640 likes | 1.01k Views
บทที่ 3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย. อาจารย์สนธยา เรืองหิรัญ. วัตถุประสงค์. รู้เหตุผลว่าทำไมต้องมีการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย จากเงินได้ประเภทต่าง ๆ ได้ ทราบถึงบทลงโทษ เกี่ยวกับการไม่จ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีต่างๆ
E N D
บทที่ 3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย อาจารย์สนธยา เรืองหิรัญ
วัตถุประสงค์ • รู้เหตุผลว่าทำไมต้องมีการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย • สามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย จากเงินได้ประเภทต่าง ๆ ได้ • ทราบถึงบทลงโทษ เกี่ยวกับการไม่จ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีต่างๆ • นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเขียนในแบบแสดงรายการเพื่อยื่นภาษีประจำปีได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย คือการเสียภาษีวิธีหนึ่งของผู้มีเงินได้ โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ในบางกรณีทำหน้าที่คำนวณหักเงินไว้ และนำส่งสรรพากรแทนผู้มีเงินได้ โดยภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้ ให้ถือเป็น เครดิตภาษี
การหักภาษี ณ ที่จ่าย • 1. หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 • 2. หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส
การหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้คำนวณเหมือนภาษีเงินได้ตอนสิ้นปี โดยเงินได้ที่คำนวณ เสมือนทั้งปี โดยมีตัวคูณคือ • กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12 • กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24 • กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52 เมื่อคำนวณภาษีแล้วได้เท่าไร ให้หารด้วย จำนวนครั้งที่จ่ายต่อปี ผลที่ได้คือภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต่อครั้ง
ตัวอย่าง การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินได้ (1) และ (2) กรณี มีเงินเดือนเท่ากันทุกเดือน และไม่มีเงินได้อื่น นายวอร์รูม มีเงินเดือน ๆ ละ 50,000 บาท และต้องอุปการะบิดาซึ่งมีอายุ 62 ปี และมารดาอายุ 61 ปี ให้คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ว่าต้องหักเดือนละเท่าไร
คำนวณภาษี 150,000 บาทแรก = ยกเว้น 300,000 บาท ถัดมา 10% =30,000 บาท รวม = 30,000 บาท ดังนั้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องหักเดือนละ 30,000/12 =2,500 บาท
ตัวอย่าง กรณีมีการเปลี่ยนแปลงเงินได้ในระหว่างปี ปีภาษี 2542 นาย ก. ได้รับเงินเดือน มกราคม-กันยายน เดือน ละ 30,000 บาท ตุลาคมเป็นต้นไปเดือนละ 60,000 บาท นาย ก. ได้แจ้งสถานะการหักลดหย่อนไว้ดังนี้ ภรรยาไม่มีเงินได้ และบุตรกำลังศึกษา 2 คน ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในเดือนกรกฎาคม 2542 จำนวน 9,600 บาท และ ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ ที่จะต้องจ่ายทั้งปี จำนวน 13,200 บาท ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือน
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเดือน มค-กย. เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 30,000 x 12 360,000 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000 คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 300,000 หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000 ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34,000 ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 9,600 ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ10,000113,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ186,400บาท ภาษีเงินได้ทั้งปี (150,000 ยกเว้น)+(36,400 X10%) = 3,640 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 3,640 หาร 12 = 303.33 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เดือน ตค.-ธค. เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี(60,000 x 12) 720,000 บาท หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000 เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 660,000 หัก ค่าลดหย่อน 113,000บาท คงเหลือเงินได้สุทธิ546,400บาท ภาษีเงินได้ทั้งปี (150,000 ยกเว้น)+ (350,000 X10%) + (46,400 X 20%) = 44,280 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป 44,280/12 = 3,690 บาท
กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวในระหว่างปีภาษี เดือนมีนาคม 2542 นาย ก. ได้รับเงินโบนัสอีก จำนวนหนึ่งเป็นเงิน 90,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม 2542
เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี (30,000 x 12) 360,000 บวก เงินโบนัส (90,000 X 1) 90,000 รวมเงินได้พึงประเมิน 450,000 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000 เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 390,000 หัก ค่าลดหย่อน 13,600 เงินได้สุทธิ276,400
ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมเงินโบนัสภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมเงินโบนัส (126,400 X10%) 12,640 บาท หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน3,640บาท คงเหลือภาษีเงินได้ของโบนัส 9,000 บาท บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนของเดือนมีนาคม 303.33บาท รวม ภาษีต้องหัก ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม9,303.33บาท
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้ เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ เดือน = 303.33 บาท เดือนมีนาคม = 9,303.33 บาท เดือนเมษายน ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 303.33 บาท เดือนธันวาคม = 303.37 บาท
กรณีจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่สม่ำเสมอตลอดปีภาษี นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินค่าล่วงเวลาดังนี้เดือนมกราคมได้รับค่าล่วงเวลา 6,500 บาท เดือนกุมภาพันธ์ได้รับค่าล่วงเวลา 5,200 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร
มกราคม เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี (30,000 x 12) 360,000 บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม 6,500 รวมเงินได้พึงประเมิน 366,500 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000 คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 306,500 หัก ค่าลดหย่อน 113,600 คงเหลือเงินได้สุทธิ192,900
ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา 42,900X10% 4,290.00 หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน 3,640.00 คงเหลือภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม 650.00 บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนมกราคม303.33 รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม (650 + 303.33) 953.33
กุมภาพันธ์: เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี (30,000 x 12) 360,000 บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม 6,500 ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 5,200 รวมเงินได้พึงประเมิน 371,700 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000 เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 311,700 หัก ค่าลดหย่อน 113,600 คงเหลือเงินได้สุทธิ198,100
ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา (48,100 X10%) 4,810 หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน 3,640 ภาษีเงินได้ของค่าล่วงเวลา 1,170 หัก ภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม650 คงเหลือภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 520 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนกุมภาพันธ์303.33 รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนกุมภาพันธ์ 823.33บาท
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้ เดือนมกราคม = 953.33 บาท เดือนกุมภาพันธ์ = 823.33 บาท เดือนมีนาคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 303.33 บาท เดือนธันวาคม = 303.37 บาท
กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ลูกจ้างได้รับในปีภาษี โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย วิธีคิด ให้คำนวณหาภาษีที่นายจ้างออกให้ที่แท้จริงหลาย ๆ ครั้งจนกว่าจำนวนภาษีจะคงที่ ให้ถือเอาจำนวนที่คงที่นั้นเป็นภาษีที่นายจ้างต้องจ่ายให้
นายลิขิตมีเงินเดือน ๆ ละ 25,000 บาท มีภรรยาชอบด้วยกฎหมาย และบุตร กำลังศึกษา 1 คน บริษัทออกเงินภาษีให้ตลอดไป ผู้จ่ายเงินได้ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เท่าไร
ครั้งที่ 1 เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี (25,000 x 12) 300,000 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)60,000 คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 240,000 หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000 ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 1 คน17,000 77,000 เงินได้สุทธิ186,400 ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 (36,400 X10%) = 3,640 บาท
ครั้งที่ 2 : เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี (25,000 x 12) 300,000 บาท บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 3,640 รวมเงินได้พึงประเมิน 303,640 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000 คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 243,640 หัก ค่าลดหย่อน 77,000 เงินได้สุทธิ 166,640 ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2 (16,640 X10%) 1,640 บาท
