320 likes | 567 Views
การดำเนินคดีฟอกเงินในประเทศไทย. นาย สุร ศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 5 สำนักงานอัยการสูงสุด. พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง. ) ม.40 ความผิดมูลฐาน (ม.3) ความผิดฐานฟอกเงิน (ม.5,ม.60, ม.61)
E N D
การดำเนินคดีฟอกเงินในประเทศไทยการดำเนินคดีฟอกเงินในประเทศไทย นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 5 สำนักงานอัยการสูงสุด
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ม.40 ความผิดมูลฐาน (ม.3) ความผิดฐานฟอกเงิน (ม.5,ม.60, ม.61) ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (ม.3)
การดำเนินคดีฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 1. เจตนารมณ์ของกฎหมายฟอกเงิน 2. การดำเนินคดีอาญาฟอกเงินกับการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
การดำเนินคดีฟอกเงินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 3. ความสำคัญของวันที่กฎหมายฟอกเงินมีผลบังคับใช้ 4. หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีอาญา 5. หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
การดำเนินคดีฟอกเงินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 6. ปัญหาการดำเนินคดีข้อหาฟอกเงิน 6.1 การสอบสวนของพนักงานสอบสวน 6.2 การจัดทำบัญชีทรัพย์สินที่มีการฟอกเงิน 6.3 กรรมเดียว หลายกรรม 6.4 ความผิดมูลฐานกับความผิดข้อหาฟอกเงิน
กรณีศึกษา ฎ.7798/2549 สมศรีที่1, นิทัศ ที่2 เปลี่ยนสภาพทรัพย์สินฯ 71 ล้าน - ติดตามกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดไปตามที่ต่างๆ ล่อซื้อเฮโรอีนได้ 35 กก. - สืบสวนทราบว่า ล.1, ล.2 เป็นลูกค้าสมพร/ ธนู ขอหมายศาลอาญาเข้าตรวจค้นบ้านพัก - พบกระเป๋าเงินสด 4 ใบ 7 ล้านบาท กระเป๋าเปล่า 12 ใบ ล.2 รับว่าเงินสด ทรัพย์สินต่างๆได้มาจากการค้ายา ล.1 ทราบดีว่า ล.2 ค้ายา - พยานโจทก์ ชาตรี/ ชนะ/ อนุวัตร ตร.บช.ปส. ข้อนำสืบโจทก์ที่ว่า ล.1, ล.2 จ่ายเงินค่ายาเสพติด ให้ธนู ผ่านวุฒิกานต์ ชอบด้วยเหตุผล
ฎ.7798/2549 สมศรีที่1, นิทัศ ที่2 เปลี่ยนสภาพทรัพย์สินฯ 71 ล้าน(ต่อ) - จพง.ปปง. ปทุมมาศ/ อนุชา เบิกความสอดคล้องต้องกัน - วีระพงษ์ตรวจธนบัตร พบมีคราบยาบ้าปนเปื้อน ย่อมชี้ชัดว่าเงินของ ล.1 นี้เกี่ยวข้องกับยาบ้า - ที่อ้างว่าเป็นเงินที่ผู้ค้ายานำมาเล่นการพนันและเสียการพนันให้ ล.2 ไม่รับฟัง ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ต้น - ไม่เคยเสียภาษีเงินได้ ทั้งที่อ้างว่ามีรายได้ เชื่อว่า ล.1 ร่วมกับ ล.2 นำเงินที่ได้มาจากการค้ายาไปเปลี่ยนสภาพ เพื่อปกปิดที่มาของเงิน - คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าคำรับสารภาพของ ล.1 ฟังได้หรือไม่
ฎ. 4716 – 4717/2550 มณีรัตน์ที่ 1, อภิสิทธิ์ที่ 2 - สืบสวนทราบว่า ล. มีพฤติการณ์ค้ายาบ้ารายใหญ่ มีฐานะร่ำรวย เคยเป็นเครือข่ายจำหน่ายยาบ้า เครือข่ายเดียวกับนายพงษ์ศักดิ์ - เป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย ทั้งนอกจากการสืบทราบดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานอื่นว่า ล.เคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน - ตรวจค้นบ้านพักล. ไม่พบตัวล. มีคนอื่นพักอยู่ พบยาบ้า 2,000 เม็ด + 200 เม็ด คนอยู่บอกว่ายาบ้าเป็นของล. - ไม่มีหลักฐานว่าก่อนนี้ล.เคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ฎ. 4716 – 4717/2550 มณีรัตน์ที่ 1, อภิสิทธิ์ที่ 2 (ต่อ) - ล.ได้ซื้อทรัพย์สินต่างๆก่อนวันที่ค้นพบยาบ้านานเป็นปี ยิ่งสงสัยว่าเงินที่นำไปซื้อทรัพย์สินได้รับมาจากการจำหน่ายหรือรับเนื่องจากการกระทำความผิดหรือไม่ - ทรัพย์สินที่ตรวจพบมีจำนวนมากเกินกว่าฐานะซึ่งเป็นเพียงข้อสงสัยว่าล.ได้ทำผิด แต่ล.ก็ต่อสู้ว่าได้มาจากการประกอบอาชีพสุจริต - พยานโจทก์ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าล.ได้ทำผิดฟอกเงินหรือไม่ ยกประโยชน์ให้ล.ตามตามป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรค 2
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีระเบียบฯ - เงินสกปรกกับเงินสะอาดนำฝากเข้าบัญชีปนกัน เงินจำนวนใดเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดมูลฐาน - แม้ไม่อาจแยกจากกันได้ ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเพื่อซุกซ่อน / ปิดบังแหล่งที่มา - เงินสกปรกไปซื้อที่ดิน รถยนต์ ใส่ชื่อ ล. เป็นเจ้าของ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเพื่อนซุกซ่อน/ ปิดบังแหล่งที่มา - ข้อความที่ล.ให้การยอมรับกับเจ้าจพง.ปปง.ว่านำเงินสกปรกไปซื้อที่ดินแล้วใส่ชื่อล.เป็นเจ้าของ รับฟังได้ (ไม่ได้ให้การต่อจพง.ผู้จับกุม ซึ่งต้องห้ามไม่ให้รับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรค ท้าย)
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีระเบียบฯ (ต่อ) - แม้ไม่มีการสอบสวน ดำเนินคดีล.ในความผิดมูลฐาน (ที่ล.ให้การรับต่อ จพง.ปปง.) ล.ก็ผิดฟอกเงิน ศาลลงโทษได้เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีการดำเนินคดีในความผิดมูลฐานด้วย - ล. ฝากเงินสกปรกเข้าบัญชีตัวเอง 3 บัญชี ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สิน หากกระทำโดยมีเจตนาเพื่อซุกซ่อนและปกปิดแหล่งที่มาของเงินก็ผิดฟอกเงินได้ 3 กระทง • เช่น ฝากหลายครั้ง ครั้งละจำนวนมาก ถอนหลายครั้ง ครั้งละจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า ล. ประสงค์ที่จะให้เงินสกปรกเป็นเงินบริสุทธิ์ที่ถอนออกมา
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดี ปฐม ธาราพิศ - สายแจ้งว่า ล. ไม่ได้ประกอบอาชีพอะไร แต่มีฐานะร่ำรวย มีบ้านหรูหรา รถยนต์ราคาแพง สงสัยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด • ตร. เข้าตรวจบ้านพักของ ล. พบยาบ้า 200 เม็ดซุกซ่อนในห้องนอน ฟ้องคดียาเสพติด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ตัดสิน - ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า ล. กระทำความผิดมูลฐานมาก่อนถูกจับคดีนี้ - โจทก์มีภาระการพิสูจน์ ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้ได้ความจริงว่า ทรัพย์สินที่ยึดมาจากจำเลย เป็นทรัพย์สินที่จำเลยนำเงินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติดไปซื้อมา, ไปฝากธนาคาร หรือได้รับโอนมาจากบุคคลใด จำนวนเท่าใด เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรือไม่ ไม่ใช่นำสืบกล่าวอ้างลอยๆ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดี ปฐม ธาราพิศ (ต่อ) - การฝากเข้าบัญชีต้องสืบให้ชัดเจน บุคคลที่ฝาก เงินที่ฝากได้มาจากการค้ายาเสพติด - ผู้จับเบิกความว่า ล.รับว่า ได้นำเงินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติดมาซื้อบ้าน ที่เหลือฝากเข้าบัญชี และทรัพย์สินอื่นก็ได้มาจากการค้ายาเสพติด ตรงตามที่บันทึกตรวจค้นจับกุม แต่พยานดังกล่าวเป็นพยานบอกเล่า มีน้ำหนักน้อย ทั้งล. สืบต่อสู้ว่าลงลายมือชื่อในบันทึกเพราะถูกตร.ข่มขู่ทำร้าย • วันเดียวกัน ล. ให้การกับ จพง.ปปง.ว่าเงินและทรัพย์สินที่ตรวจยึดได้มาจากการเล่นการพนันฟุตบอล ปล่อยเงินกู้ ไม่ใช่ได้มาจากการค้ายาเสพติด หากล.รับสารภาพโดยสมัครใจในชั้นตรวจค้นจับกุม ก็ไม่มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนคำให้การของตนในเวลาใกล้ชิดกันเช่นนี้
