1 / 33

น้ำสำหรับงานคอนกรีต

น้ำสำหรับงานคอนกรีต. โดย นายพงศ์เทพ มณีสะอาด 5210110374 3 EnE. ปริมาณและคุณภาพของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกำลังของคอนกรีต เรามาพิจารณาถึงเรื่องคุณภาพของน้ำ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะสิ่งเจือปนต่างๆในน้ำอาจจะมีผลต่อคุณสมบัติของคอนกรีต. น้ำสำหรับงานคอนกรีตทำหน้าที่

gallia
Download Presentation

น้ำสำหรับงานคอนกรีต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. น้ำสำหรับงานคอนกรีต

  2. โดยนายพงศ์เทพ มณีสะอาด 52101103743EnE

  3. ปริมาณและคุณภาพของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกำลังของคอนกรีต เรามาพิจารณาถึงเรื่องคุณภาพของน้ำ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะสิ่งเจือปนต่างๆในน้ำอาจจะมีผลต่อคุณสมบัติของคอนกรีต

  4. น้ำสำหรับงานคอนกรีตทำหน้าที่ • 3 ประการ คือ........................ • 1) ผสมคอนกรีต • 2) ใช้บ่มคอนกรีตให้มีกำลังเพิ่มขึ้น • 3) ใช้ล้างมวลรวม

  5. เราต้องการน้ำคุณภาพดี และปริมาณที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีต กฎเกณฑ์ทั่วไปของน้ำที่จะใช้ผสมคอนกรีต คือ น้ำที่ดื่มได้นับเป็นน้ำที่ใช้ในงานคอนกรีตได้เสมอ ส่วนปริมาณน้ำผสม นอกจากจะมีผลต่อความสามารถในการใช้งานของคอนกรีตแล้วยังมีผลต่อกำลังและความทนทานของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วด้วย

  6. ผสมคอนกรีต • - ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับปูนซีเมนต์ เชื่อมประสานหิน/ทรายเข้าด้วยกัน เกิดเป็นคอนกรีตที่มีความแข็งแรงคล้ายหิน สามารถรับน้ำหนักได้ • - ทำให้คอนกรีตสดมีความเหลว สามารถไหลลงแบบหล่อได้ง่าย • - เคลือบหิน/ทรายให้เปียก เพื่อปูนซีเมนต์สามารถยึดเกาะได้ดีและติดแน่น

  7. สิ่งเจือปน • ถ้าในน้ำมีสิ่งเจือปนอยู่มากเกินระดับหนึ่งอาจก่อปัญหาทางด้านคุณภาพ ได้แก่ • 1) กำลังและความทนทานของคอนกรีตลดลง • 2) เวลาการก่อตัวเปลี่ยนแปลงไป • 3) คอนกรีตหดตัวมากกว่าปกติ • 4) อาจมีการละลายของสารประกอบภายใน คอนกรีตออกมาแข็งตัวบนผิวภายนอก (Efflorescence)

  8. สิ่งเจือปนในน้ำสำหรับงานคอนกรีต แบ่งเป็น • 1) สารแขวนลอยหรือจำพวกตะกอน • (Suspended matters) • 2) สารละลายได้ในน้ำ(Dissoluble matters) • - สารละลายอินทรีย์ • - สารละลายอนินทรีย์

  9. สารแขวนลอยหรือจำพวกตะกอน(Suspended matters) • - หากมีตะกอนเกินกว่า 2000 ppm(2 กรัม/ลิตร) อาจทำให้ต้องใช้น้ำมากกว่าปกติ • - การหดตัวของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้น • - ทำให้เกิดขี้เกลือบริเวณผิวคอนกรีต • - อาจทำให้เกิดฟองอากาศปริมาณมาก • - ทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง • - การยึดเกาะระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวมลดลง • - ถ้าใช้น้ำขุ่นมากควรปล่อยให้ตกตะกอนเสียก่อน

  10. สารละลายได้ในน้ำ (Dissoluble matters) • น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีชนิดหนึ่ง จึงมีสารต่างๆ มากมายละลายในน้ำที่ไม่สามารถมองเห็นได้ น้ำในแม่น้ำลำคลองไหลผ่านป่าเขาที่มีแร่ธาตุ สารต่างๆ จำนวนมาก ย่อมจะละลายอยู่ในน้ำ • สารที่ละสายในน้ำแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ • - สารละลายอนินทรีย์ • - สารละลายอินทรีย์

  11. สารละลายอนินทรีย์ • ควรมีความเข้มข้นไม่เกิน 2000 ppm จึงจะนำไปผสมคอนกรีตได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นสารละลายบางชนิด มีผลต่อคอนกรีตมากแม้จะมีปริมาณน้อย เช่น เกลือคาร์บอเนต เกลือไบคาร์บอเนต เกลือคลอไรด์ เกลือซัลเฟต และ เกลือซัลไฟด์ของโปตัสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม เป็นต้น

