1 / 17

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บันทึก. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. สมุดประจำตัวผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. โรงพยาบาล ........................................................................... ชื่อ – นามสกุล ...........................................................................

gaius
Download Presentation

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บันทึก ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สมุดประจำตัวผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาล ........................................................................... ชื่อ – นามสกุล ........................................................................... HN ........................................................................................... สนับสนุนโดย สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โปรดนำสมุดมาทุกครั้งที่มารับบริการในสถานบริการสุขภาพทุกแห่ง ทีมให้การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ Produced by Planning section & Medical illustration and Audiovisual uttaradit hospital : June 2008 กรุณาอย่าทำหาย

  2. ข้อมูลส่วนตัว การทำความสะอาดเครื่องสูดพ่นยาทางปาก 33 2 HN ............................................. วัน/เดือน/ปี ที่บันทึก ......................................................................................................... ชื่อ - นามสกุล ......................................................................................................... วัน/เดือน/ปี เกิด .......................................................................................................... ที่อยู่ ......................................................................................................... ......................................................................................................................................... ......................................................................................................................................... เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ ที่บ้าน ....................................................................................................................... ที่ทำงาน ........................................................................................................................ เริ่มวินิจฉัยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เมื่อ ......................... /............................./...................... น้ำหนัก .................... กก. ส่วนสูง ..................... ซม. ดัชนีมวลกาย ..................... กก./ตร.ม.2 น้ำหนักที่ควรจะเป็น ............................................. กก. โรคประจำตัวอื่นๆ (โรคร่วม) ........................................................................................................................................ ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................ การแพ้ยา ......................................................................................................................................... ......................................................................................................................................... ......................................................................................................................................... ภาวะแทรกซ้อน Pulmonary HT Corpulmonale มีการประเมินการใช้ long-term o2 therapy …………..L/min วันละ .............. ชั่วโมง ควรทำ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 1. ดึงหลอดยาออกจากกระบอกพลาสติกและเปิดฝาครอบปาก กระบอกพ่นยาออก 2. ล้างกระบอกพลาสติกและฝาครอบปากกระบอกพ่นยาด้วย น้ำอุ่นให้สะอาด 3. เช็ดให้แห้งทั้งภายในและภายนอก 4. บรรจุหลอดยาและฝาครอบปากกระบอกพ่นไว้ตามเดิม

  3. การรักษาด้วยยา กำหนดนัดแพทย์ 31 4 เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีและหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วย ควรปฏิบัติตัวดังนี้ 1. ผู้ป่วยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาหรือหยุดยาเอง ไม่ควรซื้อยารับประทานเองหรือหากจำเป็นต้องตรวจรักษาจากโรงพยาบาลอื่นหรือตามคลินิก ควรนำยาที่ได้รับติดตัวมาด้วย เพื่อป้องกันการได้รับยาซ้ำซ้อน 2. หากเกิดอาการผิดปกติหลังการใช้ยาควรรีบแจ้งแพทย์ เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา 3. ผู้ป่วยควรเข้าใจวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง เช่น ยาชนิดออกฤทธิ์ช้า ไม่ควรเคี้ยวหรือบดเม็ดยา เพื่อรับประทาน ยาสูดพ่นทางปากซึ่งต้องอาศัยเทคนิคการใช้ที่ถูกต้อง ซึ่งยาสูดพ่นทางปากมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่พบว่ามีการใช้ในผู้ป่วยจำนวนมาก ของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์จะเป็นแบบ “ มีเทอร์เรด โดส อินเฮเลอร์ (เอ็มดีไอ) (Metered dose inhalers (MDI) ) ” มีเทอร์เรด โดส อินเฮเลอร์ (เอ็มดีไอ) (Metered dose inhalers (MDI) ) วิธีและเทคนิคการพ่นยา 1. เขย่ากระบอกพ่น 2. เปิดฝาครอบออก 3. ถือกระบอกพ่นยาตั้งขึ้นให้อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ โดยให้นิ้วหัวแม่มือรอง ด้านล่างใต้ปากกระบอกพ่น ดังรูป

