1 / 54

ผู้มีอำนาจดำเนินคดี

ผู้มีอำนาจดำเนินคดี. อำนาจการดำเนินคดีของคนเสมือนไร้ความสามารถ มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ (10) เสนอคดีต่อศาล หรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ.....”

gema
Download Presentation

ผู้มีอำนาจดำเนินคดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผู้มีอำนาจดำเนินคดี กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  2. อำนาจการดำเนินคดีของคนเสมือนไร้ความสามารถอำนาจการดำเนินคดีของคนเสมือนไร้ความสามารถ มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ (10) เสนอคดีต่อศาล หรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ.....” • ในคดีที่คนเสมือนไร้ความสามารถเป็นผู้เสียหาย คนเสมือนไร้ความสามารถสามารถดำเนินคดีได้ด้วยตนเอง ยกเว้นแต่การเสนอคดีต่อศาล หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ต่อศาล ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อน ตามมาตรา 34 (10) • สรุป ผู้พิทักษ์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการคดีอาญาแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ เว้นแต่ คนเสมือนไร้ความสามารถจะมอบอำนาจให้ผู้พิทักษ์จัดการแทน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  3. ผู้มีอำนาจจัดการตาม ประมวลกฎหมายอาญา • กรณีผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ กฎหมายให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 333 ว.2 ป.อ. มาตรา 333 ว.2“ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย” • นอกจากบิดามารดา คู่สมรส และบุตรจะสามารถร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้แล้ว ยังสามารถจัดการคดีอาญาลักษณะอื่นๆ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 ได้ด้วย เพราะกฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  4. ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดี • ผู้เสียหาย และผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย สามารถจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นจัดการคดีอาญาแทนตนได้ • การมอบอำนาจให้ดำเนินคดี มีลักษณะเป็นการตั้งตัวแทน ตาม ป.พ.พ.ม.797 • มาตรา ๗๙๗ “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดั่งนั้นอันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้” • การมอบอำนาจให้ดำเนินคดี ต้องระบุเรื่องที่มอบอำนาจให้ชัดเจน เช่น ถ้ามอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้รับมอบก็มีอำนาจเฉพาะร้องทุกข์ ไม่รวมถึงการฟ้องคดี หรือยอมความ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  5. คำร้องทุกข์ ป.วิ.อ. ม.2(7) หมายความถึง “การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  6. 1. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  7. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ร้องทุกข์/ กล่าวโทษ ผู้เสียหาย เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ รวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน (สืบสวน สอบสวน) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  8. ความสำคัญของคำร้องทุกข์ความสำคัญของคำร้องทุกข์ • เมื่อมีการกระทำความผิดขึ้น ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะทราบความผิดเอง หรือมีผู้บอกกล่าวให้เจ้าพนักงานได้ทราบ เจ้าพนักงานของรัฐจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด เจ้าพนักงานจะต้องดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆอันเกี่ยวกับคดีก่อน (สอบสวน) เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่าเขามิได้ถูกใส่ร้าย • แต่การที่เจ้าพนักงานจะรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานจะต้องพิจารณาว่าตนมีอำนาจในการดำเนินคดีหรือไม่ กล่าวคือ ถ้าความผิดนั้นรัฐเป็นผู้เสียหาย เจ้าพนักงานในฐานะตัวแทนของรัฐ ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิกได้ แต่สำหรับความที่รัฐมิได้เป็นผู้เสียหาย(ความผิดต่อส่วนตัว) จะต้องมีการมอบคดีให้รัฐดำเนินคดีจากผู้เสียหายเสียก่อน ซึ่ง เรียกว่า “การร้องทุกข์” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  9. ความสำคัญของคำร้องทุกข์(ต่อ)ความสำคัญของคำร้องทุกข์(ต่อ) • การร้องทุกข์มีความสำคัญกับคดีความผิดต่อส่วนตัว เพราะการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตามมาตรา ๒๘ (๑)ในความผิดต่อส่วนตัว มาตรา ๑๒๐ ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน และมาตรา ๑๒๑ บัญญัติว่า คดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ดังนั้น คดีความผิดต่อส่วนใดที่ไม่มีคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยมาตรา ๒ (๗) พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดนั้นได้ และส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  10. มาตรา 120“ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน” มาตรา 121“พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  11. คำพิพากษาฎีกาที่ 1500/2495 ความผิดตามกฎหมายอายา ม.132 ฐานใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ฉะนั้นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องได้ โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ คำพิพากษาฎีกาที่ 103-104/2497 พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยไม่บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานแล้ว ดังนี้ ถือว่าเมื่อไม่มีการร้องทุกข์ดังบัญญัติไว้ใน ก.