ครั้งที่ 3 : เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 300,000 บาท บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2 1,640 รวมเงินได้พึงประเมิน 301,640 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000 เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 241,640 หัก ค่าลดหย่อน 77,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ164,640บาท ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 3 (14,640 X10%) 1,464 บาท
ครั้งที่ 4: เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 300,000 บวกภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 3 1,464 รวมเงินได้พึงประเมิน 301,464 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)60,000 เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 241,464 หัก ค่าลดหย่อน 77,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ164,464 ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 4 (14,464 X10%) 1,446.40 บาท
ครั้งที่ 5 : เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 300,000.00 บาท บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 4 1,446.40 รวมเงินได้พึงประเมิน 301,446.40 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000.00 เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 241,446.40 หัก ค่าลดหย่อน 77,000.00 คงเหลือเงินได้สุทธิ164,446.40บาท ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 5 (14,446.40 X10%) 1,444.64
ครั้งที่ 6 : เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 300,000.00 บาท บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 5 1,444.64 รวมเงินได้พึงประเมิน 301,444.64 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000.00 คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 241,444.64 หัก ค่าลดหย่อน7,000.00 คงเหลือเงินได้สุทธิ164,444.64 บาท ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 6 (14.444.64 X 10%) 1,444,46 บาท
ครั้งที่ 7 : เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 300,000.00 บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 6 1,444.46 รวมเงินได้พึงประเมิน 301,444.46 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000.00 คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 241,444.46 หัก ค่าลดหย่อน 77,000.00 คงเหลือเงินได้สุทธิ164,444.46 ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 7 (14,444.46 X 10%) 1,444.45 บาท
ครั้งที่ 8 : เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 300,000.00 บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 7 1,444.45 รวมเงินได้พึงประเมิน 301,444.45 หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000.00 คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 241,444.45 หัก ค่าลดหย่อน 77,000.00 คงเหลือเงินได้สุทธิ164,444.45 ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 8 (14,444.45 X 10%) 1,444.45
ดังนั้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน เท่ากับ 1,444.45 ÷ 12 = 120.37 บาทเหลือเศษ .001 บาท จำนวนเงินเหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม = 120.37 + (0.001 X 12) = 120.38 บาท
การหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินได้ มาตรา 40(3) ให้ผู้จ่ายเงินได้คำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราเงินได้โดยไม่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนใด ๆ หากเป็นเงินได้ ที่จ่ายให้กับผู้รับซึ่งไม่ได้อยู่ในประเทศไทยให้คำนวณหัก ภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้
นางสาวนงนุชได้รับค่าลิขสิทธิ์จากการขายบทประพันธ์ ให้กับสำนักพิมพ์หิ่งห้อยเป็นเงิน 200,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไร คำนวณ: 100,000 x 5% 5,000 100,000 บาทที่เหลือ 10%10,000 รวมต้องหัก ณ ที่จ่าย 15,000
การหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินได้มาตรา 40(4) หัก ณ ที่จ่าย 15% ได้แก่ • ดอกเบี้ย • ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ เฉพาะที่เกิน 20,000 บาท • ดอกเบี้ยที่บุคคลธรรมดาจ่ายให้บุคคลธรรมดาที่อยู่ต่างประเทศ (ดอกเบี้ยที่บุคคลธรรมดาจ่ายให้บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย) หัก ณ ที่จ่าย 10 % ได้แก่ • เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร
บริษัท สุโก้ย จำกัดจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับนาง ข เป็นเงิน 30,000 บาท และนาง ข ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประเภทสะสมทรัพย์จากธนาคารกรุงเทพเป็นเงิน 40,000 บาท นอกจากนี้นาง ข ยังได้รับดอกเบี้ยจากนาย ค เนื่องจากการให้กู้เงิน ซึ่งนาย ค อยู่ในประเทศไทย อีก 50,000 บาท ให้คำนวณ ภาษี หัก ณ ที่จ่ายที่ นาง ข โดนหัก
ดอกเบี้ยเงินกู้ จากบริษัทหลินปิง 30,000 x 15% = 4,500 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร (ส่วนที่เกิน 20,000) 20,000x15% = 3,000 ดอกเบี้ยจากนาย ค (ได้รับยกเว้นไม่ต้องหัก) 0 รวม 7,500
