270 likes | 379 Views
การ จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบ ฝึก เสนอ อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด จัดทำโดย นางสาวกำไลทอง วงค์ ยา เลขที่ 1 นางสาวสุนิสา หมูแพง เลขที่ 6 นางสาวฐิติยา สุวรรณ มาโจ เลขที่ 13 สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 1 ปี 3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก.
E N D
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสนออาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิดจัดทำโดยนางสาวกำไลทอง วงค์ยา เลขที่ 1 นางสาวสุนิสา หมูแพง เลขที่ 6 นางสาวฐิติยา สุวรรณมาโจ เลขที่ 13สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 1 ปี 3
ความหมายแบบฝึก คือ การจัดประสบการณ์ การฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้องหลากหลายและแปลกใหม่
ทฤษฎีและแนวคิดลักษณะของแบบฝึก River ( 1968 : 97 – 105 ) กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกไว้ดังนี้ 1. ต้องมีการฝึกนักเรียนมากพอสมควรในเรื่องหนึ่งๆ ก่อนที่จะมีการฝึกเรื่องอื่นๆ 2. แต่ละบทควรฝึกโดยใช้แบบประโยคเพียงหนึ่งแบบเท่านั้น 3. ฝึกโครงสร้างใหม่กับสิ่งที่เรียนรู้แล้ว 4. ประโยคที่ฝึกควรเป็นประโยคสั้นๆ
ทฤษฎีและแนวคิด ( ต่อ ) 5. ประโยคและคำศัพท์ ควรเป็นแบบที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวันที่นักเรียนรู้จัก 6. เป็นแบบฝึกที่นักเรียนใช้ความคิดด้วย 7. แบบฝึกควรมีหลายๆแบบ 8. ควรฝึกให้นักเรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนไปแล้วไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
หลักจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพสำหรับนำไปใช้กับนักเรียนนั้นต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้และทฤษฎีที่ถือว่าเป็นแนวความคิดพื้นฐานของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเข้าช่วยเพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน เดโชสวนานนท์ (2521 : 159 – 163) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์และสกินเนอร์ (Thorndike and Skinner) ดังนี้ ธอร์นไดค์ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ขึ้น 3 กฎซึ่งนำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะได้แก่
1. กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองจะดียิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมตอบสนองของตนถูกต้องการให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อีก 2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) มีใจความว่าการที่มีโอกาสได้กระทำซ้ำๆ ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งนั้น ๆ จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นการฝึกหัดที่มีการควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้
แนวทางการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการสร้างแบบฝึก1.ศึกษาปัญหาและความต้องการ 2.วิเคราะห์เนื้อหาหรือทักษะที่เป็นปัญหาออกเป็นเนื้อหาหรือทักษะย่อยๆ เพื่อใช้ในการสร้างแบบทดสอบและแบบฝึกหัด3.พิจารณาวัตถุประสงค์ รูปแบบ และขั้นตอนการใช้แบบฝึก 4.สร้างแบบทดสอบ 5.สร้างบัตรฝึกหัด6.สร้างบัตรอ้างอิง7.สร้างแบบบันทึกความก้าวหน้า 8.นำแบบฝึกไปทดลองใช้ 9.ปรับปรุงแก้ไขแบบฝึก
การหาประสิทธิภาพแบบฝึก ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523: 495) ได้เสนอแนะขั้นตอนการหาประสิทธิภาพแบบฝึกไว้ดังนี้ 1.การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน ทำโดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่องและพฤติกรรมสุดท้าย ซึ่งค่าประสิทธิภาพจะกำหนดเป็นค่า E1 คือประสิทธิภาพของกระบวนการ และ E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์คิดเป็นร้อยละของผลเฉลี่ยคะแนนที่ได้ 2.การกำหนดเกณฑ์โดยการทดสอบทางสถิติ ทำได้โดยการนำแบบฝึกที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้แล้วหาค่าความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
3.การกำหนดระดับประสิทธิภาพของแบบฝึก ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( 2533 : 129 - 130 ) กล่าวถึง การบริหารประสิทธิภาพของสื่อทำได้ 2 วิธี คือ 1. ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ การประเมินแบบฝึกนั้นเป็นการตรวจสอบหรือประเมินประสิทธิภาพของแบบที่นิยมประเมิน 2. ประเมินโดยไม่ต้องตั้งเกณฑ์ไว้ล่วงหน้า เป็นการประเมินประสิทธิภาพของสื่อด้วยการเปรียบเทียบผลการสอบของผู้เรียนภายหลังจากที่เรียนจากสื่อนั้นแล้ว