  4. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย ตารางบันทึกการตรวจ 29 6 การออกกำลังกายในแต่ละท่าควรปฏิบัติอย่างช้า ๆ และไม่หักโหมจนเกินไปในการออกกำลังกายแต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณ 30 นาที สำหรับผู้ไม่เคยออกกำลังกายหรือผู้ป่วยโรคปอดที่มีอาการหอบเหนื่อยง่ายในวันแรกอาจเริ่ม15 นาทีก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มจนได้อย่างน้อย 30 นาที หรืออาจจะออกกำลังกายเป็นช่วงๆ สลับกับการหยุดพักแล้วทำต่อจนครบ 30 นาที การออกกำลังกาย ควรทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และควรมีการหยุดพักไม่ควรทำติดกันทุกวัน เช่น ใน 1 สัปดาห์อาจออกกำลังกายทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ หยุดพักวันอังคาร และวันพฤหัสบดี เพื่อให้ร่างกายไม่อ่อนล้าจนเกินไป แต่ถ้าหากพบอาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย เช่น การหายใจลำบาก เหนื่อยหอบมาเวียนศีรษะ หน้ามืด หัวใจเต้นแรงและเร็ว รู้สึกอ่อนล้า ควรหยุดออกกำลังกายแล้วพักในท่าที่ผ่อนคลาย เช่น นั่งเก้าอี้แล้วก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย หรือยืนพิงฝาผนังแล้วก้มตัวไปขางหน้าเล็กน้อยเช่นกัน พร้อมกับหายใจแบบเป่าปากสลับกับการหายใจแบบปกติ

  5. ตารางบันทึกการใช้รับยาตารางบันทึกการใช้รับยา พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย 27 8 2. ระยะการออกกำลังกาย : เป็นการออกกำลังกายที่หนักขึ้น ใช้เวลาอย่างน้อย 20 นาที โดยการปฏิบัติในแต่ละท่าอย่างน้อย 5 - 10 ครั้ง ประกอบด้วยท่าต่าง ๆ ดังนี้ (ลงเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับ) • ท่านั่งกางแขน : นั่งบนเก้าอี้ในท่าผ่อนคลาย จากนั้นยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาบริเวณ • หน้าอกพร้อมกับสูดลมหายใจให้เต็มที่กางแขนออก จากนั้นหายใจออกแบบเป่าปาก • พร้อมกับเอาแขนมาชิดอก ทำซ้ำอีกเช่นเดิม • ท่าบริหารไหล่ : ยกแขนทั้งสองข้างมาแตะที่หัวไหล่พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าให้เต็มที่ • จากนั้นหายใจออกแบบเป่าปากพร้อมกับกางแขนออก ทำซ้ำอีกเช่นเดิม • ท่าเหยียดเข่า - งอเข่า : นั่งบนเก้าอี้ในท่าผ่อนคลาย จากนั้นเหยียดเข่าขึ้นพร้อมกับ • สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ให้เต็มที่ จากนั้นหายใจออกแบบเป่าปากช้าๆ พร้อมกับงอเข่าลง • (ทำทีละข้างหรือสลับก็ได้) ทำซ้ำอีกเช่นเดิม

  6. ตารางบันทึกกิจกรรมการให้ความรู้ตารางบันทึกกิจกรรมการให้ความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายปอด 25 10 * ฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม ดังนี้ จัดท่าให้อยู่ในท่าผ่อนคลายวางมือข้างหนึ่งที่บริเวณทรวงอกใต้กระดูกไหปลาร้าและวางมืออีกข้างหนึ่งที่บริเวณท้องเหนือสะดือ สูดหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูกให้ได้มากที่สุดให้ท้องป่องดันมือที่วางบริเวณท้องให้สูงขึ้นและค้างไว้ในช่วงสุดท้ายของการหายใจเข้าประมาณ 2-4 วินาที แล้วจึงหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับแขม่วท้องให้แฟบลง (ดังรูป) ทำครั้งละประมาณ 5-10 นาทีแล้วหยุดพัก เพื่อป้องกันการหายใจเร็วปฏิบัติวันละประมาณ 2 - 3 ครั้ง การฝึกควบคุมการหายใจแบบเป่าปาก และการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลมควรทำควบคู่กันไป * ฝึกการไออย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จัดท่าให้อยู่ในท่าผ่อนคลาย ถ้าสามารถนั่งได้ให้นั่งโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย จากนั้นหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกที่สุด กลั้นลมหายใจไว้ประมาณ 1 วินาที แล้วอ้าปากไอออกมาทันที โดยเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไว้ พร้อมกับโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ไอออกมาแรงๆ เต็มที่ 1-2ครั้งต่อการหายใจออก 1 ครั้ง (ดังรูป)

