3.11k likes | 6.33k Views
สวัสดิการแรงงาน. นางนิสา นพทีป กังวาล ผู้อำนวยการกองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. 1/1. กองสวัสดิการแรงงาน (กสว.) Labour Welfare Division (LWD).
E N D
สวัสดิการแรงงาน นางนิสา นพทีปกังวาล ผู้อำนวยการกองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกระทรวงแรงงาน 1/1
กองสวัสดิการแรงงาน (กสว.)Labour Welfare Division (LWD) กสว.เชื่อว่า...เมื่อแรงงานได้รับสวัสดิการเหมาะสม เพียงพอ จะเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่แรงงานสมานฉันท์ มั่นคง และปลอดภัย รวมทั้งครอบครัวปกติสุขและธุรกิจยั่งยืน อำนาจหน้าที่ 1. กำหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการแรงงาน 2. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้มีการจัดสวัสดิการแรงงาน ร่างปรัชญา 1/2
กสว. มุ่งมั่น...ส่งเสริมและสนับสนุนสวัสดิการแรงงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ร่างวิสัยทัศน์ 1/3
ขอบข่ายงานจำแนกตามระดับขอบข่ายงานจำแนกตามระดับ ระดับก้าวหน้านอกเหนือกฎหมาย ระดับพื้นฐาน ตามกฎหมาย ครม. สวัสดิการเพื่อครอบครัว สวัสดิการเพื่อแรงงาน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 - หมวด 7 สวัสดิการ ม.92-ม.99 - หมวด 11 ค่าชดเชย ม.120 มติ ครม. วันที่ 20 มิ.ย.2538 จัดตั้งกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน 1/4
งานที่กองสวัสดิการแรงงานดำเนินการงานที่กองสวัสดิการแรงงานดำเนินการ • 1. งานคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน • - คณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • - คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงาน • ศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์ / โครงการศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่อผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบกิจการและชุมชน 2
คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานคณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน • - คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน • - คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนากองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน • การดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ / โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในสถานประกอบกิจการ • - โครงการโรงงานสีขาว / ปรับเจตคติต่อผู้เสพและผู้ติดยา • - โครงการ TO BE NUMBER ONE • - กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายในการมีส่วนร่วม-กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด 3
5. การดำเนินการโครงการป้องกันและบริหารจัดการ เรื่องเอดส์ในสถานประกอบกิจการ 6. การดำเนินการส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนในโรงงาน 7. โครงการประกวดสถานประกอบกิจการดีเด่นด้าน สวัสดิการแรงงาน 8. การดำเนินการเสริมสร้างสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน / โครงการกีฬาในโรงงาน / โครงการแรงงานแข็งแรง โรงงานแข็งแรง 4
ภารกิจและขอบเขตของกองสวัสดิการแรงงานภารกิจและขอบเขตของกองสวัสดิการแรงงาน 1. ส่งเสริมและดำเนินการจัดสวัสดิการในและนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างภาคอุตสาหกรรม พาณิชกรรม เกษตรกรรม บริการ 2. พัฒนาและจัดระบบสวัสดิการทั้งในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม 3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น 5
สวัสดิการแรงงานคืออะไรสวัสดิการแรงงานคืออะไร ความหมาย “สวัสดิการแรงงาน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 สวัสดิการ หมายถึง การให้สิ่งเอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี 6
สรุปความหมายสวัสดิการแรงงานสรุปความหมายสวัสดิการแรงงาน 1. สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดให้แก่บุคลากร 2. เงินเดือนหรือผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับเพิ่มจากค่าตอบแทนหลัก 3. ผลประโยชน์ตอนแทนชนิดใดชนิดหนึ่งที่พนักงานได้รับเพิ่มเติม จากการจ่ายค่าตอบแทนพื้นฐาน 4. สิ่งจูงใจที่จะรักษาลูกจ้างให้ทำงานกับองค์กรต่อไป 5. ผลตอบแทนรูปแบบหนึ่งที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเพื่อความ สะดวกสบายหรือเพื่อการกินดีอยู่ดีของลูกจ้าง 7
