650 likes | 942 Views
www.cpdchiangmai.com. การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. โดย อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์. การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร. กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
E N D
www.cpdchiangmai.com การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. การเลือกใช้เกณฑ์เงินสดและการเลื่อนเวลาการจ่ายเงินภาระภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดานั้น กฎหมายกำหนดให้ใช้ “เกณฑ์เงินสด”ซึ่งต่างจากการเสียภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งใช้ “เกณฑ์สิทธิ” เกณฑ์เงินสด หมายความว่า ผู้เสียภาษียังไม่ต้องเสียภาษีหากยังไม่ได้รับเงินมาจริง ๆ ในบางกรณีบริษัทผู้จ่ายเงินสามารถนำเงินที่จะต้องจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายได้เลยแม้จะยังไม่มีการจ่ายเงินจริง ตามหลักเกณฑ์สิทธิ์เกณฑ์สิทธิ์ หมายถึง บริษัท จะได้รับเงินหรือไม่ได้รับเงิน ก็ต้องบันทึกบัญชี เช่น ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ กรณีซื้อครั้งนี้ ยังไม่มีการจ่ายเงิน เพราะซื้อเชื่อ แต่ก็ต้องบันทึกบัญชี เดบิต ซื้อ เครดิต เจ้าหนี้ (แต่ถ้าซื้อสด จะเครดิต เงินสด) www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา:1. กรณีผู้รับเงินรู้ว่า ตนเองจะมีรายได้ในปีนี้เกิดขึ้นเท่าใด และคาดว่าจะมีรายได้ในปีหน้าเท่าใด การวางแผนภาษีโดยเกณฑ์เงินสด คือ การเลื่อนกำหนดเวลาการรับเงินออกไป ก็จะสามารถลดภาระภาษีได้ เช่น แทนที่จะได้รับเงินได้ในสิ้นปีนี้ เนื่องจากมีเงินได้เป็นจำนวนมาก ก็เลื่อนไปรับเงินในต้นปีถัดไป ซึ่งจะทำให้ภาระภาษีลดน้อยลง หากในปีถัดไปคาดว่าจะมีเงินได้น้อยกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของธุรกิจครอบครัวสามารถที่จะควบคุมการรับจ่ายเงินของตนเองได้ สามารถใช้เกณฑ์เงินสดในการวางแผนภาษีหรือกำหนดภาระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ ดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือค่าจ้าง www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. การใช้เกณฑ์เงินสดในการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพราะระยะเวลาการนำส่งมีความแตกต่างกัน เช่น - หากผู้จ่ายเงินมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) เช่น ค่าจ้างแล้ว นายจ้างผู้จ่ายเงินก็มีหน้าที่ต้องนำส่งในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป - ในกรณีที่บริษัทนายจ้างต้องมีการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินโบนัสแก่พนักงานที่มีจำนวนมากมายหลายร้อยคน การเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินออกไปเพียง 1 วัน สามารถช่วยให้ภาระการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลื่อนออกไปได้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น บริษัทจ่ายเงินเดือนในวันที่ 31 มกราคม ภาระการนำส่งภาษี ณ ที่จ่าย คือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ หากบริษัทเลื่อนการจ่ายเงินเดือนไปในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ บริษัทจะสามารถเลื่อนภาระการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกไปเป็นวันที่ 7 มีนาคม เท่ากับมีระยะเวลาที่ต่างกันเกือบ 40 วัน ถ้าหากเป็นเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรามาก บริษัทนายจ้างที่รู้หลักการวางแผนภาษี ก็สามารถนำเงินดังกล่าวไปหมุนเวียนใช้ในกิจการอย่างอื่นได้ก่อน ซึ่งหากเป็นช่วงที่ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในอัตราสูง การรู้จักการบริหารการเงินย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. กำหนดเงินได้ที่ได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 ของประมวลรัษฎากร เงินได้ที่สำคัญที่กรรมการหรือเจ้าของกิจการหรือลูกจ้างจะสามารถประหยัด ไม่ต้องนำมารวมเพื่อเสียภาษี เช่น - เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยในการลงทุนของดอกเบี้ยสลากออมสิน - การฝากประจำประเภทออมทรัพย์หรือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์มรดก หรือ - การขาย สังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มาโดยการมุ่งค้ากำไร - หรือกำหนดเงินได้ให้เป็นการจัดอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา - เงินได้ที่ได้รับจากมรดกหรือการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมและประเพณี ซึ่งจะต้องกำหนดให้ถูกต้องและเหมาะสม เงินได้จากส่วนแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ต้องเสียภาษีไปแล้ว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีเงินได้ที่กำหนดให้ยกเว้นไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 126 อีกกว่า 78 ประเภท เช่น - เงินได้จากการขายกองทุนรวม - เงินประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้จากการประกันสังคม - เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ - เงินได้จากธุรกิจการศึกษา - เงินได้จากค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย ซึ่งเงินได้เหล่านี้เป็นเงินได้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดและวางแผนเงินได้ที่ตนจะได้รับอยู่ในประเภทดังกล่าว นอกจากนี้ อาจจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้ตามกฎหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น เงินได้ที่เป็นเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520เป็นต้น www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3. การเลือกใช้การหักค่าใช้จ่ายแบบหักเหมาตามประเภทเงินได้ผู้มีเงินได้ต้องทราบว่าเงินได้ประเภทใด กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราใดตามกฎหมาย การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมานี้มีข้อดีคือ ผู้เสียภาษีไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่ามีรายจ่ายจริงเท่ากับอัตราเหมาที่กำหนดตามกฎหมายหรือไม่ แต่กฎหมายก็ให้หักเหมาได้แม้จะมากกว่ารายจ่ายจริงก็ตาม วิธีการนี้ก็จะช่วยให้ผู้มีเงินได้และประกอบธุรกิจ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการหักรายจ่าย เพราะคู่ค้าไม่มีเอกสารทางบัญชีมาหักเป็นรายจ่ายได้ตามกฎหมาย ก็อาจต้องพิจารณาเลือกองค์กรธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาแทนที่จะเป็นรูปบริษัท อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ไม่ตัดสิทธิให้ผู้มีเงินได้ที่จะหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง หากสามารถแสดงหลักฐานทางบัญชีมาหักได้โดยความจริงแล้วอาจพิจารณาตั้งเป็นบริษัทก็จะดีกว่าเพราะอัตราภาษีเบื้องต้นอาจจะต่ำกว่า www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 4. การหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายการหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายนั้น เป็นสิ่งที่ผู้วางแผนภาษีอากรควรต้องใช้ประโยชน์ให้สูงสุดในแง่ของการหักออกจากเงินได้และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนดังกล่าว ปัจจุบันผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อน เช่น - ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณอายุ (RMF) ซึ่งหักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท - ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (แต่เฉพาะผู้มีเงินได้ในปี 2552 สามารถหักค่าซื้อ RMF และ LTF ได้ถึงกองทุนละ 700,000 บาท รวมสูงถึง 1,400,000 บาท เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลมุ่งให้การส่งเสริมเฉพาะกิจ) www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ค่าเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านหักได้ 100,000 บาท - การหักค่าลดหย่อนจากเงินบริจาคเพื่อกุศลสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 615 แห่ง ซึ่งหักได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว นอกจากจะได้ทำบุญช่วยเหลือสังคมแล้ว บางครั้งการบริจาคเงินดังกล่าวอาจมีของตอบแทนที่อาจมีมูลค่าในอนาคตได้หรือสิทธิส่วนลดในการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลชั้นดีของรัฐบาล การหักค่าลดหย่อนที่กล่าวมานั้น นอกจากผู้มีเงินได้จะประหยัดเงินภาษีในแต่ละปีภาษีแล้ว เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต เงินได้ดังกล่าวก็จะได้รับและที่ได้รับยกเว้นภาษีจากเงินดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน เช่น เมื่อได้รับเงินประกันชีวิตคืนเมื่อครบอายุ เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุน RMF และ LTF เมื่อครบกำหนดเงื่อนไขตามกฎหมาย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา:ขอให้ลองเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ใช้ประโยชน์ทางภาษีจากการหักค่าลดหย่อนประเภทต่าง