280 likes | 358 Views
กรณีต่อไปนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการไปโดยฝ่ายเดียวได้. ฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส มาตรา 1477 หนี้ อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
E N D
กรณีต่อไปนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการไปโดยฝ่ายเดียวได้ • ฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส มาตรา 1477 • หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน • จัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามสมควรแก่อัตภาพได้ มาตรา 1482 • ค่าใช้จ่ายในการนี้ผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย • ถ้าสามีหรือภริยาจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวเป็นที่เสียหายถึงขนาด อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจนี้เสียได้ กฎหมายครอบครัว
การขอให้แยกสินสมรส กฎหมายครอบครัว กฎหมายครอบครัว
การขอให้แยกสินสมรสหรือขออนุญาตจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว มาตรา 1484 • กรณีที่สามีหรือภริยาจัดการสินสมรสไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทำให้หนี้สินล้นพ้นตัว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว หรือร้องขอให้แยกสินสมรสก็ได้ นอกจากนี้ศาลยังมีอำนาจที่จะกำหนดวิธีคุ้มครองชั่วคราวเพื่อจัดการสินสมรสตามที่เห็นสมควรก็ได้ กฎหมายครอบครัว
เหตุที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาร้องขอต่อศาลมี 5 ประการ • (1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด • (2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง • (3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส • (4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร • (5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส กฎหมายครอบครัว
คู่สมรสมีทางเลือกอยู่ 2 ประการ คือ • ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว โดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีอำนาจมาเกี่ยวข้อง • ร้องขอให้ศาลสั่งให้แยกสินสมรสออกจากกัน • ผลการแยกสินสมรสออกจากกัน • สินสมรสส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของใครคนนั้นก็มีกรรมสิทธิ์และมีอำนาจจัดการหรือจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามลำพัง • ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากศาลมีคำสั่งแยก ไม่เป็นสินสมรส ฝ่ายใดได้มาเป็นขอฝ่ายนั้นโดยลำพัง • ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้วให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่เป็นเจ้าของสินส่วนตัวนั้นด้วย • ในระหว่างที่ศาลกำลังดำเนินกระบวนพิจารณา คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีคุ้มครองชั่วคราวก็ได้ กฎหมายครอบครัว
สัญญาก่อนสมรส กฎหมายครอบครัว กฎหมายครอบครัว
สัญญาก่อนสมรส เป็นเรื่องที่ชายหญิงได้ตกลงทำสัญญาต่อกันในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินเป็นพิเศษ แตกต่างจากที่กฎหมายกำหนด มาตรา 1465 “ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่งสามีภริยาในเรื่องทรัพยสินนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ถ้าข้อความในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น ข้อความนั้นๆเป็นโมฆะ” กฎหมายครอบครัว
หลักเกณฑ์การทำสัญญาก่อนสมรสหลักเกณฑ์การทำสัญญาก่อนสมรส • เป็นสัญญาที่ชายหรือหญิงซึ่งจะเป็นคู่สมรสได้กระทำขึ้นก่อนที่จะได้มีการจดทะเบียนสมรส • เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา • ยังมีความเห็นเป็นหลายฝ่ายว่า เรื่องใดบ้าง • เรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา • ใครเป็นเป็นผู้มีอำนาจจัดการ • ทรัพย์สินใดจะเป็นสินส่วนตัว สินสมรส กฎหมายครอบครัว
