470 likes | 946 Views
การฟ้อง คดีอาญา การรวม พิจารณา และการถอนฟ้องคดีอาญา. ผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญา ป. วิ.อ. มาตรา ๒๘ “บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (๑) พนักงานอัยการ (๒) ผู้เสียหาย” พนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญาใดจะต้องมีการสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นก่อน(ม. 120 , 134)
E N D
การฟ้องคดีอาญา การรวมพิจารณา และการถอนฟ้องคดีอาญา ฟ้อง รวม ถอน
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญาผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา ๒๘ “บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (๑) พนักงานอัยการ (๒) ผู้เสียหาย” • พนักงานอัยการ • พนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญาใดจะต้องมีการสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นก่อน(ม.120,134) • ถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัว จะต้องมีการร้องทุกข์ตามระเบียบ(ม.121) • พนักงานสอบสวนผู้ส่งสำนวนการสอบสวนจะต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ(ม.18 ว.3,ม.19 ว.3,ม.20) • ในวันที่อัยการยื่นฟ้อง ให้จำเลยมา หรือคุมตัวมาศาล ฟ้อง รวม ถอน
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๒ “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้ (๑) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (๒) (๒) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดั่งกล่าวแล้ว ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา” ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๕ “ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ในวันไต่สวนมูลฟ้อง ให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาล ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป เมื่อศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริงแล้ว ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการต่อไป” ฟ้อง รวม ถอน
ผู้เสียหาย • ผู้เสียหายได้แก่ ผู้เสียหายและผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ม.2(4) • กรณีผู้เสียหายแท้จริงได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีภริยา ของผู้เสียหายที่แท้จริงจะว่าต่อไปก็ได้(รับมรดกความ)(ม.29 ว.1) • ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนประทับรับฟ้อง • เว้นแต่คดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง • คดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง เป็นหน้าที่ศาลที่จะต้องแจ้งให้จำเลยทราบถึงการไต่สวนมูลฟ้อง ม.165 ว.3 ฟ้อง รวม ถอน
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๕ วรรค ๓“ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลย ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป กับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำเลยทราบ จำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือจำเลยจะไม่มา แต่ตั้งทนายมาซักค้านพยานโจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาลถามคำให้การจำเลย และก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น” ฟ้อง รวม ถอน
การฟ้องคดีโดยเข้าเป็นโจทก์ร่วมการฟ้องคดีโดยเข้าเป็นโจทก์ร่วม • การเข้าเป็นโจทก์ร่วมแบ่งเป็น 2 กรณี • ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ • พนักงานอัยการเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย • วัตถุประสงค์การเข้าเป็นโจทก์ร่วม • เพื่อเข้าร่วมในการดำเนินคดี • เพื่อเข้าไปตรวจสอบการดำเนินคดี • เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา ฟ้อง รวม ถอน
1. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก
2.การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน2.การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน ฟ้อง ศาล ผู้เสียหาย อัยการ
ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ • เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะความผิดที่เป็นผู้เสียหายเท่านั้น • ผู้เสียหายจะต้องร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ป.วิ.อ. มาตรา ๓๐ “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาล ชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้” ฟ้อง รวม ถอน
พนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย • อัยการจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ในเฉพาะความผิดอาญาแผ่นดินเท่านั้น • พนักงานอัยการมีอำนาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ทุกระยะ (ชั้นต้นอุทธรณ์ ฎีกา) แต่ต้องก่อนคดีนั้นจะเสร็จเด็ดขาด(ถึงที่สุด) ป.วิ.อ. มาตรา ๓๑ “คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด ก็ได้” • ความผิดเรื่องนั้นต้องมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย • ไม่มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้โดยตรง • น่าจะไม่ต้องสอบสวนก่อน พิจารณาจาก ฎีกาที่1319/2462 ฟ้อง รวม ถอน