ๆ กับผู้ที่มิได้ใช้ประโยชน์โดยคำนวณจากรายรับประเภทเงินเดือน ท่านจะเห็นความแตกต่างจากตารางด้านล่างนี้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5. การกำหนดแหล่งเงินได้ในต่างประเทศการกำหนดแหล่งเงินได้ก็คือ กฎหมายไทยกำหนดให้เก็บภาษีทุกชนิดที่มีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย - ไม่ว่าจะจ่ายเงินได้ดังกล่าวในประเทศไทยหรือไม่ - ไม่ว่าผู้มีเงินได้จะอยู่ในประเทศใดก็ตาม เว้นแต่ จะเข้ากรณียกเว้นตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีแหล่งเงินได้นอกประเทศ - ไม่ว่าจะเป็นการได้จากการทำงาน - เงินปันผลก็ดี ขายทรัพย์สินในต่างประเทศก็ดี หรือได้รับรางวัลจากการไปแสดงงานในต่างประเทศก็ดี กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าหากมีเงินได้ในต่างประเทศและเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (กล่าวคืออาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันในปีปฏิทิน) จะต้องเสียภาษีจากเงินได้ดังกล่าว ก็ต่อเมื่อมีการนำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกับที่ต้องเสียภาษี www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา: 1. ในปี 2551 ธงไชย ใจดี ได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขันกอล์ฟในต่างประเทศ จำนวน 10,000,000 บาท ซึ่งโดยปกติธงไชยจะต้องเสียภาษีในประเทศที่ได้รับเงินได้นั้น สมมติว่า เสียในอัตรา 15% ของเงินได้ หากในปี 2554 ธงไชยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน ธงไชยไม่ต้องนำเงินรางวัลนั้นมาเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยเลยไม่ว่าธงไชยจะนำเงินรางวัลเข้ามาในประเทศไทยในปีใดก็ตาม แต่หากในปี 2554 ธงไชยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป และนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกันนั้น ธงไชยยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยอีกในอัตราก้าวหน้าสูงสุดถึง 37% ซึ่งรวมแล้วธงไชยจะต้องเสียภาษีสูงถึง 52% www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ในกรณีที่ประเทศที่ธงไชยได้รับเงินได้มีอายุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ธงไชยอาจได้รับสิทธินำภาษีที่เสียในต่างประเทศนั้นนำมาหักเป็นเครดิตภาษีได้ แต่ก็นับว่าภาระภาษีของธงไชยจากเงินรางวัลยังคงสูงอยู่ ดังนั้น ในกรณีนี้ ธงไชยจึงไม่ควรนำเงินรางวัลที่ได้รับนั้นเข้ามาในประเทศไทยในปี 2554 เพื่อที่จะได้ไม่มีภาระภาษีในประเทศไทย2. กรณีนาย ก. ไปลงทุนในบริษัทในต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศในปี 2553 และบริษัทที่ต่างประเทศได้กำไรประกาศจ่ายเงินปันผลให้นาย ก. หากนาย ก. นำเงินปันผลเข้ามาในปี 2554 นาย ก. จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย แต่ถ้านำเข้ามาในปี 2553 นาย ก. ต้องเสียภาษี www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 6. เลือกเสียภาษีในอัตราต่ำสำหรับเงินได้บางประเภทหลักการวางแผนที่สำคัญข้อหนึ่งที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ว่า“ที่ใดที่มีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ที่นั่นมีช่องทางในการวางแผนภาษีเสมอ”ด้วยเหตุที่กฎหมายกำหนดให้เงินได้หลายประเภทที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ไม่จำต้องถูกนำไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียเงินได้ตามปกติ(ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป) ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีอัตราก้าวหน้าในอัตราสูง ๆ เช่น 20% - 37% จึงอาจกำหนดประเภทเงินได้ที่ได้รับ โดยสามารถเลือกเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าได้ เช่น เงินได้ที่ได้รับเป็นเงินปันผล กฎหมายให้สิทธิผู้มีเงินได้ที่จะเลือกเสียภาษีในอัตรา 10% เท่ากับภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย หรือจะเลือกนำเงินปันผลนั้นไปขอเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลจะต้องเสียภาษีในอัตราต่ำ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหลักก็คือ ถ้าหากเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่ได้รับนั้น มีรายได้ทุกชนิดรวมตลอดปีภาษีที่ได้รับนั้นต่ำกว่า 4 ล้านบาท แล้วผู้มีเงินได้ทุกคนจะขอคืนภาษีจากการเครดิตภาษีคืนเสมอ หรือกำหนดเงินได้ประเภทดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเกิดจากการลงทุนโดยการฝากเงินหรือซื้อหุ้นกู้ หรือการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ถือหุ้นและคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด ซึ่งในกรณีการให้กู้ยืมนี้นอกจากบริษัทจะหักดอกเบี้ยเป็นรายจ่ายได้แล้ว ผู้มีเงินได้ยังมีสิทธิเลือกเสียภาษีจากดอกเบี้ยที่ได้รับในอัตรา 15% เท่ากับภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายโดยไม่จำเป็นที่จะต้องนำเงินได้นั้นไปรวมเพื่อเสียภาษีตามปกติผู้วางแผนจะได้ผลตอบแทน 2 ต่อ ก็คือ หักเป็นรายจ่ายของบริษัทได้และในฐานะเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยซึ่งสูงกว่าอัตราเงินฝากในปัจจุบัน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ดี การดำเนินงานดังกล่าวจะต้องระวังไม่ให้การประกอบธุรกิจของกรรมการหรือผู้ถือหุ้น เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของรายรับดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมนอกจากนี้ ยังมีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้โดยมาทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หาหรือได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร หากยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ไม่ต้องนำไปรวมเงินได้หรือเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานซึ่งกฎหมายให้หักรายจ่ายได้สูง ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องไปรวมเสียภาษีตอนปลายปี www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7. กำหนดประเภทเงินได้ที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายผู้วางแผนภาษีควรกำหนดเงินได้ที่ได้รับนั้น ให้อยู่ในเงินได้ประเภทที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือถ้าหักก็หักในอัตราต่ำ เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ธุรกิจหรือผู้มีเงินได้ และไม่ต้องไปขอคืนภาษีซึ่งอาจจะถูกตรวจสอบภาษีได้กรณีศึกษา 1. กรณีที่การจ่ายค่าเช่ารถโดยมีคนขับกับทำสัญญารับค่าขนส่งคนโดยสาร ก็มีความแตกต่างของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าเช่ารถต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% แต่กับค่าขนส่งหัก 1% รวมทั้งยังได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องของการกำหนดประเภทเงินได้ให้เหมาะสมและถูกต้องโดยการทำสัญญาและความเป็นจริงทางธุรกิจ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา: 2. การกำหนดความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างทำของ ซึ่งถ้าหากเป็นสัญญาจ้างทำของต้องถูกหักภาษีในอัตรา 3% และยังมีภาระต้องติดอากรแสตมป์ด้วยในอัตรา 0.1% ของค่าจ้างทั้งหมดตามสัญญา แต่หากเป็นสัญญาซื้อขาย ค่าซื้อขายจะไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และสัญญาซื้อขายไม่ต้องติดอากรแสตมป์ การกำหนดทำสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างนั้น เป็นการเปลี่ยนประเภทเงินได้จากเงินได้ซื้อขายกับค่าจ้างนั้นสามารถกระทำได้ ถ้าหากคู่สัญญาได้มีการวางแผนอย่างรอบคอบ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 8. กำหนดผลประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นตัวเงินโดยปกติผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นแม้จะไม่ใช่ตัวเงินที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาโดยตรง แต่ตามหลักถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น การให้สวัสดิการแก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ค่ารักษาพยาบาล เครื่องแบบพนักงาน การจัดรถรับส่งพนักงาน หรือแม้แต่การให้หุ้นแก่พนักงาน เป็นต้น แต่ในบางครั้งการกำหนดผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงินอาจเข้าลักษณะที่เป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เช่น เครื่องแบบไม่เกิน 2 ชุด ต่อปี เบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มส่วนที่คุ้มครองค่ารักษา พยาบาลของลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายให้ เป็นต้น ซึ่งการให้สิ่งเหล่านี้ต้องไปพิจารณาว่าประเภทใดที่ต้องเป็นเงินได้ ประเภทใดเป็นเงินได้ทีได้รับยกเว้น ประเภทใดเป็นเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และที่สำคัญที่สุดเมื่อบริษัทจ่ายไปแล้วควรต้องหักเป็นรายจ่ายได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ควรต้องให้ความสำคัญกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายด้วย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 