1 / 22

หลักของการประเมินผล

หลักของการประเมินผล. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย กลุ่มที่ ๘. หลักของการประเมินผลคืออะไร ?. ถาม : หลักการของการประเมินผลคืออะไรคะ ตอบ : ถ้าคุณน้องอยากรู้ก็ลองดู...ซิจ๊ะ. Rentzel และ Cooter ได้อธิบายหลักการประเมินผลไว้ดังนี้จ้ะ. หลักการตัดสินและความชัดเจน ( Determining and Clarifying)

Download Presentation

หลักของการประเมินผล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักของการประเมินผล สาขาวิชาการสอนภาษาไทย กลุ่มที่ ๘

  2. หลักของการประเมินผลคืออะไร?หลักของการประเมินผลคืออะไร? ถาม : หลักการของการประเมินผลคืออะไรคะ ตอบ: ถ้าคุณน้องอยากรู้ก็ลองดู...ซิจ๊ะ

  3. Rentzelและ Cooterได้อธิบายหลักการประเมินผลไว้ดังนี้จ้ะ • หลักการตัดสินและความชัดเจน (Determining and Clarifying) การประเมินผลเป็นการรวบรวมผล จากการวัดแบบต่างๆ ที่มีความชัดเจนและถูกต้อง

  4. ๑. หลักการตัดสินและความชัดเจน ๑.๑ วัตถุประสงค์การสอนต้องมีความชัดเจน ตรงตามเป้าหมายและมีเป้าหมายเดียว เช่น อ่านนิทานเรื่องราชสีห์กับหนูแล้วเขียนเล่าเรื่องด้วยภาษาของตนเองได้ วัตถุประสงค์นี้มีเป้าหมายเดียว คือ เขียนเล่าเรื่องจากการอ่านนิทานโดยใช้ภาษาของตนเอง • ๑.๑ วัตถุประสงค์การสอนต้องมีความชัดเจน ตรงตามเป้าหมายและมีเป้าหมายเดียว เช่น อ่านนิทานเรื่องราชสีห์กับหนูแล้วเขียนเล่าเรื่องด้วยภาษาของตนเองได้ วัตถุประสงค์นี้มีเป้าหมายเดียว คือ เขียนเล่าเรื่องจากการอ่านนิทานโดยใช้ภาษาของตนเอง

  5. ๑. หลักการตัดสินและความชัดเจน ๑.๒ กระบวนการประเมินต้องมีระบบที่ชัดเจน เช่น การประเมินผลของระดับชั้นมัธยมศึกษาตลอดปีการศึกษาจะใช้วิธีวัดโดยแบบทดสอบในช่วง ปลายภาคและในระหว่างเรียนอาจใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน แบบทดสอบย่อย แบบฝึกหัด ซึ่งต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อเตรียมการ

  6. ๑. หลักการตัดสินและความชัดเจน ๑.๓ เครื่องมือที่ใช้ประเมินต้องมีความชัดเจน ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ใช้ภาษาง่าย ๆ อ่านแล้วเข้าใจทันทีไม่ต้องตีความ

  7. ๑. หลักการตัดสินและความชัดเจน ๑.๔ เครื่องมือมีมาตรฐาน ต้องผ่านการหาประสิทธิภาพ เช่น ความยากง่ายค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น อย่างถูกต้องและได้ค่าทางสถิติที่กำหนด

  8. ๒. เทคนิคของการประเมินผล ๒.๑ ต้องใช้เครื่องมือวัดผลให้ถูกต้อง เช่น ใช้แบบทดสอบความสามารถในการอ่านของผู้เรียนก่อนและหลังการฝึกอ่านครบตามจำนวนครั้งที่ต้องการวัดและใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน หลังจากเรียนจนถึงปลายภาค

  9. ๒. เทคนิคของการประเมินผล ๒.๒ ต้องใช้เครื่องมือให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น วัตถุประสงค์ให้อ่านเรื่องแล้วตอบคำถามได้ ต้องใช้แบบทดสอบการอ่านซึ่งอาจใช้แบบปรนัยหรือแบบอัตนัยที่ครอบคลุมเนื้อหาในบทเรียน