คำพิพากษาฎีกาที่ 1319/2462“จำเลยได้ใช้สาตราวุธสับฟันประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย อัยการจึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ วินิจฉัยว่าอัยการก็มีอำนาจฟ้องได้ เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง” ฟ้อง รวม ถอน
ผลของการเข้าเป็นโจทก์ร่วมผลของการเข้าเป็นโจทก์ร่วม • มีฐานะเป็นคู่ความในคดี จึงมีสิทธินำพยานหลักฐานต่างๆเข้าสืบได้ • ผู้เข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้องหรือเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์เดิม ดังนั้นถ้าคำฟ้องเดิมบกพร่อง ก็จะมีผลถึงคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ฟ้อง รวม ถอน
ข้อสังเกต • ผู้เสียหายดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่อาจทำให้การดำเนินคดีของพนักงานอัยการเกิดความเสียหาย พนักงานอัยการมีอำนาจห้ามไม่ให้กระทำการนั้นๆได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 32 ป.วิ.อ. มาตรา ๓๒ “เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใดๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงานอัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้นๆ ได้” • กรณีที่เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้ว ต่อมาขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม (หรือกลับกัน) จะมีผลทำให้การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม หรือการฟ้องคดี (คดีของโจทก์คดีที่ 2) มีลักษณะเป็นการฟ้องซ้อนในคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. ม.15 ประกอบกับ ป.วิ.พ. ม.173 ว.2 (1) ฟ้อง รวม ถอน
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕ “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้ บังคับได้” ป.วิ.พ. มาตรา 173 ว.2 (1)“นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันต่อศาลอื่น และ......” ฟ้อง รวม ถอน
ข้อสังเกต • การเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีเฉพาะ ระหว่างอัยการกับผู้เสียหายเท่านั้น ไม่มีบทมาตราใดที่ให้ผู้เสียหาย เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายได้ แม้ว่าจะเป็นผู้ได้รับความเสียหายในการกระทำของจำเลยครั้งเดียวกันก็ตาม • ศาลก็ไม่เคยอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกัน ฟ้อง รวม ถอน
ผลของการที่ศาลไม่อนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมผลของการที่ศาลไม่อนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วม • ถ้าศาลยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ผู้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม สามารถอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลได้ทันทีเพราะเป็นคำสั่งที่ไม่รับคำคู่ความ ป.วิ อ.มาตรา 15 และ ป.วิ.พ.มาตรา 18 ฟ้อง รวม ถอน
การรวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ป.วิ.อ. มาตรา ๓๓ “คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ศาลนั้นๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษา แต่ทว่าจะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน” ฟ้อง รวม ถอน
การขอรวมพิจารณาคดี • พนักงานอัยการกับผู้เสียหายต่างเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน • โจทก์ยื่นคำร้อง หรือ • ศาลเห็นโดยพลการ • หลักเกณฑ์การรวมพิจารณา • ศาลจะสั่งรวมพิจารณาได้ก่อนศาลหนึ่งศาลใดจะได้พิพากษาคดี • ศาลอื่นให้ความยินยอมในการรวมพิจารณา • ต้องเป็นการยื่นฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกัน และจำเลยคนเดียวกัน • “คดีอาญาเรื่องเดียวกัน” หมายถึง คดีที่มีมูลมาจากการกระทำของจำเลย กรรมเดียวกัน ครั้งเดียวกัน โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานความผิด หรือบทมาตรา ฟ้อง รวม ถอน
ผลของการที่ศาลสั่งให้รวมการพิจารณา • 1. การรับฟังพยานหลักฐาน ต้องรับฟังร่วมกัน • 2. สิทธิของโจทก์ร่วมแยกต่างหากจากกัน (คำฟ้องของโจทก์ร่วมฝ่ายอื่นบกพร่อง ไม่มีผลกระทบต่อฟ้องของโจทก์อื่น) ฟ้อง รวม ถอน
การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