6. การดูแลความเป็นอยู่ของลูกจ้าง โดยมุ่งหมายเพื่อให้ลูกจ้างมีภาวะความเป็นอยู่ที่ดีตามอัตภาพ 7. สวัสดิการแรงงานเป็นภาวะของการมีสุขภาพดีหรือเป็นสภาวะที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกสบายหรือการกินดีอยู่ดีของลูกจ้าง ถือว่าเป็นภาวะทางศีลธรรมของธุรกิจอุตสาหกรรมและสหภาพแรงงาน รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานบุคคล 8
โดยสรุปสวัสดิการแรงงาน จึงเป็น บทบาทและหน้าที่ของนายจ้างที่จัดให้แก่ลูกจ้าง ส่วนหนึ่งของสวัสดิการสังคมซึ่งรัฐมีหน้าที่ดูแลและจัดให้ประชาชน 9
การส่งเสริมสวัสดิการแรงงานการส่งเสริมสวัสดิการแรงงาน การดำเนินการในการให้ความรู้ ชี้แจง แนะนำ เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการนอกเหนือกฎหมายกำหนด วัตถุประสงค์ 1. ให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการนอกเหนือกว่ากฎหมายกำหนดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. ลดข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบกิจการ 10
คุณสมบัติของผู้ที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมการจัดสวัสดิการคุณสมบัติของผู้ที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมการจัดสวัสดิการ 1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน 2. มีความรู้ ความเข้าใจในความหมาย หลักการ และแนวคิด การจัดสวัสดิการแรงงาน 3. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในสถานประกอบกิจการ 4. มีความเป็นกลาง 5. มีมนุษยสัมพันธ์และความเป็นมิตร 6. มีบุคลิกภาพที่ดี 11
7. มีประสบการณ์ในการทำงาน 8. มีความสามารถในการสื่อข้อความ 9. มีศิลปะในการโน้มน้าวจูงใจ 10. มีความอดทน 11. มีความคิดสร้างสรรค์ 12. มีความอดกลั้น 12
หลักทั่วไปในการกำหนดสวัสดิการแรงงานหลักทั่วไปในการกำหนดสวัสดิการแรงงาน 1. หลักความรับผิดชอบทางสังคม 2. หลักประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม 3. หลักความเหมาะสมของค่าจ้าง / ต้นทุน 4. หลักประสิทธิภาพ 5. หลักพัฒนาบุคลิกภาพ 6. หลักความรับผิดชอบร่วมกัน / เสมอภาคยุติธรรม 7. หลักการยอมรับในทุกระดับเจ้าหน้าที่ 13
การจัดสวัสดิการของสถานประกอบกิจการต้องคำนึงถึงการจัดสวัสดิการของสถานประกอบกิจการต้องคำนึงถึง 1. ความต้องการที่แท้จริงของลูกจ้าง จะทำให้การจัด สวัสดิการเหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกจ้าง 2. สถานประกอบกิจการควรเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการได้มากยิ่งขึ้น อาจเป็นความร่วมมือระหว่างสถานประกอบกิจการและสหภาพแรงงาน หรือคณะกรรมการลูกจ้าง หรือคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ 14
3. สถานประกอบกิจการทุกแห่งควรร่วมมือกันสำรวจ ข้อมูลสวัสดิการแต่ละประเภท เนื่องจากสถานประกอบ กิจการแต่ละแห่งมีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ สวัสดิการแรงงานแต่ละด้านแตกต่างกัน น่าจะเป็นประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 4. สถานประกอบกิจการต้องวางแผนใช้งบประมาณในการ จัดสวัสดิการแต่ละประเภท 5. สถานประกอบกิจการควรนำรูปแบบของสวัสดิการแบบ ยืดหยุ่นมาใช้ และทำให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการตรงกับความต้องการ 15
ความจำเป็นหรือมูลเหตุจูงใจให้นายจ้าง จัดสวัสดิการ 1. เป็นสิ่งจูงใจให้แก่ลูกจ้าง 2. เป็นความต้องการหรือความจำเป็นของนายจ้าง 3. เป็นผลเนื่องมาจากการเจรจาต่อรองกับสหภาพแรงงาน 4. กฎหมายบังคับ 16
คณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการมาจากไหน ความเป็นมา รัฐให้การส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้มีการจัดสวัสดิการแรงงาน 17
เพื่อลดปัญหา ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ความแตกต่างในรูปแบบวิธีการจัดสวัสดิการตาม ลักษณะงาน วิธีการทำงาน ประเภทกิจการ ผลเสียต่อสถานประกอบกิจการสภาพและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 18
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2541 จึงได้กำหนด หมวด 7 สวัสดิการ 19
มาตรา 92 ให้มีคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ประกอบด้วย - ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน - กรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาล 4 คน - กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 5 คน - กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง 5 คน - ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็น เลขานุการคณะกรรมการ โดยรัฐมนตรีแต่งตั้ง 20
มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 93 (1) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แนวทางและมาตรการด้านสวัสดิการแรงงาน (2) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (3) ให้คำแนะนำในการจัดสวัสดิการแรงงานสำหรับสถานประกอบกิจการแต่ละประเภท (4) ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรี 21
