1 / 12

การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. เสนอ อาจารย์ สคราญ นิตย์ เล็ก สุทธิ์ จัดทำโดย นางสาว วิภา วรรณ ไชยวรรณ เลขที่ ๑๘ รหัสประจำตัวนิสิต ๕๕๒๒๒๐๒๐๓๙ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา ปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณ ราชวิทยาลัย

gitano
Download Presentation

การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครูการใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู การจัดการความรู้ในสถานศึกษา เสนอ อาจารย์สคราญนิตย์ เล็กสุทธิ์ จัดทำโดย นางสาว วิภาวรรณไชยวรรณเลขที่ ๑๘ รหัสประจำตัวนิสิต ๕๕๒๒๒๐๒๐๓๙ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา ปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

  2. บทที่ 8 การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

  3. ความหมายของ KM การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด     โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

  4. ได้ระบุว่าการจัดการความรู้สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน        การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่ 1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร 2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน 5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น 

  5.     data = ข้อมูล        ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร  Information = สารสนเทศ       สารสนเทศ หมายถึง สาส์นชนิดหนึ่ง ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญจะประกอบด้วย ผู้ส่งสาส์นและผู้รับสาส์น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสื่อหากัน เช่นต้องการเปลี่ยนแปลง ผู้รับสาส์น อาทิเช่น สารสนเทศ เรื่องสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร และมีการให้คะแนนตามเกณฑ์มาตร ฐานที่ตั้งไว้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นสารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศ จะเป็นส่วนของข้อมูลที่มีความสำคัญนั่นเอง

  6. Knowledge = ความรู้       ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน  เราอาจจะทำความเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ในแต่ละวันที่เราทำงาน จะเกิดข้อมูลใหม่ๆ ขึ้นทุกวัน ซึ่งข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้ เราก็จะมีการจัดเก็บ ไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งเก็บไว้บนแผ่น กระดาษ และในคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบอิเลคทรอนิค (electronic data) เมื่อดำเนินงานไปเป็นเวลานานมากขึ้น ก็สามารถจะสรุปผลออกมาเป็นข้อมูลที่มี ความสำคัญ เช่น มีการจัดหมวดหมู่ ของประเภทอาหารที่ผลิต หรือถ้าเป็น สถานพยาบาลก็เป็นการจัดลำดับของการเจ็บป่วยของผู้มารับบริการอย่างนี้ เรียกว่า เริ่มจะเป็นสารสนเทศ แต่สิ่วสำคัญมากขึ้นมาอีกคือ ความรู้ (knowledge) ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นเมื่อใด จากสารสนเทศที่มีอยู่ สารสนเทศ เริ่มเมื่อ แต่ละปี การเกิดโรค แตกต่างกัน การแก้ไขปัญหา ด้วนวิธีการเดิมไม่ได้ผล

  7. วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการจัดการความรู้ เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ คือ การใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ  การจัดการความรู้มีความสำคัญอย่างยิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม  วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้   มีดังนี้ 1.  เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ 3. เพื่อปรับปรุงเทคนิค กระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ประโยชน์ของการจัดการความรู้ได้ 8 ประการ ดังนี้ 1. ป้องกันความรู้สูญหาย: การจัดการความรู้ทำให้องค์การสามารถรักษาความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ และความรู้ที่อาจสูญ

  8. 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ: โดยประเภท คุณภาพ และความสะดวกในการเข้าถึง ความรู้ เป็นปัจจัยของการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ 3. ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น: การทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในงานและวัตถุประสงค์ของงาน โดยไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีการแทรกแซงมากนักจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาจิตสำนึกในการทำงาน 4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน: การจัดการความรู้ช่วยให้องค์การมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาดและการแข่งขัน ทำให้สามารถลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้ 5. การพัฒนาทรัพย์สิน: เป็นการพัฒนาความสามารถขององค์การในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ เป็นต้น 6. การยกระดับผลิตภัณฑ์: การนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อีกด้วย

  9. ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วนำส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผล ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน ระบบบริหารการเรียน จะทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปแสดงที่ web browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร

  10. การติดต่อสื่อสาร มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ · ประเภทช่วงเวลาเดียวกัน (synchronous) ได้แก่ chat · ประเภทช่วงเวลาต่างกัน (asynchronous) ได้แก่ web-board, e-mail การสอบ/วัดผลการเรียน  โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ บางวิชาจำเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมกับตนมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

  11. ทั้ง WBI และ E-learning ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร        นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก

  12. ขอบคุณครับ/ ขอบคุณค่ะ

More Related