1 / 37

ลักษณะเบื้องต้นทางพฤกษศาสตร์ของพืช

ลักษณะเบื้องต้นทางพฤกษศาสตร์ของพืช. ราก.  ลำต้น.

gelsey
Download Presentation

ลักษณะเบื้องต้นทางพฤกษศาสตร์ของพืช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ลักษณะเบื้องต้นทางพฤกษศาสตร์ของพืชลักษณะเบื้องต้นทางพฤกษศาสตร์ของพืช

  2. ราก

  3.  ลำต้น ชนิดของลำต้นลำต้นแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามตำแหน่งที่อยู่คือ ลำต้นเหนือดิน(Aerial stem) และ ลำต้นใต้ดิน (Underground stem) ลำต้นเหนือดิน จำแนกตามลักษณะของลำต้นได้เป็น 3 ชนิด     1. ต้นไม้ใหญ่(tree) หรือไม้ยืนต้น      2. ต้นไม้พุ่ม (shrub)     3. ต้นไม้ล้มลุก (herb)

  4. ลำต้นเหนือดินที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษลำต้นเหนือดินที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ • ลำต้นเหนือดินของพืชหลายชนิดอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่พิเศษ ซึ่งอาจจำแนกออกเป็นชนิดต่างๆดังต่อไปนี้1. ครีพพิง สเต็ม (creeping stem) เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือน้ำทั้งนี้เพราะลำต้นอ่อนไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ตามข้อมักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงไปในดินเพื่อช่วยยึดลำต้น ให้แน่นอยู่กับที่ได้ แขนงที่แยกไปตามพื้นดินหรือพื้นน้ำดังกล่าวนั้น เรียกว่า stolon (สโตลอน) หรือ Runner (รันเนอร์) ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกะเฉด ผักตบชวา แตงโมฟักทอง และสเตอเบอรี่

  5. อายุของพืชที่สามารถนำมาใช้ในการแบ่งชนิดของพืชได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น ดังนี้ 1) พืชอายุ 1 ปี (annual) คือ พืชอายุสั้นถ้านับอายุจากเริ่มงอกเป็นเมล็ดจนมีดอกมีผล มักมีอายุเพียงฤดูเดียวหรือ 1 ปีเท่านั้น มักมีลำต้นเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อนด้วย2) พืชอายุ 2 ปี (biennial) คือ พืชที่งอกจากเมล็ดแล้วเติบโตขึ้นในปีแรกแล้วมีดอก ผลในปีที่ 2 แล้วจึงตาย มักมีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน3) พืชอายุยืน (perennial) คือ พืชที่งอกจากเมล็ดแล้วมีอายุยืนยาวหลายปี มักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นแข็งแรง ลำต้นมีไม้เนื้อแข็ง

  6.  ใบ • เป็นอวัยวะสำคัญของพืชประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ ก้านใบ (petiole) แผ่นใบ (lamina หรือ blade) และหูใบ (stipule) http://www.thaigoodview.com/files/u30427/a4leaf.jpg

  7. การเรียงตัวของใบ (phyllotaxy) • หมายถึง ลักษณะการติดของใบกับกิ่ง หรือลำต้น ซึ่งมี 4 แบบ คือ 1) การเรียงตัวของใบแบบสลับ (alternate)  2) การเรียงตัวของใบแบบวนเป็นเกลียว (spiral) 3) การเรียงตัวของใบแบบตรงข้าม (opposite)  4) การเรียงตัวของใบแบบรอบข้อ (whorled หรือ verticillate)

  8. ใบเดี่ยว (simple leaf) • หมายถึง ใบที่มีเพียงใบเดียวติดกับก้านที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น เช่น ใบมะม่วง กล้วย แต่ยังมีใบเดี่ยวบางชนิดที่ขอบใบเว้าเข้าไปมากทำให้ดูคล้ายใบประกอบ เช่น ใบมะละกอ ใบมันสำปะหลัง

  9. ใบประกอบ (compound leaves) • หมายถึงใบที่มีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบอยู่ติดกับก้านใบ 1 ก้าน แต่ละใบของใบประกอบ เรียก ใบย่อย (leaflet หรือ pina) ก้านใบย่อย เรียก เพทิโอลูล (petioluteหรือ petiolet) ส่วนก้านใบใหญ่ที่อยู่ระหว่างช่วงก้านใบย่อย เรียก ราคิส (rachis) ใบประกอบแยกย่อยได้ 2 แบบ • ใบประกอบแบบฝ่ามือหรือแบบนิ้วมือ (palmately compound leaves)

  10. ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) • ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว (unipinnate) • ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bipinnate) • ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น (tripinnate)

