1 / 24

การตรวจเชื้อ เอช ไอวี ที่ดื้อต่อยาต้าน ไวรัส

การตรวจเชื้อ เอช ไอวี ที่ดื้อต่อยาต้าน ไวรัส. วสันต์ จันทราทิตย์,ช่อทิพย์ วาทิตต์พันธุ์. คู่มืออธิบายการตรวจวินิจฉัยยีโนมเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส [Online]. ปี [ cited 2009 Jun 30 ] . Available from: http://www.virusrama.org/genotyping/. การดื้อต่อยาต้านไวรัสของเชื้อเอชไอวี.

Download Presentation

การตรวจเชื้อ เอช ไอวี ที่ดื้อต่อยาต้าน ไวรัส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจเชื้อเอชไอวี ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส วสันต์ จันทราทิตย์,ช่อทิพย์ วาทิตต์พันธุ์. คู่มืออธิบายการตรวจวินิจฉัยยีโนมเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส [Online]. ปี [cited 2009 Jun 30]. Available from: http://www.virusrama.org/genotyping/...

  2. การดื้อต่อยาต้านไวรัสของเชื้อเอชไอวีการดื้อต่อยาต้านไวรัสของเชื้อเอชไอวี • หมายถึง ภาวะที่ยาต้านไวรัสไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสได้อีกต่อไป • สาเหตุมาจากการ mutation ในระดับ Genomeของตัวเชื้อไวรัส ทำให้มีการสร้างเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอชไอวีผิดปกติไป • เอนไซม์จะมีการแปรเปลี่ยนจนโมเลกุลของยาไม่สามารถเข้าไปจับกับเอนไซม์เหล่านี้ได้ • ดังนั้นไวรัสเอชไอวีที่มีการ mutation จึงไม่ถูกกำจัดด้วยฤทธิ์ของยาและสามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้เป็นปกติ

  3. การตรวจเชื้อเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสการตรวจเชื้อเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส • มีความจำเป็นสำหรับการเลือกใช้ยาต้านไวรัสที่ถูกต้อง • หลีกเลี่ยงยาที่มีแนวโน้มว่าจะใช้ไม่ได้ผล • การตรวจการดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวี แบ่งเป็น 2 วิธี คือ • การตรวจจีโนทัยป์ (Genotypic Testing)   • การตรวจฟีโนทัยป์ (Phenotypic Testing)

  4. การตรวจจีโนทัยป์ (Genotypic Testing) • ตรวจลำดับของเบสในยีนของเชื้อเอชไอวีในตำแหน่งที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์Protease และReverse Transcriptase

  5. ตำแหน่งการกลายพันธุ์ของ RT gene ของเชื้อ HIV ที่เกี่ยวข้องกับยากลุ่ม NRTIs M184V M = Methionine 184 = ตำแหน่ง amino acid ของยีน Reverse Transcriptase V = Valine 3TC

  6. การตรวจฟีโนทัยป์(Phenotypic Testing) • เป็นการหาความเข้มข้นของยาต้านไวรัสที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อ HIV ได้ • 50% = Inhibitory Concentration 50 (IC50) • 90% = Inhibitory Concentration 90 (IC90)

  7. การตรวจจีโนทัยป์ (Genotypic Testing) • ข้อดี • ใช้ระยะเวลาในการตรวจค่อนข้างสั้น • กระบวนการตรวจไม่ซับซ้อนมากนัก • ค่าใช้จ่ายในการตรวจถูกกว่าการตรวจด้วยวิธีฟีโนทัยป์ • ข้อเสีย • การแปลผลต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ • จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูลจีโนทัยป์จากหลายหน่วยงานที่มีการ update ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

  8. การตรวจฟีโนทัยป์ (Phenotypic Testing) • ข้อดี • แปลผลได้ง่ายกว่าวิธีจีโนทัยป์ • สามารถทราบได้ทันทีว่าเชื้อ HIV ดื้อหรือไว(susceptible) ต่อยาชนิดใดบ้าง • ข้อเสีย • ค่าใช้จ่ายสูง • วิธีการตรวจมีความยุ่งยากซับซ้อน • ใช้เวลานาน • ต้องลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อระดับสูงสุดเพื่อป้องกันเชื้อ HIV ที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองแพร่กระจาย • การแปลผลก็ยังมีความสับสนอยู่เช่นกัน ประสิทธิภาพของยาที่ลดลงเป็นกี่เท่าในยาแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน

  9. การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีการรักษาล้มเหลวการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีการรักษาล้มเหลว (Management of Treatment Failure)

  10. หลักการเลือกยาต้านไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยล้มเหลวจากยาสูตรแรก • หากเชื้อดื้อยา NNRTI ตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ให้หลีกเลี่ยง NNRTI ทั้งกลุ่ม • พยายามหายาตัวใหม่ที่ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเอชไอวี อย่างน้อย 2 ชนิด พิจารณาจากผลตรวจการดื้อต่อยา (genotypic resistance testing) • อาศัยประวัติการรักษาด้วยยาสูตรยาต่างๆ ร่วมกับผลตรวจการดื้อต่อยา และเลือกสูตรยาที่ยังไม่มีการดื้อ • การเลือกสูตรยาสูตรที่ 2 ต้องสามารถควบคุมเชื้อไวรัสให้ต่ำกว่า 50 copies/ml • สิ่งที่ต้องพึงระวัง การพิจารณาผลการดื้อต่อยาทุกครั้งที่ผู้ป่วยกำลังมีและเคยมีมาก่อน