ม. อาญา ม.313 พนักงานอัยการโจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีตามวิ.อาญา ม.120 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  12. การร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย • การร้องทุกข์ที่จะก่ออำนาจให้รัฐมีอำนาจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในความผิดต่อส่วนตัว จะต้องเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้ • ผู้ร้องทุกข์ • ผู้รับคำร้องทุกข์ • ลักษณะคำร้องทุกข์ • อายุความในการร้องทุกข์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  13. 1. ผู้ร้องทุกข์ • ในความผิดต่อส่วนตัว การร้องทุกข์จะต้องกระทำโดยบุคคลซึ่งมีอำนาจดำเนินคดี ซึ่งอาจได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ • 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง • 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย • 3. ผู้รับมอบอำนาจ • 4. บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตาม ป.อ. ม. 333 ว.2 • ถ้าผู้ร้องทุกข์มิได้เป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจในการร้องทุกข์จะส่งผลให้ไม่เป็นคำร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมาย (ความผิดต่อส่วนตัวรัฐไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  14. 2. บุคคลรับคำร้องทุกข์ • การร้องทุกข์ต้องกระทำต่อบุคคลซึ่งมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ การทุกข์ต่อบุคคลอื่น จะมีผลให้เป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ตัวอย่างฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่ 974/2516 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ใช่พนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 123 และมิใช่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามมาตรา 124 ไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  15. บุคคลซึ่งกฎหมายให้มีหน้าที่รับคำร้องทุกข์ได้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดดังต่อไปนี้บุคคลซึ่งกฎหมายให้มีหน้าที่รับคำร้องทุกข์ได้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดดังต่อไปนี้ • พนักงานสอบสวน • ผู้มีตำแหน่งรอง หรือเหนือพนักงานสอบสวน • พนักงานสอบสวน ป.วิ.อ.มาตรา 123 วรรคแรก“ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้” ป.วิ.อ.ม.2(6) “พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  16. ป.วิ.อ. มาตรา 123“ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่างๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความเสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้ คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็นหนังสือต้องมีวันเดือนปี และลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ถ้าร้องด้วยปาก ให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปีและลงลายมือชื่อผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  17. พนักงานสอบสวน • ความผิดเกิดในราชอาณาจักร • ป.วิ.อ. มาตรา 18, 19 • ความผิดนอกราชอาณาจักร • ป.วิ.อ. มาตรา 20 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  18. มาตรา 18 “ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้ สำหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้...” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  19. มาตรา 20“ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือจะมอบหมายหน้าที่นั้น ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้...” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  20. ป.วิ.อ. มาตรา 2 (17)“พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่” หมายความถึง เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ (ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (ง) อธิบดีกรมการปกครอง (จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง (ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการกรมการปกครอง (ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง (ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด (ฎ) ปลัดจังหวัด (ฏ) นายอำเภอ (ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  21. ป.วิ.อ. มาตรา 2 (17)“พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่” หมายความถึง เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ (ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ (ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ (ณ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ (ด) ผู้บัญชาการตำรวจ (ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ (ถ) ผู้ช่วยบัญชาการตำรวจ (ท) ผู้บังคับการตำรวจ (บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด (ป) ผู้กำกับการตำรวจ (ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ (พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ (ภ) สารวัตรตำรวจ (ม) ผู้บังคับกองตำรวจ (ย) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป (ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  22. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  23. เช่น นาย ก. บุกรุกบ้านนาย ข. ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านอิงดอย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูพิงค์ฯ นาย ก. ถูกเจ้าพนักงานติดตามจับกุมได้บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า โลตัส คำเที่ยงซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจช้างเผือก จากการสอบสวน นาย ก. มีบ้านอยู่อำเภอเมือง จ.ลำพูน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  24. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2516 การพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ไว้จะมีอำนาจรับคำร้องทุกข์นั้นหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นด้วยหรือไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124มิได้บังคับให้ร้องทุกข์เฉพาะต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนเสมอไปเหตุนี้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวนในคดีใดเลย ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ในคดีนั้นได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  25. 2. ผู้มีตำแหน่งรอง หรือเหนือพนักงานสอบสวน ป.วิ.อ. มาตรา 124“ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่รองหรือเหนือพนักงานสอบสวน และเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายก็ได้ เมื่อมีหนังสือร้องทุกข์ยื่นต่อเจ้าพนักงานเช่นกล่าวแล้ว ให้รีบจัดการส่งไปยังพนักงานสอบสวน และจะจดหมายเหตุอะไรไปบ้างเพื่อประโยชน์ของพนักงานสอบสวนก็ได้ เมื่อมีคำร้องทุกข์ด้วยปาก ให้รีบจัดการให้ผู้เสียหายไปพบกับพนักงานสอบสวนเพื่อจดบันทึกคำร้องทุกข์นั้นดั่งบัญญัติในมาตราก่อน ในกรณีเร่งร้อนเจ้าพนักงานนั้นจะจดบันทึกเสียเองก็ได้ แต่แล้วให้รีบส่งไปยังพนักงานสอบสวน และจะจดหมายเหตุอะไรไปบ้างเพื่อประโยชน์ของพนักงานสอบสวนก็ได้” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  26. ป.วิ.อ. มาตรา 2 (16) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่นๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  27. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ -ปลัดกระทรวงมหาดไทย -......................................... -ปลัดอำเภอ -......................................... -ผู้ใหญ่บ้าน -ศุลกากร -ป่าไม้ -สรรพสามิต -พัศดี -ราชทัณฑ์ -นายพลตำรวจ -.......................................... -ร.ต.ต. หรือเทียบเท่า........................................... -พลตำรวจ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  28. เช่น นาย ก. บุกรุกบ้านของนาย ข. ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านอิงดอย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูพิงค์ฯ นาย ก. ถูกเจ้าพนักงานติดตามจับกุมได้บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า โลตัส คำเที่ยงซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจช้างเผื่อ จากการสอบสวน นาย ก. มีบ้านอยู่อำเภอเมือง จ.ลำพูน เช่นนี้ ถ้านาย ข. เข้าร้องทุกข์ต่อ ร.ต.อ. ดำ ที่ สถานีตำรวจสันกำแพง จะได้หรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  29. ฎีกาที่ 1226/2503 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ใช่พนักงานสอบสวน และไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(16) และมาตรา 2(17) ฎีกาที่ 292/2482 ผู้เสียหายซึ่งเป็นปลัดอำเภอได้ร้องทุกข์ต่อตนเองในฐานะปลัดอำเภอ การที่ปลัดอำเภอเผอิญเป็นบุคคลที่เป็นเจ้าทุกข์เองนั้นไม่มีกฎหมายห้ามมิให้กระทำการรับคำร้องทุกข์แต่อย่างใด และไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้ามมิให้เจ้าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในคดีที่ตนเองมีส่วนได้เสีย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  30. 3. ลักษณะของคำร้องทุกข์ • คำร้องทุกข์ใดจะมีลักษณะเป็นคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ • 1. ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์โดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ ป.วิ.อ. ม.2(7) หมายความถึง “การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่............ว่ามีผู้กระทำผิดขึ้น ..............โดยมีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ” • ลักษณะคำร้องทุกข์ที่ ถือว่าขาดเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ • ร้องทุกข์เพื่อเป็นหลักฐาน • เพื่อกันมิให้คดีขาดอายุความ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  31. คำพิพากษาฎีกาที่ 985/2514 โจทก์ไปแจ้งความกล่าวหา จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็คไม่มีเงินให้โจทก์ โจทก์ยังไม่ประสงค์ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงแต่มาแจ้งให้ทราบไว้เป็นหลักฐาน มิให้เช็คขาดอายุความเท่านั้นข้อความตามที่โจทก์แจ้งไว้นี้ไม่ใช่คำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง คำพิพากษาฎีกาที่ 1701/2522 คำแจ้งความคดีออกเช็คไม่มีเงินจ่ายว่า “จึงได้มา แจ้งไว้เป็นหลักฐาน”ไม่เป็นเจตนาให้สอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาไม่เป็นร้องทุกข์ ตามกฎหมาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  32. 2. ในกรณีที่ความผิดซึ่งได้กระทำลงมีผู้กระทำความผิดหลายคน คำร้องทุกข์จะต้องระบุถึงผู้กระทำความผิดทุกคน หากไม่สามารถทราบได้ว่ามีใครบ้าง ต้องระบุว่าจำนวน คำพิพากษาฎีกาที่1298/2510 คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายไม่ได้ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำผิด จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ที่ผู้เสียหายประสงค์ให้จำเลยรับโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(7) • 3. การร้องทุกข์ ได้แก่ การแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ต่างๆที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำลง • ไม่ใช่ข้อหา หรือบทมาตราที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่เป็นเนื้อหาหรือรายละเอียดแห่งการกระทำความผิด • ดังนั้นหากผู้ร้องทุกข์ได้แจ้งถึงรายละเอียดและพฤติการณ์ของการกระทำความผิดแล้ว แม้จะแจ้งข้อหา หรือบทมาตราผิดไปจากที่เจ้าพนักงาน หรือศาลได้ปรับบท ก็ถือได้ว่าได้มีการร้องทุกข์ในข้อหาที่เจ้าพนักงานได้ปรับบทด้วย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  33. คำพิพากษาฎีกาที่ 1647/2528 คำให้การชั้นสอบสวนของ ศ. ยืนยันว่าเห็นจำเลยชักปืนออกมายิงผู้เสียหาย และทราบจาก ล. ว่าคนร้ายอีก 2 คนที่หน้าร้านคือ ส. และ พ. กระสุนปืนของคนร้ายถูกตู้เย็นและตู้กับข้าวของ ศ. เสียหาย ประโยคสุดท้ายของคำให้การมีว่า มีความประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินกับบุคคลทั้ง 3 คนด้วย ดังนี้ ศ. เจ้าทรัพย์ได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาให้ ส. และ พ. ได้รับโทษในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. ม. 2(7) ประกอบด้วย ม. 123 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  34. คำพิพากษาฎีกาที่ 622/2493 ความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้น แต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหาย แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แต่เพียงตำรวจซ้อม ตำรวจทำร้าย ดังนี้ ถือว่าผู้เสียหายแจ้งต่อเจ้าพนักงานเฉพาะเรื่องถูกทำร้าย เท่านั้นคดียังฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวตาม ระเบียบแล้วด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานนี้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  35. 4. ในกรณีที่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หรือ ต่างกรรมต่างวาระ ผู้ร้องทุกข์จะต้องระบุรายละเอียดและพฤติการณ์ของการกระทำความผิดทุกกรรม จึงจะถือว่าได้ร้องทุกข์ความผิดในบทนั้นหรือฐานนั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 2405/2522 แจ้งต่อตำรวจบันทึกไว้ว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปักเสาหินล้อมเขตที่ดิน เป็นการร้องทุกข์ในข้อหาบุกรุก ไม่ใช่ตัดลวดหนามทำให้เสียทรัพย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  36. ฎีกาที่ 2441/2507 ผู้เสียหายได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับการกองปราบขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นคำร้องทุกข์แล้ว ฎีกาที่ 770/2485 การที่ผู้เสียหายเล่าเรื่องที่ถูกหลอกลวงให้นายร้อยตำรวจฟังจนมีการสอบสวนความผิดนั้น ก็ถือว่ามีการร้องทุกข์แล้ว ฎีกาที่ 2371/2522คำร้องทุกข์ซึ่งผู้เสียหายแจ้งต่อพนักงานสอบสวน แม้พนักงานสอบสวนยังไม่ได้ลงประจำวัน ก็เป็นคำร้องทุกข์แล้ว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  37. 4. อายุความร้องทุกข์ • ความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มีผลทำให้คดีขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 มาตรา 96“ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ” • คดีที่ขาดอายุความกฎหมายกำหนดให้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 มาตรา 39“สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ (6) เมื่อคดีขาดอายุความ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  38. ฎีกาที่ 2212/2515 กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  39. การแก้ไขหรือถอนคำร้องทุกข์การแก้ไขหรือถอนคำร้องทุกข์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  40. ป.วิ.อ.มาตรา 126 “ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อมไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น” • ข้อพิจารณา • ความผิดอาญาแผ่นดิน และความผิดอันยอมความได้ ผู้มีอำนาจดำเนินคดีจะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือถอนคำร้องทุกข์เมื่อไหร่ก็ได้ • การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  41. การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 ป.วิ.อ. มาตรา 39“สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย” • สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ได้แก่ ถ้าสอบสวนอยู่ต้องยุติการสอบสวนแล้วสั่งไม่ฟ้อง ถ้ายังไม่ได้ฟ้องก็ห้ามฟ้อง ถ้าฟ้องอยู่ก็ต้องยุติการพิจารณาคดีและสั่งจำหน่ายคดี คำพิพากษาฎีกาที่ 1374/2509 คดีความผิดต่อส่วนตัว ก่อนคดีถึงที่สุดผู้เสียหายย่อมถอนคำร้องทุกข์ได้และสิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลล่างย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  42. การถอนคำร้องทุกข์มีผลจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ต้องกระทำก่อนที่คดีนั้นจะถึงที่สุด • คดีถึงที่สุด ได้แก่ • ถ้าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น • ถ้าไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ คดีถึงที่สุดเมื่อไม่มีการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลา 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น • ถ้าคดีต้องห้ามฎีกา คดีถึงที่สุดเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ • ถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกา คดีถึงที่สุดเมื่อไม่มีการยื่นฎีกาภายในเวลา 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาฎีกาที่ 1857/2517 ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หลังจากคดีถึงที่สุดไปแล้ว ย่อมไม่มีผลให้คดีระงับไปตาม ป.