600 likes | 888 Views
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29. เรื่อง สัญญาเช่า. วัตถุประสงค์. กำหนดนโยบายการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลที่เหมาะสมทั้งทางด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่าเพื่อนำไปปฏิบัติกับสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงาน. ขอบเขต. ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับสัญญาเช่าทุกรายการ ยกเว้น
E N D
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 เรื่อง สัญญาเช่า
วัตถุประสงค์ กำหนดนโยบายการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลที่เหมาะสมทั้งทางด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่าเพื่อนำไปปฏิบัติกับสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงาน
ขอบเขต • ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับสัญญาเช่าทุกรายการ ยกเว้น • สัญญาเช่าเพื่อการสำรวจหรือการใช้ทรัพยากร ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ แร่โลหะ และสิทธิในแร่ธาตุอื่น • ข้อตกลงในการให้ใช้สิทธิของรายการประเภทฟิล์มภาพยนตร์ การ บันทึกวีดิทัศน์ ละคร บทประพันธ์ สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์
ขอบเขต (ต่อ) • มาตรฐานฉบับนี้ไม่ใช้กับการวัดมูลค่าของรายการต่อไปนี้ • การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินด้านผู้เช่า และสัญญาเช่าดำเนินงานด้านผู้ให้เช่าตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้) • การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ชีวภาพภายใต้สัญญาเช่าการเงินด้านผู้เช่า และสัญญาเช่าดำเนินงานด้านผู้ให้เช่า ตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 57 เรื่อง เกษตรกรรม (เมื่อมีการประกาศใช้)
มาตรฐานฉบับที่ 7และ 29 คำว่า “ค่าเช่า” จำแนกได้ 4 สถานการณ์ คำว่า “อายุการใช้งานของสินทรัพย์” ไม่ระบุชัดเจนถึงค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น มาคำนวณจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย ร่างมาตรฐานฉบับที่ 29 ค่าตอบแทนซึ่งอาจได้รับชำระในงวดเดียวหรือรายงวด เพิ่มสถานการณ์ในการจำแนกสัญญาเช่าอีกหนึ่งข้อเป็น 5 สถานการณ์และข้อบ่งชี้อีก 3 ข้อ อายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ไม่นำค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นมารวมในการคำนวณจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม
ร่างมาตรฐานฉบับที่ 29 นิยามคำว่า “ต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรก” และกำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่าเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งลูกหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงิน ปันส่วนรายได้ทางการเงินโดยรับรู้ตามอัตราคงที่คำนวณได้จากเงินลงทุนสุทธิของผู้ให้เช่าที่ยังไม่ได้รับตามสัญญาเช่าทางการเงินเท่านั้น อ้างถึงมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานฉบับที่ 7และ 29 ไม่มีนิยามคำว่า “ต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรก” และข้อกำหนดที่ชัดเจนในการปฏิบัติทางบัญชี รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่าจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที ปันส่วนรายได้ทางการเงินโดยรับรู้ตามอัตราคงที่คำนวณได้จาก 1.เงินลงทุนสุทธิของผู้ให้เช่าที่ยังไม่ได้รับตามสัญญาเช่าทางการเงิน 2.เงินสดลงทุนสุทธิของผู้ให้เช่าที่ยังไม่ได้รับตามสัญญาเช่าการเงิน ไม่ได้อ้างถึงมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม (ต่อ)
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม (ต่อ) มาตรฐานฉบับที่ 7และ 29 การเช่ากลับคืนเฉพาะที่เป็นสัญญาเช่าดำเนินงานซึ่งข้อกำหนดสถานการณ์ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับราคายุติธรรม ม.7 ไม่กำหนดถึงวิธีปฏิบัติทางบัญชีด้านผู้เช่าซื้อ • ร่างมาตรฐานฉบับที่ 29 • เน้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมทั้งด้านผู้ให้เช่าและผู้เช่า • การเช่ากลับคืนเฉพาะที่เป็นสัญญาเช่าดำเนินงานซึ่งข้อกำหนดสถานการณ์ต้องขึ้นอยู่กับราคายุติธรรม • กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าและให้แนวปฏิบัติทางบัญชี
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม (ต่อ) • มาตรฐานฉบับที่ 7และ 29 • ไม่ได้กำหนดวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการแยกองค์ประกอบของที่ดินและอาคารรวมถึงการวัดมูลค่า • ร่างมาตรฐานฉบับที่ 29 • กำหนดวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการแยกองค์ประกอบของที่ดินและอาคารรวมถึงการวัดมูลค่า