คดีสุภารัตน์กับพวก ที่บางนา
คดี อัญชลี ที่กรุงเทพฯ
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.ปัญหาการดำเนินคดีทรัพย์สิน 7.1 คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินไม่ใช่ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา 7.2 เป็นมาตรการทางแพ่ง ไม่ใช่โทษทางอาญา 7.3 ใช้บังคับย้อนหลังได้ 7.4 ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคย วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยที่ 40-41/2546
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.5 ภริยา/บุตร เป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำ ความผิดมูลฐาน 7.6 ถือเป็นคดีแพ่ง ศาลต้องมีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง 7.7 มีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้นไม่ว่าจะจับกุมตัว ผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิด จะถูกลงโทษหรือไม่ก็ตาม
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.8 มีทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดหรือ ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินดังกล่าวหรือดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าว 7.9 เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับผู้กระทำ ความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ 7.10 พยานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่างเบิกความไป ตามที่ได้ปฏิบัติหน้าที่
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.11 ทรัพย์สินที่ตรวจค้นพบมีเงินสด 5 ล้านเศษ, ทองรูปพรรณ,ทองคำแท่งหนักรวม 100 บาทเศษ, สมุดบัญชีเงินฝาก, โฉนดที่ดิน จำนวนมากผิดปกติวิสัยของวิญญูชนที่จะนำมาเก็บไว้ที่กระโปรงท้ายรถ (ฎ. 6602/2550 สมหมายที่ 1, กัลญาที่ 2, อโนทัยที่ 3 ฎ. 4175/2550 กัลญา ที่ 1, วัชระ โดยกัลญา ที่ 2 เรื่องขนย้ายทรัพย์สินใส่ท้ายรถหลบหนีการกวาดล้างที่ชุมชนคลองเตย)
7.12 ผู้ทำหน้าที่ตรวจนับเงินที่ได้จากการซื้อขายยาเสพติด ถ้านับเงินได้มากกว่า 1 ล้าน ได้ค่าจ้างวันละ 1,000 บาท นับเงินได้น้อยกว่า 1 ล้าน ได้ค่าจ้างวันละ 500 บาท ฟังว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อน7.13 ค่าฤชาธรรมเนียม รวมถึงค่าทนายความด้วยป.วิ.พ. มาตรา 149 การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
7.14 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้พนักงานอัยการผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้คัดค้านที่ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ ไม่ถูกต้อง เพราะพนักงานอัยการได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม ตามมาตรา 59 วรรค 2 การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ฎ. 4428/2550 ต้องจิต ที่ 1, ภิเศก ที่ 2, ช่วยผู้ค้า ยาเสพติดนับเงิน)
