N D
การบริหารคลังสินค้า Inventory Management สินค้าคงคลัง หรือสินค้าคงเหลือ (Inventory) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ เพราะจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนรายการหนึ่งซึ่งธุรกิจพึงมีไว้เพื่อให้การผลิตหรือการขาย สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปอาจเป็นปัญหากับธุรกิจ ทั้งในเรื่องต้นทุนการเก็บรักษาที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพ หมดอายุ ล้าสมัย ถูกขโมย หรือสูญหาย นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินที่จมอยู่กับสินค้าคงคลังนี้ไปหาประโยชน์ในด้านอื่นๆ
การบริหารคลังสินค้า สินค้าคงคลัง สินค้าคงคลัง (Inventory) หมายถึงวัสดุหรือสินค้าต่างๆ ที่เก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน อาจเป็นการดำเนินงานผลิต ดำเนินการขาย หรือดำเนินงานอื่นๆ สินค้าคงคลังแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
การบริหารคลังสินค้า สินค้าคงคลังแบ่งได้เป็น 4 ประเภท • วัตถุดิบ (Raw Material) คือสิ่งของหรือชิ้นส่วนที่ซื้อมาใช้ในการผลิต • งานระหว่างทำ (Work-in-Process) คือชิ้นงานที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตในขั้นตอนต่อไป โดยที่ยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบทุกขั้นตอน • วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance/Repair/Operating Supplies) คือชิ้นส่วนหรืออะไหล่เครื่องจักรที่สำรองไว้เผื่อเปลี่ยนเมื่อชิ้นส่วนเดิมเสียหรือหมดอายุการใช้งาน • สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) คือปัจจัยการผลิตที่ผ่านทุกกระบวนการผลิตครบถ้วนพร้อมที่จะขายให้ลูกค้าได้
การบริหารคลังสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง หมายถึง 1. การเก็บทรัพยากรไว้ใช้ในปัจจุบัน หรือในอนาคต เพื่อให้การดำเนินการของกิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น ผ่านการวางแผนกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
การบริหารคลังสินค้า 2. การจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวกับรายการสินค้าในคลัง ตั้งแต่รวบรวม จดบันทึกสินค้าเข้า-ออก การควบคุมให้มีสินค้าคงเหลือในปริมาณที่เหมาะสม มีระเบียบ เพื่อให้สินค้าที่มีอยู่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านแบบ สี ขนาด แฟชั่น โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อรายงานแก่ผู้บริหารว่า “รายการสินค้าใดขายดี สินค้าใดขายไม่ดี สินค้าใดควรสั่งซื้อเพิ่ม หรือสินค้าใดควรลดราคาล้างสต็อก หรือควรตัดสต็อก เพราะสินค้าเสื่อมคุณภาพ-ล้าสมัยแล้ว”
การบริหารคลังสินค้า ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง 1. เป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ประมาณการไว้ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งในฤดูกาล และนอกฤดูกาล โดยธุรกิจต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้า 2. เป็นการรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักร ฯลฯ ให้สม่ำเสมอได้โดยจะเก็บสินค้าที่จำหน่ายไม่หมดในช่วงที่จำหน่ายได้ไม่ดี ไว้จำหน่ายตอนช่วงเวลาที่ลูกค้า หรือผู้บริโภคมีความต้องการ ซึ่งในช่วงเวลานั้นอาจจะผลิตไม่ทันการจำหน่าย
การบริหารคลังสินค้า ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง 3. ทำให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณ (Quantity Discount) จากการจัดซื้อสินค้าจำนวนมากต่อครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคา และผลกระทบจากเงินเฟ้อ เมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาเพิ่มสูงขึ้น 4. ป้องกันสินค้าขาดมือ ด้วยสินค้าเผื่อขาดมือ เมื่อเวลารอคอยล่าช้า หรือบังเอิญได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน
การบริหารคลังสินค้า ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง 5. ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงัก อันเนื่องจากของขาดมือ จนทำให้เกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้คนงานว่างงาน เครื่องจักรถูกปิด หรือผลิตไม่ทันคำสั่งซื้อของลูกค้า
การบริหารคลังสินค้า • วัตถุประสงค์ของการบริหารสินค้าคงคลัง • ความประหยัด • ความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน • เพื่อป้องกันสถานการณ์ที่มีความผันแปรในการซื้อขาย
การบริหารคลังสินค้า MRP การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirement Process : MRP) เป็นการวางแผนความต้องการเกี่ยวกับวัตถุดิบทั้งหมดที่จะนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นเทคนิคที่ทำให้การไหลเวียนของวัถุดิบมีประสิทธิภาพโดยจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการคำนวณปริมาณและเวลาที่ต้องการวัตถุดิบนั้น เพื่อให้สามารถสั่งซื้อได้ตามปริมาณและเวลาที่ต้องการ ซึ่ง MRP นั้นถือเป็นระบบผลัก (Push System) คือ เราวางแผนว่าเราจะผลิตเท่าไหร่ แล้วเราต้องการวัตถุดิบเท่าไหร่แล้วเราจึงสั่งวัตถุดิบเข้ามา (หรือการสั่งเมื่อมีความต้องการเท่านั้น)