  11. ขอบใบ (leaf margin)

  12. ปลายใบ (leaf apex)

  13. โคนใบ (leaf base)

  14. ดอก • ส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากกิ่งเพื่อทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ ส่วนประกอบของดอกจึงเป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากใบ กิ่งที่เปลี่ยนแปลงมานี้จะมีส่วนปล้องสั้น ซ้อนทับกันเป็นฐานรองดอก ส่วนประกอบของดอกนับเป็นชั้นนอกสุดเข้าไปหาชั้นในสุด ดังนี้ • ชั้นนอกสุดประกอบด้วย กลีบเลี้ยง (sepal) ซึ่งเรียงตัวเป็นวง เรียกว่า วงกลีบเลี้ยง (calyx) • ชั้นถัดมาประกอบด้วย กลีบดอก (petal) ซึ่งเรียงตัวเป็นวง เรียกว่า วงกลีบดอก (corolla) • ถัดจากวงกลีบดอก เป็นเกสรตัวผู้ (stamen) เรียก วงเกสรตัวผู้ (androecium) • ถัดจากวงเกสรตัวผู้เข้ามา เป็นเกสรตัวเมีย (pistil) เรียก วงเกสรตัวเมีย (gynoecium)

  15. ดอกที่มีครบทั้ง 4 ชั้น เรียกว่า ดอกสมบูรณ์ (complete flower) ถ้ามีไม่ครบ เรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower)  • ดอกที่มี่ส่วนที่ใช้ในการสืบพันธุ์ครบ เรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) ถ้ามีไม่ครบ เรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) 

  16. ชนิดของดอก • ดอกเดี่ยว (Solitary Flower) ดอกที่มีเพียงดอกเดียวอยู่บนก้านดอก • ดอกช่อ (Inflorescence Flower) กลุ่มของดอกย่อยที่เกิดบนก้านดอกเดียวกัน และดอกย่อยแต่ละดอกอาจมีก้านดอกย่อย (pedicel)

  17. ลักษณะของช่อดอก (Inflorescence Type) • แบบช่อกระจุก (cymose type)ช่อดอกที่มีดอกย่อยที่เกิดก่อนอยู่ตรงกลาง หรือปลายช่อดอกการบานของดอกเริ่มที่ดอกย่อยบริเวณกลางหรือด้านปลายบนของช่อดอก มีหลายประเภท ได้แก่ ช่อกระจุกด้านเดียวชนิดเดี่ยว ช่อวงแถวเดี่ยว (ช่อกระจุกด้านเดี่ยวชนิดประกอบ) ช่อกระจุกซ้อนเดี่ยว ช่อกระจุกซ้อนเชิงประกอบ ช่อกระจุกซ้อนผสม

  18. แบบช่อกระจะ (racemose type) ช่อดอกที่มีดอกย่อยที่เกิดก่อนอยู่ล่างสุดหรือด้านนอกสุดของช่อดอก ดอกที่อ่อนสุดอยู่ส่วนปลายหรือใจกลางของช่อดอก การบานของดอกเริ่มที่ดอกย่อยบริเวณโคนช่อหรือด้านนอกของช่อดอก มีหลายประเภทได้แก่ ช่อกระจะ ช่อเชิงลด ช่อแบบหางกระรอก ช่อเชิงหลั่น ช่อเชิงลดมีกาบ ช่อซี่ร่ม ช่อซี่ร่มเชิง-ประกอบ ช่อกระจุกแน่น ช่อแยกแขนง

  19. ฐานดอกรูปถ้วย (hypanthium)ช่อดอกที่เกิดจากฐานรองดอกเจริญขึ้นเป็นรูปถ้วย อาจจะเจริญร่วมกับกลีบเลี้ยง

  20. ช่อฉัตร (verticillate) ช่อดอกที่มีดอกย่อยเกิดบริเวณรอบข้อของแกนกลาง คล้ายฉัตรเป็นวง เช่น ช่อดอกกะเพราะ โหระพา