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.15 ผู้คัดค้านไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่ผู้ร้องเป็นกรณีผู้คัดค้าน เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าผู้คัดค้านคัดค้านทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2), 246, 247 ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบของศาลฎีกา ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ( ฎ. 5058/2550 อำพร ลักลอบขนยาเสพติด)
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.16 ลูกชาย น้องชาย ถือว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ฯ บัญชีเงินฝากชื่อลูกชาย โฉนดที่ดินชื่อน้องชาย 7.17 คำรับสารภาพต่อตำรวจที่ตรวจค้น/ จพง.ปปง.ต้องจัดทำบันทึกให้ละเอียด 7.18 ให้การคนละวันเวลากัน ต่อจพง.ต่างหน่วยงาน แต่มีสาระสำคัญสอดคล้องกัน หากมิได้ให้การโดยสมัครในเอง เป็นการยากที่จพง.จะปรุงแต่งสร้างเรื่องขึ้นมาปรักปรำให้ร้าย
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.19 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับญาติ พี่น้อง ล้วนแต่อยู่ในความรู้เห็นของผู้คัดค้าน 7.20 พยานผู้ร้องมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสมเหตุผล รับฟังเชื่อถือได้ว่า ที่ 2 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติด ( ฎ. 2955/2551 สาโรชที่ 1, วินัยที่ 2 )
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.21 ที่ 1 ถูกจับข้อหามีเฮโรอีน เพื่อจำหน่าย 2 คดี คดีแรกศาลจำคุก 5 ปี คดีที่ 2 หลบหนีประกันศาล 7.22 ตำรวจล่อซื้อยาบ้าจากผู้ค้า 3 คน ให้ผู้ค้าติดต่อล่อซื้อยาบ้าจากที่ 1 แต่ไม่มาส่งของตามนัด 7.23 ที่ 1 ไม่มีอาชีพ ไม่ปรากฏหลักฐานการเสียภาษีเงินได้ เคยเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.24 ไม่กล่าวอ้างว่ามีอาชีพสุจริตใดที่ทำให้มีรายได้ดีและสามารถมีทรัพย์สินได้มากมายเช่นนี้ ( ฎ.2926/2551 ปราณี ที่1, วินัย ที่2 ) 7.25 ผู้ร้องไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานให้ประจักษ์แจ้งดัง แสงตะวันว่าผู้คัดค้านเป็นผู้กระทำความผิด เพราะการริบทรัพย์สินทางแพ่งเป็นการดำเนินการต่อทรัพย์สิน เป็นคนละส่วนกับการดำเนินการทางอาญา
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.26 ผู้ร้องเพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานพอที่จะให้ศาลเชื่ออย่างมีเหตุผลได้ว่าทรัพย์สินที่ขอริบเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความตามความผิดมูลฐาน 7.27 ตร.สืบสวนหาข่าวทราบว่า ค. เป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหม่ มีเครือข่าย 5 คน มีนายทุนอยู่เบื้องหลัง มีการทำรายงานเป็นหนังสือ คำเบิกความของตร.มีน้ำหนัก นำมารับฟังประกอบได้ มิใช่ไม่มีน้ำหนักเสียเลย
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน 7.28 พี่ชาย, อดีตน้องภรรยา ล้วนเป็นญาติ มีความสัมพันธ์กับ ค. ผู้ร้องย่อมได้รับประโยชน์ตามข้อสันนิษฐาน มาตรา 51 วรรค 2 (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีนิคม, คะนึงนิช)
การดำเนินคดีฟอกเงิน 8. การใช้กฎหมายฟอกเงินกรณีใช้กฎหมายอื่นไม่ได้ผล 8.1 รถยนต์ , รถจักรยานยนต์ ที่เช่าซื้อ 8.2 เงินค่าเวนคืนตามกรมธรรม์ประกันชีวิต 8.2 ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ___________________