1 / 48

วิชา SSC 290 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา การบรรยายครั้งที่ 8

วิชา SSC 290 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา การบรรยายครั้งที่ 8 หัวข้อ นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย 1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ► ระบบและกลไกลการบริหารงานไม่เอื้อและไม่เหมาะสมต่อการดำเนินงาน

gerd
Download Presentation

วิชา SSC 290 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา การบรรยายครั้งที่ 8

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา SSC 290 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา การบรรยายครั้งที่ 8 หัวข้อ นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

  2. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย 1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ► ระบบและกลไกลการบริหารงานไม่เอื้อและไม่เหมาะสมต่อการดำเนินงาน ● องค์กรในการบริหารจัดการ : กระจายตามกระทรวงต่างๆเกิดความซับซ้อน ไม่ชัดเจน ขัดแย้งและขาดประสิทธิภาพในการประสานงาน ● กฎหมาย : การบังคับใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพ และมีลักษณะต่างคนต่างทำงานตามนโยบายของตนมีการแสวงหาผลประโยชน์จากช่องว่างของกฎหมาย

  3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่เป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการทางการเมือง ► มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ► ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการนำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขการกีดกันทางการค้า ► การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังไม่มีประสิทธิภาพ ► ระบบการศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสาธารณะและการมีส่วนร่วม

  4. 2. ทรัพยากรธรรมชาติ ► ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ● การใช้ที่ดินไม่ตรงตามสมรรถนะ ● การใช้ที่ดินโดยขาดการบำรุงรักษา ● ความเสื่อมโทรมของดิน ● การแพร่กระจายของดินเค็ม ► ทรัพยากรป่าไม้ ● การลดลงของพื้นที่ป่าไม้เนื่องจากการบุกรุกทำลาย

  5. ► ทรัพยากรน้ำ● การบริหารจัดการเป็นแบบแยกส่วน ● ปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ● ขาดกติกา/กลไกลในการจัดสรรน้ำไปใช้ ● เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ ● การใช้น้ำบาดาลเกินสมดุลธรรมชาติ ► ทรัพยากรแร่● การใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม ● ความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาทรัพยากรแร่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรอื่นๆ ● พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้ว ไม่ได้รับการฟื้นฟู

  6. ► ทรัพยากรพลังงาน● ข้อจำกัดในการเพิ่มกำลังผลิต ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ● การได้มาซึ่งพลังงานขาดการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ● การใช้พลังงานฟุ่มเฟือยและขาดความระมัดระวัง ● ขาดประสิทธิภาพในการกำจัดมลพิษ ► ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ● ความเสื่อมโทรมของป่าชายเลน และทรัพยากรชายฝั่ง ● การใช้ทรัพยากรประมงเกินศักยภาพของแหล่งธรรมชาติ ► ความหลากหลายทางชีวภาพ ● การใช้ประโยชน์อย่างไม่ยั่งยืน ● มีการทำลายและเปลี่ยนแปลงสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย

  7. 3. สิ่งแวดล้อมมนุษย์ • การขยายตัวของคนเมืองเป็นไปตามยถากรรม • เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชนทั้งในชนบทและเมือง • การพัฒนาการท่องเที่ยวไม่สอดคล้องกับการอนุรักษ์และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว • แหล่งศิลปะ วัฒนธรรม โบราณคดี และสิ่งแวดล้อมโดยรอบเสื่อมโทรม

  8. 4. ภาวะมลพิษ ► มลพิษทางน้ำ ● คุณภาพของแหล่งน้ำเสื่อมโทรม เช่น แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ► มลพิษทางอากาศ ● ปริมาณฝุ่นละอองลดลงเล็กน้อย เนื่องจากการดำเนินมาตราการ ต่างๆ และการถดถอยของภาวะเศรษฐกิจ ● ปริมาณความเข้มข้นของโอโซนสูงขึ้น ● สารตะกั่วลดลง เพราะการลดสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน ● การเผาหญ้า เผาป่า หมอกควัน ส่งผลต่อการจราจรและสุขภาพ

  9. ► ขยะมูลฝอย ● การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากขึ้น ● การกำจัดขยะยังขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดงบประมาณ บุคลากร ● การหาสถานที่กำจัดขยะมักได้รับการต่อต้านจากคนในพื้นที่ ► มลพิษจากสารอันตราย ● ปริมาณการใช้สารเคมีสูงขึ้น และขาดการควบคุมที่ดี ► มลพิษจากของเสียอันตราย ● ปริมาณการเกิดของเสียอันตรายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ● สถานที่รับกำจัดของเสียอันตรายยังมีไม่เพียงพอ ● มีการลักลอบทิ้งสารอันตรายอย่างต่อเนื่อง