  21. ผล (fruit) • ส่วนที่เจริญเติบโตที่เปลี่ยนแปลงมาจากรังไข่ หลังจากที่ดอกนั้นได้รับการผสมพันธุ์ เมื่อผลเจริญขึ้นอาจมีส่วนอื่นของดอก เช่น ฐานรองดอก กลีบเลี้ยงยอดเกสรตัวเมียเจริญติดมากับผลด้วยก็ได้ ภายในผลมีเมล็ด ผลบางชนิดอาจเติบโตโดยดอกไม่ได้รีบการผสมพันธุ์ เรียกว่า พาร์ทีโนคาร์ปิคฟรุต (parthenocarpic fruit) และส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อของผลจึงเปลี่ยนแปลงมาจากผนังรังไข่ เมื่อเจริญกลายเป็นผลอาจเป็นทั้งเปลือกและเนื้อเยื่อของผลเนื้อเยื่อทั้งหมดของผล เรียกว่า เพอริคาร์พ (pericarp) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ                  1) เนื้อเยื้อชั้นนอกสุดของผล (exocarp) เป็นเปลือกของผลซึ่งอาจบาง นิ่ม หนาหรือแข็ง                  2) เนื้อเยื่อชั้นกลางของผล (mesocarp) เนื้อเยื่อส่วนนั้นเป็นส่วนที่อ่อนนุ่มและรับประทานได้ ผลบางชนิดอาจมีลักษณะเป็นเส้นใยหนาเหนียว                 3) เนื้อเยื่อชั้นในของผล (endocarp) มักเป็นส่วนที่อ่อนนุ่ม เชื่อว่าเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อเยื่อชั้นกลาง และรับประทานได้ แต่ในผลบางชนิดเนื้อเยื่อชั้นนี้อาจจะแข็งทำหน้าที่หุ้มเมล็ด 

  22. ผลเดี่ยว (simple fruit)เป็นผลที่เกิดจากดอกเดี่ยวๆ มีเกสรตัวเมียทีเกิดจากคาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลเชื่อมติดกัน ผลเดี่ยวอาจมีเพอริคาร์พที่มีลักษณะเป็นเนื้อนุ่ม เมื่อผลสุกเต็มที่เพอริคาร์พอาจแห้งแข็ง 

  23. ผลกลุ่ม (aggregate fruit)เป็นผลที่เกิดจากดอกๆ เดียว แต่มีหลายคาร์เพลที่แยกจากกัน เมื่ออดอกได้รับการผสม รังไข่แต่ละอันจะเจริญเป็นผลย่อย

  24. ผลรวม (multiple fruit หรือ collective fruit หรือ compound fruit) เป็น ผลที่เจริญมาจากดอกหลายดอกซึ่งอยู่บนช่อเดียวกัน เจริญเชื่อมติดกันจนดูคล้ายเป็นผลเดียว

  25. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว • คือ พืชที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นชัดเจน ใบมักมีลักษณะแคบเรียว เส้นใบเรียงตัวในแนวขนาน กลีบดอกมีจำนวน 3 กลีบ หรือทวีคูณของ 3 รากเป็นระบบรากฝอย ตัวอย่างพืชใบเลี้ยวเดี่ยว เช่น ข้าวโพด อ้อย หญ้า ไผ่ • ลักษณะพืชเลี้ยงใบเดียว-ลักษณะเส้นใบเรียงกันแบบขนาน -มีระบบรากฝอย -ลำต้นมองเห็นข้อปล้องชัดเจน -ไม่มีการเจริญทางด้านข้าง -ส่วนประกอบของดอก เช่นกลีบดอก มีจำนวนเป็น 3 หรือทวีคูณของ 3

  26. พืชใบเลี้ยงคู่ • คือ พืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน ใบมีลักษณะกว้าง เส้นใบแตกแขนงเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว กลีบดอกมีจำนวน 4 - 5 กลีบ หรือทวีคูณของ 4 – 5 ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่ได้แก่ ถั่ว พริก มะม่วงลักษณะพืชใบเลี้ยงคู่-มีใบเลี้ยง 2 ใบ-ลักษณะเส้นใบเป็นร่างแห-มีระบบรากแก้ว-ลำต้นมอง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน-การเจริญออกทางด้านข้าง-ส่วนประกอบ ของดอกคือ กลีบดอกมีจำนวนเป็น 4-5 หรือ ทวีคูณของ 4-5

  27. มะกรูด, ข่า, ตำลึง, ตะไคร้, มะม่วง บรรยายลักษณะของพืช มะกรูด:เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะใบมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ

  28. มะม่วง:ไม้ผลยืนต้น ทรงพุ่ม สูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะลำต้นกลม การแตกกิ่งแขนงจากลำต้นหลักจะอยู่ในระดับต่ำ เปลือกลำต้นมีสีด่างขาวเป็นวงกว้าง  ใบ เป็นแบบใบเดี่ยว (simple) รูปทรงยาว (oblong) ใบเกิดบนกิ่งแบบสลับ แผ่นใบหนาแข็ง ก้านใบเรียวยาว 6-7 ซม. โคนก้านใบบวม ขอบใบเรียบ ผิวใบเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 5.5-6.5 ซม. ยาวประมาณ 24-25 ซม. ดอก เป็นช่อ ดอกแบบ panicle ออกตามปลายกิ่ง ก้านดอกรูปทรงกรวยคว่ำ มีสีแดงอมชมพู ดอกประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ในช่อเดียวกัน มีกลีบรองและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้ที่ใช้ได้เพียง 1 อัน ที่เหลืออีก 4 อันเป็นเกสรตัวผู้ที่ไม่พัฒนา สำหรับดอกสมบูรณ์เพศ ประกอบด้วยรังไข่ทรงกลมแบบ superior ovary มีก้านชูเกสรตัวเมีย (style) 1 อัน และมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผล ค่อนข้างเล็ก ติดผลดกเป็นพวง รูปทรงผลกลมแบนเล็กน้อย ฐานผลกว้างแล้วสอบเข้าสู่ปลายผล ปลายผลมน ผลกว้างประมาณ 5.5-6 ซม. ผลเมื่อสุกเปลือกจะมีสีเหลืองอมเขียว เนื้อภายในสีเหลือง รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ด คล้ายรูปหัวใจ ค่อนข้างไปทางแบน มีเปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง มีเสี้ยนติดเปลือกเมล็ดใน 1 เมล็ด เมื่อเพาะจะได้ต้นกล้าหลายต้น (polyembyonic) การขยายพันธุ์ ท้องถิ่นภาคใต้นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดอย่างเดียว 

  29. ตำลึง:เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ เป็นพืชล้มลุก ที่ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจมีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่นชอบของนกนานาชนิด ข่า: เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม ตะไคร้: เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย

  30. มะกรูด, ข่า, ตำลึง, ตะไคร้, มะม่วง การจำจำแนกพืช ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก มะม่วง, มะกรูด ข่า, ตำลึง,ตะไคร้ ใบมีต่อมน้ำมัน ใบไม่มีต่อมน้ำมัน ใบเลี้ยงคู่ ใบเลี้ยงเดี่ยว มะกรูด มะม่วง ตำลึง ตะไคร้, ข่า มีลำต้นใต้ดิน ไม่มีลำต้นใต้ดิน ข่า ตะไคร้

  31. 1. ไม้ยืนต้น………………………..มะม่วง,มะกรูด (ไปดูข้อ 2) 1. ไม้ล้มลุก………………………..ข่า, ตำลึง, ตะไคร้ (ไปดูข้อ 3) 2. ใบมีต่อมน้ำมัน……………….มะกรูด 2. ใบไม่มีต่อมน้ำมัน……………มะม่วง 3. ใบเลี้ยงคู่…………………........ตะไคร้, ข่า (ไปดูข้อ4) 3. ใบเลี้ยงเดี่ยว………......……..ตำลึง 4. มีลำต้นใต้ดิน…………………..ข่า 4. ไม่มีลำต้นใต้ดิน………………ตะไคร้

  32. ที่มารูปภาพ: http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?menu=biodiversity&uid=46603&id=198089 คนแต่ละภาคเรียกชื่อฝรั่งแตกต่างกัน กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ เหนือ ฝรั่ง ชมพู่ สีดา, บักสีดา,หมากสีดา ก้อยก่า, มะมั่น

  33. เราจะทำอย่างไรให้การสื่อสารความหมายในการเรียกชื่อ ฝรั่ง หรือพืชต่างๆ ให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ตรงกัน ?

  34. ชื่อวิทยาศาสตร์ สอบถามจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ หนังสืออนุกรมวิธานพืช อินเทอร์เน็ต หนังสือ

  35. ชื่อวิทยาศาสตร์: PsidiumguajavaLinn. คนทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงคนทั่วโลกก็จะเข้าใจได้ตรงกัน

  36. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนเรื่อง สมุนไพรน่ารู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  37. อ้างอิง นิรนาม. 2555. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว-ใบเลี้ยงคู่. แหล่งที่มา: http://scienceplant.wikispaces.com/. นิรนาม. 2557. ว่าด้วยเรื่องของใบไม้.แหล่งที่มา: http://www.panmai.com/Leaf/Leaf.shtml. 20/04/2557 ปวิณ ภิรมย์, อรวรา ดำนิลและปณิดา ศิลารัตน์. 2557.ชนิดของดอก. แหล่งที่มา:http://www.thai goodview.com/library/contest2553/type2/science04/24/pages/index4579.html. สำนักพิมพ์แม็ค. 2553. ความรู้เบื้องต้นของวิชาอนุกรมวิธานพืช. แหล่งที่มา: http://www.maceducation.com/e-knowledge/2362203100/01.htm.

More Related