คำนิยาม สัญญาเช่า หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าในการใช้สินทรัพย์สำหรับช่วงเวลาที่ตกลงกันเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนซึ่งได้รับชำระในงวดเดียวหรือหลายงวด • สัญญาเช่าตามคำนิยามรวมถึงสัญญาเช่าสินทรัพย์ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะได้รับกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เช่าเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน สัญญาเช่าดังกล่าวในบางครั้งเรียกว่า สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าการเงิน หมายถึง สัญญาเช่าที่ทำให้เกิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้ให้เช่า ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดขึ้นหรือไม่ สัญญาเช่าดำเนินงาน หมายถึง สัญญาเช่าที่มิใช่สัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าที่บอกเลิกไม่ได้ หมายถึง สัญญาเช่าที่จะบอกเลิกได้เฉพาะ • เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อยมาก • เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า • เมื่อผู้เช่าทำสัญญาเช่าใหม่กับผู้ให้เช่ารายเดิมเพื่อเช่าสินทรัพย์เดิมหรือสินทรัพย์ที่เทียบเท่าของเดิม • เมื่อผู้เช่าต้องจ่ายเงินเพิ่มด้วยจำนวนที่ทำให้เชื่อได้อย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าการเช่าจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อายุของสัญญาเช่า หมายถึง ระยะเวลาเช่าสินทรัพย์ที่ผู้เช่าทำสัญญาที่บอกเลิกไม่ได้ ทั้งนี้ให้รวมถึงระยะเวลาที่ผู้เช่ามิสิทธิที่จะเลือกต่ออายุสัญญาเช่าสินทรัพย์นั้นออกไปอีก ไม่ว่าจะมีการจ่ายเงินเพิ่มอีกหรือไม่หาก ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าสามารถเชื่อได้อย่างสมเหตุสมผลว่าผู้เช่าจะเลือกใช้สิทธิเพื่อต่ออายุสัญญาเช่า
คำนิยาม (ต่อ) จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้เช่าต้องจ่ายตลอดอายุของสัญญาเช่ารวมกับรายการ ดังต่อไปนี้ • ทางด้านผู้เช่า - จำนวนเงินที่ผู้เช่าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เช่าประกันมูลค่าคงเหลือให้กับผู้ให้เช่า • ทางด้านผู้ให้เช่า - มูลค่าคงเหลือที่ได้รับประกันจากผู้เช่าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เช่า หรือ บุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่าและการเงินที่สามารถให้การประกันแก่ผู้ให้เช่าได้
คำนิยาม (ต่อ) อายุการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ หมายถึง ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ • ระยะเวลาที่คาดว่าสินทรัพย์จะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจกับผู้ใช้รายเดียวหรือหลายราย หรือ • จำนวนผลผลิตหรือจำนวนหน่วยในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกันซึ่ง ผู้ใช้รายเดียวหรือหลายราย คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์ อายุการใช้งาน หมายถึง ระยะเวลาที่เหลืออยู่โดยประมาณนับจากวันที่สัญญาเช่ามีผลบังคับใช้ ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากสินทรัพย์ โดยไม่คำนึงถึงอายุของสัญญาเช่า มูลค่าคงเหลือที่ได้รับการประกัน หมายถึง • ทางด้านผู้เช่า - ส่วนของมูลค่าคงเหลือที่ผู้เช่าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เช่ารับประกันที่จะจ่ายทดแทนให้ผู้ให้เช่า (จำนวนที่รับประกัน คือ จำนวนเงินสูงสุดที่จะต้องจ่ายไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม) และ • ทางด้านผู้ให้เช่า - ส่วนของมูลค่าคงเหลือที่ผู้เช่าหรือบุคคลที่สามรับประกันที่จะจ่ายทดแทนให้แก่ผู้ให้เช่า บุคคลที่สามที่รับประกันที่ต้องไม่เกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่าและบุคคลดังกล่าวต้องมีความสามารถทางการเงินที่จะรับผิดชอบต่อภาระผูกพันที่รับประกันไว้
คำนิยาม (ต่อ) มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับประกัน หมายถึง ส่วนของมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ที่ให้เช่าซึ่งผู้ให้เช่าอาจไม่ได้รับคืน หรือส่วนของมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ที่ให้เช่าซึ่งได้รับการประกันจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่าเท่านั้น รายได้ทางการเงินรอการรับรู้ หมายถึง ผลต่างระหว่างเงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่ากับเงินลงทุนสุทธิในสัญญาเช่า อัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่า หมายถึง อัตราคิดลด ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าที่ทำให้ผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของรายการต่อไปนี้มีจำนวนเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ให้เช่าและต้นทุนทางตรงเริ่มแรกของผู้ให้เช่า • จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย • มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกัน
