1 / 17

บทที่ 2

บทที่ 2. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลยภาพ. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความหมายอุปสงค์. หนังสือหน้า 13. เลขหน้า 2/2. อุปสงค์ (demand). 2.1 ความหมายของอุปสงค์

galvin
Download Presentation

บทที่ 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 อุปสงค์อุปทาน และภาวะดุลยภาพ

  2. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความหมายอุปสงค์ หนังสือหน้า 13 เลขหน้า 2/2 อุปสงค์(demand) 2.1 ความหมายของอุปสงค์ “จำนวนสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ ณ ระดับราคาต่าง ๆ กันของสินค้าชนิดนั้น หรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ กันของผู้บริโภค หรือ ณ ระดับราคาต่าง ๆ กันของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง”

  3. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ปัจจัยตัวกำหนดอุปสงค์ หนังสือหน้า 13 เลขหน้า 2/4 2.3 ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์และฟังก์ชันอุปสงค์ (demand determinants and demand function) 2.3.1 ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ 1) ระดับราคาสินค้าชนิดนั้น ๆ ในตลาด (price : Px) ด้วยเหตุที่ ผู้บริโภคมีรายได้จำกัด การที่ราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นจะทำให้ผู้บริโภคบางคนใช้สินค้าชนิดอื่นซึ่งราคายังคงที่ทดแทนจำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะลดลง ในทางตรงข้ามถ้าราคาสินค้าและบริการชนิดหนึ่งลดลง ผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นมากขึ้น

  4. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ปัจจัยตัวกำหนดอุปสงค์ หนังสือหน้า 14 เลขหน้า 2/5 2) ระดับรายได้เฉลี่ยของผู้บริโภค (Income : I) โดยทั่วไปเมื่อรายได้เฉลี่ยของผู้บริโภคสูงขึ้น ทำให้การซื้อสินค้าและบริการชนิดหนึ่ง ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ (normal goods) และสินค้าฟุ่มเฟือย (luxury goods) แต่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกันในกรณีที่เป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (inferior goods)

  5. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ปัจจัยตัวกำหนดอุปสงค์ หนังสือหน้า 14 เลขหน้า 2/6 3) การเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง (1) สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (substitute) การเปลี่ยนแปลงของ ระดับราคาสินค้าประเภทนี้จะทำให้จำนวนซื้อสินค้าเดิม (Qx) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน (2) สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complement) การเปลี่ยนแปลงของ ระดับราคาสินค้าประเภทนี้ย่อมทำให้จำนวนซื้อสินค้าเดิม (Qx) เปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้าม 4) ขนาดของประชากรทั้งหมด (population size : Pz) เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นความต้องการสินค้าและบริการจะสูงขึ้น ด้วย

  6. 5) การกระจายรายได้ระหว่างครัวเรือน (income distribution between household : Di) ประเทศที่มีการกระจายได้ที่เลว (มี ความเหลื่อมล้ำกันมาก) จำนวนซื้อสินค้าและบริการบางชนิด (สินค้าสำหรับผู้ที่มีรายได้สูง) จะสูงขึ้น ในขณะที่จำนวนซื้อ สินค้าและบริการบางชนิด (สินค้าสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำ) จะ ลดลง 6) รสนิยมหรือความพอใจของผู้บริโภค (taste : T) 7)ดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล (seasonal: S) อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ปัจจัยตัวกำหนดอุปสงค์ หนังสือหน้า 14 เลขหน้า 2/7

  7. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ฟังก์ชันอุปสงค์ หนังสือหน้า 15 เลขหน้า 2/8 2.3.2 ฟังก์ชันอุปสงค์ (demand function) ฟังก์ชันอุปสงค์ข้างต้น แปลความหมายได้ว่า จำนวนซื้อสินค้า ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้า X(Px) ระดับรายได้เฉลี่ยของผู้บริโภค (I) ระดับราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกัน (Py) ขนาดของประชากรทั้งหมด (Pz) การกระจายรายได้ของครัวเรือน (Di) รสนิยมหรือความพอใจของผู้บริโภค (T) และดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล (S)

  8. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/กฎของอุปสงค์ หนังสือหน้า 15 เลขหน้า 2/10 2.4 กฎของอุปสงค์ (law of demand) “ถ้าสิ่งอื่น ๆ อยู่คงที่ จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้นเสมอ ” คำกล่าวนี้คือ “ กฎอุปสงค์”(low of demand)

