260 likes | 663 Views
โรคในระบบการย่อยอาหาร. ลักษณะหรือข้อบ่งชี้ ลูกสุกรดูดนม ในฝูงมีอัตราการป่วยมากกว่า 50% และอัตราการตายมากกว่า 20% สุกรขุน ในฝูงมีอัตราการป่วยมากกว่า 20% และอัตราการตายมากกว่า 5%. การติดต่อ เกิดจากการนำสัตว์ที่เป็นพาหะเข้าฟาร์ม เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารสัตว์หรือสิ่งแวดล้อม. new.
E N D
โรคในระบบการย่อยอาหารโรคในระบบการย่อยอาหาร ลักษณะหรือข้อบ่งชี้ ลูกสุกรดูดนม • ในฝูงมีอัตราการป่วยมากกว่า 50%และอัตราการตายมากกว่า 20% สุกรขุน • ในฝูงมีอัตราการป่วยมากกว่า 20%และอัตราการตายมากกว่า 5% โรคในระบบการย่อยอาหาร
การติดต่อ • เกิดจากการนำสัตว์ที่เป็นพาหะเข้าฟาร์ม • เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารสัตว์หรือสิ่งแวดล้อม new โรคในระบบการย่อยอาหาร
โรคซัลโมเนลโลซีส (Salmonellosis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง เนื่องจากเชื้อมี host range กว้าง สาเหตุ • เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมลบ ซึ่งมีปนเปื้อนในอาหารสัตว์ ซึ่งหากพบเป็นจำนวนมาก จะทำให้สัตว์เป็นโรคและเป็นเชื้อที่ติดคน • แต่เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคจริงๆ ในสุกร มี 2 ชนิด คือ S. choleraesuisและ S. typhisuis การติดต่อ • เกิดจากการปนเปื้อนกับเชื้อในอุจจาระสัตว์ป่วยหรือสัตว์อมโรคหรือปนเปื้อนกับเชื้อในอาหารสัตว์ โรคซัลโมเนลโลซีส
Pattern of Salmonellosis เป็นโรคที่เริ่มจากการติดเชื้อในส่วนลำไส้ แต่ในกรณีที่เป็นอย่างรุนแรงจะก่อให้เกิดอาการโลหิตเป็นพิษ และเชื้อแพร่กระจายได้ทั้งร่างกาย
อาการและวิการ • สุกรทุกอายุจะมีความไวต่อการติดเชื้อ แต่ไวมากที่สุดเมื่ออายุ <4 m มี 3 แบบ 1. เลือดเป็นพิษอย่างเฉียบพลัน (peracute septicemia) • พบในสุกรอายุ < 4 m อัตราการป่วย 10-50 % อัตราการตาย ~ 100% โรคซัลโมเนลโลซีส
อาการและวิการ 2. ลำไส้อักเสบแบบปัจจุบัน (acute enteritis) 3. ลำไส้อักเสบแบบเรื้อรัง (chronic enteritis) • อาการแบบเฉียบพลันจะคล้ายคลึงกับอหิวาต์สุกรมาก • ส่วนแบบเรื้อรังจะมีอาการคล้ายกับ swine dysentery enteritis โรคซัลโมเนลโลซีส
การวินิจฉัย • ส่งตัวอย่างอวัยวะภายในเพื่อทำการเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ การรักษา • ให้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างหรือกลุ่มซัลฟา และอาจต้องมีการทดสอบความไวของยาต่อเชื้อก่อนให้การรักษา การควบคุมและป้องกันโรค • เน้นการจัดการทั่วไป โดยเฉพาะการซื้อสัตว์ใหม่เข้าฝูง • แหล่งอาหารสัตว์ที่สะอาด โรคซัลโมเนลโลซีส