  7. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายปอดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายปอด 23 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 12 ผู้ป่วยโรคปอดจะทำกิจวัตรต่างๆ ได้ลดลงเนื่องจากภาวะหอบเหนื่อยง่าย ซึ่งส่งผลให้สูญเสียความทนทานของกล้ามเนื้อต่อการออกกำลังไปอย่างมาก เมื่อความทนทานในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ลดลงก็ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยล้ามากขึ้นไปอีกเป็นวงจรวนกันอยู่เช่นนี้ ดังนั้นพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและค่อยเป็นค่อยไปตามสภาวะของผู้ป่วย ร่วมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการผ่อนคลายจะตัดวงจรนี้ได้ ทำให้สมรรถภาพของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้เต็มศักยภาพ ลดความเบื่ออาหาร นอนหลับได้ดีขึ้นและเหนื่อยง่ายน้อยลง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 1. ความรู้เกี่ยวกับโรค 2. อาหาร 3. การออกกำลังกายปอด (ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด) 4. การพ่นยา 5. การหยุดบุหรี่ วิธีการผ่อนคลายทำได้ดังนี้ หากเกิดอาการหายใจลำบากเมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจวัตรประจำวัน ควรหยุดพักใน ท่าต่าง ๆ ที่ช่วยให้บรรเทาหรือผ่อนคลายดังนี้ ยืนพิงโต๊ะหรือพนักเก้าอี้พร้อมกับโน้มตัวมา ด้านหน้า แขนสองข้างวางที่โต๊ะหรือเก้าอี้ ยืนพิงฝาผนังพร้อมกับโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย นั่งเก้าอี้พร้อมกับโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย นั่งฟุบลงบนหมอนที่วางบนโต๊ะ

  8. อาหาร อาการแสดง 21 14 ในระยะแรกอาจไม่พบความผิดปกติทางด้านร่างกาย แต่เมื่อ ถูกทำลายเป็นระยะเวลานานจึงเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ คำแนะนำในการเลือกรับประทาน อาหารที่ควรเลี่ยง อาหารปิ้งทอดจนกรอบ เกรียม จะย่อยยากและเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของเนื้อเยื่อ ร่างกาย เช่น ปลาท่องโก๋ ไข่ดาวกรอบ เนื้อสัตว์หรืออาหารไหม้ อาหารใส่ผงชูรส ผงปรุงรสต่างๆ ให้งดหรือลดการกิน เลือก ไขมัน - ใช้น้ำมันรำข้าว, น้ำมันถั่วเหลือง ทำอาหาร กินกะทิพอควร เนื้อสัตว์ - กินไข่ 3 - 5 ฟอง ต่อสัปดาห์ (ไข่สุก) - กินปลาเป็นประจำ เพราะย่อยง่าย เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงสุกมื้อละ 2-4 ช้อน กินข้าว - เต้าหู้ ชนิดต่างๆกินได้ตามชอบ ควรกินอาหารทะเลและเครื่องในสัตว์บ้าง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ผัก - กินผักดิบหรือผักสุกให้มากขึ้นได้ทุกชนิด ผลไม้ - กินผลไม้สดแทนขนมหวาน ผักและผลไม้มีวิตามินแร่ธาตุที่ช่วยชะลอความ ความเสื่อมของเซล ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งจึงควรกินประจำทุกมื้ออาหาร ข้าวแป้ง - เลือกกินข้าวได้ทุกชนิด เส้นก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ข้าวโพด น้ำ - ควรดื่มน้ำอุ่นเพื่อบรรเทาเสมหะ อาการระคายคอ ดื่มน้ำให้มาก วันละประมาณ 10 แก้ว ควรจิบน้ำบ่อยๆ ไม่ควรบีบน้ำมะนาวลงคอโดยตรงควรดื่มเป็นน้ำ สมุนไพร เช่น น้ำมะนาว น้ำขิง น้ำตะไคร้ อาหารเสริม - เลือกดื่มนมจืดได้ทุกชนิด เช่นถ้ามีปัญหาไขมันในเลือด เลือกนม (นมพร่องมันเนย) ถ้าต้องการเพิ่มน้ำหนักตัวเลือกนมได้ทุกชนิด แต่ไม่ควรเป็นนมรสผลไม้ กาแฟ ช็อกโกแลต เพราะ ปริมาณน้ำนมจะน้อยและมีน้ำตาลมาก (ดื่มนมวันละ 1- 2 กล่อง) - นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต สำหรับผู้ที่ดื่มนมแล้วท้องเสีย - ไม่ควรซื้อวิตามิน อาหารเสริมที่โฆษณาหรือตามคำบอกเล่า ควรปรึกษาแพทย์ก่อน นอกจากไม่คุ้มเงินยังเกิดโทษได้ - อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป 1. อาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก 2. ไอมีเสมหะมากในตอนเช้าหรือเมื่อมีอาการเปลี่ยนท่า 3. หายใจมีเสียงดัง 4. ต้องใช้กล้ามเนื้อสำรองช่วยในการหายใจ เช่น กล้ามเนื้อที่คอ ไหล่ หน้าท้อง 5. ถ้ามีระดับความรุนแรงของโรคมากขึ้น ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต จากภาวะการหายใจล้มเหลวและภาวะหัวใจวายจากโรคปอด

