1 / 27

ผลกระทบภายนอก (Externalities)

ผลกระทบภายนอก (Externalities). คือ ผล (effect) ของการกระทำ ( action) ของผู้ผลิตหรือผู้บริโภคที่มีต่อผู้ผลิตหรือผู้บริโภคอื่น ซึ่งไม่สะท้อนหรือรวมไว้ในราคาตลาด. ผลกระทบภายนอกแบ่งเป็นแบบลบ (negative) กับแบบบวก (positive)

gaston
Download Presentation

ผลกระทบภายนอก (Externalities)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลกระทบภายนอก (Externalities) คือ ผล (effect) ของการกระทำ (action) ของผู้ผลิตหรือผู้บริโภคที่มีต่อผู้ผลิตหรือผู้บริโภคอื่น ซึ่งไม่สะท้อนหรือรวมไว้ในราคาตลาด

  2. ผลกระทบภายนอกแบ่งเป็นแบบลบ (negative) กับแบบบวก (positive) ผลกระทบภายนอกแบบลบเป็นการกระทำที่สร้างต้นทุนให้กับผู้อื่น เช่น การปล่อยมลพิษสู่แม่น้ำ เป็นต้น ผลกระทบภายนอกแบบบวกเป็นการกระทำที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เป็นต้น

  3. ปัญหาของการมีผลกระทบภายนอก คือ ผลเหล่านี้ไม่รวมอยู่ในราคาตลาด ทำให้ราคาตลาดไม่สามารถเป็นสัญญาณ ในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จะพิสูจน์โดยใช้แนวคิด marginal external cost (MEC) และ marginal social cost (MSC)

  4. marginal external cost (MEC) คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นที่ผู้ผลิตหรือผู้บริโภคอื่นต้องแบกรับไปเมื่อผู้ผลิตหรือผู้บริโภคได้เพิ่มการผลิตหรือการบริโภคขึ้นอีกหนึ่งหน่วย MEC เป็นเส้นที่ชันขึ้นจากซ้ายไปขวา (เหมือนเส้น MC) marginal social cost (MSC) คือผลรวมของต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) ของการผลิตหรือการบริโภค กับ marginal external cost MSC = MC + MEC

  5. Price Price MSC MC MSCI S = MCI P* P1 P1 MECI MEC D q* q1 Firm Output Q* Q1 Industry Output (a) (b)

  6. ข้อสรุปที่สำคัญในกรณีข้างต้นข้อสรุปที่สำคัญในกรณีข้างต้น 1. ราคาในตลาดให้สัญญาณที่ผิดเมื่อมีผลกระทบภายนอกที่เป็นลบ จนทำให้ Q มากเกินไป 2. Social cost = ส่วนที่ MSC – MC เหนือเส้น demand 3. การที่ไม่สามารถ internalize ผลกระทบภายนอกทำให้มีผู้ผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพอยู่ในอุตสาหกรรมได้ เช่น โรงกลึงที่เสียงดังแถวชานเมือง เป็นต้น

  7. การวิเคราะห์ความไร้ประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรในกรณีที่มีผลกระทบภายนอกที่เป็นบวก ใช้แนวคิด marginal external benefit (MEB) และ marginal social benefit (MSB)

  8. MEB คือ ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นกับผู้ผลิตหรือผู้บริโภคอื่นเมื่อผู้ผลิตหรือผู้บริโภคได้เพิ่มการผลิตหรือการบริโภคขึ้นอีกหนึ่งหน่วย แต่ MEB มีลักษณะ diminishing(เหมือนกับ marginal benefit หรือ utility จากการผลิตหรือบริโภคทั่วไปหรือเหมือน demand นั่นเอง) MSB คือผลรวมของ MEB กับ marginal private benefit (หรือ MV ของ demand) MSB = MEB + D

  9. Value MSB D P1 MC P* MEB Repair Level 0 q1 q*

  10. ในกรณีบุคคลจะผลิต Q ณ.จุดที่ MC = P (ณ. q1) แต่เมื่อรวมผลกระทบภายนอกที่เป็นบวกแล้วควรผลิต Q ณ.จุดที่ MC = MSE (ณ. q*) ดังนั้น ราคาตลาดส่งสัญญาณผิดทำให้ผลิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรืออีกนัยหนึ่ง ราคาสูงเกินไปทำให้ผลิต Q น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

  11. ในกรณีที่ firm มีกระบวนการผลิตแบบ fix-proportion การลด inefficiency เนื่องจากผลกระทบภายนอกที่เป็นลบทำได้ด้วยการลด Q โดยเก็บภาษีผลผลิต (output tax) แต่โดยทั่วไป firms มีกระบวนการผลิตที่แปรเปลี่ยนปัจจัยการผลิตได้ หรือติดอุปกรณ์ลดผลกระทบภายนอกได้แต่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น เราจะศึกษาว่าจะลดผลกระทบภายนอกที่เป็นลบได้อย่างไรบ้าง

  12. กำหนดให้ MSC = MEC และ MSC แปรตามขนาดของมลพิษที่ปล่อยออกมา MCA(marginal cost of abating emissions) คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นที่ firm ต้องแบกรับจากการติดตั้งเครื่องควบคุมมลพิษ MCA แปรตามขนาดของมลพิษที่ต้องการลดลง นั่นคือ ถ้าลดมาก MCA จะสูงขึ้น ดังนั้น MCA จะลาดจากซ้ายมายังขวา จากขนาดการลดที่มาก (หรือเหลือมลพิษน้อย) มาสู่ขนาดการลดที่น้อย (อ่านจากขวามาซ้าย)