(5) ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 120 (6) ปฎิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย 22
กำหนดให้รัฐมนตรี มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้ • นายจ้างต้องจัดสวัสดิการใน เรื่องใด • ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด • (มาตรา 95) 23
กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการประกอบด้วยกำหนดให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการประกอบด้วย สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป มาจากผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยห้าคน มาจากการเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีที่อธิบดีกำหนด ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ถ้ามีคณะกรรมการลูกจ้างตามกฏหมายแรงงานสัมพันธ์ให้ทำหน้าที่คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (มาตรา 96) 24
อำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (1) ร่วมหารือกับนายจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง (2) ให้คำปรึกษาหารือและเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง (3) ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้าง จัดให้แก่ลูกจ้าง (4) เสนอข้อคิดเห็นและแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน (มาตรา 97) 25
กำหนดให้นายจ้าง จัดให้มีการประชุมกับคณะกรรมการ สวัสดิการในสถานประกอบกิจการ อย่างน้อยสามเดือนต่อหนึ่งครั้ง กรรมการเกินกึ่งหนึ่ง สหภาพร้องขอ (มาตรา 98) โดยมีเหตุผลอันสมควร 26
นายจ้างต้องปิดประกาศ ณ สถานที่ทำงานโดยเปิดเผย • การจัดสวัสดิการตามกฎ กระทรวงที่ออกตามมาตรา 95 ตามที่มีข้อตกลง (มาตรา 99) 27
คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ หมายถึง ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? อย่างไร? 28
คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ หมายถึง ตัวแทนของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่จะร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างเพื่อจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง เป็นสื่อกลางที่จะถ่ายทอดความต้องการด้านสวัสดิการของลูกจ้างให้นายจ้างทราบ และร่วมปรึกษาหารือให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจนตรวจสอบ ดูแลการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ 29
โครงสร้างของคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ จำแนกออกได้ 2 ลักษณะ คือ คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบ กิจการที่มาจากการเลือกตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ 30
ลักษณะที่ 1คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ที่มาจากการเลือกตั้ง ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ให้เลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานได้หนึ่งคณะ ซึ่งถ้าสถานประกอบกิจการแห่งนั้นมีสำนักงานสาขา หรือหน่วยงานของนายจ้างแต่ละแห่งที่ตั้งอยู่ภายนอก และ แต่ละแห่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ก็ให้สาขาหรือหน่วยงานนั้น ๆ เลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ในสถานประกอบกิจการขึ้นด้วย 31
ลักษณะที่ 2 คณะกรรมการลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 96 กำหนดว่า สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการอย่างน้อย 5 คน ตัวแทนลูกจ้าง ที่มาจากการเลือกตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 32 หน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ ควรทำอะไร? 33
แนวทางการดำเนินงานคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ 1. ควรตั้งประธานกรรมการโดยการเลือกกันเองระหว่าง กรรมการด้วยกันเพื่อทำหน้าที่ 2. ควรแต่งตั้งเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ด้านธุรการ 3. คณะกรรมการฯ ควรกำหนดเวลาพบปะพูดคุยกันเป็น ครั้งคราว เพื่อหารือปัญหาหรือหาข้อมูลด้านสวัสดิการ 4. กรรมการทุกคนควรศึกษาถึงอำนาจหน้าที่ของตนให้ เข้าใจชัดเจน 34
5. กรรมการทุกคนควรปฏิบัติตนให้เป็นที่ยอมรับของลูกจ้างนายจ้าง 6. ถ้านายจ้างไม่จัดให้มีการประชุมหารือ กับคณะกรรมการอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง คณะกรรมการควรสอบถามจากนายจ้างเพื่อขอให้เปิดประชุมโดยเร็ว 7. คณะกรรมการและนายจ้างควรวางแนวทาง ที่จะปฏิบัติต่อกันและกำหนดแบบแผนการประชุม ให้แจ้งชัด 35