ข้อค้นพบจากการวิจัย จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Schvendlinger (1977 : 51 ) ได้ศึกษาผลการเรียนสะกดคำของนักเรียนเกรด 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกหัดที่มีรูปภาพเหมือนของจริง มีผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยไม่ใช้รูปภาพเหมือนจริง
2.ความคิดสร้างสรรค์ อภิญญา แก้วชื่น (2528: 40) ได้ศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกมาโดยใช้ภาษาและรูปภาพขอนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ของกลุ่มที่ฝึกจากแบบฝึกเสริมทักษะการคิดที่เป็นการ์ตูนโครงสร้างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.ความสามารถในการเรียน วลี สุมิพันธ์ (2530: 68) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่เรียนซ่อมเสริมโดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะและครูเป็นผู้สอน ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน
4.ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ปฐมพร บุญลี (2545) วิจัยการสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกสูงกว่าก่อนได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ประโยชน์ของแบบฝึกเพ็ตตี้ (Petty, 1963, pp. 469 - 472 อ้างถึงใน พนมวันวรดลย์, 2542, หน้า 38 - 39) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึก ดังนี้ 1. เป็นส่วนเพิ่มหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก เพราะแบบฝึกเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ 2. ช่วยเสริมทักษะทางการใช้ภาษา แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กฝึกทักษะการใช้ภาษาได้ดี แต่ต้องอาศัยการส่งเสริมและเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย
3. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเด็กมีความสามารถทางภาษาแตกต่างกัน การให้เด็กทำแบบฝึกที่เหมาะสมกับความสามารถจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในด้านจิตใจมากขึ้น 4. แบบฝึกช่วยเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทนโดยกระทำ ดังนี้ 4.1 ฝึกทันทีหลังจากที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องนั้น ๆ 4.2 ฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง 4.3 เน้นเฉพาะเรื่องที่ต้องฝึก 5. แบบฝึกที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้หลังจากบทเรียนในแต่ละครั้ง
6. แบบฝึกที่จัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม เด็กสามารถเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นแนวทางและทบทวนด้วยตนเองได้ต่อไป 7. การให้เด็กทำแบบฝึกช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของเด็กได้ชัดเจนซึ่งจะช่วยให้ครูดำเนินการปรับปรุงแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ทันท่วงที 8. แบบฝึกที่จัดทำขึ้น นอกเหนือจากที่มีอยู่ในหนังสือเรียน จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนอย่างเต็มที่
9. แบบฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อย จะช่วยให้ครูประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการที่จะต้องจัดเตรียมสร้างแบบฝึกอยู่เสมอ 10. แบบฝึกหัดช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นรูปเล่มแน่นอนย่อมลงทุนต่ำกว่าที่จะพิมพ์ลงกระดาษไขทุกครั้ง ผู้เรียนสามารถบันทึกและมองเห็นความก้าวหน้าของตนเองได้อย่างมีระบบระเบียบ
คำถาม1.ข้อใดคือข้อที่เกี่ยวกับการสร้างแบบฝึก ก.มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าจะฝึกทักษะในด้านใด แล้วจัดเนื้อหาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ข.ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน ค.ต้องมีคำชี้แจงง่าย สั้นๆ อ่านเข้าใจแบบฝึกได้ด้วยตนเอง ง.ถูกทุกข้อ
2.การสร้างแบบฝึกให้มีประสิทธิภาพควรเป็นอย่างไร ก.ครูควรจะจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับจิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก ข.ใช้ระยะสั้น จบสมบูรณ์ด้วยตนเอง ค.ใช้แบบฝึกง่ายๆ สั้นๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย ง.ถูกทั้ง ก และ ค
3.ขั้นตอนการสร้างแบบฝึกมีกี่ข้อ ก. 9 ข้อ ข.10 ข้อ ค. 11 ข้อ ง. 12 ข้อ
4.ข้อใดคือขั้นตอนการสร้างแบบฝึก ก. ศึกษาปัญหาและความต้องการ โดยศึกษาจากการผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข.พิจารณาวัตถุประสงค์ รูปแบบ และขั้นตอนการใช้แบบฝึก ค. ก และ ข ง.ไม่มีข้อถูก
5.ลักษณะของแบบฝึกควรเป็นแบบใด ก.มีจุดมุ่งหมาย กฎเกณฑ์ กติกา ในการทำกิจกรรมมีชัดเจน ข.แบบฝึกควรมีหลายๆแบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย ค.ใช้เวลาช่วงสั้นๆ พอสมควรกับระยะเวลา ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย1 ตอบ ง.2 ตอบ ง.3. ตอบ ก4 ตอบ ค.5 ตอบ ค.