  13. Dollars per Unit of Emissions MSC 7 4 2 1 MCA Level of Emissions 0 6 12 18 26 E0 E* E1

  14. การบังคับให้ firms ลดปล่อยมลพิษ มี 3 วิธีคือ 1. Emissions Standard 2. EmissionsFee 3. Transferable Emission Permits

  15. Emissions Standard คือ ข้อจำกัดด้านกฎหมายที่ระบุว่า firm จะปล่อยมลพิษได้มากน้อยเพียงไร ถ้า firm ปล่อยมลพิษเกินกว่านี้ จะถูกปรับหรือลงโทษตามกฎหมาย ในสภาวะแบบนี้ firm ต้องติดเครื่องบำบัดมลพิษ เพื่อไม่ให้มีขนาดเกินกว่าที่กำหนด ดังนั้น จะเหลือ firm ที่อยู่ในตลาดที่มี P > AC + abatement cost

  16. EmissionsFee คือ การเรียกเก็บเงินจาก firm ในแต่ละหน่วยของมลพิษที่ปล่อยออกมา ทางการจะเรียกเก็บ fee ณ.จุดที่คิดว่าเป็น efficient levels of emission ดังนั้น ถ้า MCA > fee ก็จะจ่าย fee ถ้า MCA < fee ก็จะเสีย cost ในการ abate Total cost ของ firms ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก (MCA > fee) ส่วนหลัง (MCA < fee)

  17. Dollars per Unit of Emissions MSC Standard 3 Free MCA Level of Emissions 0 12 26 E*

  18. การใช้ Emissions Standard กับ EmissionsFee อาจให้ผลที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัย 2 ประการ 1. ผู้กำหนด Standard มีสารสนเทศไม่ครบถ้วน 2. มีต้นทุนสูงในการควบคุมการปล่อยมลพิษของfirms ซึ่งทำให้มีการเก็บ fee หรือกำหนด Standard เหมือนกันทุก firms แต่ firms มี Abatement cost ต่างกัน

  19. เปรียบเทียบการเก็บ fee กับกำหนด standard ในกรณีที่ทางการต้องการให้มีการลดมลพิษลง 14 หน่วย ขณะที่ถ้าไม่มีการควบคุม firms ทั้งสองจะปล่อยมลพิษมา 14 หน่วยเท่าๆกัน แต่ MCA ของ firm 1 สูงกว่า MCA ของ firm 2

  20. Dollars per Unit of Emissions MCA2 MCA1 Firm 1’s Increased Abatement Costs 3.75 3 2.50 Level of Emissions 0 6 7 8 14 Firm 2’s Reduced Abatement Costs

  21. ในกรณีนี้และโดยทั่วไป fee จะดีกว่า standard ด้วย 2 เหตุผลคือ 1. ถ้า standard กำหนดใช้กับ firm ทุกแห่งแล้ว fee จะลดมลพิษได้ในขนาดที่เท่ากับ standard แต่ต้นทุนต่ำกว่า 2. fee จะสร้างแรงจูงใจให้ firm ติดตั้งเครื่องบำบัดมลพิษ ซึ่งอาจนำไปสู่การลดมลพิษลงไปอีกในภายหลัง

  22. เปรียบเทียบการกำหนด fee กับ standard ในกรณีที่ถ้ามีความลดหย่อนให้มีการปล่อยมลพิษเท่ากัน คือ 12.5% (จาก $8 ไป $7 ในกรณี fee หรือจากมลพิษระดับ 8 หน่วยเป็น 9 หน่วยในกรณี standard) เนื่องจากสารสนเทศไม่สมบูรณ์ทำให้ไม่สามารถกำหนด efficient level ที่แน่ชัดได้

  23. Dollars per Unit of Emissions Marginal Social Cost C E A 8 D B 7 Marginal Cost of Abatement Level of Emissions 0 8 9 11

  24. จากรูป การลด fee จาก $8 ไป $7 ทำให้เกิด Social cost มากขึ้นเป็น ABC ขณะที่การลด standard จาก 8 หน่วยเป็น 9 หน่วย ทำให้เกิด Social cost เพิ่มขึ้นเพียง AED ดังนั้น วิธี standard จะดีกว่าวิธี fee เมื่อ 1. มีความไม่แน่นอนว่าจะกำหนดให้ลดมลพิษลงไปเท่าไรจึงจะเหมาะสม (uncertainty) 2. ลักษณะของ MSC (ชัน) กับ MCA (ราบ)

  25. Transferable Emission Permits คือ ระบบการซื้อขายใบอนุญาตที่จะปล่อยมลพิษได้ ซึ่งแต่ละ firm จะได้รับใบอนุญาตตามที่ทางการกำหนดไว้ โดยที่จำนวนใบอนุญาตรวมทั้งหมดในระบบจะเท่ากับระดับของมลพิษที่สังคมพึงประสงค์ให้ปล่อยออกมาได้

  26. ดังนั้น ระบบนี้เป็นการให้โอกาส firms ต่างๆที่มี MCA ต่างกันมาตกลงซื้อขายการปล่อยมลพิษระหว่างกันได้ ตัวอย่างจากรูปข้างต้น firm 1 ต้องการปล่อยมลพิษเกิน 7 หน่วย อาจขอซื้อ permit ในการปล่อยหน่วยที่ 8 จาก firm 2 ในราคาระหว่าง 2.5 กับ 3.75 ซึ่งจะถูกกว่าที่จะปล่อยเกินและถูกปรับ

  27. ในการซื้อขาย Permits ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะพบว่า ราคาของ Permit = MCA ของทุก firm ดังนั้น ระดับมลพิษที่ทางการกำหนดจะถูกบำบัดด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด

More Related