คำนิยาม (ต่อ) • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนเพิ่มของผู้เช่า หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ผู้เช่าจะต้องจ่ายตามสัญญาเช่าที่คล้ายคลึงกันหรือถ้าไม่สามารถกำหนดอัตรานั้นได้จึงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยที่ผู้เช่าจะต้องจ่าย ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าในการกู้ยืมเงินที่มีระยะเวลาและการค้ำประกันคล้ายคลึงกับที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าเพื่อซื้อสินทรัพย์นั้น • ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น หมายถึง ส่วนของจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าซึ่งไม่ได้กำหนดไว้อย่างคงที่ตามระยะเวลาที่ผ่านไป แต่กำหนดให้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น เช่น อัตราร้อยละของยอดขาย ปริมาณการใช้ ดัชนีราคาในอนาคตหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดในอนาคต
สัญญาเช่าที่ผู้ให้เช่าโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่าสัญญาเช่าที่ผู้ให้เช่าโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) ไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือผลตอบแทนทั้งหมดเรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) การจัดประเภทสัญญาเช่าพิจารณาจากความเสี่ยง และผลตอบแทน
5 สถานการณ์ 3 ข้อบ่งชี้ กิจการจะต้องจัดสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหาก สัญญานั้นทำให้เกิดสถานการต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งสถานการณ์ และข้อบ่งชี้สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งหรือหลายสถานการณ์ รวมกันดังต่อไปนี้
ใช่ 1.สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า ไม่ใช่ 2.ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกมีผลบังคับใช้ โดยราคาตามสิทธิเลือกนั้นมีจำนวนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดความแน่ใจอย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์นั้น ใช่ ไม่ใช่ 3.ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ แม้ว่าจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น ใช่ ไม่ใช่ 4.ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า ใช่ ไม่ใช่ ใช่ 5.สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะเจาะจงจนกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์นั้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาทำการดัดแปลงที่สำคัญ ไม่ใช่ 5 สถานการณ์ สัญญาเช่าดำเนินงาน สัญญาเช่าการเงิน
1.หากผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้และผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบผลเสียหายที่เกิดกับผู้ให้เช่าเนื่องจากการยกเลิกนั้น1.หากผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้และผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบผลเสียหายที่เกิดกับผู้ให้เช่าเนื่องจากการยกเลิกนั้น ใช่ ไม่ใช่ 2.ผู้เช่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกำไรหรือผลขาดทุนจากการผันผวนของมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือ ใช่ ไม่ใช่ 3.ผู้เช่าสามารถต่อสัญญาเช่าครั้งที่สองด้วยการจ่ายค่าเช่าที่มีจำนวนต่ำกว่าค่าเช่าในตลาดอย่างเป็นนัยสำคัญ ใช่ ไม่ใช่ 3 ข้อบ่งชี้ สัญญาเช่าดำเนินงาน สัญญาเช่าการเงิน
ตัวอย่างการจำแนกประเภทของสัญญาเช่าตัวอย่างการจำแนกประเภทของสัญญาเช่า
ตัวอย่างการจำแนกประเภทของสัญญาเช่า (ต่อ) • สัญญาที่ 1 ไม่ถือเป็นสัญญาเช่าการเงินทั้งทางด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่า เนื่องจากเป็นสัญญาเช่าที่ไม่ได้เป็นการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดให้แก่ผู้เช่า • สัญญาที่ 2 ถือเป็นสัญญาเช่าการเงินทั้งทางด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่า เนื่องจากมีการโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า และเป็นสัญญาเช่าที่บอกเลิกไม่ได้