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(5)และ 40(6) ได้แก่ 40(5) เงินได้จาก การให้เช่าทรัพย์สิน และ 40(6) คือเงินได้ประเภทวิชาชีพอิสระต่าง ๆ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 แต่ถ้าจ่ายให้ผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัท อับราฮิมจำกัดซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยได้ว่าจ้างนางอุนุชิโว ซึ่งอยู่ที่ประเทศอุรุกวัยให้ตรวจสอบบัญชีให้ โดยจ่ายค่าตรวจสอบบัญชีทั้งสิ้น 75,000 บาท ต้องหัก ณ ที่จ่ายเท่าไร บริษัท อิบราฮิม ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายได้ไว้เท่ากับ 11,250 บาท (75,000 x 15%)
กรณีหน่วยงานของรัฐจ่ายเงินกรณีหน่วยงานของรัฐจ่ายเงิน หากหน่วยงานของรัฐจ่ายเงินได้ประเภทที่ 5 – 8 และเงินที่จ่ายรวมกันตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 1% (ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรและเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์)
การหักภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่จ่ายให้ผู้ที่ขายอสังหาริมทรัพย์และการโอนกรรมสิทธิ์ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทน ยกเว้น 1. ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 2. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกให้แก่ทายาท
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการขายที่ดินข้อควรรู้เกี่ยวกับการขายที่ดิน 1. ราคาขาย คือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ ณ วันที่มีการโอน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการขายที่ดินข้อควรรู้เกี่ยวกับการขายที่ดิน 2. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ดินได้จากมรดกหรือจากเสน่หา และมีที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่น ได้รับยกเว้น 200,000 บาท โดยให้นำเงินจำนวนนี้ไปหักออกจากราคาขายก่อนที่จะคำนวณภาษี
หลักเกณฑ์ กรณีที่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากกองมรดก หรือจากเสน่หา • ให้หักค่าใช้จ่ายได้ 50% • เงินได้ที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย ให้ไปคูณ กับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผลที่ได้คือภาษีหัก ณ ที่จ่าย • หาก ภาษีที่คำนวณเกินร้อยละ 20 ของราคาขาย ให้เสียภาษีเพียงร้อยละ 20 ของราคาขายเท่านั้น
หลักเกณฑ์ (ต่อ) กรณี การขายอสังหาริมทรัพย์อื่น ที่ไม่ใช่ได้จากมรดกหรือได้โดยเสน่หา • ให้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา • เงินได้ที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่าย ให้หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้ให้นำไปคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • ได้ผลเท่าไรให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลที่ได้คือภาษีที่ต้องหักและนำส่ง
ค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกา
นายตุ๊ดตู่ เสื้อแดง ขายที่ดินมรดกซึ่งแม่ให้มาตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช จำนวน 2,000,000 บาทโดยที่ดินนี้นับจากวันที่ได้มาถึงวันที่ขายเป็นเวลา 5 ปี ที่ดินแปลงนี้มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธินิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน 2,500,000 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของนายตุ๊ดตู่ ที่โดนหักคือเท่าไร
เงินได้พึงประเมิน 2,500,000 บาท หัก ค่าใช้จ่าย 50% 1,250,000 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1,250,000 หารจำนวนปีที่ถือครอง (5ปี) 1,250,000/5 250,000 ภาษีเฉลี่ยต่อปี (100,000x5%)+(150,000x10%) 20,000 คูณ จำนวนปีที่ถือครอง 20,000x5 100,000 บาท ภาษีเงินจำนวน 100,000 บาท คำนวณแล้วเป็นร้อยละ 4 ของราคาขาย ซึ่งไม่เกินร้อยละ 20 ดังนั้น นายตุ๊ดตู่เสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 100,000 บาท
สมมติว่าที่ดินอยู่นอกเขตเทศบาลการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นดังนี้ เงินได้พึงประเมิน 2,500,000 บาท หัก ส่วนที่ได้รับการยกเว้น 200,000 เงินได้คงเหลือ 2,300,000 หัก ค่าใช้จ่าย 50% 1,150,000 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1,150,000 หารจำนวนปีที่ถือครอง (5ปี) 1,150,000/5 230,000 บาท ภาษีเฉลี่ยต่อปี (100,000x5%)+(130,000x10%) 18,000 บาท คูณ จำนวนปีที่ถือครอง 18,000x5 90,000 บาท ภาษีเงินจำนวน 90,000 บาท คำนวณแล้วเป็นร้อยละ 3.60 ของราคาขาย ซึ่งไม่เกินร้อยละ 20 ดังนั้น นายตุ๊ดตู่เสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 90,000 บาท
นายสามเกลอ หัวเป็นสังกะตัง ได้ขายที่ดินซึ่งซื้อมาเมื่อ 6 ปีก่อนในราคา 1,200,000 บาท ราคาที่ดินมีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนฯ 1,000,000 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคำนวณดังนี้