210 likes | 524 Views
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. อาเซียน ( ASEAN) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
E N D
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียน (ASEAN)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงินหมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียน (ASEAN)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา • วัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพ เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค 2540 2540 2510 2510 2538 2542 2527 2510 2510 2510 อาเซียน 6 สมาชิกใหม่ CLMV
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) “One Vision, One Identity, One Community” • ปี 2546 ผู้นำอาเซียนเห็นพ้องกันว่า ภายในปี 2558 จะจัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community)ที่ประกอบด้วย 3 เสา คือ • ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community : APSC) • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) • ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน AEC ลักษณะ การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
แนวทางการดำเนินงานไปสู่การเป็น AECเพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เปิดเสรีการค้าสินค้า การเปิดเสรีการค้าบริการ การเปิดเสรีการลงทุน การเปิดเสรีด้านเงินทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
ATIGA - ความตกลงด้านการค้าสินค้าอาเซียน 1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า • ครอบคลุมมาตรการด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่าง 10 ประเทศ • ตารางการลดภาษีตามพันธกรณีของอาฟตา (AFTA) • กำหนดให้ใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น • ส่งเสริมความสะดวกด้านการค้าสินค้าระหว่างกัน • หลักปฏิบัติด้านศุลกากรที่อ้างอิงหลักการของสากล • การปฏิบัติด้านเทคนิค กระบวนการตรวจสอบรับรองมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช • มาตรการเยียวยาทางการค้า
ปี 2553 ปี 2558 ภาษี 0% สินค้าในรายการลดภาษี ภาษี 0% อาเซียนเดิม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา การเปิดเสรีการค้าสินค้า • การลด/ยกเลิกภาษี ยกเว้น สินค้าในรายการสินค้าอ่อนไหว(Sensitive List:SL)ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้อง <5% (ไทยมีเมล็ดกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก เนื้อมะพร้าวแห้ง ภาษีเหลือ 5%) และสินค้าในรายการอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List:HSL)ลดภาษีลงในระดับที่ต้องตกลงกัน (ได้แก่ ข้าว (ID, MY, PH) และน้ำตาล (ID,PH)) • การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures) • การกำหนดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิด (Rules of Origin)
สินค้าอ่อนไหวของประเทศอาเซียน (ภาษีนำเข้า 0-5%)
การเปิดเสรีการค้าสินค้า (ต่อ) • การปฏิบัติด้านเทคนิค กระบวนการตรวจสอบรับรองมาตรการ SPS • ปรับประสานมาตรฐาน กฎระเบียบด้านเทคนิคและการประเมินให้เป็นไปตามหลักสากล ปฏิบัติได้ และโปร่งใส • พัฒนาและใช้ระบบบริหารจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์ อาหาร • จัดตั้งระบบโดยใช้ GAP, GAHP, GHP, GMP, HACCP เป็นพื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารให้สอดคล้องกับสากล • ปรับประสานระบบและเกณฑ์ต่างๆ เช่น ระบบการกักกันและตรวจสอบหรือสุ่มตัวอย่าง ระดับปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดในอาหาร มาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพ แนวทางการใช้สารเคมี การควบคุมสุขภาพสัตว์ (สัตว์น้ำ/บก) เป็นต้น
ACIA – ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน 3. การเปิดเสรีการลงทุน • ACIAประกอบด้วยหลักการของการลงทุน 4 ด้านได้แก่ ส่งเสริมการลงทุนอำนวยความสะดวก การเปิดเสรีเพื่อให้เข้ามาลงทุน และการคุ้มครองการลงทุน • ครอบคลุม 1. เกษตร 2. ประมง 3.ป่าไม้ 4. เหมืองแร่ 5. อุตสาหกรรมการผลิตและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับทั้ง 5 สาขาการผลิต • เปิดโอกาสให้สมาชิกทำข้อสงวนสาขาที่ไม่ต้องการเปิดเสรีไว้ในตารางข้อผูกพันโดยไม่ต้องมีการเจรจาต่อรอง
พันธกรณีของไทยภายใต้ ACIA • ไทยผูกพันการเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553 ใน 3 สาขา ดังนี้ - การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ - การทำไม้จากป่าปลูก - การเพาะ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์พืช • อาเซียนเห็นด้วยให้ใช้วิธีการเปิดเสรีแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ปี 2553 ปี 2555 และ ปี 2557 • ปี 2555สาขาประมงจึงเปิดให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ไม่เกิน 51% ในสาขาเพาะเลี้ยงทูน่าในกระชังน้ำลึก และการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรสายพันธุ์ในประเทศไทยที่ได้จากการเพาะพันธุ์ และในอนาคตอันใกล้นี้ ยังไม่ต้องเปิดเสรีเพิ่มมากขึ้น อาจเพียงแค่เพิ่มความสะดวกในการเข้ามาลงทุน
5. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี เป้าหมายเพื่อสร้างมาตรฐานที่ชัดเจนของแรงงานมีฝีมือ (โดยทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก อำนวยความสะดวกให้กับเฉพาะ “แรงงานฝีมือ” ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน MRAs เท่านั้น ปัจจุบันอาเซียนได้จัดทำ MRAs ไว้แล้ว 8 สาขา คือ วิศวกรรม สถาปนิก แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักบัญชี และช่างสำรวจ และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังการเป็น AEC มีการรวมตัวกันเป็นตลาดขนาดใหญ่ บรรยากาศการค้าและการลงทุนเสรีมากขึ้น มีการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมถึงกันหมด มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เสมอภาค เชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศนอกภูมิภาค
โอกาสทางการค้าและการลงทุนจาก AEC • ขยายช่องทางและโอกาสการค้าเข้าสู่ตลาดอาเซียน มีสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและความหลากหลาย • เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) • ลดต้นทุน นำเข้าวัตถุดิบในราคาถูกลง ทำให้ผลิตและขายในราคาถูกลง • เสริมสร้างโอกาสในการลงทุน เช่น ขยายกิจการ ย้ายฐานการผลิต • สร้างงานเพิ่มขึ้น • เกิดการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ในสินค้าและบริการ • มีการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพบุคลากร/แรงงาน ลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพิ่มอำนาจการซื้อ • เศรษฐกิจในภาพรวมแข็งแกร่งขึ้น
ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็น AEC • ต้องเผชิญกับคู่แข่งขันและมีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น • สินค้าหลากหลายที่ไม่ได้มาตรฐาน/คุณภาพต่ำเข้ามาขายในตลาดมากขึ้น • นักลงทุนต่างชาติที่ได้สิทธิการเป็นนักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น • การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า
การเตรียมความพร้อมของไทยการเตรียมความพร้อมของไทย
โครงการพัฒนาภาคการประมงสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปีงบประมาณ 2556 • ปรับปรุงกระบวนการผลิต ตั้งแต่ ธนาคารพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ ศึกษาเทคโนโลยีการลดต้นทุนการเพาะเลี้ยงปลานิล กุ้งขาว • ปรับปรุงระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานฟาร์มสัตว์น้ำ • ปรับปรุงระบบการตลาด Shrimp clusterพัฒนาศักยภาพการผลิตปลาน้ำจืด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร • ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานสินค้าประมงพื้นบ้าน
โครงการพัฒนาภาคการประมงสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจาเซียน ปีงบประมาณ 2556 • เผยแพร่ความรู้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารการประมงประเทศสมาชิกอาเซียน • การจัดงาน ASEAN Seafood Exposition • and Fisheries Conference • รอติดตาม เอกสาร โอกาสการทำธุรกิจประมงในประเทศสมาชิกอาเซียน ภายในปี 2556