90 likes | 243 Views
แนวทางการประชุมกลุ่มย่อย 4 ภาค การดำเนินงานด้านมาลาเรีย. At KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น. 1) บทเรียนสำคัญของโครงการมาลาเรีย ในเรื่องของ การเข้าถึงการให้บริการแก่ประชาชน โดย Malaria Post (MP) ในหมู่บ้านที่เข้าถึงยาก
E N D
แนวทางการประชุมกลุ่มย่อย 4 ภาค การดำเนินงานด้านมาลาเรีย At KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 1) บทเรียนสำคัญของโครงการมาลาเรีย ในเรื่องของ • การเข้าถึงการให้บริการแก่ประชาชน โดย Malaria Post (MP) ในหมู่บ้านที่เข้าถึงยาก • การดำเนินกิจกรรมในชุมชนด้านการป้องกัน แจกมุ้ง กิจกรรมชุบมุ้ง ดูแลเรื่องมุ้งชุบสารเคมี การใช้มุ้ง การเก็บมุ้ง • การสร้างความเข้มแข็ง การมีส่วนร่วมให้กับชุมชนในท้องถิ่น • ระบบเตือนภัยมีการให้สัญญาณในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
ประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (ต่อ) 2) บทเรียนสำคัญที่จะนำไปปรับใช้ในพื้นที่จะทำได้อย่างไร (ในมุมมองของทางจังหวัด เราจะนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้ยังไง มีความคิดเห็นในเรื่องพวกนี้ยังไง ถ้าหากมีเงินสนับสนุนจาก GF ถึงแม้จะไม่มากนักและระยะเวลาจะไม่ยาวนาน เราจะนำไปปรับใช้ยังไงให้เหมาะสมให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ยังไง อะไรที่ปรับใช้ได้ ปรับใช้ไม่ได้) - มุมมองของจังหวัดที่ดำเนินงานด้านมาลาเรีย - มุมมองของ SR โครงการด้านมาลาเรีย 3) ความคิดเห็นในเรื่องของความยั่งยืนในการดำเนินงานด้านมาลาเรีย
ผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ MP ที่ตั้ง มีประโยชน์ มีประชาชนเข้าไปรับบริการ อยากให้มีการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมจริๆ ควรจะมีเกณฑ์การคัดเลือกที่เหมาะสมเป็นมาตรฐาน ไม่ควรให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน ควรมีความชัดเจน เรื่องของงบประมาณซึ่งในความเป็นจริงมีแหล่งที่มาหลายงบประมาณไม่ควรให้เกิดการทับซ้อนในเรื่องของงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในส่วนของกองทุนโลก และของเขต สสจ ควร มีการประสานงานกับศตมเพื่อไม่ให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน
ผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (ต่อ) การใช้มุ้งเป็นอุปกรณ์หลักในการควบคุมมาลาเรียนั้นถึงแม้จะเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐานสากลแต่ควรจะต้องมีการมองให้กว้างและครอบคลุมมากขึ้นว่าเหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และเงื่อนไข วัฒนธรรมของประชากรในแต่ละพื้นที่หรือไม่อย่างไร ควรจะมีทางเลือกอื่นเพื่อให้เกิดการควบคุมมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ยังพบปัญหาประชาชนไม่ใช้มุ้งอยู่เนื่องจากไม่ใช่วิถีชีวิต หรือ ขัดกับวัฒนธรรม เงื่อนไขความเป็นอยู่ เช่นในกรณีของประชากรต่างด้าวที่ประกอบอาชีพในป่า หรือชาวบ้านที่ทำงานกรีดยาง เป็นต้น
ผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (ต่อ) การประสานงานในพื้นที่เป็นสิ่งที่จำเป็นโดยเฉพาะในระดับจังหวัดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ ยอมรับเห็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น งานมาลาเรียเป็นภาระงานเพิ่มเติมในส่วนของสอ. หากไม่มีการประสานงานที่เหมาะสมจากทางจังหวัดเจ้าหน้าที่อาจเกิดความรู้สึกว่าไม่ใช่งานของตน ส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน และ องค์กรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเช่นได้งบประมาณสนับสนุนจาก อบต. และชุมชนและอปท.ให้การสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ เป็นต้น บางแห่งมีการประสานความร่วมมือบูรณาการการทำงานในพื้นที่อย่างเป็นระบบ เช่น ที่กาญจนบุรี อ.ทองผาภูมิ
ผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (ต่อ) ควรมีการประสานงานกับเครือข่ายในพื้นที่ และ มีการประสานกับผู้นำชุมชนที่มีอิทธิพลต่อชุมชนนั้นๆจริงๆ ชุมชนเองก็ควรมีความเข้าใจและรับทราบเกี่ยวกับโครงการเพื่อการยอมรับ และ ทำให้เกิดความต่อเนื่อง ควรมีการนำเสนอข้อมูลสถาณการณ์โรคต่ออปท. และ อบต.เพื่อให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินงานควบคุมมาลาเรีย อันจะนำไปสู่การให้ความร่วมมือ การสนับสนุนในด้านต่างๆ และการนำไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนงบประมาณส่วนท้องถิ่นต่อไป (เข้าให้ถูกทาง ถูกเวลา)
ผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (ต่อ) ระบบการเตือนภัยโดยทั่วไปใช้ได้ดี แต่งานควบคุมมาลาเรียจำเป็นที่จะต้องทำเชิงรุกก่อนที่สัญญานจะเตือนเมื่อเกิดการระบาดสูง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบเก่าคือการสอบสวนพื้นที่ร่วมด้วยเพื่อให้การควบคุมมาลาเรียเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ทันท่วงที ผู้นิเทศติดตามงานในพื้นที่ควรมีแนวทางในการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความสับสนต่อผู้ปฏิบัติงาน การกำหนดพื้นที่ตั้ง MP ควรจะให้สามารถปรับพื้นที่ได้ตามสถานการณ์ และ บริบทต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป ทุกภาคส่วนในทุกระดับต้องประสานความร่วมมือกัน