330 likes | 516 Views
โดย ชุติมา จันทร์เจริญ นิรมล เกษณา ประกาย สอนอุ่น. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8. เกษตรกรหลายรายในประเทศทำการเกษตรแบบอินทรีย์. ที่มาโครงการ. กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในโครงการเกษตรอินทรีย์. เกษตรกรเชื่อว่าการปลูกข้าวอินทรีย์ ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตดีขึ้น ดินดีขึ้น.
E N D
โดย ชุติมา จันทร์เจริญนิรมล เกษณาประกาย สอนอุ่น สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8
เกษตรกรหลายรายในประเทศทำการเกษตรแบบอินทรีย์เกษตรกรหลายรายในประเทศทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ที่มาโครงการ กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในโครงการเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรเชื่อว่าการปลูกข้าวอินทรีย์ ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตดีขึ้น ดินดีขึ้น แต่ไม่มีรายงานด้านวิชาการเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของดิน
วัตถุประสงค์ • เปรียบเทียบคุณลักษณะของดินที่ปลูกข้าวอินทรีย์ตามระยะเวลาต่าง ๆ กับการปลูกข้าวแบบใช้ปุ๋ยเคมี • 2. เปรียบเทียบผลผลิตข้าวอินทรีย์ตามระยะเวลาต่าง ๆ กับการปลูกข้าวแบบใช้ปุ๋ยเคมี
สถานที่ดำเนินการทดลองสถานที่ดำเนินการทดลอง ดำเนินการร่วมกับ นายสมาน แสงสว่าง นายไพบูลย์ เนตรใส สถานที่ หมู่ 8 บ้านนิคม ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2549-2550
วิธีการทดลอง วิธีการที่ 1 ปลูกข้าวแบบเคมี วิธีการที่ 2 ปลูกข้าวอินทรีย์ 1 ปี วิธีการที่ 3 ปลูกข้าวอินทรีย์ 2 ปี วิธีการที่ 4ปลูกข้าวอินทรีย์ 3 ปี วิธีการที่ 5ปลูกข้าวอินทรีย์ 4 ปี
วิธีการที่ 1 ปลูกข้าวแบบเคมี ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 อัตรา 25 กก./ไร่ และ 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ เมื่อข้าวอายุ 40 วัน กำจัดวัชพืชและศัตรูพืชโดยสารเคมี
วิธีการที่ 2 ปลูกข้าวอินทรีย์ 1 ปี ไถกลบปอเทือง ปุ๋ยหมักอัดเม็ด 500 กก./ไร่ น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักจากสมุนไพรไล่แมลง ฉีดพ่นทุก 10 วัน กำจัดวัชพืชโดยแรงงานคน คัดเลือกพื้นที่ที่ไม่เคยปลูก ข้าวอินทรีย์ และเริ่มปลูกข้าวอินทรีย์เป็นปีแรก ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
คัดเลือกพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์มาแล้ว 1 ปี วิธีการที่ 3 ปลูกข้าวอินทรีย์ 2 ปี ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไถกลบปอเทือง ปุ๋ยหมักอัดเม็ด 500 กก./ไร่ น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักจากสมุนไพรไล่แมลง ฉีดพ่นทุก 10 วัน กำจัดวัชพืชโดยแรงงานคน
ไถกลบปอเทือง ปุ๋ยหมักอัดเม็ด 500 กก./ไร่ น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักจากสมุนไพรไล่แมลง ฉีดพ่นทุก 10 วัน กำจัดวัชพืชโดยแรงงานคน คัดเลือกพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์มาแล้ว 2 ปี วิธีการที่ 4 ปลูกข้าวอินทรีย์ 3 ปี ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
วิธีการที่ 5 ปลูกข้าวอินทรีย์ 4 ปี คัดเลือกพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์มาแล้ว 3 ปี ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไถกลบปอเทือง ปุ๋ยหมักอัดเม็ด 500 กก./ไร่ น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักจากสมุนไพร ไล่แมลง ฉีดพ่นทุก 10 วัน กำจัดวัชพืชโดยแรงงานคน
สภาพพื้นที่แปลงทดลอง แปลงทดลองทั้ง 5 แปลง อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 17 มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเทา วัตถุต้นกำเนิด เกิดจากตะกอนที่น้ำพัดพามาทับถมกันเป็นเวลานาน ภูมิสัณฐานเป็นตะพักลำน้ำระดับต่ำ และเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่และความลาดเทราบเรียบถึงค่อนข้างเรียบ สภาพการระบายน้ำของดินการระบายน้ำค่อนข้าวเลวถึงเลว พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ใช้ในการทำนาในฤดูฝน ไม่มีการชะล้างพังทลายหน้าดิน
การเก็บข้อมูล ผลผลิต เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในพื้นที่ 10 ตร.ม. คุณลักษณะของดิน เก็บตัวอย่างดิน 3 ครั้งในช่วงเวลา ก่อนปลูก ระหว่างปลูก และเก็บเกี่ยว วิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูลแต่ละวิธีการโดยใช้ T-test
ผังการทดลอง T5 T4 T3 T1 T2
การวิเคราะห์ pH %OM Available P ExchangeableK Bulk density Microbial biomass วิธีการ ดิน : น้ำ 1:1 Walkley&Black Double acid Double acid Core method Chloroform fumigation extraction เอกสารอ้างอิง กรมพัฒนาที่ดิน, 2547 Nunan et. al, 1998 วิธีการศึกษาคุณลักษณะของดิน
มวลชีวภาพของจุลินทรีย์ดิน (microbial biomass) มวลชีวภาพของจุลินทรีย์ดิน เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลง ของดิน และเป็นสมบัติของดินที่อ่อนไหวง่าย (Doran , 1987) จากรายงานของ Fraser et al. (1988) มวลชีวภาพคาร์บอนของจุลินทรีย์ในดินมีผลต่อ * การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของคาร์บอนในดิน *เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารจากเศษพืชอินทรียวัตถุ *การที่ดินมีปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นทำให้อัตราการย่อยสลายธาตุ อาหารและพืชดูดใช้ธาตุอาหารพืชในดินและปริมาณการดูดใช้ ธาตุอาหารเพิ่มขึ้น *จุลินทรีย์ดินยังช่วยส่งเสริมการกระจายของรากพืชให้พืชดูดใช้ ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะดินก่อนการทดลองลักษณะดินก่อนการทดลอง
เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุหลังเก็บเกี่ยวข้าว ปี 2549 หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างทางสถิติ * = แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุหลังเก็บเกี่ยวข้าว ปี 2550 หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างทางสถิติ * = แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
มวลชีวภาพคาร์บอนของจุลินทรีย์ในดินระหว่างปลูกข้าว ปี 2549 หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างทางสถิติ * = แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
มวลชีวภาพคาร์บอนของจุลินทรีย์ในดินระหว่างปลูกข้าว ปี 2550 หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างทางสถิติ * = แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
ผลผลิตข้าว ปี 2549 หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างทางสถิติ * = แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
ผลผลิตข้าว ปี 2550 หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างทางสถิติ * = แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
สรุปผลการทดลอง คุณลักษณะของดิน • % OM ในดินที่ปลูกข้าวแบบเคมีจะต่ำกว่าที่ทำการปลูกข้าวอินทรีย์มากกว่า 2 ปี (หลังการทดลอง) • Mbc ของจุลินทรีย์ดินสูงในช่วงระหว่างมีการปลูกข้าวพบว่าดินที่มีการปลูกข้าวอินทรีย์มากกว่า 3 ปี Mbcของ จุลินทรีย์ดินสูงกว่าการปลูกข้าวแบบเคมี • คุณลักษณะของดินด้านอื่น ๆ ได้แก่ pH P K และ BD ไม่มีความแตกต่างกัน
สรุปผลการทดลอง ผลผลิตข้าว ผลผลิตข้าวโดยรวม 2 ปี พบว่าการปลูกข้าวอินทรีย์ 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี ให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกข้าวแบบใช้ปุ๋ยเคมี
ข้อเสนอแนะ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดิน ที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์นั้น น่าจะมีการศึกษาในระยะยาว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น