1 / 37

การอ้างอิง

การอ้างอิง. จัดทำโดย. นางสาวสุดารัตน์ จีนเจียง. รหัส ๕๓๑๕๐๖๖๐๐๑๐๕๒. กลุ่มเรียน ๕๓๐๗.๑๕๑. หัวข้อที่นำ เสนอ. การ สืบค้นข้อมูล. การอ้างอิง. การ อ้างอิงสื่อสิ่งพิมพ์. การ อ้างอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์. การสืบค้นข้อมูล. ๑. การสืบค้นจากสื่อสิ่งพิมพ์. ๒. การ สืบค้นจากโสตทัศนวัสดุ.

garin
Download Presentation

การอ้างอิง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การอ้างอิง

  2. จัดทำโดย นางสาวสุดารัตน์ จีนเจียง รหัส ๕๓๑๕๐๖๖๐๐๑๐๕๒ กลุ่มเรียน ๕๓๐๗.๑๕๑

  3. หัวข้อที่นำเสนอ การสืบค้นข้อมูล การอ้างอิง การอ้างอิงสื่อสิ่งพิมพ์ การอ้างอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  4. การสืบค้นข้อมูล ๑. การสืบค้นจากสื่อสิ่งพิมพ์ ๒. การสืบค้นจากโสตทัศนวัสดุ ๓. การสืบค้นจากสารสนเทศเครือข่าย

  5. ๑. การสืบค้นจากสื่อสิ่งพิมพ์ หมวดหมู่หนังสือ หมวดหมู่หนังสือพิมพ์ การจัดหมวดหมู่ หมวดหมู่วารสารหรือนิตยสาร วิธีการสืบค้น หมวดหมู่จุลสารและกฤตภาค บัตรรายการ เครื่องมือช่วยค้น บัตรดรรชนีวารสาร

  6. ๒. การสืบค้นจากโสตทัศนวัสดุ กำหนดสัญลักษณ์ผสมกับเลขทะเบียนของสื่อโสตทัศน์สำหรับจัดเรียงสื่อโสตทัศน์ เรียงแยกตามประเภทของสื่อและตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือแต่ละประเภท การจัดหมวดหมู่สื่อโสตทัศน์ วิธีการสืบค้น บัตรรายการ เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาสื่อโสตทัศน์ที่ต้องการใช้ สะดวก

  7. ๓. การสืบค้นจากสารสนเทศระบบเครือข่าย เป็นระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน คือ Protocal TCP/IP เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆทั่วโลก อินเทอร์เน็ต วิธีสืบค้น เป็นเครือข่ายที่นำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการสื่อสารสนเทศภายในองค์กรซึ่งทำให้การสื่อสารและการค้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถค้นหาสารสนเทศจากหอสมุด อินทราเน็ต

  8. การอ้างอิง ความหมายของอ้างอิง ความสำคัญของการอ้างอิง รูปแบบของการอ้างอิง

  9. ความหมายของอ้างอิง พูลสุข เอกไทยเจริญ (๒๕๕๑: ๑๖๙) กล่าวถึงความหมายการอ้างอิงว่า อ้างอิง หมายถึง การแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือหลักฐานที่นำมาใช้ประกอบการเขียนรายงานการค้นคว้า ปรีชา ทิชินพงศ์ (๒๕๓๓:๙๑) ได้กล่าวว่า อ้างอิง หมายถึงการระบุแหล่งที่มาของข้อความในตัวเรื่องทั้งที่ยกมาโดนตรงและที่ประมวลความคิดมา

  10. ความหมายของอ้างอิง (ต่อ) นิพนธ์ อินสิน (๒๕๓๐:๓๓) การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในการศึกษาค้นคว้าซึ่งนำเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการและรายงานการวิจัย จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการเขียนรายงานจากการค้นคว้า

  11. ความสำคัญของการอ้างอิง ความสำคัญของการอ้างอิง ๑. บอกให้ทราบว่าได้ข้อมูลมาจากที่ใด เพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่รายงานการค้นคว้าเรื่องนั้น สามารถตรวจสอบหลักฐานเดิมได้ ๒. เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของข้อมูล แสดงถึงความเคารพในความรู้ความสามารถของเจ้าของข้อมูล และเพื่อไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ ๓. เป็นการแนะนำแหล่งสารสนเทศสำหรับผู้อ่านที่สนใจจะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นำมากล่าวไว้ในรายงานการค้นคว้าเรื่องนั้น ๔. เป็นการแสดงให้เห็นว่ารายงานการค้นคว้าเรื่องนั้น เป็นผลงานที่ผ่านการศึกษาค้นคว้า การรวบรวมและเรียบเรียงอย่างเป็นระบบและมีหลักฐาน