  9. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ตารางอุปสงค์ หนังสือหน้า 16 เลขหน้า 2/12 2.5 ตารางอุปสงค์และเส้นอุปสงค์ (demand schedule and demand curve) ตารางอุปสงค์ มีอยู่ 2 ประเภท คือ 1) ตารางอุปสงค์เฉพาะบุคคล (individual demand schedule) เป็นชุดตัวเลขที่แสดงให้ทราบถึงจำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของคนใดคนหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ กันในระยะเวลาที่กำหนดให้

  10. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ตารางอุปสงค์ หนังสือหน้า 17 เลขหน้า 2/15 2) ตารางอุปสงค์รวมหรือตารางอุปสงค์ของตลาด (total demand schedule or market demand schedule) เป็นชุดของตัวเลขที่แสดงให้ทราบถึงจำนวนซื้อสินค้าและบริการของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ กัน ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง การหาจำนวนซื้อของตลาดทำได้โดยรวมจำนวนซื้อของบุคคลทั้งหมดในตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้

  11. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความแตกต่าง หนังสือหน้า 19 เลขหน้า 2/18 2.6 ความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง จำนวนซื้อและการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ 2.6.1 การเปลี่ยนแปลงจำนวนซื้อ (change in the quantity demanded) หมายถึง จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิด ใดชนิดหนึ่งเปลี่ยนไปเนื่องจากราคาของสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงโดยที่ปัจจัยกำหนดอุปสงค์อื่นทั้ง 6 ตัว อยู่คงที่ ในกรณีเช่นนี้เส้นอุปสงค์จะไม่เปลี่ยนแปลงแต่ เป็นเพียงเคลื่อนย้ายไปตามเส้นอุปสงค์ (move along curve) เส้นเดิม นั่นคือ

  12. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความแตกต่าง หนังสือหน้า 19 เลขหน้า 2/19 ราคาสูงขึ้นทำให้จำนวนซื้อ ลดลงโดยมีการย้ายจุดบน เส้น DD (จาก A ไป B) ราคาลดลงทำให้จำนวนซื้อ เพิ่มขึ้น โดยมีการย้ายจุด บนเส้น DD (จาก Aไป C) การเพิ่มขึ้นของจำนวนซื้อจะหมายถึงการเคลื่อนย้ายลงมาตามเส้นอุปสงค์อันเนื่องมาจากราคาลดลง ในทางตรงกันข้าม การลดลงของจำนวนซื้อจะหมายถึงการเคลื่อนย้ายขึ้นไปตามเส้นอุปสงค์อันเนื่องจากราคาสูงขึ้น

  13. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความแตกต่าง หนังสือหน้า 19 เลขหน้า 2/20 2.6.2 การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ (change in demand) หมายถึง การที่ปัจจัยกำหนดอุปสงค์อื่นๆ เช่น ระดับรายได้เฉลี่ยของ ครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ขนาดของประชากรทั้งหมด การกระจายรายได้ ความนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าและบริการนั้นและฤดูกาลหรือเทศกาลที่ต้องการใช้สินค้าและบริการนั้น ๆ ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวในจำนวนนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปและมีผลให้จำนวนซื้อเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้ง ๆ ที่ระดับราคาสินค้ายังคงเดิม

  14. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความแตกต่าง หนังสือหน้า 19 เลขหน้า 2/21 ในกรณีเช่นนี้จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของเส้นอุปสงค์ทั้งเส้น (shift in demand curve) ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนซื้อ เพราะนั่นเป็นเพียงการเคลื่อนย้ายไปตามเส้น อุปสงค์เส้นเดิม(move along curve) หากปัจจัยอื่น ๆ (นอกจากราคาสินค้า) เปลี่ยนแปลงไป ที่มีผลให้จำนวนซื้อเพิ่มขึ้น เส้นอุปสงค์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปทางขวามือ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่มีผลให้จำนวนซื้อลดลง เส้นอุปสงค์ ก็จะเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือ

  15. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความแตกต่าง หนังสือหน้า 20 เลขหน้า 2/22 ตารางที่ 2.3 การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์สำหรับเสื้อกับระดับรายได้เฉลี่ยของนายดำ 1

  16. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความแตกต่าง หนังสือหน้า 21 เลขหน้า 2/24 เส้นอุปสงค์DD จะเปลี่ยนไปทางขวามือ เป็นเส้น D Dเมื่อ •I • P (P  )• P  • D ดีขึ้น • T • S (ในฤดูกาล) 1 1 s c z i

  17. อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความแตกต่าง หนังสือหน้า 21 เลขหน้า 2/26 P เส้นอุปสงค์DD จะเปลี่ยนไปทางซ้ายมือ เป็นเส้น D Dเมื่อ •I  • P (P  )• P  • D เลวลง • T  • S (ในฤดูกาล) 2 2 s c z i

More Related