  10. นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ●รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ● นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2540-2559 ● แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549 ในส่วนของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ● แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2545-2549)

  11. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 1.สิทธิในการอนุรักษ์และมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 46

  12. มาตรา 46 ► บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อม มีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟู จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมี ส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและ ยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

  13. 2. สิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 56 มาตรา 56 ► สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุง รักษาและได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติ และต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

  14. 3. สิทธิที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจ้ง และเหตุผลจากหน่วยราชการก่อนดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 59 มาตรา 59 ► บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจ้ง และเหตุผลจาก หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนอนุญาต หรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญ อื่นที่เกี่ยวกับตนเองหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ตามกระบวนการรับความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ

  15. 4. หน้าที่ของบุคคลในการป้องกันประเทศ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสาน ศิลป วัฒนธรรม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 69 มาตรา 69 ► บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับราชการศึกษาอบรม พิทักษ์ปกป้อง และ สืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

  16. 5. การกำหนดให้รัฐ ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษ ตามมาตรา 79

  17. มาตรา 79 ► รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวนบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการ การพัฒนาที่ ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมกำจัดภาวะมลพิษ ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

  18. นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540-2559 • ประกอบด้วยนโยบายหลัก 6 ประการดังนี้ • นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ • นโยบายลดมลพิษ • นโยบายแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม • นโยบายสิ่งแวดล้อมชุมชน • นโยบายการศึกษาและประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม • นโยบายเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

  19. 1. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ ●เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ ลดปัญหาความขัดแย้ง และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ● เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการ โดยการกระจายอำนาจ และเสริมสร้างพลังความร่วมมือ ● สนับสนุนการใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

  20. ● ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อสนับสนุนการบริหารและการจัดการ การรองรับสิทธิและหน้าที่การเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ● สนับสนุนการศึกษาวิจัย และเสริมสร้างโครงข่ายพื้นฐานระบบข้อมูล ● ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณด้านการอนุรักษ์

  21. 2. นโยบายลดมลพิษ ● ลดและควบคุมปัญหามลพิษเพื่อคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ● สนับสนุนให้มีการจัดการของเสียและสารอันตรายอย่างเป็นระบบ ● พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการให้เกิด เอกภาพ

  22. 3.นโยบายแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม3.นโยบายแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ป้องกัน สงวนรักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมให้มีศักยภาพที่เหมาะสมเป็นมรดกทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมของประเทศ 4. นโยบายสิ่งแวดล้อมชุมชน เป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่สีเขียวเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสอดคล้องกับระบบนิเวศทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี

  23. 5. นโยบายการศึกษาและประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสมรรถนะของชุมชนในทุกระดับให้มีความเข้มแข็งและ เกิดขบวนการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ 6. นโยบายเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

  24. นโยบายรัฐบาล • บริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ • ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ในการควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษ • สนับสนุนให้นำต้นทุนทางสังคมมาพิจารณาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

  25. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถของไทย • กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยคำนึงถึง ความเหมาะสมและสอดคล้องกับระดับของการพัฒนา • สร้างมาตรการในการควบคุมการนำเข้าของสารเคมี สารพิษ และวัตถุอันตราย

  26. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2545 - 2549 • ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลักรวม 4 ยุทธศาสตร์คือ • ยุทธศาสตร์ที่ 1: การบริหารจัดการ • ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมนุษย์ • ยุทธศาสตร์ที่ 4: การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษ

  27. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การบริหารจัดการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์ คือ 1. ผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อมในกระบวนการทางการเมือง 2. ดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด 3. สร้างระบบและกลไกการกระจายอำนาจที่เหมาะสม 4. ประสานนโยบายระดับชาติและนานาชาติ

  28. 5. เพิ่มประสิทธิภาพด้านการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 6. ใช้กลไกการศึกษาของชาติทุกระดับเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของประชาชน 7. พัฒนาศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพลเมืองเพื่อการผลิตและ การบริโภคที่ไม่ทำลายสมดุลของระบบนิเวศ 8. ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ

  29. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1. อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนตามหลัก พื้นที่ -หน้าที่ - การมีส่วนร่วม 2. ฟื้นฟูและบูรณะทรัพยากรในเชิงระบบนิเวศ 3. เสริมสร้างประสิทธิภาพการประสานการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. เสริมสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วม