  12. รูปแบบของการอ้างอิง ๑. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ระบบนาม-ปี ระบบนี้อ้างอิงเอกสารโดยใช้ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์เอกสาร เลขหน้า ระบบหมายเลข ระบบนี้อ้างอิงเอกสารโดยใช้หมายเลขของเอกสารในบรรณานุกรม

  13. ๒.การอ้างอิงแยกจากเนื้อหา๒.การอ้างอิงแยกจากเนื้อหา การอ้างอิงแยกจากเนื้อหา การอ้างอิงที่อยู่ท้ายบทแต่ละบท คือการนำรายการอ้างอิงทุกรายการไปเขียนรวมไว้ครั้งเดียวที่ท้ายบทหรือท้ายเรื่อง ที่เรียกว่ารายการเอกสารหรือบรรณานุกรม

  14. การอ้างอิงสื่อสิ่งพิมพ์การอ้างอิงสื่อสิ่งพิมพ์ การอ้างอิงการอ้างอิงแทรกปนในเนื้อหา ระบบนาม-ปี ระบุชื่อผู้แต่งนาม-ปี รายการที่ลงประกอบด้วย ชื่อผู้แต่งกับปีที่พิมพ์ บางครั้งอาจมีเลขหน้าด้วย ส่วนเครื่องหมายที่ใช้อาจแตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้ (ผู้แต่ง./ปีที่พิมพ์./เลขหน้า) (ผู้แต่ง./ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า) (ผู้แต่ง/ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า)

  15. ระบบนาม-ปี มีหลักการเขียนดังนี้ ๑) รายการของส่วนที่เป็นตัวเชิงอรรถ ให้ใส่ไว้ในวงเล็บตามหลังส่วนของข้อความที่ยกมาอ้าง ใช้เครื่องหมายตามที่กำหนด ๒) การอ้างอิงชื่อผู้แต่งให้ใช้ชื่อตามที่เรียกขาน ฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ ฯลฯ ให้คงไว้หน้าชื่อตามปกติ ชาวต่างประเทศให้ใช้แต่นามสกุลเท่านั้น

  16. ๓) ถ้าข้อความที่อ้าง มีการอ้างถึงชื่อผู้แต่งด้วย ในตัวเชิงอรรถก็ไม่ต้องลงชื่อผู้แต่งซ้ำอีก ให้ลงเฉพาะรายการที่เหลือไว้ในวงเล็บตามหลังชื่อผู้แต่ง ๔) ถ้าไม่ปรากฏปีพิมพ์ให้ใช้อักษรย่อ “ม.ป.ป.”ในภาษาไทย และ “n.d.”ในภาษาอังกฤษ และถ้าไม่ปรากฏเลขหน้าให้ใช้ “ไม่มีเลขหน้า” ในภาษาไทยและ “Unpaged” ในภาษาอังกฤษ เช่น ...(สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. ม.ป.ป.: ๒๕)... หรือ ...(พรศักดิ์ พรหมแก้ว. ม.ป.ป.: ไม่มีเลขหน้า)...

  17. ๕) รายการตัวเชิงอรรถของเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ มีโครงสร้างการเขียนเชิงอรรถระบบนาม-ปี ดังนี้ หนังสือ โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่ตีพิมพ์ ข้อความนั้น) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (พระยาอนุมานราชธน ๒๕๐๒ : ๖) ข้อความที่อ้าง (Thomson๑๙๔๓ : ๗๒)

  18. สารานุกรม (ต่อ) มีชื่อผู้เขียนบทความ โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้เขียน เลขเล่มที่ใช้, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่ตีพิมพ์) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (พรชัย ศิริสัมพันธ์ ๑๔, ๒๕๒๑ : ๘๘๕๕-๕๘) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (Slatin๑๕, ๑๙๗๓ : ๕๑-๕๗)

  19. สารานุกรม (ต่อ) ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (“ชื่อบทความ” เลขเล่มที่ใช้, ปีพิมพ์ : เลขหน้าที่ตีพิมพ์) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (“Typwriter” ๑๔, ๑๙๕๓ : ๒๓๑-๓๒a) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (“Rosetta Stone” ๒๓, ๑๙๖๘ : ๗๐๐)