ตัวอย่างการจำแนกประเภทของสัญญาเช่า (ต่อ) • สัญญาที่ 3 ผู้เช่าถือเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน เนื่องจากสัญญาเช่าไม่มีลักษณะตามย่อหน้า 10.1, 10.2, 10.3 และ 10.4 (ผู้เช่าไม่ทราบอัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่าจึงใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนเพิ่มในการคิดลด) ส่วนผู้ให้เช่า ถือเป็นสัญญาเช่าการเงินเนื่องจากผู้ให้เช่าทราบอัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่า • สัญญาที่ 4 ผู้เช่าและผู้ให้เช่าถือเป็นสัญญาเช่าการเงิน เนื่องจากมีลักษณะตามย่อหน้า 10.2 และ 10.4 ผู้เช่ามีสิทธิเลือกที่จะซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม และมีมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเท่ากับหรือมากกว่าส่วนใหญ่ของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ให้เช่า
สัญญาเช่าการเงิน ด้านผู้เช่า การรับรู้เริ่มแรก • ต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์และหนี้สินด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ณ วันที่สัญญาเช่ามีผลบังคับใช้ และต้นทุนทางตรงเริ่มแรกต้องรวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ (วรรคที่ 20) • ถ้ามูลค่าปัจจุบันที่ต้องจ่ายมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมจะต้องใช้อัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่า หากไม่สามารถกำหนดได้ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนเพิ่มซึ่งเรียกว่า อัตราคิดลดในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันที่ต้องจ่าย
การรับรู้มูลค่าของสินทรัพย์ ณ วันเริ่มต้นสัญญาเช่า มูลค่ายุติธรรม มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย หากไม่สามารถกำหนดได้ อัตราดอกเบี้ยของสัญญาเช่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนเพิ่มของผู้เช่า เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า
การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้เริ่มแรกการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้เริ่มแรก จำนวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่า • ต้องปันส่วนให้กับงวดต่าง ๆ ตลอดอายุสัญญาเช่าเพื่อให้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ • ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดรายการ ส่วนที่จะนำไปลดหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระ ค่าใช้จ่ายทางการเงิน
การคิดค่าเสื่อมราคา ตาม ม. 32 และ ม. 51 (เมื่อมีการประกาศใช้) 2. อายุการ ใช้งาน หากไม่แน่นอนว่าผู้เช่าจะเป็นเจ้าของสินทรัพย์เมื่ออายุสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ต้องตัดให้หมดภายใน 1 หรือ 2 แล้วแต่รายการใดจะสั้นกว่า 1. อายุสัญญาเช่า
การเปิดเผยข้อมูล • เปิดเผยตามข้อกำหนดของม. 48 เรื่องการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน • ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยเพิ่มเติมมีดังนี้ • ราคาตามบัญชีสุทธิสำหรับสินทรัพย์แต่ละประเภท • การกระทบยอด ณ วันที่ในงบดุล ระหว่างจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นกับมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น และสำหรับระยะเวลาแต่ละช่วงต่อไปนี้ • ระยะเวลาที่ไม่เกินหนึ่งปี • ระยะเวลาที่เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี • ระยะเวลาที่เกินห้าปี • ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด • จำนวนเงินขั้นต่ำทั้งสิ้นที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากการให้เช่าช่วงที่บอกเลิกไม่ได้ ณ วันที่ในงบดุล
การเปิดเผยข้อมูล (ต่อ) • ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยเพิ่มเติมมีดังนี้ (ต่อ) • จำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าและจำนวนเงินที่จะได้รับตามสัญญาให้เช่าช่วงที่รับรู้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด • คำอธิบายโดยทั่วไปของข้อตกลงสำคัญที่ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ซึ่งอาจมีรายการดังต่อไปนี้ • เกณฑ์ในการกำหนดจำนวนที่ต้องจ่ายสำหรับค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น • เงื่อนไขของการต่ออายุสัญญาเช่าหรือเงื่อนไขของสิทธิเลือกซื้อและข้อกำหนดให้ปรับราคาหรือปรับอัตรา • ข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า
สัญญาเช่าการเงิน ด้านผู้ให้เช่า • ผู้ให้เช่าต้องรับรู้สัญญาเช่าการเงินเป็นลูกหนี้ในงบดุลด้วยจำนวนที่เท่ากับเงินลงทุนสุทธิในสัญญาเช่า (วรรค 36) • ต้นทุนเริ่มแรกจะต้องรับรู้เป็นส่วนหนึ่งของลูกหนี้ • รายได้ทางการเงินจากสัญญาเช่าที่รับรู้ในแต่ละงวดจึงเป็นยอดสุทธิที่หักด้วยต้นทุนทางตรงเริ่มแรก • การรับรู้รายได้ทางการเงินจะต้องรับรู้ในแต่ละงวดของเงินลงทุนสุทธิ • ต้องปันส่วนรายได้ทางการเงินตลอดอายุของสัญญาเช่าด้วยเกณฑ์ที่เป็นระบบและสมเหตุสมผล