โรคโคไลแบซิลโลซีส (Colibacillosis) • เป็นปัญหาทั่วโลกและทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของโรคในทางเดินอาหาร สาเหตุ • เกิดจากแบคทีเรียชนิดกรัมลบชื่อ E. coli สามารถสร้าง endotoxin ซึ่งทำให้เกิดการช็อคและ enterotoxin ซึ่งทำให้เกิดท้องเสีย นอกจากนี้บาง strain ทำให้เกิดการบวมน้ำ การติดต่อ • เหมือนโรคติดเชื้อในทางเดินอาหารทั่วไป โรคโคไลแบซิลโลซิส
การติดเชื้อ E.coli ชนิดก่อโรค โรคโคไลแบซิลโลซิส
อาการ มี 3 กลุ่ม • 1. เลือดเป็นพิษและช็อคตาย (septicemia) • ส่วนใหญ่จะพบในลูกสุกรแรกเกิด เนื่องจากมีการติดเชื้อผ่านทางสายสะดือ • พบในฟาร์มที่มีการจัดการแม่สุกรก่อนและหลังคลอดไม่ดี โรคโคไลแบซิลโลซิส
อาการ มี 3 กลุ่ม • 2. ท้องร่วง (diarrhea) • พบเป็นปัญหามากที่สุด (~ 50% ของปัญหาท้องร่วงในลูกสุกร) • พบในฟาร์มที่มีการจัดการแม่สุกรก่อนและหลังคลอดไม่ดี และโรงเรือนที่มีปัญหาการจัดการเรื่องอุณหภูมิและความชื้น โรคโคไลแบซิลโลซิส
3. โรคบวมน้ำ (edema disease หรือ bowel edema) • มักเกิดกับลูกสุกรหลังหย่านมที่โตเร็วและแข็งแรงในคอกและมีความเครียดจากการจัดการ เช่น เปลี่ยนอาหาร ฉีดวัคซีน โรคโคไลแบซิลโลซิส
การวินิจฉัยโรค, การรักษาและการควบคุมและป้องกันโรค • เหมือนโรคซัลโมเนลโลซีส โรคโคไลแบซิลโลซิส
โรคบิดมูกเลือด (Swine Dysentery) • มักเกิดกับสุกรรุ่น (อายุ 2-4 เดือน) สุกรขุน และสุกรแม่พันธุ์ทดแทน • อัตราการเกิดโรค ~90-100% อัตราการตาย ~30% และโรคอาจจะวนเวียนติดต่อกันเรื่อยๆ ถ้าไม่ใช้มาตรการคุมเข้มทางสุขาภิบาล สาเหตุโน้มนำ • ความเครียด • การขาดไวตามิน E และซีลีเนียม โรคบิดมูกเลือด
สาเหตุ • แบคทีเรียชนิดเกลียวสว่าน ชื่อ Treponema hyodysenteriae • เชื้อถูกทำลายได้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อพวกฟีนอล และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ • เชื้อสามารถสร้าง endotoxin และhemolysin ซึ่งทำลายเซลล์เยื่อบุเยื่อเมือกลำไส้ใหญ่ ทำให้การดูดซึมแร่ธาตุเสียไป โรคบิดมูกเลือด
การติดต่อ • การกินอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อนี้ • การซื้อสุกรที่เป็นพาหะเข้าฟาร์มรวมทั้งการมีสัตว์ที่หายป่วยจะสามารถแพร่เชื้อปนมากับอุจจาระได้ 1-2 m • การมีพาหะนำโรค เช่น นก หนู สุนัขและแมลงวันคอก • การแพร่กระจายของโรคส่วนใหญ่จะติดไปกับเสื้อผ้าและรองเท้าของคนเลี้ยงรวมทั้งน้ำเสียตามทางระบายน้ำ โรคบิดมูกเลือด
อาการ • การระบาดของโรคจะเป็นอย่างช้าๆ ในฝูงเดียวกัน สัตว์อาจแสดงอาการได้หลายแบบ บางตัวอาจแสดงอาการหลังโกง เตะท้องตัวเองแสดงอาการเสียดท้อง และมีอาการท้องร่วง ซึ่งเป็นลักษณะที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ โดยจะเห็นอุจจาระเหลวไหลเปรอะก้น มีกลิ่นคาวจัดและในอุจจาระจะมีเยื่อเมือกร่อนหลุดและมีเลือดปน • ระยะเวลาเป็นโรค 1-2 w โรคบิดมูกเลือด
