1 / 25

กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionism พัฒนาทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์

กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionism พัฒนาทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์. นางโสภาพรรณ ชื่นทองคำ. ทฤษฎี Constructionism. Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) ได้พัฒนามาจากทฤษฎี Constructivism ของ Piaget. การจัดกิจกรรมตามแนวทฤษฎี

gari
Download Presentation

กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionism พัฒนาทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionismพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ นางโสภาพรรณ ชื่นทองคำ

  2. ทฤษฎี Constructionism Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) ได้พัฒนามาจากทฤษฎี Constructivism ของ Piaget

  3. การจัดกิจกรรมตามแนวทฤษฎีการจัดกิจกรรมตามแนวทฤษฎี Constructionism • นักเรียนเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ • นักเรียน ฝึกปฏิบัติ แก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง • นักเรียนสรุปองค์ความรู้ และสร้างผลงานด้วย ตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยี หรือสื่อและวิธีการอื่นๆ

  4. ความสำคัญของนวัตกรรม ใช้กระบวนการ 5S ตามทฤษฎี Constructionismในการจัดการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา OLPC เป็นสื่อที่สามารถส่งเสริมความคิดของนักเรียนและนำเสนอผลงานที่สะท้อนถึงทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

  5. สังเคราะห์ สรุปเป็นกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน(จำง่าย ใช้คล่อง) ให้สอดคล้องกับแนวการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism ดังนี้ 1.จุดประกายความคิด( Sparkling ) 2. สะกิดให้ค้นคว้า ( Searching ) 3. นำพาสู่การปฏิบัติ( Studying ) 4. จัดองค์ความรู้( Summarizing ) 5. นำเสนอควบคู่การประเมิน( Show and Sharing )

  6. ความเป็นมา พ.ศ.2551 ได้นำเสนอ กระบวนการ 5S ในรูปแบบผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และได้รับอนุมัติแต่งตั้งเป็นครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ปี พ.ศ.2552 ได้เผยแพร่กระบวนการ 5S ตามทฤษฎี Constructionism ให้กับคณะครูในโรงเรียน จนปัจจุบันโรงเรียนบ้านสันกำแพงกำหนดเป็นนโยบายให้ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระตามขั้นตอนกระบวนการ 5Sเผยแพร่ให้กับคณะที่มาศึกษาดูงานการเรียนการสอน และนำเสนอในการอบรมครูของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในบทบาทของวิทยากร

  7. ความเป็นมา ปีการศึกษา 2554 ได้ใช้กระบวนการ 5S ในการจัดการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา OLPC เป็นสื่อเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์แบบพกพา OLPC เป็นสื่อที่สามารถส่งเสริมความคิดของนักเรียน และนำเสนอผลงานที่สะท้อนถึงทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

  8. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน 1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 /1 โรงเรียนบ้านสันกำแพง 2. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โดยใช้กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionism3. เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ และนำเสนอองค์ความรู้ของนักเรียน เชิงคุณภาพ

  9. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ในปีการศึกษา 2554 สูงกว่าปีการศึกษา 2553 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ทุกคน มีความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ นำเสนอองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ได้

  10. ขั้นตอนการดำเนินงาน

  11. 1. Sparklingจุดประกายความคิด ใช้คำถาม เพลง เกม กิจกรรม วิธีการ หรือสื่อ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้ เห็นแนวทางในการแสวงหาความรู้ นำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ

  12. 2. Searchingสะกิดให้ค้นคว้า ใช้กิจกรรมหรือ หัวข้อ เรื่องราว ที่น่าสนใจ ชวนให้ศึกษาค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนนำข้อมูลมาวางแผน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและความถนัดของแต่ละบุคคลในกลุ่ม มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักทำงานเป็นกลุ่ม

  13. 3. Studyingนำพาสู่การปฏิบัติ ฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติ เรียนรู้ด้วยตนเองทั้งเป็นกลุ่มเป็นรายบุคคล จนเกิดทักษะ และเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

  14. 4. Summarizingจัดองค์ความรู้ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจจากการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ การแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ จนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ของ ตนเองได้อย่างเป็นระบบ