วิ.อ. ม. 39(2) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังใช้บังคับอยู่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  43. สรุป เรื่องคำร้องทุกข์ คำร้องทุกข์เป็นเงื่อนไขในการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนในการดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรค 2 ดังนั้น ถ้าไม่มีคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจสอบสวน(การใช้มาตรการบังคับกับเนื้อตัวร่างกายของผู้ถูกกล่าวหา:จับ การควบคุมตัว) หรือแม้จะมีการสอบสวนการสอบสวนที่กระทำลงไปก็เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องความผิดต่อส่วนตัวนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  44. ข้อสังเกตบางเรื่อง • การกระทำความผิดต่อทรัพย์สินของนิติบุคคลซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานรัฐ ที่เป็นความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา (เช่น ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์) สำนักงานอัยการสูงสุดเคยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำผิดต่อทรัพย์สินของส่วนรวม ฉะนั้น จึงไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ที่จะต้องห้ามตามมาตรา 121 แห่งป.วิ.อ. การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด รัฐจึงกระทำได้โดยมิพักต้องมีการร้องทุกข์นอกจากนี้ • นอกจากนี้ศาลฎีกาก็เคยวินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 1319/2462 (เป็นช่วงก่อนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใช้บังคับ)ว่า “จำเลยได้ใช้สาตราวุธสับฟันประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย ซึ่งอัยการได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ อัยการก็มีอำนาจฟ้องได้ เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  45. สิทธิในการร้องทุกข์ แก้คำร้องทุกข์ และถอนคำร้องทุกข์ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน ดังนั้น การร้องทุกข์ แก้คำร้องทุกข์ และถอนคำร้องทุกข์จึงตกทอดเป็นมรดก แก่ทายาทของผู้ตาย ดังนั้น ทายาทจึงสามารถร้องทุกข์ แก้ และถอนคำร้องทุกข์ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์นั้นได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  46. ฎีกาที่ 206/2488 สิทธิเกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานยักยอกนั้นเป็นสิทธิเกี่ยวแก่ทรัพย์สินย่อมตกทอดไปยังทายาท ในคดีความผิดฐานยักยอกเมื่อผู้เสียหายตาย ภรรยาซึ่งเป็นทายาทย่อมมีสิทธิแถลงต่อศาลขอถอนคำร้องทุกข์ได้ตามลำพังผู้เดียว • คำสั่งคำร้องที่ 751/2541 สิทธิขอถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน เมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่ทายาทผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนาง ป. ผู้ตาย เมื่อนาง ป. ผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิในการถอนคำร้องทุกข์จึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาท ผู้ร้องมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์เพราะได้รับชดใช้เงินที่ฉ้อโกงไปจากจำเลยแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  47. ฎีกาที่ 11/2518 การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 126 วรรค 1 บัญญัติให้ไว้แก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ และสิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตก ทอดแก่ทายาท ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องทุกข์ในคดีดังกล่าวตาย มารดาผู้ร้องทุกข์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์นั้นได้แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 206/2488) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  48. ฎีกาที่ 372/2549 การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่า บรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  49. คดีที่ผู้เสียหายที่แท้จริงเป็นผู้เยาว์ การจัดการคดีอาญาต้องจัดการโดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ผู้เยาว์ไม่มีอำนาจจัดการคดีอาญาได้ด้วยตนเอง • ยกเว้นแต่ การร้องทุกข์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ถ้าผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์นั้นมีอายุพอสมควร ผู้เยาว์สามารถร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง (ฎีกาที่ 3915/2551) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  50. ฎีกาที่ 3915/2551 การที่ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ร้องทุกข์ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 โดยบิดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมมิได้ลงลายมือชื่อหรือให้ความยินยอมในการร้องทุกข์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 มิได้บัญญัติว่า การร้องทุกข์ของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือบุคคลดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ของผู้เยาว์ด้วย ดังนั้น ผู้เยาว์จึงมีอำนาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ การที่ผู้เสียหายที่ 2 ร้องทุกข์ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

More Related