ความเข้าใจเบื้องต้น • คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา หมายถึง คดีแพ่งที่มีมูลมาจากการกระทำความผิดทางอาญา • การฟ้องคดีแพ่ง มีวัตถุประสงค์คือ การเรียกร้องทรัพย์สิน เรียกร้องค่าเสียหาย หรือเรียกร้องให้ทำตามสัญญาทางแพ่ง • การฟ้องคดีอาญา มีวัตถุประสงค์คือ การให้ผู้กระทำผิดถูกลงโทษจากรัฐ • การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา จึงหมายถึง ฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องทรัพย์สิน ค่าเสียหายในทางแพ่ง มีมูลเหตุมาจากการกระทำความผิดทางอาญา • คดีแพ่งที่มีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญา เดิมเรียกว่า “คดีอาญาสินไหม” คดีอาญาสินไหม ผู้กระทำผิดนอกจากจะถูกลงโทษทางร่างกายแล้ว ยังจะต้องใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ (พินัย) และอีกจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายด้วย (สินไหม)(ถ้ามี)
การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดี • มีช่องทาง 4 ช่องทาง • ผู้เสียหายฟ้องทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง เป็นคดีเดียวกัน • ผู้เสียหายแยกฟ้องคดีแพ่ง ออกจากคดีอาญา • อัยการฟ้องคดีอาญา โดยมีคำขอส่วนแพ่งแทนผู้เสียหาย • ผู้เสียหายยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเข้ามาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง
ผู้เสียหายฟ้องทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง เป็นคดีเดียวกัน • ข้อพิจารณา • ผู้เสียหายต้องฟ้องคดีอาญาเป็นคดีหลัก และมีคำขอส่วนแพ่งเป็นคำขอท้ายฟ้อง • ศาลที่รับฟ้องคือ ศาลที่มีอำนาจชำระคดีส่วนอาญา • จะฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่ง ต่อศาลคดีส่วนแพ่งไม่ได้ มาตรา ๔๐ “การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง” • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเหมือนคดีแพ่งปกติ (ร้อยละสิบสลึง)
ผู้เสียหายแยกฟ้องคดีแพ่ง ออกจากคดีอาญา • ข้อพิจารณา • ผู้เสียหายฟ้องเฉพาะคดีส่วนแพ่งต่อศาลแพ่ง • ถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีส่วนอาญา มักจะไม่แยกฟ้องคดีส่วนแพ่ง เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแยกฟ้อง • แต่ก็อาจจะมีการแยกฟ้องได้ ในกรณีที่หลงลืมไม่ได้ฟ้องคดีส่วนแพ่งไปกับคดีส่วนอาญา • ศาลที่รับฟ้องคือศาลที่มีอำนาจชำระคดีส่วนแพ่ง • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเหมือนคดีแพ่งปกติ (ร้อยละสิบสลึง)
ข้อพิจารณา • การพิจารณาคดีของศาลในส่วนคดีแพ่ง • ถ้าขณะฟ้องคดีส่วนแพ่ง ไม่มีการฟ้องคดีส่วนอาญา • ศาลที่รับฟ้องคดีส่วนแพ่ง พิจารณาคดีไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง • ถ้าขณะฟ้องคดีส่วนแพ่ง มีการฟ้องคดีส่วนอาญา • ถ้ายังไม่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยมากศาลคดีส่วนแพ่งจะรอผลคำพิพากษาส่วนอาญาให้(ยุติ)ถึงที่สุดก่อน แล้วจึงพิจารณาคดีส่วนแพ่ง แต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้นอย่างชัดเจน
ข้อพิจารณา • มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาอันถึงที่สุดแล้ว ศาลที่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา จะฟังเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๖ “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา” • หลักเกณฑ์ที่ศาลคดีแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา • ประเด็นในคดีอาญาและในคดีแพ่งต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา • คำพิพากษาศาลส่วนอาญาต้องได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นๆด้วย ศาลคดีส่วนแพ่งจึงจะต้องถูกบังคับให้ถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาส่วนอาญา • คำพิพากษาส่วนอาญาต้องยุติหรือถึงที่สุด(ยุติ) • คู่ความในคดีอาญา และคดีแพ่งเป็นคู่ความเดียวกัน
ง. 1)ประเด็นในคดีอาญาและในคดีแพ่งต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา คำพิพากษาฎีกาที่ 1369/2514 จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาหาว่าขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด จำเลยต่อสู้ว่าเหตุที่รถชนกัน เกิดจากความประมาทของคนขับรถโจทก์ ดังนี้ ประเด็นที่ว่าจำเลยประมาทหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ผู้เสียหายกับจำเลยขับรถชนกัน อัยการฟ้องจำเลยกระทำโดยประมาท ประเด็นคดีอาญา -จำเลยประมาท หรือไม่ ผู้เสียหาย(โจทก์)ฟ้องจำเลยฐานะละเมิด จำเลยฟ้องแย้ง ขอแบ่งส่วน การละเมิด ประเด็นคดีแพ่ง -จำเลยประมาท หรือไม่ -โจทก์ประมาท หรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1229/2498 ฟ้องว่าบุกรุก ศาลยกฟ้องว่า จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกแต่ไม่ได้ชี้ว่าที่ดินเป็นของใคร ฟ้องคดีแพ่ง ใหม่ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ศาลคดีแพ่งฟังข้อเท็จจริงว่า ทรัพย์เป็นของโจทก์ได้) โจทก์ฟ้องคดีอาญาข้อหาบุกรุก โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขับไล่ -ทรัพย์เป็นของใคร -เจตนาหรือไม่ -ทรัพย์เป็นของโจทก์หรือไม่ -จำเลยมีสิทธิในที่ดินหรือไม่