  30. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมนุษย์ ประกอบด้วยเรื่องหลัก 4 เรื่อง คือ ● เมืองใหญ่ ● เมืองและชุมชนทั่วไป ● แหล่งท่องเที่ยว ● แหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี

  31. เมืองใหญ่ กลยุทธ์ คือ ● ปรับปรุงกลไกระบบบริหารจัดการ การพัฒนาภาคและเมือง และการบริหาร การผังเมือง โดยการให้มีส่วนร่วม เมืองและชุมชนทั่วไปกลยุทธ์ คือ ส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานชุมชนขนาดเล็กที่มีเครือข่ายกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ ไม่กระจุกตัวแต่สามารถใช้สาธารณูปโภคร่วมกัน

  32. ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ แหล่งท่องเที่ยว ● ให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นนโยบายหลัก ในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ● พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงศักยภาพ ความสามารถในการรองรับของพื้นที่ ● สร้างศักยภาพการบริหารจัดการให้ท้องถิ่นและ ประชาคม

  33. แหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ ● ปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมตามหลักการอนุรักษ์ ● สร้างองค์ความรู้โอกาส และกระบวนการสืบทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรมและโบราณคดี

  34. ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์คือ 1. ปรับปรุงกฎหมายและเพิ่มประสิทธิภาพด้าน การปฏิบัติตามและการบังคับใช้กฎหมายด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมจากสังคม ควบคู่กับการใช้เครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์

  35. 2. ฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจและการผลิตที่สะอาด 3. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมลพิษให้สอดคล้อง กับมาตราฐานสากล 4. ปรับโครงสร้างองค์กรให้เอื้อต่อการประสานการจัดการและตรวจสอบมลพิษ

  36. http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  37. พรบ. ส่งเสริมละรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 กำหนดให้จังหวัด มีหน้าที่ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของจังหวัด บทบาทหนึ่งคือให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดซึ่งต้องมีคำขอจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดิน จึงให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมมี หน้าที่ในการรวบรวม และวิเคราะห์แผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด เพื่อเสนอขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ และอุดหนุนให้จังหวัดต่อไป http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  38. ขอบเขตของแผนงานขอบเขตของแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 4 เรื่องคือ1. คุณภาพน้ำ 2. คุณภาพอากาศเสีย3. กากของเสีย4. วัตถุอันตรายในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวรวมไปถึงการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติในด้านต่าง ๆ ได้แก่- ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน- ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า- ทรัพยากรประมงและชายฝั่งทะเล- แหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  39. การแบ่งกลุ่มโครงการ/แผนงานการพิจารณาแผนงาน/โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ มี 4 กลุ่มโครงการ1. แผนงานสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก2. แผนงานเฝ้าระวังและป้องกัน3. แผนงานบำบัดและฟื้นฟู4. แผนงานศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  40. หน่วยดำเนินการหน่วยดำเนินการที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนฯ ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ1. ส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ในสังกัดกระทรวงที่เกี่ยงข้อง ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม- กระทรวงมหาดไทย- กระทรวงสาธารณสุข- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กระทรวงอุตสาหกรรม - กระทรวงศึกษาธิการ- กระทรวงคมนาคม2. หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น- เทศบาล- องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)- สุขาภิบาล- องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  41. กระบวนการของแผนปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัดในกระบวนการของแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ • ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ • ขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการ • ขั้นตอนการติดตามประเมินผล