การบริหารคลังสินค้า วัตถุประสงค์และประโยชน์ของ MRP - ลดปริมาณวัสดุคงคลัง - ลดเวลาในการผลิตและจัดส่งผลิตภัณฑ์ - สามารถผลิตสินค้าได้ตามOrder ที่ลูกค้าสั่ง และส่งมอบได้ทันตามที่ลูกค้ากำหนด - สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของตลาด
การบริหารคลังสินค้า กระบวนการของ MRP จะเริ่มจากบริษัทได้รับคำสั่งซื้อหรือมีการประมาณความต้องการ(พยากรณ์ยอดขาย) ในแต่ละช่วงเวลา จะทำการประมวลผลด้วยระบบ Com โดยใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการจัดทำ MPS (MasterProductionSchedule) MPS ก็จะให้ข้อมูลกับฝ่ายจัดซื้อให้ทราบถึงความต้องการวัตถุดิบแต่ละตัวตามรายการ BOM (BillofMaterial) และตรวจเช็คปริมาณวัตถุดิบที่ยังมีอยู่ในโกดัง (InventoryRecord หรือ On-handInventory) เพื่อผลิตตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ
การบริหารคลังสินค้า B. EOQ (EconomicOrderQuantity) • เป็นรูปแบบของการบริหารสินค้าคงคลัง • EOQ คือ ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด โดยการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งจะสั่งในปริมาณหรือจำนวนที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมนั้นเกิดจากค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า (Carrying Cost) (ค่าใช้จ่ายสองตัวนี้จะแปรผกผันกัน) • สูตร EOQ = 2 DO / C • D = ความต้องการสินค้าใน 1 ปี • O = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง • C = ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าต่อหน่วยต่อปี
การบริหารคลังสินค้า ข้อจำกัด ของ EOQ • ความต้องการสินค้ามีปริมาณแน่นอน • ระยะเวลาในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า (Lead time) มีระยะเวลาแน่นอน • ต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้าคงที่ • ราคาสินค้าต่อหน่วยคงที่ • ไม่มีการส่งคืนสินค้า • ไม่มี Discount มาเกี่ยวข้อง • การสั่งซื้อทุกครั้งจะได้รับสินค้าโดยการจัดส่งเพียงครั้งเดียว • สินค้าไม่มีการขาด stock
การบริหารคลังสินค้า EOQ ต้องคำนึงถึง • ต้นทุนในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) เช่น การออกใบสั่งซื้อ การติดตามงานกับ Supplier • ต้นทุนการเก็บรักษา (Holding Cost) เช่น ค่าประกันภัยสินค้า ค่าเช่าโกดังสินค้า • อัตราการใช้สินค้า หรือการซื้อซ้ำ (Reorder point) คำนวณจากการพยากรณ์ และดูLead time ด้วย • Reorder point เป็นการตัดสินใจว่าจะทำการสั่งซื้ออีกเมื่อไหร่ ซึ่งอาจต้องมีการเผื่อ Safety Stock ไว้ระดับหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต • สูตร Reorder point = Lead time х Demand+ Safety Stock วัน
การบริหารคลังสินค้า ประโยชน์ ของ EOQ ทำให้กิจการสามารถเผชิญกับความผันแปรของ Demand ได้ โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาการขาด Stock ช่วยลดต้นทุนสินค้าเนื่องจากการสั่งซื้อในปริมาณมาก ช่วยประหยัดต้นทุนการสั่งซื้อ กระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดชะงัก
การบริหารคลังสินค้า Supply Chain Management การจัดการซัพพลายเชน หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เป็นการจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีผลต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่ กระบวนการจัดซื้อ(Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) การจัดจำหน่าย (Distribution) การขนส่ง (Transportation) กระบวนการทั้งหมดนี้จะจัดระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัว
การบริหารคลังสินค้า การจัดการซัพพลายเชนหรือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การเท่านั้น แต่ที่สำคัญจะสร้างความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับองค์กรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดหาวัตถุดิบ/สินค้า(Supplies) บริษัทผู้ผลิต(manufactures) หรือผู้จัดจำหน่าย (Distribution) รมถึงลูกค้าของบริษัท จึงจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนด้วยกันเป็นเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง
การบริหารคลังสินค้า *** SupplyChain มีเป้าหมายคือ ทำกำไรให้ได้มากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายรวมตลอดสายห่วงโซ่ต่ำที่สุด และการบริหาร*** ***SupplyChainที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าและต้นทุนต่ำที่สุด***
การบริหารคลังสินค้า ประโยชน์ของการนำซัพพลายเชน เกิดความสะดวกรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ลดต้นทุนรวมขององค์กร เพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและประสิทธิภาพในการผลิต ขนส่ง และการบริการลูกค้าสร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร เนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง
ใบงานที่ 7 จงหาความหมายของข้อมูลต่อไปนี้ให้สมบูรณ์พร้อมยกตัวอย่าง 1. ระบบการขนาดสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) 2. ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) 3. ระบบสินค้าคงคลังของการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT)