1 / 16

เทคนิคการวิจัยภาคสนาม

เทคนิคการวิจัยภาคสนาม. รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. หลักการที่สำคัญ.

Download Presentation

เทคนิคการวิจัยภาคสนาม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคการวิจัยภาคสนามเทคนิคการวิจัยภาคสนาม รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

  2. หลักการที่สำคัญ • เทคนิคการวิจัยภาคสนาม คือ วิธีการที่ต้องใช้และคำนึงถึงในการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เพราะหัวใจของงานวิจัย คือ ข้อมูล วิธีการที่ต้องทราบจะเริ่มจากการวางแผนงานสนาม ระบบนิเทศและการควบคุมคุณภาพข้อมูล จนถึงขั้นตอนการเตรียมตัวออกจากสนาม • การเข้าสนาม คือ การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) จากแหล่งรากเง้าของข้อมูล ที่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและตระหนักถึงช่วงเวลากับข้อมูล • การวิจัย ทั้ง ทางวิทยาศาสตร์บริสุทธ์ และ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฯลฯ หลายสาขา ต้องใช้ข้อมูลปฐมภูมิเป็นหลักในการศึกษา ทั้งสิ่งแวดล้อม เชื้อโรค สัตว์ คน วัตถุ ฯลฯ • หลักที่ต้องพิจารณาถึงเสมอคือ จรรยาบรรณวิจัยในคนและสัตว์ แม้จะทำการรวบรวมข้อมูลจากสัตว์ สัตว์ก็มีเจ้าของ พื้นที่ป่า แหล่งน้ำ โรงงาน ที่นา ที่ดิน ฯลฯ ก็มีผู้ดูแล ต้องขออนุญาติก่อน ต้องมีการแสดงในใบยินยอม ไม่เช่นนั้นถือว่าขัดจรรยาบรรณการวิจัย จะเป็นการละเมิดสิทธิ์

  3. สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนเข้าสู่สนาม:การวางแผนงานสนามสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนเข้าสู่สนาม:การวางแผนงานสนาม • หนังสือขออนุญาติเข้าพื้นที่ต่อเจ้าของพื้นที่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด อ.บ.ต. ป่าไม้ หน่วยอุทยาน เจ้าของโรงงาน กรมที่ดิน หน่วยทหาร โรงพยาบาล ฯลฯ เจ้าของบ้าน ครัวเรือน เจ้าของที่ดิน เจ้าของแหล่งน้ำ ฯลฯ • การเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้ในสนามทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล เช่น ยารักษาโรค ไม้ขีด ไฟฉาย ยาทาป้องกันทาก ยากันยุง มุ้ง ค้อน เชือกฟาง สกอตเทป เต็นสนาม ถุงนอน ตะเกียง นีออนสนาม แบ็ตเตอรี เงิน รถ พาหนะ มือถือ กระติกน้ำ ฯลฯ เพื่อการดำรงชีพ และเกี่ยวที่ข้องกับการรวบรวมข้อมูล เช่น แบบแสดงคำยินยอมให้ข้อมูล แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล แบบฟอร์ม สมุดบันทึก เครื่องเขียนที่ต้องใช้ ไม้บรรทัด กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง ที่เย็บกระดาษ คริบหนีบกระดาษแตกต่างๆตามขนาดที่ใช้ เครื่องถ่ายวีดีโอ มีด คัดเตอร์ กระซอน สวิง ปรอท ที่ตักลูกน้า แปรง จอบ เสียม ที่ขุด ที่เจาะ เครื่องจีพีเอส เข็มทิศ นาฬิกา เทปวัดขนาด กล้องส่องทางไกล้ ตาข่าย ยาสลบ กรงสัตว์ ชองเปล่า ถุงปราสติก กรรไกร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ ของที่ระลึกสำหรับผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ฯลฯ

  4. การเตรียมตัวในด้านการเรียนรู้ทางภาษาและวัฒนธรรม: สำหรับนักวิจัยและทีม • จำเป็นอย่างจริงต้องเข้าใจในภาษาถิ่น และวัฒนธรรมที่สำคัญประจำถิ่น ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การวิจัยในเชิงมานุษยวิทยา การวิจัยในเชิงชาติพันธุ์วรรณา การวิจัยในเชิงโบราณคดี ศิปวัฒนธรรม การวิจัยทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พฤษติกรรมศาสตร์ ฯลฯ และไม่เกี่ยวข้อง แต่จำเป็นต้องทราบเพื่อสดวกในการอยู่ในสนามและได้ข้อมูลตามที่ต้องการ ควรพูดและเข้าใจในภาษาท้องถิ่น • ต้องตระหนักเสมอว่าอะไรควรทำ และอะไรไม่ควรทำ เน้นความเข้าใจในวัฒนธรรมและจารีต ประเพณี ฯลฯ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การประกันชีวิต ทีมงานสนาม • ต้องเข้าใจในข้อห้าม และ ระเบียบของสังคมนั้นๆอย่างเคร่งครัด ต้องปฏิบัติ ตามจารีตประเพณี ค่านิยม ระเบียบต่างๆที่กำหนดใว้โดยสังคมนั้น ต้องเคารพในกฏและระเบียบของสังคม ธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม

  5. การเตรียมความพร้อมของคณะหรือทีมภาคสนาม: เตรียมพร้อมสู่การปฏิบัติจริง • การกำหนดให้เรียนภาษาและวัฒนธรรมประจำถิ่นที่เป็นสนามและพื้นที่ใกล้เคียง ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ถือว่าจำเป็นมาก ให้ระบุในการขอทุนได้ • การประชุมเพื่อชี้แจงคณะทำการวิจัยภาคสนามให้เข้าใจในบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล (Division of labor) การมีผู้จ้ดการสนาม ควรมีเอกสารแจก เป็นคู่มือ • การจัดฝึกอบรม คณะ หรือ ทีมงานรวบรวมข้อมูลให้เข้าใจในการทำงานที่ต้องรับผิดชอบ การแต่งกาย ชี้แจงวิธีการรวบรวมข้อมูล และการแก้ปัญหาบางประการที่อาจเกิดขึ้น ชี้แจงเรื่องที่พัก และระยะเวลาที่จะอยู่ในสนาม ความอบอุ่นในสนาม การเตรียมเสบียงอาหาร น้ำ วิธีการกำกับคูณภาพของข้อมูล การกำหนดให้มีสำนักงานภาคสนาม (Field station) การบันทึกการใช้จ่าย งานบัญชีสนาม ฯลฯ • การอบรมบุคคลหลักในการทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล เช่น การสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus group discussion) ต้องอบรม Moderator ให้เป็นนักวิจัยที่แทนเราให้ได้ทั้งหมด Note taker ต้องเข้าใจในวิธีกีจด • ผู้ช่วยงานสนาม พนักงานขับรถ ฯลฯ ต้องเข้าใจในกฏและระเบียบการปฏิบัติงานสนาม ความตรงต่อเวลากับแหล่งข้อมูล และทุกครั้งที่มีการนัดหมาย

  6. หนังสือราชการเพื่อขอความอนุเคราะห์ปฏิบัติงานสนามหนังสือราชการเพื่อขอความอนุเคราะห์ปฏิบัติงานสนาม • หนังสือราชการ ต้องแจ้งก่อนล่วงหน้าเสมอ อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ และต้องถือสำเนาไปด้วยเสมอเมื่อพบกับผู้นำหรือผู้เกี่ยวข้อง การแสดงว่าได้รับอนุญาติให้เข้าพื้นที่สนาม • การนัดหมายบุคคลหลักที่จะอำนวยความสดวกในการทำงานสนาม เวลาและสถานที่นัดหมายต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ • การติดต่อประสานงาน ควรทำล่วงหน้า ต้องระบุบุคคลที่จะเป็นผู้ประสานงานในสนามว่าเป็นใคร และต้องมีค่าตอบแทนด้วยตามระยะเวลาที่เหมาะสม พร้อมกับต้องระบุไว้ในรายชื่อคณะนักวิจัย หรือ เขียนระบุในกิตติกรรมประกาศ

  7. การจัดเก็บรักษาข้อมูลที่ได้จากสนามการจัดเก็บรักษาข้อมูลที่ได้จากสนาม • การทำกระดานที่เป็นตารางแสดงความก้าวหน้าของกิจกรรมในสนามตามหมวดกิจกรรมตามช่วงเวลา อาจแบ่งตามสัปดาห์ เดือน ฯลฯ หรือ รายวัน พร้อมระบุว่าช้ากว่ากำหนด ตามกำหนด หรือ เร็วกว่ากำหนด • ต้องรักษาข้อมูลไว้อย่างดีและปลอดภัยที่สุด เช่น สำเนาลงคอมพิวเตอร์ บันทึกเป็นภาพเพื่อจัดเก็บตามระบบข้อมูลนั้นๆ หากเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์ม แบบบันทึกข้อมูล เทปเสียง ภาพถ่าย ต้องจัดเก็บโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ดี ไม่ให้เปียกน้ำ ห่างจุดใกล้เพลิง ฯลฯ ชุดข้อมูลต่างๆควรทำสำเนาไว้อย่างน้อยสองชุดแม้ต้องลงทุนสูง ก็จำเป็นต้องทำ • หากเป็นงานในเชิงโบราณคดี ศิลปกรรม วรรณคดี ต้องจัดเก็บตามระบบของศาสตร์นั้นๆ

  8. การค้นหาแหล่งปรากฏการณ์ และการปักธง หรือ การปักหมุดผู้รู้และกำหนดแหล่งหลักฐาน • งานวิจัยทุกงานจากทุกศาสตร์ ที่ทำสนามจะเชื่อในหลักการของปรัชญาด้านปรากฏกาณ์วิทยา (Phenomenology) ที่เน้นในด้าน Grounded theory approach ที่กำหนดไว้ว่า เป็นการค้นหาความรู้ที่เป็นความจริง จากผู้รู้ที่รู้จริง จากหลักฐาน จากปราการณ์จริง ที่เป็นแหล่งรากเง้า แหล่งต้นกำเนิดของประเด็นนั้นจริงๆ ที่ต้องค้น หรือ ควานหาความรู้จากสถานที่จริง จึงต้องทราบถึงขั้นตอนการปักหมุดสถานที่และบุคคลที่เป็นแหล่งข้อมูลก่อน เน้น การเข้าถึงคน ต้องตรวจสอบความแม่นตรงของข้อมูลในสนาม แบบตรวจสอบสามเส้า (Triangular check) ที่เป็นการทบทวนข้อมูลที่ได้อยู่ตลอดเวลาจนมั่นใจว่าได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้แบบเป็นองค์รวม • ขณะเดียวกันที่เชื่อตามหลักปฏิฐานนิยม (Positivism) ต้องหาข้อมูลไปพิสูจน์ตามกรอบหรือทฤษฎีนั้นให้ได้จึงต้องลงสนามและต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้อย่างดี การเลือกตัวแทน แทนตัวอย่างจริงตามระบบคิดของการสุ่มตัวอย่างแบบ Systematic Random Sampling การSpot check

  9. การเผชิญหน้ากับแหล่งข้อมูลและหลักฐานการเผชิญหน้ากับแหล่งข้อมูลและหลักฐาน • การรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เป็นการเผชิญหน้ากับแหล่งข้อมูล ทั้งที่เป็น บุคคล สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ ต้องได้รับความร่วมมือจากแหล่งข้อมูลด้วยความสมัครใจแบบจิตรอาสา การแสดงใบยินยอม (Consent form)นักวิจัยต้องเข้าใจในด้านจิตวิทยาของการทำงานกับคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งข้อมูล การปฏิบัติตามความเซื่อ ข้อห้าม อันตรายที่อาจเกิดขึ้น ฯลฯ • ตระหนักอยู่เสมอในด้านจรรยาบรรณการวิจัยในคนและสัตว์ ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมาเสมอ โดยต้องเตรียมวิธีแก้ไขใว้ล่วงหน้า การรักษาความลับของแหล่งข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล การนินทาหรือกล่าวถึงแหล่งข้อมูล การสูญเสีย ความเสียหาย ภูมิปัญญา การขายข้อมูล ภัยคุกคามสังคม การทำลายสิ่งแวดล้อม การสูญพันธุ์ของสัตว์ ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานสนามของเรา

  10. การแต่งกายและกิริยามารยาทเมื่ออยู่ในสนามการแต่งกายและกิริยามารยาทเมื่ออยู่ในสนาม • การแต่งกายต้องเรียบง่าย สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมในสังคม ลักษณะรองเท้า กระเป๋าถือ หมวก เครื่องประดับต่างๆ การระวังความปลอดภัยด้านโจรภัย การเข้าถึง การติดดิน ฯลฯ • การเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งในสังคม การเข้าร่วมในงานต่างๆ ที่ได้รับเชิญ งานแต่งงาน งานบวช งานศพ งานบุญ ฯลฯ • การเคารพแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล (Key informants) ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน การให้ความสำคัญกับความประทับใจครั้งแรกที่รู้จักกัน (First entry) การผูกมิตร การวางตัวในสังคมที่เป็นสนาม • การประชุมเพื่อเปิดตัวงานสนาม สถานที่ประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม • การเคารพแหล่งข้อมูลที่เป็นสถานที่ ป่า เขา แหล่งน้ำ ฯลฯ

  11. การรวบรวมข้อมูลด้วยการถ่ายภาพ การบันทึกเสียง การคัดลอก การลอกข้อมูล การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การเฝ้ามอง การขุดดิน การเด็ดดอกไม้ ใบหญ้า การทำแผนที่ การกดพิกัด ฯลฯ • ต้องได้รับอนุญาติจากแหล่งข้อมูล หรือ ผู้เป็นเจ้าของ แบบจิตรอาสาที่เต็มใจให้ข้อมูล ไม่ใช่แอบถ่าย หรือ ขโมย ฯลฯ • หากไม่ให้ถ่ายรูป ควรขอสะเก็ตภาพ หรือ จำมาสะเก็ตภายหลัง • ปรากฏการณ์บางอย่างจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ต้องเข้าใจในหลักการด้านการเข้าใจสังคมและหลักการทางจิตวิทยา ความใจเย็นและอดทน • การทำแผนที่ชุมชน และการเตรียมข้อมูลชุมชน การเตรียมข้อมูลทุติยภูมิ แผนที่ฯลฯ ไว้ล่วงหน้าจะเป็นประโยชน์มาก

  12. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก • ใช้มากกับการค้นหาคำตอบที่ต้องการความรู้มาอธิบายปรากฏการณ์ที่ค้นพบ เน้นผู้รู้ที่รู้จริงในปรากฏการณ์ที่อยากจะรู้นั้น ไม่ใช่การสอบสวน ไม่ใช่การถามความเห็น แต่เป็นการถามจากผู้รู้เรื่องนั้นจริงๆ ต้องเคารพผู้รู้เยี่ยงครู ในฐานะแหล่งข้อมูล เป็นการสนทนาเชิงการพูดคุยแบบเน้นตามประเด็นที่อยากรู้ อาจคุยหลายครั้งกว่าจะได้ข้อมูลที่เป็นความรู้ • การสนทนากลุ่มย่อยแบบกลุ่มธรรมชาติ • การสนทนากลุ่มแบบกลุ่มธรรมชาติ