  9. แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพ (ต่อ) 19 คำแนะนำในการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพ 16 วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติกิจกรรม * การใช้ยาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยควรทราบเรื่อง - การออกฤทธิ์ อาการข้างเคียง - วิธีการใช้ยากินและยาพ่นที่ถูกต้องตามคำแนะนำแพทย์ เพื่อควบคุมและลดระดับความรุนแรงของโรค ให้ปอดสามารถทำงาน ได้ดังเดิมหรือชะลอการเสื่อมสภาพการทำงานของปอดให้นานที่สุด หาก ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ของโรคที่ดีขึ้น

  10. การรักษาด้วยยา กำหนดนัดแพทย์ 3 32 4. หายใจออกให้สุด แล้วใช้ริมฝีปากอมรอบปากกระบอกพ่นให้สนิท 5. หายใจเข้าทางปากช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับกดส่วนบนของกระบอกพ่น ลงให้สุดๆ 1 ครั้งตัวยาจะถูกพ่นเข้าสู่ลำคอทันที 6. กลั้นหายใจประมาณ 10 วินาที จากนั้นเอาหลอดยาพ่นออกจากปาก 7. ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกโดยเอาหลอดยาพ่นออกจากปาก 8. ถ้าจะพ่นซ้ำ ให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 10 วินาที แล้วจึงเริ่มทำตามข้อ 2-7 9. หลังสูดพ่นยาเสร็จเรียบร้อย ให้กลั้วปากและคอด้วยน้ำสะอาดแล้วบ้วนทิ้ง เพื่อลดการเกิดเชื้อราในช่องปาก