  15. 5.Showingand Sharingนำเสนอควบคู่การประเมิน - ฝึกนักเรียนให้วางแผนในการนำเสนอความรู้ ผลงานของ ตนเองอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ - ด้วยเทคนิควิธีต่างๆ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ นิทรรศการ เกม การใช้คอมพิวเตอร์ ฯลฯ - นำเสนอผลการเรียนรู้ ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ความภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกระบวนการทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ต่อไป - ฝึกนักเรียนให้รู้จักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านผลงาน ความคิด วิธีการ และข้อเสนอแนะ

  16. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมประสิทธิภาพของนวัตกรรม 1. ประสิทธิภาพด้านเนื้อหา ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงทางเนื้อหา และนำมาสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนบ้านสันกำแพงในปีการศึกษา 2551 นำข้อมูลที่ได้จากการสอนมาปรับปรุงและสรุปเป็นขั้นตอนการสอนที่ชัดเจน มีการขยายผลรูปแบบการสอนในโรงเรียนจนถึงปัจจุบันได้กำหนดเป็นนโยบายให้ครูทุกคนต้องจัดทำแผนการสอนตามนวัตกรรมการสอนแบบ 5 S 2. การหาประสิทธิภาพทางด้านสถิติ ทำการหาประสิทธิภาพการสอนตามกระบวนการ 5 S โดยใช้เกณฑ์ E1 : E2 ในปีการศึกษา 2551 ปรากฏว่า มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 90:88

  17. การนำกระบวนการ 5S ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1. วิเคราะห์หลักสูตรคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. กำหนดหน่วยการเรียนรู้ 3. เขียนแผนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5S 4. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5. วัดและประเมินผลการเรียนรู้6. สรุปผลการจัดการเรียนรู้

  18. ผลการดำเนินงาน / ประโยชน์ที่ได้รับ 1. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นที่น่าพึงพอใจ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์จากการทดสอบ NT ปีการศึกษา 2554 เท่ากับ 80.30% สูงกว่าปีการศึกษา 2553 ที่มีค่าเท่ากับ 63.30 % 3.) นักเรียนความสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ นำเสนอองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างมีความคิดสร้างสรรค์และเชื่อมโยงความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีกับคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

  19. ปัจจัยความสำเร็จ 1. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน ชุมชนและปกครอง 2. ได้รับการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ เครื่อง OLPCและ งบประมาณในการส่งเสริม การเรียนรู้ จากมูลนิธิไทยคม และมูลนิธิศึกษาพัฒน์ 3. ความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของข้าพเจ้า

  20. บทเรียนที่ได้รับ 1.การจัดการเรียนรู้ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน2.สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และจัดกิจกรรมบูรณาการ 6. บทเรียนที่ได้รับ

  21. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ • ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคณะครูทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอในวันศุกร์ เพื่อดูงานด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการใช้เทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับทฤษฎี Constructionism • เป็นวิทยากรนำเสนอในการให้ความรู้กับคณะครูที่มาศึกษาดูงาน • คณะครูจากประเทศต่างๆ เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในการแข่งขัน โอลิมปิคคณิตศาสตร์ 2009 ได้มาเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นเรียนของข้าพเจ้า

  22. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ 4. ได้รับรางวัลในระดับชาติและ นานาชาติ เช่น 4.1 ครูต้นแบบของสภาการศึกษาแห่งชาติ(สกศ.) 4.2 ครูเกียรติยศ( Teacher Award) ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 4.3 ได้รับรางวัล Innovative Teachers Leadership Awards จากบริษัทไมโครซอฟท์ ที่ประเทศสิงคโปร์ และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปนำเสนอผลการจัดการเรียนรู้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 4.4 ไปร่วมประชุมกับครูนานาชาติในโครงการ Peer Coaching Program ซึ่งบริษัทไมโครซอฟท์จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย และกรุงเทพมหานคร

  23. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ 4.5 รางวัลครูดีเด่นประจำโรงเรียนบ้านสันกำแพง ให้ไว้ ณ วันที่ 16 มกราคม 2554 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 4.6 “ ครูสอนดีศรีสันกำแพง ” ระดับประถมศึกษาจากสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ให้ไว้ ณ วันที่ 16 มกราคม 2555 4.7 รางวัล “ ครูสอนดี ” จากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)ให้ไว้ ณ วันที่ 13 เมษายน 2555 ตัวอย่างผลงานนักเรียน ตัวอย่างที่ 2

  24. โรงเรียนบ้านสันกำแพง www.bsk.ac.th

More Related