  11. ขั้นตอนสำคัญในการประเมินและวางแผนการรักษาผู้ป่วยขั้นตอนสำคัญในการประเมินและวางแผนการรักษาผู้ป่วย • ทบทวนประวัติการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี และประวัติการเจ็บป่วย • ตรวจร่างกายเพื่อประเมินโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและผลข้างเคียงของยา • ประเมิน adherence to ARV drugs, tolerability, drug interaction, โรคร่วมอื่นๆ • ตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาขณะที่ยังคงรับประทานยานั้นๆอยู่ และทบทวนประวัติผลตรวจเชื้อดื้อยาในอดีต • พิจารณาหาสูตรยาใหม่ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อควบคุมเชื้อไวรัสในเลือดให้น้อยกว่า 50 copies/ml

  12. ประเภทของการดื้อยา • ประเภทของการดื้อยาต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีสูตรแรกแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ • NNRTI-based regimen failure • PI-based regimen failure

  13. การล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI • การดื้อยามีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ • ระยะเวลาของการรักษาที่ล้มเหลว • การเกิดเชื้อดื้อยา • กรณีผู้ป่วยมีปัญหาล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI สามารถประมาณการณ์ได้จาก • ระยะเวลาของการล้มเหลว

  14. การล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI • เพิ่งล้มเหลวภายในช่วง 3-6 เดือนแรก มักจะพบเพียงเชื้อ HIV ที่ ดื้อต่อ NNRTI เท่านั้น • หากให้รับประทานยาต่อไป โดยไม่ปรับเปลี่ยนสูตรยาที่เหมาะสมภายใน 3-6 เดือนแรก คาดว่าจะก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาต่อยา 3TC ในที่สุดจะก่อให้เกิดการดื้อต่อยา AZT หรือ d4T และก่อให้เกิดการดื้อยาทุกตัวในกลุ่ม NRTIs นี้ได้ (cross resistance to all NRTIs) • การใช้ยาสูตรที่ 2 ควรใช้ boosted PI มากกว่า PI ที่ไม่ได้ boostedโดยเฉพาะในรายที่ไม่แน่ใจว่า 2NRTIs ที่เลือกใหม่ในสูตรยาที่ 2 จะมีฤทธิ์ต่อไวรัสมากเพียงพอเนื่องจากการใช้ boosted PI จะมีโอกาสล้มเหลวน้อยกว่า

  15. หลักการพิจารณาสูตรยาในการรักษากรณีผู้ป่วยล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI • หากพบว่าดื้อต่อ NNRTI เท่านั้น ให้คง 2NRTIs เดิม และเปลี่ยน NNRTI เป็น boosted PI แทน • หากพบดื้อต่อ NNRTI และ 3TC ให้เปลี่ยนเป็น • - AZT/ddI/boosted PI • - Tenofovir/AZT/boosted PI • - AZT/Abacavir (ABC)/boosted PI (แต่ราคาสูงมาก จึงไม่นิยมใช้)

  16. การล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร PI หรือ boosted PI การรักษาด้วย 2NRTIs+(boosted) PI เป็นสูตรแรก

  17. กรณีตัวอย่าง • ผู้ป่วยรับประทาน d4T หรือ AZT + 3TC + Nevirapine/Efavirenz แล้วมีเฉพาะ M184Vอย่างเดียว • ให้ใช้ d4T หรือ AZT + ddIor tenofovir + Nevirapine/Efavirenz • ผู้ป่วยรับประทาน d4T หรือ AZT + 3TC + Nevirapine/Efavirenz แล้วมีเฉพาะ NNRTI mutation เช่น L100I K103N V106A/M V108I Y181C/I Y188C/L/H และ/หรือ G190A • ให้ใช้ d4T or AZT or tenofovir + 3TC + IDV/rหรือ PIตัวใดก็ได้ • ผู้ป่วยรับประทาน d4T หรือ AZT + 3TC+ Nevirapine/Efavirenz แล้วมีเฉพาะ M184VกับNNRTI mutation เช่น L100I K103N V106A/M V108I Y181C/I Y188C/L/H หรือ G190A • ให้ใช้ d4T หรือ AZT + ddI หรือtenofovir + IDV/r หรือ PIตัวใดก็ได้

  18. ข้อควรจำ • การวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยดื้อยาตั้งแต่เริ่มดื้อยาใหม่ๆ จะทำให้การเลือกสูตรยาสำหรับผู้ป่วยดื้อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ • การติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งทางคลินิกและผลการตรวจเลือด จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยการรักษาล้มเหลวได้เร็ • การรับประทานยาสูตรที่ดื้อแล้วต่อไป จะทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น และดื้อข้ามไปสู่ยาตัวอื่นในกลุ่มเดียวกันที่ผู้ป่วยยังไม่เคยรับประทานได้ด้วย • หากจะต้องเปลี่ยนยา จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ยาสูตรใหม่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง คำนึงถึงผลดีผลเสียอย่างรอบด้าน มิฉะนั้นจะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ที่ยุ่งยากมากกว่าเดิม

  19. Reference • ปรีชา มนทกานติกุล, ปวีณา สนธิสมบัติ, สุทธิพร ภัทรชยากุล, ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์, บรรณาธิการ. คู่มือสำหรับเภสัชกร: การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน, 2551. • กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก. แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549/2550. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2550. • วสันต์ จันทราทิตย์,ช่อทิพย์ วาทิตต์พันธุ์. คู่มืออธิบายการตรวจวินิจฉัยยีโนมเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส. Available at: http://www.virusrama.org/genotyping/Sequencing/HIV_check_manual/HIV_check_manual.htm Accessed date: June 30, 2009.

  20. THANK YOU For your attention

More Related