  42. ขั้นตอนการจัดทำแผน 1. กระทรวงฯ มีหนังสือให้จังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมประจำปี2. คณะอนุกรรมการบริหารและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมจังหวัด กำหนดกรอบหรือแนวทางการ จัดการสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด3. คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมพร้อมแจ้ง ให้ส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นใช้เป็นแนวทาง การจัดทำแผนงาน/โครงการ4. ส่วนราชการในระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่นจัดทำแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับ แนวทางที่กำหนด5. สำนักงานจังหวัด รวบรวมและส่งแผนงาน/โครงการ ให้คณะอนุกรรมการบริหารและจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นเพื่อเสนอไปยังคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด6. คณะกรรมการพัฒนาจังหวัดให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ และส่งแผนดังกล่าวให้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม7. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ วิเคราะห์และ กลั่นกรอง แผนปฏิบัติการ เบื้องต้น เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการกำกับการจัดทำ แผนปฏิบัติการฯ8. คณะอนุกรรมการกำกับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ พิจารณากลั่นกรองและให้ ความเห็นเพื่อ เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ9. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ10. สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จะเสนอขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่าย ประจำปีของ สำนักงานฯ เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฯ http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  43. ขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการ1. สผ. จะแจ้งแผนงาน/โครงการ/วงเงิน เมื่อ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร2. จังหวัดจัดทำรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะโครงการที่มี รายละเอียดงบประมาณไม่เพียงพอ แจ้งกลับไปยัง สผ.3. สผ. ขออนุมัติวงเงินไปยังสำนักงบประมาณ4. สำนักงบประมาณอนุมัติงวดเงิน5. สผ. แจ้งงวดเงินไปยังจังหวัด6. จังหวัดแจ้งหน่วยดำเนินการ7. ส่วนราชการ/ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/ กิจกรรมที่ กำหนด8. สำนักงานจังหวัดจะเป็นผู้เบิกงบประมาณแทนกัน โดยหน่วยดำเนิน โครงการแต่ละ หน่วยจะเบิกผ่านสำนักงาน จังหวัด ซึ่งจะเบิกต่อสำนักคลังจังหวัดเป็นลำดับไป http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  44. ขั้นตอนการติดตามประเมินผล1. ระดับจังหวัด- หน่วยดำเนินการ รายงานแผนและผลการปฏิบัติงาน ปัญหา/อุปสรรค เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง ตามแบบฟอร์มที่กำหนด เช่น แบบฟอร์มสผ. 1- จังหวัด ประมวลการรายงานผลของหน่วยดำเนินการ แจ้งต่อ สผ.2. ระดับชาติ- สผ. ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการโดยประมวลจากจังหวัด เพื่อประโยชน์ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ และ เพื่อรายงานการติดตาม การใช้จ่ายภาครัฐ http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  45. องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการคุณภาพสิ่งแวดล้อมแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด มีองค์ประกอบ • ซึ่งสำคัญ ดังนี้ • สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของชาติ • วัตถุประสงค์ของแผนการ • เป้าหมายของแผน • แนวทางการแก้ไขปัญหา • แผนงานและโครงการ http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  46. 1. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของจังหวัดระบุปัญหาและสาเหตุของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่ให้ชัดเจนในแต่ละประเภทโดยแสดง ข้อมูลสถิติตัวเลขประกอบ บรรยายสภาพปัญหา แนวโน้มของปัญหา ระบุผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งระบุให้ทราบว่าสามารถจัดการกับปัญหาได้เพียงใด รวมทั้งอุปสรรคในการดำเนินการ 2. วัตถุประสงค์ของแผนกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของแผนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรให้ชัดเจน และสอดคล้องกับ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของจังหวัด 3. เป้าหมายของแผนกำหนดเป้าหมายของการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ว่าจะสามารถดำเนินการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือลดปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน และ ไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษแก่ชุมชน พร้อมทั้งกำหนดช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการที่เหมาะสม 4. แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมระบุแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ไว้โดยเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งสามารถปฏิบัติได้รัฐ http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  47. 4. แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ระบุแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ โดยเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติได้รัฐ 5. แผนงานและโครงการแผนงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 4 แผนงาน- แผนงานสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก- แผนงานเฝ้าระวังและป้องกัน- แผนงานบำบัดและฟื้นฟู- แผนงานศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ http://www.onep.go.th/provplan/index.html

  48. 6. ลักษณะของแผนงานและโครงการ- แผนงานโครงการจะต้องสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรของจังหวัดและท้องถิ่น - ประชาชนและองค์กรเอกชนมีส่วนร่วม และเป็นประโยชน์โดยส่วนรวม - แผนงาน/โครงการ ควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง - แผนงาน/โครงการ ไม่ซ้ำซ้อน หรือได้รับงบประมาณจากแหล่งอื่น - สำหรับแผนงาน/โครงการ ด้านการจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะมูลฝอย จะต้องดำเนินตาม ขั้นตอน คือ การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การจัดหา ที่ดิน การออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างตามลำดับ 7. การเสนอแผนงานและโครงการ - กำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวิธีการแก้ปัญหา - กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ - กำหนดสถานที่ดำเนินการให้ชัดเจน รวมถึงการดำเนินการที่ครอบคลุม หลายพื้นที่ - กำหนดกิจกรรมและระยะเวลาดำเนินการ - กำหนดรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ - กำหนดที่มาของแหล่งงบประมาณ http://www.onep.go.th/provplan/index.html

More Related