8. เมื่อมีการหารือกันแล้วควรนำผลการหารือ ไปปฏิบัติ สรุปบันทึกการประชุม ประชาสัมพันธ์ กำหนดหน้าที่ ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ติดตามผล (มติที่ประชุม) 36
9. ควรประชาสัมพันธ์ผลสรุปหรือมติของการประชุม ให้ลูกจ้างทุกคนทราบ 10. คณะกรรมการควรใช้ดุลพินิจถึงความเหมาะสม ในการขอให้นายจ้างจัดสวัสดิการ 11. อาจเสนอแนะแนวทางการจัดสวัสดิการให้ คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน 37
คณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการควรทำ ที่ไหน? อย่างไร? 38
ข้อควรคำนึงในการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ปฏิบัติงานเป็นตัวอย่างอันดีแก่ลูกจ้างทั่วไป การหารือของกรรมการควรหารือนอกเวลาทำงาน หากหารือในเวลางานควรขออนุญาตจากนายจ้างก่อน ต้องมีความรับผิดชอบและพร้อมเสมอที่จะปฏิบัติงาน ทั้งสองสถานะ ต้องมีความเสียสละอย่างสูงทั้งกำลังความคิด กำลังกาย และความสะดวกสบายต่าง ๆ การปรึกษาหารือร่วมกับนายจ้างเพื่อให้เกิดการจัด สวัสดิการให้ลูกจ้าง มิใช่การยื่นข้อเรียกร้อง 39
ข้อเสนอแนะเรื่องที่จะนำเข้าประชุมฯข้อเสนอแนะเรื่องที่จะนำเข้าประชุมฯ 1. สวัสดิการตามกฎหมาย 2. สวัสดิการนอกเหนือกฎหมายที่นายจ้างจัดให้อยู่แล้ว 3. สวัสดิการที่ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยราชการ 4. โครงการ/เรื่อง ต่าง ๆ ที่หน่วยราชการขอความร่วมมือ 5. สวัสดิการที่นายจ้างคาดว่าจะจัดให้ 6. เรื่องที่นายจ้างเห็นควรประชาสัมพันธ์/ชี้แจง/ หยั่งความคิดเห็น 7. สวัสดิการ/เรื่อง ที่คณะกรรมการฯ เสนอความคิดเห็น ฯลฯ 40
บทบาทของคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ สร้างความเชื่อถือให้แก่นายจ้าง ให้ความร่วมมือในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ แก่ทั้งสองฝ่าย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เสียสละเพื่องานของกรรมการฯ เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ติดตามเรื่องที่ได้มีการเสนอแนะตกลงกันไว้ แจ้งผลการเจรจาตกลงให้ลูกจ้างทราบ 41
บทบาทของนายจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ควรทำอะไร? ที่ไหน ? เมื่อไหร่ ? อย่างไร ? 42
หน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายของ นายจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ เมื่อมีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ให้จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการฯ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยห้าคน ซึ่งได้มาจากการเลือกตั้งตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด จัดให้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการสวัสดิการอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง หรือเมื่อกรรมการเกินกึ่งหนึ่ง หรือสหภาพ แรงงานร้องขอโดยมีเหตุผลสมควร ปิดประกาศการจัดสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่มีข้อตกลงกับลูกจ้าง จัดสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนดและตามที่มีข้อตกลงกัน 43
แนวทางการดำเนินงานของนายจ้าง ที่พึงมีต่อคณะกรรมการสวัสดิการฯ กำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นตัวแทนนายจ้างในการหารือกับคณะกรรมการสวัสดิการฯ กำหนดนโยบายและให้ความรู้แก่ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ให้การยอมรับคณะกรรมการสวัสดิการฯ เตรียมจัดทำงบประมาณ ให้หลักประกันความมั่นใจในการทำงานของคณะกรรมการสวัสดิการฯ ปฏิบัติตามผลที่ได้มีการหารือกัน 44
ให้ข้อมูลข่าวสารที่จะช่วยในการบริหารงานของคณะกรรมการสวัสดิการฯ จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันในด้านสังคมและสวัสดิการ เปิดโอกาสให้กรรมการสวัสดิการฯ หารือได้ตลอดเวลา แจ้งผลการหารือให้ลูกจ้างทราบ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ลูกจ้างในการดำเนินการตามโครงการที่ได้มีการตกลงกัน 45
ประโยชน์ของคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของลูกจ้างเป็นแนวทางในการปรับปรุงสวัสดิการและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย โดยการใช้กลไกการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงานของสถานประกอบกิจการ 46
สรุปสุดท้าย จะต้องมีบทกำหนดโทษ หมวด 16 บทกำหนดโทษ มาตรา 144นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 95 ไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ 47