  20. หนังสือพิมพ์รายวัน มีชื่อผู้เขียนบทความ โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้เขียน วัน เดือน ปี : เลขหน้าที่ ตีพิมพ์) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (คนข้างศาล ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๖ : ๘, ๑๔ )

  21. หนังสือพิมพ์รายวัน (ต่อ) ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (“ชื่อบทความ” วัน เดือน ปี : เลขหน้าที่ ตีพิมพ์) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (“แนะแนวการศึกษาเพื่ออาชีพ ปี ๒๕๓๔” ๒ มกราคม ๒๕๓๔ : ๘)

  22. หนังสือหลายเล่มจบ โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ : เลขเล่มที่ใช้ : เลขหน้าที่ตีพิมพ์) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (พระบริหารเทพธานี ๒๔๙๖ : ๓ : ๖๓-๖๔)

  23. หนังสือผู้แต่งซ้ำกัน ต่างเรื่องพิมพ์ปีเดียวกัน โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ ก : เลขหน้าที่ตีพิมพ์) ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ ข : เลขหน้าที่ตีพิมพ์) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (กรมการฝึกหัดครู ๒๕๓๓ ข : ๒๑-๓๓) ข้อความที่อ้าง (กรมการฝึกหัดครู ๒๕๓๓ ก : ๑๓๙-๔๒)

  24. หนังสือผู้แต่งซ้ำกัน (ต่อ) ต่างเรื่องอ้างร่วมกัน โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์เรื่องแรก : เลขหน้า ; ปี พิมพ์ เรื่อง ๒ : เลขหน้า ; ปีพิมพ์เรื่อง ๓ : เลขหน้า) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (บุญยงค์ เกศเทศ ๒๕๑๖ : ๗๔ ; ๒๕๒๐ : ๑๘-๒๐ ; ๒๕๒๓ : ๑๔-๑๕)

  25. หนังสือผู้แต่งหลายคน ผู้แต่ง ๒ คน โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ผู้แต่ง ๑ และผู้แต่ง ๒ ปีพิมพ์ : เลขหน้า) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และ ประภาศรี สีห อำไพ ๒๕๒๑ : ๑๐- ๑๕)

  26. หนังสือผู้แต่งหลายคน (ต่อ) ผู้แต่ง ๓ คน โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ผู้แต่ง ๑, ผู้แต่ง ๒ ผู้แต่ง ๓ ปีพิมพ์ : เลขหน้า ) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (คณิต สีสมมนต์, แสวง โพธิ์เงิน และ สนอง ด้านสิทธ์ ๒๕๒: ๒๕) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (Sorenson, Campbell & Poss ๑๙๗๕ : ๙)

  27. หนังสือแปล ทราบชื่อผู้แต่ง โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ : เลขหน้า) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (ครอฟอร์ด ๒๕๑๕ : ๑๑) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ชื่อผู้แปล, ผู้แปล ปีพิมพ์ : เลขหน้า) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (สมุทร ศิริไข, ผู้แปล ๒๕๐๗ : ๑๔-๑๘)

  28. หนังสือผู้แต่งหลายคน (ต่อ) ผู้แต่งเกิน ๓ คน โครงสร้าง ข้อความที่อ้าง (ผู้แต่ง ๑ และคนอื่นๆ ปีที่พิมพ์ : เลขหน้า) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (สุธรรม พงศ์สำราญ และคนอื่นๆ ๒๕๑๙ : ๔๘) หรือ (สุธรรม พงศ์สำราญ และคณะ ๒๕๑๙ : ๔๘) ตัวอย่าง ข้อความที่อ้าง (Meigs and other ๑๙๖๙ : ๑-๒) หรือ (Meigs, et al. ๑๙๖๙ : ๑-๒)

  29. ระบบหมายเลข ระบุหมายเลขตามลำดับ เอกสานที่อ้างอิงก่อน พร้อมกำกับเลขหน้าที่อ้างอิงในเอกสารนั้น เช่น ...การอ่านหนังสือมีลักษณะแตกต่างจากการอ่านหนังสือประเภทตำรา ๑๒ : ๗๒) การให้หมายเลขกำกับเอกสารที่อ้างอิง ในเนื้อหาจะต้องตรงกับหมายเลขของเอกสารที่ให้ไว้ในบรรณานุกรมด้วย เช่น จากตัวอย่างบรรณานุกรมท้ายเล่ม จะต้องมีรายการดังนี้ ๑๒. วิสิทธิ์ จินตวงศ์. “วิธีอ่านหนังสือพิมพ์อย่างฉลาด” วิทยาการสาร ๒๑ (มิถุนายน ๒๕๑๑) : ๗๒-๗๘

  30. การอ้างอิงเชิงอรรถ แบบแผนการลงเชิงอรรถ แบบแผนการลงเชิงอรรถนั้นแตกต่างกันไปตามชนิดของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น หนังสือ บทความในหนังสือ บทความในวารสาร บทความในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ตัวอย่างที่ ๑ หนังสือ ๑จิตร ภูมิศักดิ์. โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ ในประวัติศาสตร์ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดวงกมล, ๒๕๒๔, หน้า ๑๓๒.

  31. การพิมพ์เชิงอรรถ การพิมพ์เชิงอรรถให้พิมพ์ไว้ส่วนล่างของแต่ละหน้าที่อ้างถึง และให้แยกจากเนื้อเรื่องโดยขีดเส้นคั่นขวางจากขอบซ้ายของกระดาษยาวประมาณ ๒.๕ นิ้ว เว้นจากบรรทัดสุดท้ายของเนื้อเรื่อง ๓ บรรทัดพิมพ์เดี่ยว และพิมพ์เชิงอรรถใต้เส้นนี้ ๒ บรรทัดพิมพ์เดี่ยว พิมพ์เชิงอรรถบรรทัดแรกย่อหน้าเข้ามา ๘ ระยะตัวอักษร เริ่มพิมพ์อักษรที่ ๙ ถ้าเชิงอรรถมีเกิน ๑ บรรทัด บรรทัดต่อมาให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้ายทุกบรรทัดจนจบรายการ แต่ละรายการให้เว้นระยะ ๒ บรรทัดพิมพ์เดี่ยว โดยให้บรรทัดสุดท้ายของข้อความในเชิงอรรถอยู่ห่างจากขอบกระดาษล่าง ๑ นิ้ว

  32. ตัวอย่าง บรรทัดสุดท้ายของเนื้อความ ............................................................................................................................................................. ๓ บรรทัดพิมพ์เดี่ยว ๒ บรรทัดพิมพ์เดี่ยว ๑จิตร ภูมิศักดิ์. โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ ในประวัติศาสตร์ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดวงกมล, ๒๕๒๔, หน้า ๑๓๒.

  33. การอ้างอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์การอ้างอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๑. ภาพยนตร์, ภาพนิ่งและวีดิทัศน์ โครงสร้าง ชื่อเรื่อง. (ประเภทของวัสดุ). สถานที่ผลิต : ผู้ผลิต. ปีที่ผลิต. ตัวอย่าง ภูกระดึง. (ภาพยนตร์). กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย. ๒๕๓๐.

  34. ๒. เทปบันทึกเสียง, แผ่นเสียง โครงสร้าง ชื่อผู้บรรยาย. ชื่อเรื่อง.(ประเภทวัสดุ). สถานที่ผลิต : ผู้ผลิต.ปีที่ผลิต. ตัวอย่าง วีระ มุสิกพงศ์. พุทธศาสนากับการเมือง. (เทปบันทึกเสียง). กรุงเทพฯ : กรมประชาสัมพันธ์. ๒๕๔๗.

  35. ๓. บทความวารสารทางอินเทอร์เน็ต ธีรภัทร มนตรีศาสตร์. (๒๕๔๕). Thumb Drive มิติใหม่แห่งการ เก็บข้อมูล. ไมโครคอมพิวเตอร์,๘ (๒๐๔). สืบค้นเมื่อ ๗ มิถุนายน, ๒๕๔๕, จาก http://www.micro.se-ed.com/content/Mc๒๐๔/default.asp

  36. ๔. เอกสารทั่วไปทางอินเทอร์เน็ต อดิศร ฟุ้งขจร. (๒๕๔๘). คลื่นสึนามิในอันดามัน. สืบค้นเมื่อ ๒๕ มกราคม , ๒๕๔๘, จาก www.Tsunamithai.com ๕. บทความจากหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ สุวัฒน์ เจริญผล. (๒๕๔๗, ๑๑ สิงหาคม). คลื่นวิทยาการ: เลเซอร์... กับ สงคราม [ของใคร]เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ ๘ ธันวาคม, ๒๕๔๗, จาก http://www.dalinews.co.th

  37. จบการนำเสนอ

More Related