  12. เกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตเกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต • (Carbonate and bicarbonate) • น้ำที่มีเกลือของคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตปนอยู่ปริมาณมาก • จะทำให้คอนกรีตก่อตัวและแข็งตัวเร็ว • ข้อแนะนำปริมาณของเกลือเหล่านี้ละลายอยู่ในน้ำ • เกลือโซเดียมคาร์บอเนตและโซเดียมไบคาร์บอเนต • ไม่เกิน 1,000 ppm หรือ 1 กรัมต่อลิตร • เกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตของแคลเซียมและแมกนีเซียม • ไม่เกิน 400 ppm หรือ 0.4 กรัมต่อลิตร

  13. เกลือคลอไรด์ของแคลเซียม โซเดียม และแมกนีเซียม • (Salt Chloride of Calcium Sodium and Magnesium) • - มีผลให้คอนกรีตก่อตัวและแข็งตัวเร็ว • - กำลังของคอนกรีตในช่วงต้นสูง แต่กำลังช่วงปลายลดต่ำลง • - แต่ก่อนมีการใช้เกลือคลอไรด์เป็นสารผสมเพิ่มในการเร่งให้คอนกรีตแข็งตัวเร็ว แต่เลิกใช้ เพราะเกลือคลอไรด์ทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิม • ปริมาณเกลือเหล่านี้ละลายอยู่ในน้ำ • ต้องไม่เกิน 500 ppm หรือ 0.5 กรัมต่อลิตร

  14. อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเสียหายอย่างรุนแรง สาเหตุจากการใช้น้ำหรือทรายซึ่งมีคลอไรด์เจือปนอยู่มากมาผสมทำคอนกรีต ทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิม

  15. เกลือซัลเฟต เกลือซัลเฟตของโซเดียมและ • เเมกนีเซียม • (Sulfate ,Salt Sulfate of Sodium and Magnesium) • มีผลทำให้กำลังของคอนกรีตลดลงอย่างมาก • น้ำที่มีโซเดียมซัลเฟตปนอยู่ 5,000 ppm หรือ 5 กรัมต่อลิตร จะทำให้กำลังคอนกรีตลดลง 4 % • ถ้าปนอยู่ 10,000 ppm หรือ 10 กรัมต่อลิตร จะทำให้กำลังลดลง 10 % • ปริมาณเกลือเหล่านี้ละลายอยู่ในน้ำต้องไม่เกิน 1,000 ppm หรือ 1 กรัมต่อลิตร

  16. เกลือฟอสเฟต อาร์ซีเนต บอเรต • (Phosphate Borates) • น้ำที่มีสารเหล่านี้เจือปนอยู่ในปริมาณเกินกว่า 500 ppmหรือ 0.5 กรัมต่อลิตร จะหน่วงการก่อตัวของซีเมนต์เพสต์ ทำให้คอนกรีตแข็งตัวช้าลง

  17. เกลือของแมงกานีส ดีบุก สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง • (Manganese Tin Zinc LeadCopper) • ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวและแข็งตัวช้าลง • ยอมให้มีละลายปนอยู่ในน้ำได้ • ไม่เกิน 500 ppm หรือ 0.5 กรัมต่อลิตร

  18. กรด(Acid) • น้ำที่มีกรดอนินทรีย์ละลายปนอยู่ เช่น กรดไฮโดรคลอริค • กรดซัลฟูริค ในระดับความเข้มข้น 3 • ในปริมาณไม่เกิน 10,000 ppm • หรือ 10 กรัมต่อลิตร • สามารถนำไปผสมคอนกรีตได้ • โดยไม่มีผลต่อกำลังของคอนกรีต

  19. ด่าง(Alkali) • น้ำที่มีด่างผสม เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) • และ โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) • ในปริมาณเกินกว่า 500 ppm หรือ 0.5 กรัมต่อลิตร • อาจจะมีปฏิกิริยากับมวลรวมที่เป็น Reactive aggregate ได้ • ซึ่งจะทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหาย

  20. น้ำตาล(Sugar) • ถ้ามีน้ำตาลละลายในน้ำปนอยู่มากกว่า 0.5 กรัมต่อลิตร จะทำให้การก่อตัวและการแข็งตัวของคอนกรีตช้าลง

  21. น้ำทะเล (SeaWater) • น้ำทะเลไม่ควรนำมาใช้สำหรับงานคอนกรีต แต่ก็มีการใช้น้ำทะเลบ้างในงานคอนกรีตหยาบหรือแม้แต่คอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีรายงานในช่วง 40 ถึง 50 ปี ถึงผล เสียหาย ของเหล็กเสริม ในโครงสร้างที่ใช้ทรายทะเลหรือน้ำทะเลมาใช้ในงานคอนกรีต

  22. น้ำทะเลประกอบด้วย เกลือคลอไรด์ประมาณ 3.5% ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้คอนกรีตแข็งตัวเร็วและมีความ แข็งแรงในช่วงแรก แต่ค่าความแข็งแรงที่อายุคอนกรีต 28 วัน หรือหลังจากนั้นจะลดลงนอกจากนี้การใช้น้ำทะเลยังเป็น การเสี่ยงต่อการผุกร่อนของเหล็กเสริม • แต่ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำทะเลโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อาจทำได้โดยใช้เหล็กเสริมชุบสังกะสีและผสม คอนกรีต โดยลดอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ให้ต่ำกว่า 0.45