  11. กำหนดนัดแพทย์ การรักษาด้วยยา 5 30 การเลือกใช้ยาของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงการตอบสนองต่อการรักษาแต่ละชนิด แพทย์จะติดตามผลและประเมินการรักษาว่าได้ผลหรือไม่และพิจารณาเพิ่มหรือลดยาตามอาการของผู้ป่วย ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่สามารถชะลอหรือลดการเสื่อมสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยได้แต่ใช้ยา เพื่อลดอาการของผู้ป่วยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ยาที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ ยาขยายหลอดลม ใช้เพื่อควบคุมอาการและลดอาการเหนื่อย นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ยาขยายหลอดลมมีทั้งรูปแบบสูดพ่นทางปากและรูปแบบเม็ดสำหรับรับประทาน ส่วนใหญ่นิยมใช้ยาแบบสูดพ่น ทางปาก เพื่อลดผลข้างเคียงจากยา โดยผลข้างเคียงที่พบได้ เช่น ใจสั่น มือสั่น เป็นตะคริว ซึ่งอาจพบอาการเหล่านี้ได้ในผู้ป่วยบางราย ซึ่งหากเกิดอาการเช่นนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ใช้เพื่อลดการเกิดอาการกำเริบของโรคลงได้ และทำให้อาการดีขึ้นได้บ้าง ยามีทั้งรูปแบบสูดพ่นทางปากและรูปแบบเม็ดสำหรับรับประทาน ส่วนใหญ่นิยมใช้แบบสูดพ่นทางปาก ซึ่งต้องใช้ยาต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน จนกว่าแพทย์พิจารณาปรับยา โดยผลข้างเคียงที่พบได้ เช่น เกิดฝ้าขาวในช่องปาก เนื่องจากเชื้อรา ดังนั้นจึงควรบ้วนปากทุกครั้งหลังสูดพ่นยา นอกจากนี้อาจพบอาการเสียงแหบ ไอ ระคายคอได้ ซึ่งหากเกิดอาการเช่นนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ส่วนยารูปแบบเม็ดมักใช้ในระยะสั้น เนื่องจากผลข้างเคียงมาก เช่น ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น การให้ Influenza vaccine (วัคซีนไข้หวัดใหญ่) แก่ผู้ป่วยเพื่อลดการป่วยที่รุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วย เนื่องจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุของการเกิดการกำเริบของโรคได้และเสียชีวิตของผู้ป่วย

  12. ตารางบันทึกการใช้รับยาตารางบันทึกการใช้รับยา พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย 7 28 (ลงเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับ) • ท่าย่อ – ยืด : มือข้างหนึ่งจับที่พนักเก้าอี้ มืออีกข้างจับที่เอว ย่อเข่าลงช้าๆ พร้อมกับหายใจออกแบบเป่าปาก เหยียดเข่าขึ้นให้ตัวตั้งตรงพร้อมกับสูดลมหายใจเข้าเต็มที่ ทำซ้ำอีกเช่นเดิม 3. ระยะผ่อนคลาย :เป็นการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยการนั่งปล่อยแขนตามสบายพร้อมกับหายใจออกแบบเป่าปาก จากนั้นสูดลมหายใจเข้าช้าๆ พร้อมกับยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ ลดมือลงพร้อมกับหายใจออกแบบเป่าปาก ทำซ้ำอีกเช่นเดิม การทำในระยะนี้ควรใช้เวลาประมาณ 5 – 10นาที

  13. ตารางบันทึกกิจกรรมการให้ความรู้ตารางบันทึกกิจกรรมการให้ความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย 9 26 • การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อสุขภาพในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง มีความทนทาน และความยืดหยุ่นที่ดี รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหัวใจและปอด ทำให้ลดอาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวลและความซึมเศร้า การออกกำลังกายมีขั้นตอนดังนี้ 1. ระยะการอบอุ่นร่างกาย :โดยการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ลำตัว แขน และทรวงอก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีและมีการขยายตัวของ ทรวงอก ระยะนี้ควรใช้เวลาทำ 5 - 10 นาที • ท่ายืดผนังทรวงอกด้านหน้าและหลัง โดยยกแขนขึ้นแยกกันเป็นรูปตัว V เหนือ • ศีรษะพร้อมกับหายใจเข้าและนั่งโน้มตัวมาด้านหน้าในขณะหายใจออก ดังรูป * ท่ายืดทรวงอกด้านข้าง โดยในช่วงหายใจเข้าให้เอียงตัวมาด้านขวาพร้อมกับยกแขน ซ้ายขึ้น เอียงตัวกลับมานั่งตรงในช่วงหายใจออก ทำสลับกันทั้งสองข้าง ดังรูป

  14. บันทึกเพิ่มเติม 11 วิธีการบริหารการหายใจและการออกกำลังกายปอด 24 ประโยชน์ของการบริหารการหายใจและการออกกำลังกายปอด 1. เพิ่มปริมาตรของอากาศในปอด 2. เพิ่มความอิ่มตัวของออกซิเจน 3. มีการนำออกซิเจนไปใช้ได้ดีขึ้น 4. ลดอาการหายใจลำบากและหอบเหนื่อย วิธีการบริหารการหายใจโดยการควบคุมการหายใจ ในลักษณะดังต่อไปนี้ * เริ่มจากสูดลมหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกที่สุดโดยที่ท้องต้องป่องออกมา จากนั้น หายใจออกทางปากช้าๆ ในลักษณะเป่าปากจนท้องแฟบลงปฏิบัติช้ำเช่นนี้ ประมาณ 5 - 10 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น ออก เข้า

  15. อาหาร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) 13 22 ความหมาย ข้อควรปฏิบัติ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนล่าง ประกอบด้วยโรคหลอดลมอักเสบอุดกั้นเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพองที่มีการอุดกั้นของหลอดลม เป็นโรคที่มีการดำเนินของโรคช้าๆ พยาธิสภาพการอุดกั้นของทางเดินอากาศส่วนใหญ่ ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถป้องกันและควบคุมระดับความรุนแรงของโรคได้ 1. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด รับประทานช้าๆเพื่อไม่ให้สำลัก เลือกอาหารที่อ่อนนุ่ม ย่อยง่าย 2. เพิ่มมื้ออาหาร รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งขึ้นในผู้ที่น้ำหนัก น้อย ส่วนผู้ที่น้ำหนักมากให้ลดอาหารไขมัน แป้ง น้ำตาลลง ปรับได้ตามภารกิจ ประจำวันของแต่ละคนแต่ไม่ควรอดอาหาร 3. อาหารบางชนิดเมื่อกินแล้วมีก๊าซมากทำให้ แน่น อึดอัด เช่น กินอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์มากเกินไป ผักบางชนิดเช่น หอมใหญ่ หัวไชเท้า กะหล่ำปลี ผลไม้เช่น แอปเปิ้ล กล้วย หอม ถั่ว อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง เมื่อ ได้พักและควรฝึกการขับถ่ายทุกวัน 4. กินอาหารสะอาด หากมีอาหารท้องเสียให้ดื่มเกลือแร่ โออาร์เอส หากมี อาการเหนื่อยเพลียมากควรรีบพบแพทย์ 5. หากท่านมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วยควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อคุมอาหาร ปัจจัยเสี่ยง ที่ส่งเสริมให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 1.การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการส่งเสริมให้เกิดโรค เนื่องจากในควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมี ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดลม 2. การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ขบวนการอักเสบจากการติดเชื้อสามารถทำลายโครงสร้างภายในปอดได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพ 3. มลพิษทางอากาศและการแพ้สารระคายเคืองต่างๆ เช่น ควันรถและควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ สถานที่อับชื้น เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณหลอดลมใหญ่ ส่งผลทำให้เกิดการทำลายทางเดินหายใจและถุงลม เกิดเป็นพังผืดที่ปอด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง 4. การเสื่อมลงตามอายุของการทำงานของปอด และการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง ทำให้การทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพ 5. ปัจจัยด้านองค์ประกอบทางพันธุกรรม เช่น การขาดเอนไซม์อัลฟาวัน แอนตี้ ทริปซิน