  13. การใช้ภาษาพูดและภาษากายในการสัมภาษณ์แหล่งข้อมูลการใช้ภาษาพูดและภาษากายในการสัมภาษณ์แหล่งข้อมูล • ต้องสื่อด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่วกวน ต้องบอกความจริงในการมารวบรวมข้อมูลภาคสนามในครั้งนี้ว่าเป็นงานวิจัยในเชิงวิชาการ เพื่อความรู้และสร้างความรู้ ฯลฯ • ต้องขออนุญาติก่อนที่จะบันทึกเทป ถ่ายรูป ฯลฯ • ไม่ควรมีการใช้ภาษาอังกฤษหากไทยคุยกับไทย เว้นแต่มีชาวต่างประเทศที่มีการแปลและผู้แปลเข้าใจในภาษาถิ่นอย่างดี • ไม่พูดเร็ว แต่เป็นการใช้วิธีการแบบสนทนา พูดคุย • การใช้ภาษากาย ภาษาตา การเข้าใจในวิธีการใช้คำถามนำ (Leading question) ว่าควรทำหรือไม่ควรทำ และการไม่ใช้คำถามนำ

  14. การเปิดเผยข้อมูลระหว่างอยู่ในสนามการเปิดเผยข้อมูลระหว่างอยู่ในสนาม • บางคราวจำเป็น เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอยากทราบ เช่น ผลการตรวจคุณภาพดิน ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ผลการชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต ผลการเจาะเลือด ผลการทดลองในกระบวนการของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) • การให้ดูรูปถ่าย ข้อมูลดิบ ตารางข้อมูล ฯลฯ • การเปิดเผยผลการสำรวจเบื้องต้น หากได้รับคำขอ ควรทำ เพราะเป็นการส่งเสริมในด้านประโยชน์ใช้สอยของงานวิจัย (Utilization Focused) • การวิจัยแบบกึ่งทดลอง และการวิจัยแบบทดลอง ควรบอกผลจากแต่ละช่วงของการติดตามต่อผู้มีส่วนร่วม

  15. ข้อมูล ฤดูกาล และความสำคัญของช่วงเวลาภาคสนาม • การวิจัยในเชิงปริมาณ ช่วงฤดูกาล เวลาเข้าสนาม จะมีผลต่อการกระจายตัวและการกระจุกตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น เนื่องจากผลของการย้ายถิ่น การทำงานตามวันราชการ การรวบรวมข้อมูลตอนเย็น ตอนเช้า ตอนกลางวัน ฯลฯ คุณภาพข้อมูลที่ไม่ดีที่เกิดจากนักวิจัย (Human errors) และเกิดจากผู้ให้ข้อมูล (Respondent) • การวิจัยในเชิงคุณภาพที่เชื่อตามแนวคิดปรากฏการณ์นิยม ฤดูกาลจะเกี่ยวข้องกับงานอาชีพ และการพบแหล่งข้อมูล ตลอดจนความสดวกในการสืบค้นข้อมูล โดยเฉพาะในเชิงมานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วรรณา โบราณคดี และ ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้นต้องคิดในขั้นตอนการวางแผนก่อนเข้าสนามเสมอ

  16. ของที่ระลึก เงินค่าตอบแทน การเป็นอาสาสมัครแบบมีส่วนร่วม • ไม่ขัดจรรยาบรรณการวิจัยในคน เพราะไม่ใช่การบังคับ การหลอก หรือการจูงใจ แต่เป็นการให้ของที่ระลึก และอำนวยความสดวกเนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ • จำเป็นต้องมีของที่ระลึก สิ่งของ ของขวัญ เพื่อให้ระลึกถึงกันเพราะอาจต้องกลับเข้าพื้นที่อีก เป็นการย้ำในสายใยไมตรีที่ดีต่อกันช่วยให้ระลึกและจำกันได้ต่อไป (Remind) • เงินค่าตอบแทน แก่ผู้ประสานงาน แหล่งข้อมูลสำหรับงานวิจัยที่รวบรวมข้อมูลแบบการสนทนากลุ่ม การทำงานในชุมชน แกนนำ อาสาสมัคร ผู้เข้าร่วมในกระบวนการทดลอง ฯลฯ

More Related