1 / 17

โครงสร้างคอมพิวเตอร์ และภาษาแอสเซมบลี้

โครงสร้างคอมพิวเตอร์ และภาษาแอสเซมบลี้. introduction. ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ . ปรับปรุง 1 9 ตุลาคม 2555. มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง http://www. nation.ac.th. วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ (1/5). คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง

gefjun
Download Presentation

โครงสร้างคอมพิวเตอร์ และภาษาแอสเซมบลี้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างคอมพิวเตอร์ และภาษาแอสเซมบลี้ introduction ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ . ปรับปรุง 19 ตุลาคม 2555 มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง http://www.nation.ac.th

  2. วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ (1/5) คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacumn Tube) ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ควัน(MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index01.htm

  3. วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ (2/5) คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor)โดยมีแกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core) เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ซึ่งถูกพัฒนาจนใช้งานถึงปัจจุบัน ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index01.htm

  4. วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ (3/5) คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index01.htm

  5. วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ (4/5) คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้ว ขณะเดียวกันพัฒนา ซอฟต์แวร์ ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จรูปให้เลือกใช้อย่างมากมาย ข้อมูลจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK11/chapter1/chap1.htm

  6. วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ (5/5) คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า มนุษย์พยายามนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหายิ่งขึ้น โดยเก็บความรอบรู้ไว้ในเครื่อง สามารถค้นคืนความรู้ที่สั่งสมไว้มาใช้ประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) อาจประกอบด้วยระบบผู้เชี่ยวชาญ ภาษาธรรมชาติ ระบบจับภาพ หุ่นยนต์ เครือข่ายเส้นประสาท เป็นต้น ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/roomnet/roomnet46/IT46_9/index.html-doc5.htm

  7. ประเภทของคอมพิวเตอร์ • Super Computer • Mainframe Computer • Mini Computer เช่น AS/400 • Micro Computer หรือ Personnal Computer • Notebook Computer • Pocket Personal Computer • Tablet Personal Computer ข้อมูลจาก หนังสือช่างคอม ของสุทธิพันธุ์ แสนละเอียด

  8. ส่วนประกอบระบบคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) • หน่วยความจำ (Memory Unit) • หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit) • หน่วยควบคุม (Control Unit) • หน่วยแสดงผล (Output Unit)

  9. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 1. CPU 2. Mainboard 3. Memory 4. Harddisk 5. Floppy Disk 6. Display Card 7. CD-ROM 8. Sound card 9. Monitor 10. Case 11. Mouse 12. Keyboard ข้อมูลจาก http://www.thaiall.com/assembly/computer.htm

  10. หน่วยความจำ (Memory) • หน่วยความจำภายใน. - หน่วยความจำแบบโวลาไทน์ (Volatine) เช่น RAM - หน่วยความจำนอนโวลาไทน์ (Nonvolatine) เช่น ROM • หน่วยความจำภายนอก • Harddisk, Diskette, CD-ROM, Flash Drive ..

  11. หน่วยความจำหลัก (RAM) (1/2) • SRAM = Static Random Access Memory • DRAM = Dynamic Random Access Memory • ยุคแรก DRAM ยังเป็น Chip บน Mainboard • ไม่ใช่แผงวงจรเหมือนปัจจุบัน • FPM DRAM( Fast Page Mode DRAM) เป็น RAM ยุคแรกของ CPU 80486 (เลิกผลิต) • EDO RAM (Extended Data Output) ปรับปรุงมาจาก FPM DRAM (เลิกผลิต) • SDRAM (Synchronous DRAM) ปี 2545 ยังหาซื้อรุ่นนี้ได้อยู่ ข้อมูลจาก http://www.ku.ac.th/magazine_online/select_ram.html

  12. หน่วยความจำหลัก (RAM) (2/2) • SDR SDRAM (Synchronous DRAM) มี 168 ขา ร่องบาก 2 ช่อง ทำงานขณะสัญญาณนาฬิกาเป็นขาขึ้น เป็นแบบขนาน • DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM) มี 184 ขา ร่องบาก 1 ช่อง ทำงานขณะสัญญาณนาฬิกาเป็นขาขึ้น และขาลง • Rambus DRAM มี 184 ขา ร่องบาก 2 ช่องทำงานแบบอนุกรม • DDR2 SDRAM () มี 240 ขา ร่องบาก 1 ช่อง ข้อมูลจาก http://www.ku.ac.th/magazine_online/select_ram.html

  13. CPU รุ่น 8080 (1/5) พ.ศ. 2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฎิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิ้ลก็เลือกซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น ข้อมูลจาก http://www.nfe.go.th/engineer/data/comdata/computer/CPU.html ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/cpu.htm

  14. CPU รุ่น 8088 (2/5) พ.ศ. 2524 ซีพียูแบบ 16 บิต รับข้อมูลจากภายนอกทีละ 8 บิต แต่การประมวลผลทีละ 16 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้เรียกว่า พีซีรุ่นแรก ซึ่งเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ ความเร็วคือการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา ซึ่งกำหนดจังหวะไว้ที่ความเร็ว 4.77 ล้านรอบใน 1 วินาที (4.77 เมกะเฮิรตซ์) และเรียกว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT) ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/cpu.htm

  15. CPU รุ่น 80286 (3/5) พ.ศ. 2527 พีซีเอที (PC-AT) ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ความเร็วสูง 6 เมกะเฮิรตซ์ รับส่งข้อมูลภายในเป็น 16 บิต ภายนอกแบบ 16 บิต ติดต่อหน่วยความจำได้ 16 เมกะไบต์ มีผู้พัฒนาเครื่องพีซีเอทีรายอื่นใช้สัญญาณนาฬิกา 8, 10, 16 เมกะเฮิรตซ์ จึงมีไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายเต็มที่ ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/cpu.htm

  16. CPU รุ่น 80386 (4/5) พ.ศ. 2529 บริษัทอินเทลออก 80386 รับส่งข้อมูล และประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติดต่อหน่วยความจำได้มากถึง 4 กิกะไบต์ สัญญาณนาฬิกาเป็น 33 เมกะเฮิรตซ์ ในปี พ.ศ. 2530 บริษัทไอบีเอ็มเปิดตัวคอมพิวเตอร์พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไป โดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน แต่ 80386 ไม่ได้รับความนิยม เพราะแพงมาก พ.ศ. 2531 อินเทลลดขีดความสามารถของ 80386 ให้เหลือเพียง 80386SX ซึ่งมีโครงสร้างแบบเอทีเดิม แต่ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้ 16 บิต และถูกกว่า ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/cpu.htm

  17. CPU รุ่น 80486 (5/5) พ.ศ. 2532 ซีพียู 80486 ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 (หน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์) เข้ากับซีพียู 80386 และรวมส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป พ.ศ. 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเที่ยม (Pentium) มีขีดความสามารถคำนวณสูงกว่า 80486 ใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต ข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/cpu.htm

More Related