สัญญาเช่าการเงิน ด้านผู้ให้เช่า (ต่อ) • ต้องทบทวนประมาณการมูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกันที่ใช้ในการคำนวณเงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่าอย่างสม่ำเสมอ หากประมาณการมูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกันมีจำนวนลดลง ผู้ให้เช่าต้องทบทวนการปันส่วนรายได้ตลอดอายุของสัญญาเช่า และต้องทบทวนการปรับลดจำนวนค้างรับที่ได้ตั้งไว้ทันที • ถ้าผู้ให้เช่าเป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายต้องรับรู้กำไรขาดทุนจากการขายในงบกำไรขาดทุนทันที • ถ้าหากผู้เช่าเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเกินจริง กำไรจากการขายต้องเป็นจำนวนที่คำนวณขึ้นจากอัตราเชิงพาณิชย์ • ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย ณ วันที่สัญญาเช่ามีผลบังคับใช้
สัญญาเช่าการเงิน ด้านผู้ให้เช่า (ต่อ) • เปิดเผยตามข้อกำหนดของ ม. 48 เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน • ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยเพิ่มเติมมีดังนี้ • การกระทบยอด ณ วันที่ในงบดุล ระหว่างผลรวมของเงินลงทุนทั้งสิ้นตามสัญญาเช่ากับมูลค่าปัจจุบันของลูกหนี้จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่า และสำหรับระยะเวลาแต่ละช่วงต่อไปนี้ • ระยะเวลาที่ไม่เกินหนึ่งปี • ระยะเวลาที่เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี • ระยะเวลาที่เกินห้าปี • รายได้ทางการเงินรอการรับรู้ • มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกัน • ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ • ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่รับรู้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด • คำอธิบายโดยทั่วไปของข้อตกลงที่สำคัญ
สัญญาเช่าการเงิน ด้านผู้ให้เช่า (ต่อ) • มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกัน • ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ • ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่รับรู้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด • คำอธิบายโดยทั่วไปของข้อตกลงที่สำคัญ
สัญญาเช่าดำเนินงาน ด้านผู้เช่า • บันทึกจำนวนเงินที่จ่ายเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุของสัญญาเช่า • เปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานฉบับที่ 48 เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน และข้อมูลที่ต้องเปิดเผยเพิ่มเติมมีดังนี้ 2.1 จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในอนาคตทั้งสิ้นภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานที่บอกเลิกไม่ได้สำหรับ ระยะเวลาแต่ละช่วง 2.2 จำนวนขั้นต่ำที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากการเช่าช่วงที่บอกเลิกไม่ได้ ณ วันที่ในงบดุล 2.3 จำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าและจำนวนเงินที่จะได้รับตามสัญญาให้เช่าช่วง 2.4 ข้อตกลงที่สำคัญที่ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า
สัญญาเช่าดำเนินงาน ด้านผู้ให้เช่า • บันทึกรายการเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้สัญญาเช่า • รับรู้ต้นทุน (รวมค่าเสื่อมราคา) เป็นค่าใช้จ่าย และรับรู้รายได้ค่าเช่า (ไม่รวมเงินรับจากการให้บริการ) ตามเกณฑ์เส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า • ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ที่เช่า และรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุสัญญาเช่า • ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่ให้เช่าให้บันทึกตามนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงของผู้ให้เช่า • การพิจารณาการด้อยค่า ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 • ผู้ให้เช่าที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายเมื่อได้มีการทำสัญญาเช่าดำเนินงาน ไม่ต้องรับรู้เป็นกำไรจากการขาย
สัญญาเช่าดำเนินงาน ด้านผู้ให้เช่า (ต่อ) • ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่ได้ระบุไว้ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 48 ดังต่อไปนี้ 7.1 จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในอนาคตทั้งสิ้นภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานที่บอกเลิกไม่ได้โดยแสดงจำนวนรวมสำหรับระยะเวลาแต่ละช่วง 7.2 ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่รับรู้เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน 7.3 ข้อตกลงที่สำคัญตามสัญญาเช่าสำหรับผู้ให้เช่า • ผู้ให้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำนวนของสินทรัพย์ที่ให้เช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงาน
ตัวอย่าง • ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาเช่ามีดังนี้ • ผู้เช่าทำสัญญาเช่าเครื่องจักรที่บอกเลิกไม่ได้ ณ วันที่ 1 มกราคม 25x1 เป็นเวลา 3 ปี โดยคาดว่าเครื่องจักรจะมีอายุการใช้งาน 3 ปี และผู้เช่าจะส่งคืนเครื่องจักรให้ผู้ให้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่า • ผู้เช่าจ่ายค่าเช่ารายปี ๆ ละ 100,000 บาท จำนวน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ 31 ธันวาคม 25x1 เป็นต้นไป • ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรที่รับการประกันและไม่ได้รับการประกันจากผู้เช่ามีดังนี้ 3.1 ผู้เช่ารับประกันมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรจำนวน 20,000 บาท 3.2 มูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรที่ไม่ได้รับการประกันจากผู้เช่ามีจำนวน 8,400 บาท • มูลค่ายุติธรรมของเครื่องจักร ณ วันที่ทำสัญญาเช่าเท่ากับ 270,000 บาท • อัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่าเท่ากับร้อยละ 10 ต่อปี • ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x3 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเช่า มูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักร มีจำนวน 20,000 บาท
คำถามสัญญานี้จัดเป็นสัญญาประเภทใด เพราะเหตุใด ก. ด้านผู้เช่า ข. ด้านผู้ให้เช่า แนวคำตอบ สัญญาเช่ามีอายุ 3ปี ซึ่งเท่ากับอายุการใช้งาน จำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้เช่าต้องจ่ายประกอบด้วยจำนวนค่าเช่ารายปี ซึ่งผู้เช่าจ่ายทุกวันสิ้นปี เป็นเวลา 3ปี และมูลค่าคงเหลือที่ได้รับประกัน ผู้เช่าต้องคำนวณมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่า ซึ่งเท่ากับร้อยละ 10 ต่อปี มูลค่าปัจจุบันของค่าเช่ารายปี (จ่ายรายปีรวม 3 ปี ณ วันสิ้นปี คิดลด 10% = 100,000 บาท x 2.4869) = 248,690บาท มูลค่าปัจจุบันของมูลค่าคงเหลือที่ผู้เช่ารับประกัน (ส่งคืน ณ วันสิ้นปีที่ 3 คิดลด 10% = 20,000 x 0.7513) = 15,026บาท รวมมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย = 263,716 บาท สัญญาเช่าดังกล่าวจัดเป็นสัญญาเช่าการเงินในงบการเงินของผู้เช่าเนื่องจาก ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้เช่าต้องจ่าย (263,716 บาท) มีจำนวนเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ณ วันที่ทำสัญญาเช่า (270,000 บาท) ตามย่อหน้า 10 (กรณีตามตัวอย่างนี้ ผู้เช่าไม่ทราบต้นทุนทางตรงเริ่มแรกของผู้ให้เช่า จึงถือว่าต้นทุนดังกล่าวเป็นศูนย์)
ตัวอย่าง ( ต่อ ) การบันทึกบัญชีทางด้านผู้เช่า 1 ม.ค. 25X1เดบิต เครื่องจักรตามสัญญาเช่าการเงิน 263,716 บาท เครดิต หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 263,716 บาท คำอธิบาย ผู้เช่าบันทึกสัญญาเช่าการเงินเป็นสินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่าหรือด้วยมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า (ตามย่อหน้าที่ 20) การแยกค่าเช่าออกเป็นดอกเบี้ยจ่ายและส่วนที่นำไปลดหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน ผู้เช่าต้องบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่าแยกเป็นดอกเบี้ยจ่าย และส่วนที่นำไปลดยอดคงเหลือ ของหนี้สินตามสัญญาเช่า การคำนวณดอกเบี้ยจ่ายต้องใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งตามตัวอย่างนี้อัตราคิดลดที่ใช้คือ 10%
ตารางคำนวณดอกเบี้ยจ่ายและยอดคงเหลือหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินตารางคำนวณดอกเบี้ยจ่ายและยอดคงเหลือหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน
สัดส่วนจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละงวดสัดส่วนจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละงวด
การบันทึกบัญชีทางด้านผู้เช่าเพื่อบันทึกดอกเบี้ยจ่ายและหนี้สินตามสัญญาเช่าที่ลดลงการบันทึกบัญชีทางด้านผู้เช่าเพื่อบันทึกดอกเบี้ยจ่ายและหนี้สินตามสัญญาเช่าที่ลดลง 31 ธ.ค. 25X1 เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย 26,372 บาท หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 73,628 บาท เครดิต เงินสด 100,000 บาท 31 ธ.ค. 25X2 เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย 19,009 บาท หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 80,991 บาท เครดิต เงินสด 100,000 บาท 31 ธ.ค. 25X3 เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย 10,903 บาท หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 89,097 บาท เครดิต เงินสด 100,000 บาท
