1 / 32

หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หัวข้อเรื่อง เศรษฐศาสตร์สาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดย

หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หัวข้อเรื่อง เศรษฐศาสตร์สาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดย รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 13.00 น.-16.00 น. เศรษฐศาสตร์ คือ อะไร. เศรษฐศาสตร์ คือวิชาที่อธิบายถึงกระบวนการ

ghazi
Download Presentation

หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หัวข้อเรื่อง เศรษฐศาสตร์สาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลางหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หัวข้อเรื่อง เศรษฐศาสตร์สาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดย รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 13.00 น.-16.00 น.

  2. เศรษฐศาสตร์ คือ อะไร เศรษฐศาสตร์ คือวิชาที่อธิบายถึงกระบวนการ และเหตุผลของการแจกแจง หรือการจัดสรร หรือการกระจายทรัพยากรที่มีจำกัดให้สามารถ สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้ดีที่สุด

  3. พฤติกรรมของบุคคลในการตัดสินใจพฤติกรรมของบุคคลในการตัดสินใจ • เลือกให้ได้รับความพอใจของตนสูงที่สุด • เลือกโดยให้สูญเสียน้อยที่สุด

  4. พฤติกรรมของหน่วยธุรกิจพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจ -กำไรสูงสุด (Profit Maximization) -ต้นทุนต่ำสุด (Minimize Cost)

  5. เศรษฐศาสตร์สาธารณะ หมายถึง กระบวนการและเหตุผลในการจัดสรร หรือกระจายทรัพยากร หรือตัดสินใจ เลือกดำเนินการใดๆเพื่อให้ได้ผลตอบแทน หรือประโยชน์สูงสุดต่อสังคม/สาธารณะ

  6. หลักเกณฑ์การตัดสินใจในกรอบ หลักเกณฑ์การตัดสินใจในกรอบ ของเศรษฐศาสตร์สาธารณะ • หลักต้นทุนและประโยชน์ • หลักต้นทุนประสิทธิผล • หลักการวิเคราะห์ทางสังคม

  7. ผู้ทำหน้าที่เลือกหรือตัดสินใจแทนสังคม/สาธารณะ คือ -องค์กรสาธารณะ (Public Agency) -รัฐบาล (Government) -นิติบุคคลสาธารณะที่กฎหมายจัดตั้ง โดยไม่แสวงกำไร -มูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์

  8. ประเภทของสินค้าและบริการประเภทของสินค้าและบริการ -สินค้าและบริการส่วนบุคคล (Private goods and service) -สินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service)

  9. ความแตกต่างระหว่างสินค้าส่วนบุคคลและสินค้าสาธารณะความแตกต่างระหว่างสินค้าส่วนบุคคลและสินค้าสาธารณะ -การยึดถือ แลกเปลี่ยน โอน ซื้อ/ขายกรรมสิทธิ์ -การจำแนกและการป้องกันผู้ซื้อและผู้ไม่ซื้อ มาใช้ประโยชน์จากสินค้านั้น -การตัดสินใจเลือกสินค้าสาธารณะมีผลกระทบ ข้างเดียว หรือผลกระทบต่อเนื่องถึงผู้อื่น

  10. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดสรรทรัพยากรแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดสรรทรัพยากร -ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Efficiency) -ความเป็นธรรม(Equity)

  11. ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่ได้จัดสรรแล้วให้เกิด ประโยชน์ สูงสุด โดยมีความสูญเปล่าน้อยที่สุด

  12. ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึงการได้มาซึ่งผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมพอเหมาะกับภาระรับผิดชอบในการให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์นั้น

  13. เครื่องมือที่ใช้ตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเครื่องมือที่ใช้ตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม กลไกตลาดหรือกลไกราคา (Price Mechanism)

  14. ปัญหาอุปสรรคการใช้กลไกตลาดปัญหาอุปสรรคการใช้กลไกตลาด -ความไม่สมบูรณ์ของตลาด -ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลและข้อสนเทศ -ความไม่เหมือนกันของสินค้าประเภทเดียวกัน -นโยบายของภาครัฐ

  15. การวิเคราะห์โครงการบริการสาธารณะหรือ กึ่งสาธารณะที่เป็นโครงการที่ทำเพื่อสังคม -นำเงินรายได้จากโครงการที่มีกำไรมาชดเชยผลขาดทุน จากโครงการที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม (Cross Subsidy) -ภาครัฐให้เงินอุดหนุนในการลงทุน

  16. การวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม -ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการ โดยตรงและกำหนดระยะเวลา -การสร้างโอกาสการมีงานทำ และเพิ่มรายได้ -การมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ “คน” อย่างไร

  17. เศรษฐศาสตร์สาธารณะ มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง -ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ -การศึกษา -การสาธารณสุข -ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -สวัสดิการ ฯลฯ

  18. นโยบายสาธารณะที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญนโยบายสาธารณะที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เช่น มาตรา 76, 78, 79 มาตรา 80, 81, 82, 86, 87

  19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 76 “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทาง การเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐทุกระดับ”

  20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 “รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น”

  21. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 79 “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การสงวนบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลรวม ทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบำรุงรักษาและคุ้มครองคุณภาพ สิ่งแวดล้อมตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุม และกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพและ คุณภาพชีวิตของประชาชน”

  22. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 80 “รัฐต้องคุ้มครองเด็กและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม ความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความ เป็นปึกแผ่นของครอบครัวและความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้”

  23. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 81 “รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ”

  24. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 82 “รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชน ได้รับบริการที่ได้มาตราฐานและมีประสิทธิภาพอย่าง ทั่วถึง”

  25. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 86 “รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครอง แรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบ แรงงานสัมพันธ์การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรง งานให้เป็นธรรม”

  26. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 87 “รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดกำกับ ดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาด ตัดตอนทั้งทางตรงและทางกอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจและต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค”

  27. ตัวอย่าง นโยบายของคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหาร ราชการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

  28. มาตรา 79 รัฐบาลมีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพ การป้องกัน การเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตเกิดความสมดุลในการพัฒนา และเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน

  29. มาตรา 80 สร้างหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมของ ประเทศและประชาชน ในการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทต่อครั้ง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ที่ได้มาตราฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีนโยบายในการ สร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเข้มแข็ง เป็นหน่วยพื้นฐานในการฟื้นฟู เศรษฐกิจและเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมแก่สมาชิกทุกวัยใน ครอบครัวพร้อมทั้งมีนโยบายในการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งพาตนเองได้

  30. มาตรา 81 รัฐบาลตระหนักว่าการกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้กลับฟื้นตัวนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาภาคการ ผลิตและบริการ รวมทั้งด้านการศึกษา รัฐบาลจะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนา รมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบ เศรษฐกิจฐานความรู้ ให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้ และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิต และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม โดยยึดหลัก “การศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน”และมีนโยบายในการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย

  31. ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะและการพัฒนาเศรษฐกิจความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะและการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ -อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ -GDP Per Capita -การกระจายรายได้ -ความอยู่ดีมีสุข

  32. ความอยู่ดีมีสุข ความอยู่ดีมีสุข หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการ ดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่งคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ

More Related