ประเด็นสำคัญ • ชายหญิงสัญญาก่อนสมรสในเรื่องดังต่อไปนี้ใช้ได้หรือไม่ • ชายตกลงว่าถ้าแต่งงานแล้วจะให้สินส่วนตัวของตนเป็นของฝ่ายหญิง • ชายตกลงว่าถ้าแต่งงานแล้วจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหญิงและบุตรเดือนละ 1 หมื่นบาท • ชายตกลงว่าถ้าแต่งงานแล้วจะไม่มีผู้หญิงคนอื่น จะไม่ดื่มเหล้าสูบ เลิกอบายมุขทั้งปวง ถ้าผิดสัญญาให้ฝ่ายหญิงฟ้องหย่าได้ • ชายหญิงตกลงว่าถ้าหย่ากันให้ทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นสิทธิหญิงฝ่ายเดียว กฎหมายครอบครัว
สัญญาก่อนสมรสที่ใช้บังคับไม่ได้สัญญาก่อนสมรสที่ใช้บังคับไม่ได้ • สัญญาก่อนสมรสในเรื่องความสัมพันธ์ทางส่วนตัวใช้บังคับไม่ได้ โดยถือว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ตกลงกันเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ระหว่างสามีภริยาในหมวด 3 เรื่องการอยู่ร่วมกัน เพราะไม่ใช้สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สิน (อ.ชาติชาย อัครวิบูลย์) กฎหมายครอบครัว
ข้อตกลงดังต่อไปนี้น่าจะกระทำ (อ.ชาติชาย อัครวิบูลย์) • มาตรา 1475 ทำสัญญาห้ามมิให้ลงชื่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา 456 หรือมีเอกสารเป็นสำคัญ เพราะเป็นหลักฐานแสดงสิทธิเท่านั้นไม่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก • อำนาจการจัดการสินสมรสให้ผิดแผกแตกต่างไปจากมาตรา 1476 • การตกลงให้บ้านพร้อมที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของตนเป็นสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อทำเป็นสัญญาก่อนสมรสตามมาตรา 1466 และไม่ปรากฎว่ามีข้อความขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา 1465 วรรคสอง จึงมีสิทธิขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนละครึ่งในที่ดินพร้อมบ้านได้ (ฎีกาที่ 6711/2537) กฎหมายครอบครัว
ตกลงให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส มาตรา 1471 (1) หรือ ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการให้โดยเสน่หาหรือมรดก มาตรา 1471 (3) หรือของหมั้น มาตรา 1471 (4) ให้ตกเป็นสินส่วนตัวอีกฝ่าย เพราะทำให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัวได้ และเป็นการขัดต่อเจตนาผู้ให้หรือเจ้ามรดก • ข้อตกลงให้ทรัพย์สิน ตาม มาตรา 1474 (1),(2) เป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาแต่ผู้เดียว เพราะตาม (1) เป็นเหตุให้สามีภริยาไม่ปรองดองกัน และไม่พยายามหาทรัพย์สินเพื่อมาบำรุงความสุขในครอบครัว ส่วน (2)เป็นการขัดกับเจตนาของผู้ให้หรือเจ้ามรดก • มาตรา 1479 ข้อตกลงว่าความยินยอมที่ให้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ เพราะเกี่ยวกับแบบ กฎหมายครอบครัว
สัญญาก่อนสมรสต้องไม่ขัดต่อความสงบฯ มิเช่นนั้นมีผลเป็นโมฆะ • ลักษณะสัญญาก่อนสมรสที่จะมีผลเป็นโมฆะมีผลดังนี้ • ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ • นักกฎหมายังมีความเห็นเป็นหลายด้าน • ระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น • ระบุในสัญญาไม่ได้ว่าให้ใช้กฎหมายประเทศใดบังคับ • แต่ลอกข้อความในกฎหมายต่างประเทศมาระบุในสัญญาได้ • กรณีอยู่ในบังคับกฎหมายขัดกัน ไม่ต้องห้าม กฎหมายครอบครัว
สัญญาต่อไปนี้เป็นการขัดต่อความสงบฯ (อ.ชาติชาย อัครวิบูลย์) • เปลี่ยแปลงสิทธิที่มีในทรัพย์สินของคู่สมรสหรือเปลี่ยนแปลงส่วนแห่งความรับผิดของคู่สมรส เช่น มาตรา 1471 ให้สินสมรสหรือสินส่วนตัวของอีกฝ่ายหนึ่งมาตรา 1490 ให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับผิดแต่ฝ่ายเดียว เป็นต้น • ขัดขวางต่อการที่จะให้สามีภริยาได้มีส่วนร่วมกันในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบ เช่น มาตรา 1474 ให้ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว • ทำให้เกิดความไม่สงบสุขในครอบครัว ถ่วงความเจริญในครอบครัว หรือก่อให้เกิดความหายนะแก่ครอบครัว เช่น มาตรา 1484, มาตรา 1485 ห้ามมิให้ใช้สิทธิทางศาลในการขอเป็นผู้จัดการหรือแยกสินสมรส • กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกหรือเป็นการเสียหายแก่บุคคลภายนอก เช่น ตกลงให้สามีหรือภริยารับผิดต่อเจ้าหนี้ในหนี้ร่วมตามมาตรา 1490 แต่เพียงผู้เดียว กฎหมายครอบครัว