  23. ปริมาณสารต่างๆ ในน้ำทะเลโดยเฉลี่ย

  24. สารละลายอินทรีย์ • สารอินทรีย์ทำให้น้ำมีสี และทำให้ปฏิกิริยา • ไฮเดรชั่นของซีเมนต์ช้าลง ก่อให้เกิดฟองอากาศในปริมาณที่สูง จึงไม่ควรใช้น้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมยกเว้นกรณีน้ำที่ได้ผ่านการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะลดสารละลายอินทรีย์ลงในระดับที่ปลอดภัย

  25. วิธีสังเกตอย่างง่ายว่าน้ำนั้นใช้ผสมคอนกรีตได้หรือไม่วิธีสังเกตอย่างง่ายว่าน้ำนั้นใช้ผสมคอนกรีตได้หรือไม่ • ความสะอาด น้ำต้องไม่มีสารเน่าเปื่อย สิ่งปฏิกูล ตะไคร่น้ำ • สี ใส น้ำที่มีสีแสดงว่ามีสารอินทรีย์ อนินทรีย์ หรือตะกอน แขวนลอยปนเปื้อน • กลิ่น ต้องไม่มีกลิ่นเน่า ถ้ามีมักจะมีสารอินทรีย์ปะปนอยู่ • รส ต้องไม่มีรส • ถ้ากร่อยหรือเค็ม แสดงว่ามีเกลือแร่อยู่มาก • ถ้าเปรี้ยว แสดงว่าเป็นกรด • ถ้าฝาด แสดงว่าเป็นด่าง • ถ้าหวาน แสดงว่ามีน้ำตาลเจือปน

  26. ข้อกำหนดใหม่สำหรับน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต • ASTM C 1602 ซึ่งเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับน้ำที่ใช้ผลิตคอนกรีตได้ระบุถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ไว้ดังนี้     • 1. น้ำที่ใช้ผสมหลักซึ่งอาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ หรือน้ำจากกระบวนการผลิตคอนกรีต •     2. น้ำแข็งสำหรับลดอุณหภูมิของคอนกรีตสามารถใช้ผสมคอนกรีตได้และน้ำแข็งจะต้องละลายหมดเมื่อทำการผสมคอนกรีตเสร็จ •     3. ASTM C49 ยินยอมให้มีการเติมน้ำภายหลังโดยพนักงานขับรถเพื่อเพิ่มค่ายุบตัวคอนกรีตให้ได้ตามที่ระบุแต่ทั้งนี้ W/C จะต้องไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ •     4. น้ำส่วนเกินจากมวลรวม (Free Water) ถือเป็นส่วนหนึ่งของน้ำผสมคอนกรีต จะต้องปราศจากสิ่งเจือปนที่เป็นอันตราย •     5. น้ำที่ผสมอยู่ในสารผสมเพิ่มโดยจะถือเป็นส่วนหนึ่งของน้ำผสมคอนกรีต ถ้าน้ำมีปริมาณมากพอที่จะส่งผลค่า W/C เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 0.01 ขึ้นไป

  27. การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ • น้ำที่จะนำกลับมาใช้ผสมคอนกรีตใหม่ได้ก็จะมาจากแหล่งต่างดังนี้ •     1. น้ำที่ใช้ล้างเครื่องผสมคอนกรีตหรือน้ำจากส่วนผสมคอนกรีต •     2. น้ำจากบ่อกักเก็บที่รองรับน้ำฝนจากพื้นที่การผลิต •     3. น้ำอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของ คอนกรีตผสมอยู่ โดยน้ำที่จะนำมาใช้ใหม่นี้จะต้องมีค่า Solids Content ไม่เกิน 5 % ของปริมาณน้ำทั้งหมด และควรทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 1603

  28. การทดสอบทางเคมี • กรณีจำเป็นต้องใช้น้ำที่ไม่แน่ใจว่าจะสะอาดเพียงพอหรือไม่ ให้เก็บตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อตรวจหาสารที่ปนเปื้อนในน้ำเทียบกับตาราง

  29. 2) ใช้บ่มคอนกรีตให้มีกำลังเพิ่มขึ้น • น้ำสำหรับบ่มคอนกรีต ไม่ควรมีสิ่งเจือปนที่จะทำปฏิกิริยากับคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว เช่น สารพวกซัลเฟตหรือสารที่ทำให้เกิดคราบสกปรก อันจะส่งผลให้ ผิวคอนกรีตเกิดรอยเปื้อนหรือเป็นตัวการทำให้สีจับผิวคอนกรีตได้ไม่ดี และหลุดร่อนในภายหลัง

  30. 3) ใช้ล้างมวลรวม • น้ำที่ใช้ล้างจึงควรเป็นน้ำที่ใช้สำหรับผสมคอนกรีต • เพราะน้ำนี้จะเคลือบอยู่บนผิวของมวลรวม • และสามารถเข้าไปทำอันตรายต่อคอนกรีตเหมือนกับน้ำที่ใช้ผสม

  31. จบการนำเสนอ

More Related