  10. ๒. เทคนิคของการประเมินผล ๒.๓ เครื่องมือที่สร้างขึ้นต้องเข้าใจตรงกันระหว่างผู้สร้างเครื่องมือกับผู้นำไปใช้ ภาษา ที่ใช้ต้องสื่อความหมายตรงกัน คำสั่งและวิธีการใช้เครื่องมือต้องไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน

  11. ๓. การประเมินผลเป็นความรอบรู้ • ๓.๑ เทคนิคการประเมินผล ต้องใช้วิธีวัดผลแบบต่าง ๆ เช่น แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสอบถาม ซึ่งผู้สร้างเครื่องมือต้องมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้อย่างดี เพื่อสร้างเครื่องมือนำไปใช้ในการประเมินผู้เรียนได้ตรงกับวัตถุประสงค์

  12. ๓. การประเมินผลเป็นความรอบรู้ • ๓.๒ เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉพาะแบบทดสอบต้องสร้างให้ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ตลอดภาคเรียนซึ่งผลของการทดสอบจะแสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน

  13. ๓. การประเมินผลเป็นความรอบรู้ • ๓.๓ การพัฒนาความคิด เครื่องมือวัดผลนอกจากจะวัดความรู้แล้วต้องประเมินความคิดซึ่งแบ่งเป็น ๒ ระดับคือ ระดับพื้นฐานได้แก่ ความจำ ความเข้าใจ และระดับสูงเป็นการคิดขั้นวิจารณญาณได้แก่ วิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า

  14. ๔. การใช้ประโยชน์ที่แท้จริงของเทคนิคการประเมินผล • การนำเครื่องมือที่มีมาตรฐานผ่านการหาประสิทธิภาพมาแล้วที่เรียกว่าเครื่องมือวัดผลอย่างเป็นทางการซึ่งมีความเที่ยง (Reliability) และความตรง (Validity) ไปใช้ในการประเมินผลตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ จะทำให้ได้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือ

  15. แต่การประเมินผลอาจมี ความคลาดเคลื่อนได้แม้จะใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐาน ทำไมล่ะคะ?

  16. อาจเกิดจาก สิ่งเหล่านี้จ้ะ • นำไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ • นำไปใช้ไม่ถูกตามขั้นตอนตามคู่มือการใช้ • การใช้ถ้อยคำในคำถามและตัวเลือก • การสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้คละผู้เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน

  17. การประเมินผลเป็นวิถีทางที่เป็นระบบ(Evaluation is a Means) ๑. การประเมินผลเป็นวิถีทางสู่การสิ้นสุด (To an End) หมายถึงตลอดปีการศึกษาจะใช้วิธีการวัดแบบต่าง ๆ แล้วนำผลมาประเมิน เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งถือเป็น การสิ้นสุดการวัดผลและประเมินผลสำหรับปีการศึกษานั้น

  18. การประเมินผลเป็นวิถีทางที่เป็นระบบ(Evaluation is a Means) การประเมินผลเป็นวิถีทางที่เป็นระบบ(Evaluation is a Means) ๒. การประเมินผลเป็นวิถีทางที่ไม่สิ้นสุด (Not to an End) หมายถึง เมื่อการประเมินสิ้นสุดลง ผู้ประเมินจะพบข้อบกพร่องต่าง ๆ จากการใช้วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล ตลอดจนการบริหารเครื่องมือ ซึ่งข้อบกพร่องเหล่านี้ จะถูกบันทึกเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

  19. ข้อมูล นายกรเอก เผื่อนผัน รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๑๕ นายจิรศักดิ์ กนกอุดม รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๒๑ นายประจักษ์ ส่องสว่าง รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๖๙

  20. ออกแบบ นางคนึงค์นิธิยานันท์ รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๒๗ น.ส.วิภา ศิริสุข รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๓๐ นางกุลฤดี กฤษฤาหรรษ์ รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๓๕ นายฉลวย อ่วมสุข รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๕๖

  21. จัดทำ นางนฤมลแก้วดารา รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๔๐ นางณัฐกานต์ ติยะสัญ รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๔๗ นางวราภรณ์ ทองน้อย รหัส ๕๓๑๔๖๑๐๐๖๖

  22. จบบริบูรณ์

More Related