แบบขอสัญญาก่อนสมรส • สัญญาก่อนสมรสทำได้ 2 แบบ มิเช่นนั้นเป็นโมฆะ • จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือ • ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่าน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้ • การแก้ไขเปลี่ยนแปลง มาตรา1467 “เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้วให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส” กฎหมายครอบครัว
ผลของการสัญญาก่อนสมรสผลของการสัญญาก่อนสมรส มาตรา 1468 “ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ไม่ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนโดยคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม” • เช่น • นาย ก. นาง ข. ทำสัญญาก่อนสมรสว่าให้นาย ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินประเภทใด • ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิกถอนโดยคำสั่งศาล ให้ นาย ก. และนาง ข. จัดการร่วมกัน ตามที่กฎหมายกำหนด • ถ้านาย ก. ขายที่ดินอันเป็นสินสมรสให้แก่นาย ค. โดยนาย ค. ไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส จึงมิได้ขอความยินยอมจากนาง ข. เช่นนี้ นาง ข. จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
ประเด็นศึกษาเพิ่มเติมประเด็นศึกษาเพิ่มเติม • สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินมีความหมายเพียงใด • สัญญาก่อนสมรสที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ มีความหมายเพียงใด • ถ้าสัญญาก่อนสมรสเกิดขึ้นเพราะสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ จะบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสนั้นได้หรือไม่ • การสมรสเป็นโมฆียะ โมฆะ สัญญาก่อนสมรสบังคับได้หือไม่ กฎหมายครอบครัว
สัญญาระหว่างสมรส กฎหมายครอบครัว กฎหมายครอบครัว
มาตรา 1469 “สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต” กฎหมายครอบครัว
หลักเกณฑ์สัญญาระหว่างสมรสมรสหลักเกณฑ์สัญญาระหว่างสมรสมรส • เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสามีภริยา • เป็นสัญญาที่มีความมุ่งหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของสามีภริยาในระหว่างสมรส • ทำสัญญากันก่อน หรือขณะจดทะเบียนหย่า (ฎีกาที่ 1274/2521 (ญ)) • ทำสัญญาหย่าและบันทึกความตกลงว่าสามีจะยอมจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้หลังการหย่าแล้ว (ฎีกาที่ 1356/2522) • เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน • คือสัญญาที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินในฐานะที่เป็นสามีภริยากัน มิได้จำกัดเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์ อาจเป็นสิทธิครอบครอง หรือการใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์ การจำนอง จำนำ การก่อให้เกิดภาระจำยอมในที่ดินสินส่วนตัวเป็นต้น กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 337/2530 ระหว่างสมรสสามียกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ภริยาผู้เดียว ย่อมทำให้ทรัพย์หมดสภาพจากสินสมรสเป็นสินส่วนตัวภริยา เป็นสัญญาระหว่างสมรส • ฎีกาที่ 319/2530 สามีทำสัญญาสละสิทธิ ในทรัพย์สินทั้งปวง ให้ภริยา ทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัว เป็นสัญญาระหว่างสมรส กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 4211/2531 ภริยาฟ้องสามีเป็นคดีอาญาฐานทำร้ายร่างกายและหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ การที่สามีตกลงยอมรับผิดใช้ค่าเสียหายและให้ภริยามีสิทธิถอนเงินฝากในธนาคารซึ่งมีชื่อสามีภริยาร่วมกันแต่ผู้เดียวโดยภริยายอมถอนฟ้อง