การบันทึกค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่เช่าการบันทึกค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่เช่า หากผู้เช่าใช้วิธีเส้นตรงในการคิดค่าเสื่อมราคาตลอดอายุของสัญญาเช่า ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี คำนวณได้ดังนี้ ค่าเสื่อมราคา = ราคาทุนของเครื่องจักรตามสัญญาเช่าการเงิน-มูลค่าคงเหลือที่ได้รับการประกัน อายุการใช้งาน = 263,716-20,000 3 ปี = 81,239 บาท การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรที่เช่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของแต่ละปีเป็นดังนี้ เดบิต ค่าเสื่อมราคา 81,239 บาท เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม 81,239 บาท
การส่งคืนเครื่องจักรเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าการส่งคืนเครื่องจักรเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า เมื่อสิ้นสุดอายุของสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องบันทึกการโอนสินทรัพย์ที่เช่ากลับคืนให้ผู้ให้เช่า เนื่องจากมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักร ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่ามีจำนวนเท่ากับมูลค่าคงเหลือที่ผู้เช่ารับประกันคือ 20,000 บาท ผู้เช่าจึงไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ให้เช่า • รายการบัญชีที่บันทึกคือ ผู้เช่าบันทึกการส่งคืนเครื่องจักรให้กับผู้ให้เช่า 31 ธ.ค. 25X3 เดบิต หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 20,000 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 243,716 บาท (81,239 บาท x 3 ปี) เครดิต เครื่องจักรตามสัญญาเช่าการเงิน 263,716 บาท
สัญญาเช่าการเงินในงบการเงินของผู้ให้เช่า(จากตัวอย่างตามสไลด์หน้า 33) • การจัดประเภทสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าจะจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงินเนื่องจากสัญญาเช่ามีการโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญา และ ณ วันเริ่มต้นสัญญาเช่ามูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ให้เช่า • การคำนวณเงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่า เงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่า = จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย + มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกัน = ((100,000 x 3 )+20,000)+ 8,400 บาท = 328,400 บาท มูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่าคำนวณได้ดังนี้ มูลค่าปัจจุบันของค่าเช่ารายปี (รวม 3 ปี จ่าย ณ วันสิ้นปี คิดลด 10% = 100,000 x 2.48690) 248,690 บาท มูลค่าปัจจุบันของมูลค่าคงเหลือที่ได้รับการประกัน (สิ้นปีที่ 3 คิดลด 10%=(20,000x0.7513) 15,026 บาท 263,716 บาท มูลค่าปัจจุบันของมูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกัน (8,400 x 0.7513) 6,284* บาท รวมมูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่า 270,000 บาท (*ปัดเศษจาก 6,311 ให้เป็น 6,284)
รายได้ดอกเบี้ยรอการรับรู้ = เงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่า-มูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนขั้นต้น ตามสัญญาเช่า = 328,400-270,000 บาท = 58,400 บาท • กรณีที่ 1 กรณีผู้ให้เช่าไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักรที่ให้เช่าและได้ซื้อเครื่องจักรไว้แล้ว การบันทึกบัญชี ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าจะเป็นดังนี้ 1 ม.ค. 25x1 เดบิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน 328,400 บาท เครดิต เครื่องจักร 270,000 บาท รายได้ดอกเบี้ยรอการรับรู้ 58,400 บาท (การแสดงรายการในงบดุล จะนำรายได้ดอกเบี้ยรอการรับรู้มาสุทธิกับลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน)
การแยกค่าเช่ารับออกเป็นดอกเบี้ยรับและส่วนที่นำไปลดยอดลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินตารางแสดงการคำนวณดอกเบี้ยรับและยอดคงเหลือสุทธิของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินการแยกค่าเช่ารับออกเป็นดอกเบี้ยรับและส่วนที่นำไปลดยอดลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินตารางแสดงการคำนวณดอกเบี้ยรับและยอดคงเหลือสุทธิของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน
31 ธ.ค. 25x1 เดบิต เงินสด 100,000 บาท เครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน 100,000 บาท เดบิต รายได้ดอกเบี้ยรอการรับรู้ 27,000 บาท เครดิต ดอกเบี้ยรับ 27,000 บาท 31 ธ.ค. 25x2 เดบิต เงินสด 100,000 บาท เครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน 100,000 บาท เดบิต รายได้ดอกเบี้ยรอการรับรู้ 19,700 บาท เครดิต ดอกเบี้ยรับ 19,700 บาท 31 ธ.ค. 25x3 เดบิต เงินสด 100,000 บาท เครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน 100,000 บาท เดบิต รายได้ดอกเบี้ยรอการรับรู้ 11,700 บาท เครดิต ดอกเบี้ยรับ 11,700 บาท รายการบัญชี ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่ารับคืนเครื่องจักรและบันทึกขาดทุนจากการให้เช่าเครื่องจักร เนื่องจากมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรส่วนที่ไม่ได้รับการประกันจากผู้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่าต่ำกว่า มูลค่าคงเหลือที่ประมาณการไว้ ณ วันเริ่มต้นสัญญาเช่า 31 ธ.ค. 25x3 เดบิต ขาดทุนจากการให้เช่าเครื่องจักร 8,400 บาท เครื่องจักร 20,000 บาท เครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน 28,400 บาท
กรณีที่ 2 หากผู้ให้เช่าเป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักรที่ให้เช่า โดยต้นทุนของเครื่องจักรที่ให้เช่ามีจำนวนเท่ากับ 200,000 บาท (เครื่องจักรมีมูลค่ายุติธรรมเท่ากับ 270,000 บาท) และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้คิดลดเป็นอัตราดอกเบี้ยเชิงพาณิชย์ ต้นทุนขายของเครื่องจักรที่ให้เช่า = ต้นทุนของเครื่องจักร-มูลค่าปัจจุบันของมูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับ การประกัน = 200,000-6,284 = 193,716 บาท การบันทึกบัญชี 1 ม.ค. 25x1 เดบิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน 328,400 บาท ต้นทุนขาย (200,000-6,284) 193,716 บาท เครดิต ขาย 263,716 บาท สินค้าคงเหลือ(เครื่องจักร) 200,000 บาท รายได้ดอกเบี้ยรอการรับรู้ 58,400 บาท คำอธิบาย ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายจะรับรู้รายได้จากการขายในงบกำไรขาดทุนทันทีโดยบันทึกรายได้จากการขายเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย (คือ 263,716 บาท ซึ่งไม่รวมมูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกัน) หรือมูลค่ายุติธรรมของเครื่องจักร (270,000 บาท) สุดแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่าและรับรู้ต้นทุนของเครื่องจักรที่ขายในงบกำไรขาดทุน (ย่อหน้า 44) การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับดอกเบี้ยรับและการบันทึกบัญชี ณ วันสิ้นสุดอายุของสัญญาเช่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกันกับกรณีที่ 1
การขายและเช่ากลับคืน การขายและเช่ากลับคืน คือ การที่ผู้ขายสินทรัพย์ใดแล้วเช่าสินทรัพย์นั้นกลับคืนมา จำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่า และ ราคาขายมักมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากได้มีการต่อรองเป็นชุดเดียวกัน วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับการขายและเช่ากลับคืนขึ้นอยู่กับประเภทของสัญญาที่เกี่ยวข้อง
การขายและเช่ากลับคืน ขายและเช่ากลับคืน บันทึกรับรู้เป็นรายการรอตัดบัญชี และ ตัดจำหน่ายตลอดอายุของสัญญาเช่า กรณีเช่าการเงิน สิ่งตอบแทนจากการขายที่สูง กว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ ***ในกรณีที่รายการดังกล่าวเป็นวิธีที่ผู้ให้เช่าจัดหาเงินทุนให้กับผู้เช่าโดยใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกันก็ให้บันทึกส่วนเกินด้วยวิธีเดียวกัน
การขายและเช่ากลับคืน ขายและเช่ากลับคืน มูลค่ายุติธรรม ณ เวลาขายและเช่ากลับคืนต่ำกว่าราคามตามบัญชีของสินทรัพย์ กิจการไม่ต้องปรับปรุงผลต่างดังกล่าว กรณีเช่าการเงิน เว้นแต่ สินทรัพย์นั้นเกิดการด้อยค่า ต้องปรับลด CAให้เท่ากับRA ( ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 ) ***ในลักษณะเดียวกันหากเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานกิจการต้องรับรู้ผลต่างเป็นผล ขาดทุนในงบกำไรขาดทุนทันที
กรณีเกิดสัญญาเช่าดำเนินงานแบ่งได้ 3 กรณี เช่าดำเนินงาน ราคาขายมีจำนวนเทียบเท่า กับมูลค่ายุติธรรม ราคาขายมีจำนวนต่ำกว่า มูลค่ายุติธรรม ราคาขายมีจำนวนสูงกว่า มูลค่ายุติธรรม รับรู้ผลกำไรหรือผลขาดทุนจาก การขายในงบกำไรขาดทุนทันที รับรู้ผลกำไรหรือผลขาดทุน จากการขายในงบกำไรขาดทุนทันที รับรู้จำนวนที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม เป็นรายการรอการตัดบัญชี เว้นแต่ โดย จะได้รับชดเชย ผลขาดทุนที่เกิดขึ้น ตัดจำหน่ายตามระยะเวลาที่คาดว่า จะใช้ประโยชน์สินทรัพย์ที่เช่า ต้องบันทึกผลขาดทุนจากการขาย เป็นรายการรอการตัดบัญชี โดย ตัดจำหน่ายตามสัดส่วนของจำนวนค่าเช่าที่จ่ายในแต่ละงวด ตามระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่เช่า