  16. วิธีการรักษา อาหาร 15 20 • อาหาร เป็นแหล่งของพลังงานและสารอาหารที่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค เพื่อสุขภาพท่านควรใส่ใจกับอาหารที่รับประทานเพื่อไม่ให้ร่างกายซูบผอมส่วนใหญ่ ท่านมักรับประทานอาหารได้น้อย อืดท้อง ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย มีความเครียด และสูงวัยสำหรับการปฏิบัติตัวเรื่องอาหารหากไม่มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย เรื่องอาหารแทบไม่มีข้อจำกัดเพียงเลือกอาหารที่มีประโยชน์ หากท่านผอมก็รับประทานให้มากขึ้น หากอ้วนไปก็ต้องคุมน้ำหนักจึงไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะรับประทานอาหารอะไรไม่ได้ • คำแนะนำในการเลือกรับประทานอาหาร • ลด • - ขนมหวาน อาหารที่มีแป้งมาก เพราะมีผลทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบได้ • หากรับประทานมาก เนื่องจากปอดจะต้องขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็น • ของเสียจากการรับประทานอาหารประเภทนี้ออก • - เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ จะเพิ่มแรงดันโลหิตเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและทำลายสุขภาพ • กาแฟ ชา โกโก้ การดื่มกาแฟทำให้นอนไม่หลับ ในผู้สูงอายุควรเลี่ยงหรือลดปริมาณหลังบ่าย • ไม่ควรดื่ม • - น้ำอัดลม โซดา ไม่ได้ช่วยให้หายท้องอืดหรือเรอ ก๊าซที่อัดลงเครื่องดื่มเหล่านี้คือ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้ปอดต้องทำงานหนักขึ้นและมีกรดทำให้ • กระดูกบาง • เมื่อมีอาการบวม แน่น เหนื่อยหอบหรือความดันโลหิตสูง ควรกินอาหารเค็มน้อยลง เลี่ยงผงชูรส 1. การรักษาทางยา 1.1 การใช้ยาขยายหลอดลม เพื่อช่วยลดการหดเกร็งของหลอดลม 1.2 ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดปฏิกิริยาการอักเสบ 1.3 ยาปฏิชีวนะ ใช้เพื่อทำลายเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ 2. การรักษาโดยการให้ก๊าซออกซิเจน เมื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจนในร่างกาย 3. การดูแลรักษาสุขภาพตามแนวทางการปฏิบัติพฤติกรรม การดูแลสุขภาพ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายและการทำงานของปอด ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางด้านร่างกายและจิตใจที่ทำให้เกิดโรค หากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ จะช่วยลดระดับความรุนแรงของโรคได้

  17. แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพแนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพ แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพ (ต่อ) 17 18 ประกอบด้วย 3 ด้าน * การมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม ผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จากอาหารที่มีสารอาหารดังต่อไปนี้ - วิตามินอี พบในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันดอกคำฝอย เนื้อสัตว์ เนยและไข่ - วิตามินซี พบในผักและผลไม้สด เช่น ส้มเขียวหวาน สับปะรด ฝรั่ง รวมทั้งอาหารจากสัตว์ เช่น ตับ ไข่ปลา - ซีลีเนียม พบมากในอาหารทะเลและเนื้อสัตว์ - เบต้าแคโรทีน พบในพืชใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บล็อกโคลี่ ผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ฟักทอง มะม่วงสุก แครอท เป็นต้น 1. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพ เป็นการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อป้องกันการเกิดอาการกำเริบรุนแรงกลับซ้ำของโรค * การปฏิบัติตนในการป้องกันการเกิดอาการหายใจลำบาก - หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ - หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ - หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่อับชื้น อากาศร้อนมากหรือเย็นมาก - หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ เป็นต้น - หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศเป็นพิษ เช่น บริเวณใกล้ โรงงานอุตสาหกรรมหรือเส้นทางที่มีการจราจรติดขัด เป็นต้น - หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดและมีการระบายอากาศที่ไม่ดี เช่น โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า เป็นต้น - หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียด - รักษาสุขภาพปากและฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในช่องปากซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย - หมั่นสังเกตอาการผิดปกติทางร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น การไอบ่อยมีเสมหะจำนวนมาก คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น อาการหายใจลำบากที่รุนแรงมากขึ้น - รับการตรวจรักษาตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การพ่นยา 3 ครั้งไม่ดีขึ้น ให้มาพบแพทย์ ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานอาหาร - ดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร 15-30 นาที และดื่มน้ำเพียงเล็กน้อยหลังรับประทานอาหาร - ดื่มน้ำอุ่นอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน - รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายๆ มื้อละอย่างน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง 4-6 มื้อต่อวัน - รับประทานอาหารช้าๆ ระวังไม่ให้สำลักติดคอ - จำกัดอาหารรสเค็ม - ควรมีเวลาพักผ่อนก่อนและหลังรับประทานอาหารประมาณ 15-30 นาที - หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ เช่น ต้นหอม กะหล่ำปลี อาหารหมักดอง และถั่ว เป็นต้น - หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์

More Related