เป็นข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหาย รวมทั้งค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างแยกกันอยู่ไม่เกี่ยวกับการถอนฟ้องคดีอาญาไม่ต้องห้ามตามมาตรา 150 หรือเป็นสัญญาระหว่างสมรสสามีบอกล้างไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 3666-3667/2535 ภริยาทำร้ายสามีแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป การตกลงกันที่สถานีตำรวจว่าจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อไม่ให้สามีติดใจเอาความภริยา โดยภริยายอมให้จำเลยได้ทรัพย์สินเป็นการตอบแทน ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อมาตรา 150 และเป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1515 วรรคสอง ทั้งไม่ใช่สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง จึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้ตามมาตรา 1469 กฎหมายครอบครัว
แบบของสัญญาระหว่างสมรสแบบของสัญญาระหว่างสมรส • กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบ ดังนั้นจึงตกลงด้วยวาจา เป็นหนังสือ หรือแม้กระทั่งตกลงกันโดยปริยาย ก็ได้ • ฎีกาที่ 5191/2540 พฤติการณ์ที่สามีแสดงออกยืนยันว่าบ้านซึ่งเป็นสินสมรสเป็นของภริยาเพียงคนเดียว โดยสามีมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องและยอมให้ระบุชื่อภริยาเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของภริยาที่ระบุในเอกสารก็เป็นนามสกุลเดิมของภริยา ถือว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้เป็นสินส่วนตัวของภริยา • เว้นแต่ สัญญาที่ทำนั้นต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะก็ต้องทำตามแบบ เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ กฎหมายครอบครัว
การบอกล้าง • กฎหมายมิได้กำหนดว่าต้องทำเป็นแบบอย่างไร อาจกระทำได้ด้วยวาจาโดยการแสดงเจตนาไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง • ทำเป็นหนังสือ (ฎีกาที่ 5485-5486/2537) • ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามสัญญา (ฎีกาที่ 357/2485) • ยื่นคำให้การต่อสู้คดี (ฎีกาที่ 1246/2509 (ญ)),(ฎีกา 2039/2544) • ทำสัญญาระหว่างสมรสหลายฉบับ หรือหลายครั้งในทรัพย์สินเดียวกัน ซึ่งมีข้อความขัดแย้งกับฉบับก่อน หรือไม่ประสงค์จะให้ใช้ฉบับก่อนบังคับ เท่ากับเป็นการเลิกสัญญาระหว่างสมรสฉบับเดิมและผูกพันตามฉบับใหม่ (ฎีกาที่ 674/2543) • การบอกบ้างสัญญาระหว่างสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัวของสามีหรือภริยา (ฎีกาที่ 890/2517) กฎหมายครอบครัว
กำหนดเวลาในการบอกล้างกำหนดเวลาในการบอกล้าง • ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสีย • ในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือ • ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้ • ตาย หย่า และศาลพิพากษาให้เพิกถอน • ผลของการบอกล้าง • มีผลทำให้ความสัมพันธ์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นสิ้นสุดลง หากได้ทรัพย์สินไว้เกี่ยวกับการทำสัญญาก็ต้องคืน หรือมีการให้สินสมรสเป็นสินส่วนตัวแก่อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อบอกล้างแล้วย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นกลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม • แต่การบอกล้างไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต” กฎหมายครอบครัว
ประเด็นศึกษาเพิ่มเติมประเด็นศึกษาเพิ่มเติม • สัญญาระหว่างสมรส บอกล้างได้ ส่วนสัญญาที่ไม่ใช่สัญญาระหว่างสมรสจะบอกล้างได้หรือไม่ • ถ้าสัญญาระหว่างสมรสเกิดขึ้นเพราะสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ จะบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสนั้นได้หรือไม่ • การสมรสเป็นโมฆียะ โมฆะ สัญญาระหว่างสมรสจะบังคับได้หือไม่ กฎหมายครอบครัว
ขอบคุณครับ กฎหมายครอบครัว