9. การตั้งหน่วยภาษีขึ้นใหม่การพิจารณาตั้งหน่วยภาษีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะคณะบุคคลหรือบริษัทก็อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งใช้ในการวางแผนภาษี เนื่องจากการที่กระจายหน่วยภาษีหลาย ๆ หน่วยนั้น ย่อมเป็นการกระจายภาระภาษีเงินได้และจะทำให้เสียภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้อาจจะแก้ปัญหาเรื่องของการจัดทำเอกสาร ใบเสร็จรับเงินต่าง ๆ ที่บริษัทไม่สามารถทำธุรกิจกับผู้ค้าบางอย่าง อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีรายได้มากในขณะเดียวกันก็มีรายจ่ายที่สูงพอสมควร การพิจารณาจัดตั้งบริษัทให้เป็นหน่วยภาษีและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะมีประโยชน์เช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือ ต้องระมัดระวังว่า การตั้งคณะบุคคลหรือการกระจายหน่วยภาษีจะต้องเป็นไปตามหลักนิติกรรมสัญญา มีความแท้จริงมีสาระสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance over the Form) ไม่ใช่เพียงแค่จัดตั้งคณะบุคคลอย่างเดียว หากเป็นเงินได้จากการบริการก็ต้องมีการให้บริการอย่างแท้จริง และมีหลักฐานสนับสนุนที่สามารถพิสูจน์ถึงการให้บริการหรือการลงทุนได้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากรความรู้ทั่วไปก่อนการวางแผนภาษีอากร กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา: หลักฐานการรับเงินหรือใบเสร็จ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทให้ความสำคัญ เนื่องจากหากปราศจากสิ่งดังกล่าว อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักในการคำนวณภาษีได้ ทำให้เสียภาษีเพิ่มเติมทั้ง ๆ ที่เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทและมีการจ่ายเงินออกไปจริง ผู้เสียภาษีจึงอาจพิจารณาจัดตั้งหน่วยคณะบุคคล หรือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ แล้วให้คณะบุคคลเป็นผู้ซื้อสินค้าจากคู่ค้าที่ไม่มีหลักฐานการรับเงิน และนำสินค้ามาขายต่อให้กับบริษัทในอัตรากำไรที่มีความเหมาะสม โดยมีการออกใบเสร็จให้ถูกต้อง แม้ว่าคณะบุคคลจะไม่มีใบเสร็จจากคู่ค้า แต่คณะบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาได้ตามกฎหมาย แต่การมีคณะบุคคลหลายคณะบุคคลมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาว่า คณะบุคคลดังกล่าวเป็นหน่วยภาษีจริงหรือตั้งเพื่อหนีภาษี ดังนั้น หลักสาระสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance over the Form) ในการวางแผนภาษีอากรจึงมีความสำคัญ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10. ภาษีแต่งงาน กรณีมีคู่สมรส ให้แยกยื่นต้องยอมรับว่าประมวลรัษฎากรของไทยนั้น กำหนดเงินได้ให้นำเงินได้ไปรวมหรือแยกเพื่อเสียภาษีสำหรับคู่สมรส หากเป็นเงินได้ 40 (1) และ (2) โดยการรวมหรือแยกยื่นนั้น ภาระภาษีก็จะต่างกัน ผู้เขียนคิดว่า ถ้าคู่สมรสมีเงินได้หลายประเภท การยื่นเสียภาษีเงินได้จากการเป็นคู่สมรส ก็ควรจะแยกยื่นจะดีกว่า เพราะสามารถหักค่าลดหย่อน หักค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ในกรณีที่ภรรยามีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินได้จากมาตรา 40 (1) (2) เช่น มีเงินได้จากการให้บริการ เป็นเงินได้จากการแสดงภาพยนตร์ เป็นเงินได้จากการลงทุนอื่น ๆ แล้ว กฎหมายให้นำเงินได้ประเภทอื่น ๆ นำมารวมเป็นเงินได้ของสามีเพิ่มเติม www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น ถ้าหากสามีต้องเสียภาษีในอัตราสูงอยู่แล้ว การนำเงินได้ของภรรยามารวม ก็จะทำให้เงินได้นั้นอยู่ในอัตราสูง ไม่ว่าจะแยกหรือรวมยื่นอีกต่อไป ดังนั้น หากภรรยามีเงินได้สูงกว่าสามีก็มีเป็นจำนวนมาก ตามกฎหมายจึงไม่สามารถลดภาระภาษีได้ เว้นแต่ว่าภรรยาและสามีนั้นจะสามารถโอนเงินได้เข้าเป็นรูปของนิติบุคคลหรือบริษัทซึ่งจะทำให้ภาระภาษีลดน้อยลงได้ ถ้าหากเปรียบเทียบกรณีศึกษา ก็จะดูได้ว่า ยกตัวอย่างเช่นมีถ้าหากมีภรรยาเป็นดารา ถ้ารู้จักการวางแผนภาษีก็สามารถนำไปนำไปหักภาษีลงไปได้ และภาษีเงินได้ของภรรยาก็ไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้อย่างอื่น ทำให้ในอัตราสูงมาก ก็อาจเลือกการตั้งบริษัทเป็นหน่วยภาษีรับรายได้แทน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
