1 / 37

การจัดการและแนวทาง การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

การจัดการและแนวทาง การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ. ความหมายของมลพิษทางอากาศ. มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณ ที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สิ่งมีชีวิต หรือทรัพย์สินต่างๆ

Download Presentation

การจัดการและแนวทาง การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศการจัดการและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

  2. ความหมายของมลพิษทางอากาศความหมายของมลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศหมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สิ่งมีชีวิต หรือทรัพย์สินต่างๆ กรณีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า อากาศเสียที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกล และปริมาณของสารที่เข้าสู่สภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตมีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ จากขบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม จากการระเหยของก๊าซซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น

  3. การจัดการและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศการจัดการและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

  4. การจัดการและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศการจัดการและแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

  5. การกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศการกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศ • ปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามและการใช้บังคับกฎหมายด้านการจัดการภาวะมลพิษทางอากาศ • เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบการปล่อยมลสารต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับภาวะมลพิษทางอากาศจากโรงงาน • การดำเนินกิจการต่างๆ ต้องถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

  6. การกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศการกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศ • วางผังเมืองให้เหมาะสมตามสภาพท้องถิ่นและสภาชุมชน โดยการแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ1. เขตที่อยู่อาศัย

  7. การกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศการกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศ 2. เขตการค้า

  8. การกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศการกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศ 3. เขตการท่องเที่ยว

  9. การกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศการกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศ 4. เขตอุตสาหกรรม

  10. ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โครงการ “ร่วมปั่นฯ เพิ่มพลังกาย ลดใช้พลังงาน ต้านโลกร้อน” ปี 2551

  11. ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

  12. ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

  13. ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ • การรณรงค์ให้ใช้รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะแทนรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ การปรับเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ จึงช่วยให้มีการปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศลดลง

  14. ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ • รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ และมีส่วนรวมในการป้องกันแก้ไขมิให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ

  15. ปรับปรุงสภาพการจราจร การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสภาพเศรษฐกิจ ทำให้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแหล่งธุรกิจ และความเจริญมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในการเดินทาง และการขนส่งมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเข้าขั้นวิกฤต และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่ำ ยิ่งมีการหยุด และออกตัวบ่อยครั้งขึ้น น้ำมันก็ยิ่งถูกเผาผลาญมากขึ้น

  16. ปรับปรุงสภาพการจราจร การสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และ มีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรง สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจากการคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

  17. ปรับปรุงสภาพการจราจร สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่ง ที่มีมลพิษน้อยส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน เช่น การโดยสารรถสาธารณะ และรถไฟฟ้า แทนการขับรถส่วนบุคคล

  18. ปรับปรุงสภาพการจราจร • “ทางเดียวกัน ไปด้วยกัน” • ควบคุมการเพิ่มของจำนวน ยานพาหนะส่วนบุคคล

  19. ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงและออกกฎบังคับให้ใช้เฉพาะน้ำมันที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงและออกกฎบังคับให้ใช้เฉพาะน้ำมันที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศ

  20. ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงและออกกฎบังคับให้ใช้เฉพาะน้ำมันที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงและออกกฎบังคับให้ใช้เฉพาะน้ำมันที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศ • ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศ จากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ใช้เครื่องยนต์ ที่มีมลพิษน้อย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลด มลพิษจากยานพาหนะ

  21. ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงและออกกฎบังคับให้ใช้เฉพาะน้ำมันที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงและออกกฎบังคับให้ใช้เฉพาะน้ำมันที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศ • ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ที่มาจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดภาวะมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน

  22. การจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะ การป้องกันและลดสารพิษจากยานพาหนะ   การที่จะป้องกันไม่ให้รถยนต์ของท่านปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ขับขี่จะต้องหมั่นบำรุงรักษาสภาพของเครื่องยนต์ มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ รวมถึงลักษณะการขับขี่ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้1. ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล    2. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา    3. หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่นจับมากให้ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่    4. หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ    5. ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น    6. ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Concerter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษ

  23. การจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

  24. การจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะ การบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ

  25. การจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะ ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Concerter)

  26. การจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะ • สำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องรถยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้ • 1. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวน ลูกสูบหรือคว้านกระบอกสูบ     • 2. ปรับแปรงที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนด และหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง ถ้าหัวฉีดปรับแรงดันไม่ได้ หรือฉีดน้ำมันไม่เป็นละออง ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่     • 3. ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่างๆ ให้จ่ายน้ำมันตามกำหนด ถ้าหากว่าปรับตั้งไม่ได้เนื่องจากลูกปั๊มสึกหรอมาก ให้เปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่ • สำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน ควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้ • 1. ปรับคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันอัตโนมัติ จะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น     • 2. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ และระบบไฟจุดระเบิดอาจแก่เกินไป ควรลดลงให้เหมาะ