ง.2)ศาลคดีส่วนอาญาได้วินิจฉัยต้องได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยง.2)ศาลคดีส่วนอาญาได้วินิจฉัยต้องได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นๆด้วย คำพิพากษาฎีกาที่ 3075/2533 ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกในความผิดฐานแจ้งความเท็จและบุกรุกตึกแถวพิพาทในคดีนี้ เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนากระทำความผิด ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดถึงกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทจึงนำมาตรา 46 มาใช้บังคับเพื่อให้ศาลในคดีแพ่งฟ้งข้อเท็จจริงว่าตึกแถวพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2286/2529 โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกที่พิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง ซึ่งเท่ากับฟังว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งหาว่าจำเลยได้เข้าครอบครอง ที่ดินโจทก์ขอให้ขับไล่ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง นี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46
ง.3)คำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องยุติ(ถึงที่สุด)ง.3)คำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องยุติ(ถึงที่สุด) • คดีอาญาต้องห้ามอุทธรณ์ ถึงที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านพิพากษา • คดีอาญาไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ คดีถึงที่สุดเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น • คดีอาญาต้องห้ามฎีกา ถึงที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษา • คดีอาญาไม่ต้องห้ามฎีกา ถึงที่สุดเมื่อไม่มีการฎีกาภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ • คดีอาญาในชั้นฎีกาถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 623/2529 คดีอาญาศาลชั้นต้นตัดสินแล้วแต่ยังอยู่ในอายุอุทธรณ์ แม้จะเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แต่โจทก์ก็อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายได้ การตายของจำเลยระหว่างอายุอุทธรณ์ทำให้คดีอาญาระงับไปและทำให้โจทก์หมดสิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุให้คดีระงับไปก่อนจะถึงที่สุดจะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุดมารับฟังในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาไม่ได้ จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1229/2498 ฟ้องว่าบุกรุก ศาลยกฟ้องว่า จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกแต่ไม่ได้ชี้ว่าที่ดินเป็นของใคร โจทก์ไปฟ้องคดีแพ่ง ใหม่ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ศาลคดีแพ่งฟังข้อเท็จจริงว่า ทรัพย์เป็นของโจทก์ได้) โจทก์ฟ้องคดีอาญาข้อหาบุกรุก โจทก์ฟ้องคดีส่วนแพ่ง -ทรัพย์เป็นของใคร -เจตนาหรือไม่ -ทรัพย์เป็นของโจทก์ หรือไม่
ง.4)คู่ความในคดีอาญา และคดีแพ่งเป็นคู่ความเดียวกัน ศาลคดีแพ่งจึงจะต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา • เป็นไปตามหลัก คำพิพากษาของศาลไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี • คำพิพากษาของศาลผู้พันเฉพาะคู่ความเท่านั้น คือ โจทก์ จำเลย คำพิพากษาฎีกาที่ 36/2501 • แต่สำหรับคดีซึ่งพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญา แม้ผู้เสียหายจะมิได้เข้าเป็นคู่ความ(โจทก์ร่วมกับอัยการ)ด้วยก็ตาม ผู้เสียหาย และจำเลยก็ต้องผูกพันในผลแห่งคำพิพากษาในคดีอาญาด้วย เพราะถือว่าอัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย • แต่ข้อยกเว้นนี้ใช้เฉพาะคดีที่ราษฎรสามารถเป็นผู้เสียหายในทางอาญาในความผิดนั้นได้เท่านั้น(คำพิพากษาฎีกาที่ 1997/2524 )
คำพิพากษาฎีกาที่ 36/2501ฟ้องลูกจ้างในทางอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจะใช้ยันนายจ้างให้ร่วมรับผิดชอบไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 1997/2524จำเลยถูกอัยการฟ้องข้อหากระทำผิดต่อ พ.ร.บ จราจรทางบกซึ่งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ทั้งถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการอยู่ในฐานะฟ้องคดีแทนโจทก์ คำพิพากษายกฟ้องจึงไม่ผูกพันโจทก์ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา
อัยการฟ้องคดีอาญา โดยมีคำขอส่วนแพ่งแทนผู้เสียหาย • ข้อพิจารณา • อัยการต้องฟ้องคดีอาญาเป็นคดีหลัก และมีคำขอส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหาย ตาม มาตรา 43 • อัยการสามารถขอให้จำเลยคืน หรือใช้ราคาทรัพย์ได้เฉพาะความผิดที่กำหนดเท่านั้น • อัยการสามารถขอให้จำเลยคืน หรือใช้ราคาทรัพย์ได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายอื่นๆ อัยการขอให้ไม่ได้ • ค่าเสียหายส่วนที่อัยการขอแทนผู้เสียหายไม่ได้ ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องเอาได้โดย • ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และเพิ่มคำขอในส่วนแพ่ง (ส่วนที่อัยการแทนไม่ได้) • ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนเอง โดยไม่เข้าเป็นโจทก์ร่วมตาม ม.44/1 • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเหมือนคดีแพ่งปกติ (ร้อยละสิบสลึง) • ศาลที่รับฟ้องคือศาลที่มีอำนาจชำระคดีส่วนอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา ๔๓ “คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกงยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย” มาตรา ๔๔ “การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตามมาตราก่อน พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างที่คดี อาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้ คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคาให้รวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา”
ผู้เสียหายยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเข้ามาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้เสียหายยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเข้ามาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง • ข้อพิจารณา • กรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้เสียหายไม่เป็นโจทก์ หรือโจทก์ร่วมในคดีอาญา มีเพียงอัยการเท่านั้นที่ฟ้องจำเลยต่อศาล • ช่องทางนี้ เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาข้อจำกัด 3 ช่องทางแรก • การเรียกร้องกระทำโดยผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสิน ไหมทดแทนแก่ตน(ค่าเสียหาย) • ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี • คำร้องถือว่าเป็นคำฟ้อง ถ้ายื่นคำร้องตามช่องทางนี้แล้ว ถ้าไปฟ้องคดีแพ่งจำเลยเป็นคดีใหม่อีกจะมีลักษณะเป็นการฟ้องซ้อน • ผู้เสียหายต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๔๔/๑ในคดีที่พนักงานอัยการเป็น โจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสีย หายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้ คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการ กระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้
การพิจารณาคดีส่วนแพ่งการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง • ในกรณีที่มีการฟ้องคดีส่วนอาญา และส่วนแพ่งมาด้วยกัน ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์แยกฟ้องคดีแพ่งเป็นคดีหนึ่งได้ มาตรา ๔๑ “ถ้าการพิจารณาคดีแพ่งจักทำให้การพิจารณาคดีอาญาเนิ่นช้าหรือติดขัดศาลมีอำนาจสั่งให้แยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญา และพิจารณาต่างหากโดยศาลที่มีอำนาจชำระ”
การพิจารณาคดีส่วนแพ่งการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง • ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่สืบมาในส่วนอาญาไม่เพียงพอ ศาลมีอำนาจสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ มาตรา ๔๒ “ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถ้าพยานหลักฐานที่นำสืบแล้วในคดีอาญายังไม่เพียงพอ ศาลจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมอีกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นศาลจะพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว ส่วนคดีแพ่งจะพิพากษาในภายหลังก็ได้”
คำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง • คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ตามมาตรา 47วรรคแรก มาตรา ๔๗ “คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่....” • คำพิพากษาฎีกาที่ 2737/2517
คำพิพากษาฎีกาที่ 2737/2517โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญว่ายักยอกไปแต่ละครั้งเท่าใดและเมื่อใด ดังนี้ จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ถูกต้องจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ ตามมาตรา 158ฟ้องไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้ แต่จำเลยก็รับว่าได้ยักยอกเบียดบังเงินจำนวน 11,726 บาทไป อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีอยู่ต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้
การพิพากษาคดีส่วนอาญา แม้พนักงานอัยการจะไม่ได้ฟ้องคดีแพ่งแทนผู้เสียหาย หรือเจ้าของ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้คืนทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของได้ • คำสั่งศาลจำกัดเฉพาะ การสั่งให้คืนทรัพย์เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายอื่นๆศาลสั่งให้โดยไม่มีการขอไม่ได้ มาตรา ๔๙ “แม้จะไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่งก็ตาม เมื่อพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลจะสั่งให้คืนทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของก็ได้”
ขอบคุณครับ ฟ้อง รวม ถอน