การวินิจฉัย • ผ่าซากพบการอักเสบในลำไส้ใหญ่อย่างรุนแรง • เพาะแยกเชื้อจากอุจจาระ • โรคนี้มีอาการคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น การติดพยาธิแส้ม้า, PIA complex โรคบิดมูกเลือด
การรักษา • ตัวที่มีอาการป่วยชัดเจน ควรให้ยาฉีด ส่วนสัตว์ที่เหลือในฝูงให้ยาผสมน้ำดีกว่าผสมอาหาร เพราะสัตว์ป่วยจะกินอาหารลดลง • ยาที่ใช้เช่น Dimetridazole, Erythromycin, Lincomysin, Tiamulin, Tylosin (ฉีด 3-5 d ถ้าให้กิน 2-3 w) กินหรือฉีด โรคบิดมูกเลือด
การควบคุมและป้องกันโรคการควบคุมและป้องกันโรค • มีการกักสัตว์ที่ซื้อใหม่ก่อนนำเข้าฟาร์ม • กำจัดพาหะของโรคในฟาร์ม • มีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม • สัตว์ป่วยจะต้องแยกไปเลี้ยงต่างหากเพื่อกันไม่ให้มีการแพร่เชื้อ • กำจัดอุจจาระ และทำความสะอาดคอกโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ โรคบิดมูกเลือด
โรคพยาธิในทางเดินอาหารโรคพยาธิในทางเดินอาหาร • ความสำคัญของโรคพยาธิและความจำเป็นในการถ่ายพยาธิขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงและอาหารที่ใช้เลี้ยง แต่ถ้ามีการนำมารวมฝูง ควรจะต้องมีการถ่ายพยาธิ สาเหตุ • ชนิดของพยาธิที่พบมากในประเทศไทยได้แก่ • พยาธิไส้เดือน อยู่ในลำไส้เล็ก • พยาธิเส้นด้าย อยู่ในลำไส้เล็ก • พยาธิแส้ม้า อยู่ในลำไส้ใหญ่ • พยาธิเม็ดตุ่ม อยู่ในลำไส้ใหญ่ โรคพยาธิในทางเดินอาหาร
การติดต่อ • จากการกินอาหารที่มีระยะติดต่อของพยาธิ หรือบางชนิดจะสามารถไชเช้าทางผิวหนัง อาการ • ส่วนใหญ่ทำให้เกิดโรคแบบเรื้อรังท้องเสีย เบื่ออาหาร ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร • พยาธิที่อยู่ในปอดทำให้สัตว์ไอ • พยาธิที่ดูดเลือด จะทำให้โลหิตจางและอาจมีอุจจาระปนมูกเลือด ท้องมานในลูกสุกร โรคพยาธิในทางเดินอาหาร
วิการ • พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิไส้เดือนในระยะตัวอ่อนจะไชผ่านเนื้อตับ ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า milk spot การวินิจฉัยโรค • จากอาการ หรือเก็บตัวอย่างอุจจาระไปหาไข่พยาธิ แต่ถ้าเป็นปัญหาที่เกิดจากระยะตัวอ่อน จะยังไม่สามารถให้ไข่พยาธิได้ ในกรณีนี้จะตรวจไม่พบ โรคพยาธิในทางเดินอาหาร
การรักษาและป้องกันควบคุมโรคการรักษาและป้องกันควบคุมโรค • สุวิชา (2536) ได้วางโปรแกรมดังนี้ แม่สุกร • ถ่ายพยาธิก่อนเข้าเล้าคลอดและควรถ่ายอีกครั้งตอนหย่านมลูก • หรือ ถ่ายปีละ 2-3 ครั้ง สุกรขุน • ถ่ายพยาธิช่วงนำเข้าเล้าขุน พ่อสุกร • ถ่ายปีละ 2-4 ครั้ง โรคพยาธิในทางเดินอาหาร