  27. การจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะ คว้านลูกสูบ แหวนลูกสูบ

  28. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับกำจัดสารมลพิษนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การละลาย ขนาดของอนุภาค ความเข้มข้น ปริมาณของสารมลพิษ และลักษณะของกระบวนการผลิต ดังนั้นจึงสามารถแยกอุปกรณ์กำจัดสารมลพิษ ที่เหมาะสมกับลักษณะปัญหา ดังนี้

  29. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 1. ห้องดักฝุ่น (Setting chamber)เป็นห้องหรือภาชนะขนาดใหญ่ ฝุ่นที่เคลื่อนผ่านจะตกลงยังพื้นห้องด้วยน้ำหนักของมันเอง จึงเหมาะสมกับฝุ่นหยาบ ๆ ขนาดใหญ่ หรือฝุ่นที่มีน้ำหนักมาก ระบบนี้ส่วนใหญ่เป็นระบบกำจัดขั้นต้น (Primary treatment) ก่อนจะผ่านไปยังระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า

  30. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 2. ไซโคลน (Cyclone)เป็นอุปกรณ์ดักฝุ่นโดยอาศัยหลักการของแรงหนีศูนย์กลางไซโคลนแบบธรรมดาใช้ดักฝุ่นขนาด 50 ไมครอน (0.05 มม.) ขึ้นไปได้ดี โรงงานที่ใช้ไซโคลนในการดักฝุ่นละออง เช่น โรงเลื่อยไม้ โรงงานผสมอาหารสัตว์ ไซโล ขี้เถ้าแกลบ และฝุ่นละอองจากการขัดโลหะ เป็นต้น

  31. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 3. ระบบผ้ากรอง (Bag filter)เป็นระบบขจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียดโดยอาศัยการกรองด้วยถุงผ้า ระบบนี้ใช้ดักฝุ่นละอองจากการผสมเคมีและยาง จากการขัดไม้และโลหะจากการหลอมตะกั่วหรือโลหะ

  32. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 4. ระบบดักฝุ่นโดยอาศัยประจุไฟฟ้า (Electrostatic precipitator)ระบบนี้ใช้ดักฝุ่นละเอียดเช่นเดียวกับ Bag filter เหมาะสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงเหล็ก เป็นต้น ระบบนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

  33. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 5. ระบบสเปรย์น้ำ (Spray chamber)เป็นระบบขจัดฝุ่นละออง หรือก๊าซที่มีประสิทธิภาพต่ำ สำหรับดักฝุ่นขนาดใหญ่ เช่น ขี้เถ้าแกลบ และฝุ่นละอองจากการหลอมโลหะ

  34. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 6. ระบบดักบนผิวตัวกลาง (Packed scrubber)เป็นระบบขจัดมลสารที่เป็นก๊าซ หรือขจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กปานกลาง ใช้กับลักษณะงานทั่วไป เช่น ระบบขจัดไอกรดจากการชุบโลหะ ระบบขจัดไอสารเคมี ในกรณีที่ไอสารนั้น ๆ สามารถถูกดูดซับหรือละลายในของเหลวที่ใช้ฉีดเป็นตัวกลางดูดซับในระบบได้ ระบบขจัดฝุ่นละอองและไอสารเคมีจากการหลอมโลหะ และระบบขจัดกลิ่นจากโรงงานปลาป่น เป็นต้น

  35. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ 7. ระบบฉีดดักแบบเวนจูรี (Venturi scrubber)หลักการทำงานโดยให้ปริมาณอากาศเสีย ไหลผ่านตัวระบบที่เป็นช่องแคบ ด้วยความเร็วสูงมากๆ ในขณะที่ใช้ของเหลวฉีดเพื่อชะหรือดูดซับทันที

  36. เอกสารอ้างอิง •  กองอนามัยสิ่งแวดล้อม   สำนักอนามัย กทม. • หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 6 • กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • สันต์ หัตถีรัตน์. 2551. แนวทางการป้องกันปัญหามลพิษ ทางอากาศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com. 30 มกราคม 2552 • พัชรา แสงศรี. 2551. มลพิษทางอากาศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://oho.ipst.ac.th/. 30 มกราคม 2552

  37. สวัสดีครับ/ค่ะ

More Related