รูปแบบการวางแผนภาษีอากรรูปแบบการวางแผนภาษีอากร การวางแผนภาษีอากร การแยกฐานภาษี การเลือกประเภทเงินได้ การเลือกหักค่าใช้จ่าย การเลือกหักค่าลดหย่อน การเลือกรายได้ยกเว้น การเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมิน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี กรณีโสด กรณีสมรส กรณีหย่า กรณีตาย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
หลักแหล่งเงินได้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินหมายถึงใครบ้าง หน้าที่งาน (๔๐(๑)(๒)) กิจการที่ทำ (๔๐(๒)(๖)(๗)(๘)) เนื่องจากกิจการนายจ้างในประเทศไทย (ดูบริษัทไทยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายหรือไม่) หากบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายถือว่ามีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย บริษัทไทยต้องไม่บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
หลักถิ่นที่อยู่ ผู้มีเงินได้นั้นอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในหนึ่งปีภาษี มีเงินได้เกิดขึ้นในต่างประเทศเนื่องจากหน้าที่งาน กิจการ ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น สรรพากรตีความค่อนข้างเคร่งครัด www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
หลักถิ่นที่อยู่ แนวทางการวางแผนภาษี แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ส่วนใหญ่ เป็นนักกีฬา นักแสดง เก็บสะสมเงินได้ดังกล่าวไว้ที่ต่างประเทศ ไม่นำเงินได้นั้นเข้ามาในปีภาษีที่เกิดเงินได้ www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
เงินได้พึงประเมิน " เงินได้พึงประเมิน "หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (4) เงินได้ที่เป็น (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน(ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน(ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
ประเภทเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้พึงประเมิน (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
การหักค่าใช้จ่าย มาตรา42 ทวิเงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาทในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง www.c.p.d.chiangmai.com อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
การหักค่าใช้จ่าย มาตรา42 ตรีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) เฉพาะที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
การหักค่าใช้จ่าย มาตรา43เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(5) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา44เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(6) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 6 ) มาตรา 45เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40 (7) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
การหักค่าใช้จ่าย มาตรา 46เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(8) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
การหักค่าใช้จ่ายตามกฤษฎีกาการหักค่าใช้จ่ายตามกฤษฎีกา ให้เช่าทรัพย์สิน หักเหมา 10% - 30% หรือหักตามจริง ผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หักเหมา 20% การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน หักเหมา 20% ประกอบโรคศิลปะ หักเหมา 60% หรือตามจริง วิชาชีพอื่น หักเหมา 30% หรือตามจริง รับเหมา หักเหมา 70% หรือตามจริง มาตรา 40(8) หักเหมา 40% - 85% หรือตามจริง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี (1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะ ในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี • (3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้ (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5ตันขึ้นไป หรือแพ (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามกระทำความผิด (13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์ อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์
เงินได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี (14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม (16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ (17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง อาจารย์รัชกฤช นิธิธนภัทร์