1.3k likes | 1.5k Views
บทที่ 3. ระดับการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://web.nkc.kku.ac.th/manit. หัวข้อ. 1. เศรษฐกิจพอเพียงระดับครอบครัว 2. เศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชนเมือง/ชุมชนชนบท 3. เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ.
E N D
บทที่ 3 ระดับการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่นhttp://web.nkc.kku.ac.th/manit
หัวข้อ • 1. เศรษฐกิจพอเพียงระดับครอบครัว • 2. เศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชนเมือง/ชุมชนชนบท • 3. เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ
1. เศรษฐกิจพอเพียงระดับครอบครัว
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัยและทุกศาสนาได้อย่างไรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัยและทุกศาสนาได้อย่างไร • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่เป็นจริง และเป็นกรอบในการดำรงชีพที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย • สามารถนำไปปรับใช้ได้กับบุคคลในทุกระดับ จากชนบทจนถึงในเมือง จากผู้มีรายได้น้อย จนถึงผู้มีรายได้สูง จากภาคเอกชนจนถึงภาครัฐ • การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันนั้น ผู้ประยุกต์ต้องเริ่มจากการพัฒนาทางด้านจิตใจก่อน มีการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง การคิดพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับหลักคำสอนของทุกศาสนาที่ให้ดำเนินชีวิตตามกรอบคุณธรรม ไม่ทำการใดๆที่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น ไม่ฟุ้งเฟ้อหรือทำอะไรที่เกินตน รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นตามความเหมาะสม การดำเนินตามทางสายกลาง คำนึงถึงความพอดีไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
แทรก • รูปบ้านคำปลาหลาย และมาร์ติน
คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติคุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ • การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตนเองที่จะปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม • การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติ ปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น • การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์ สุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด • การรู้จักระวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
การลดความเสี่ยงของเกษตรกรโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการลดความเสี่ยงของเกษตรกรโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มานิตย์ ผิวขาว
ความเสี่ยงทางการเกษตรความเสี่ยงทางการเกษตร • ด้านการผลิต • การปลูกพืชเชิงเดี่ยว • ปัญหาทางธรรมชาติ(ปริมาณน้ำฝน/โรคแมลง) • การเสื่อมโทรมของทรัพยากร(ดิน/น้ำ/ป่าไม้) • การใช้ปัจจัยการผลิตไม่เหมาะสม • ต้นทุนการผลิตสูง • ผลผลิตเฉลี่ยต่ำ คุณภาพไม่แน่นอน และปริมาณผลผลิตไม่แน่นอน • ด้านราคาและตลาด • ราคาผันผวนและตกต่ำ • ขาดตลาดรองรับ สินค้าล้นตลาด และตลาดไม่แน่นอน
ข้อเสนอแนะวิธีการปฏิบัติในการทำการเกษตรเพื่อลดความเสี่ยงที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อเสนอแนะวิธีการปฏิบัติในการทำการเกษตรเพื่อลดความเสี่ยงที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • ความพอประมาณ • การลดปริมาณพื้นที่ปลูก/ปลูกขนาดพื้นที่เหมาะสมกับแรงงานและเงินทุน • การลงทุนอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อมิให้เสี่ยงมากเกินไป • ไม่ฟุ่มเฟือย • การหาทางลดรายจ่าย(เช่น การผลิตอาหารไว้เพื่อบริโภค) • การผลิตที่ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความมีเหตุผล • ความรอบคอบ ความระมัดระวัง • การเลือกผลิตพืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่/ความชำนาญ/มีตลาดแน่นอน • การเพิ่มความเข้มข้นในการผลิตโดยทำการเกษตรให้หลากหลายมีการปลูกพืชเชิงหลากหลายหรือผสมผสาน(การเกษตรที่มีการเกื้อกูลกัน) • การฟื้นฟูและบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ/จุลินทรีย์ • การป้องกันกำจัดโรค/แมลง/ศัตรูพืชด้วยสารชีวภาพ การควบคุมคุณภาพและปริมาณผลผลิต
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีการมีภูมิคุ้มกันที่ดี • การวางแผนการผลิตและการตลาด • การบริหารจัดการฟาร์มที่ดี • การรวมกลุ่มหรือเครือข่ายด้านการผลิต/แปรรูป/ตลาด • การออมเงิน/กลุ่มออมทรัพย์ • การรวมกลุ่มทางสังคม(เช่น กลุ่มสวัสดิการชุมชน กลุ่มฌาปนกิจ) • การมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเพียงพอ • การเฝ้าระวังโรค/แมลงอย่างสม่ำเสมอ • กินอาหารปลอดภัยที่ผลิตเอง
เงื่อนไขความรู้ • มีความรอบรู้ • การสร้างองค์ความรู้ • การจัดการความรู้ • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน • การรู้จักประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
เงื่อนไขคุณธรรม • ความซื่อสัตย์ • ความไม่โลภ • ความรู้จักพอ • ความขยันหมั่นเพียร • ความอดทน • การไม่เบียดเบียนกัน • การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
2. เศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชนเมือง/ชุมชนชนบท
การใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน และตามบทบาทหน้าที่ • จะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกในชุมชนมีความพอเพียงในระดับครอบครัวเป็นพื้นฐานแล้ว • สมาชิกในชุมชนได้รวมกลุ่มทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม • การปฏิบัติอาศัยภูมิปัญญาและความสามารถที่มีอยู่เป็นพื้นฐานประกอบการดำเนินชีวิต มีการช่วยเหลือแบ่งปันกันจนเป็นพื้นฐานให้เกิดการรวมกลุ่มในสังคม สร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกันต่อไป นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่พอเพียงของชุมชนโดยรวม ในการดำเนินชีวิตที่สมดุลอย่างแท้จริง • จุดประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถมีสิ่งต่างๆ เพียงพอที่จะสนองความจำเป็นในเบื้องต้นได้
1 2 3 4 5 6 7
1 ขั้นก่อร่างสร้างตัว 2 ขั้นลงมือปฏิบัติกร 3 ขั้นขยายผลภายในชุมชน 4 ขั้นสร้างพลังและความเข้มแข็ง
3. เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับหน่วยงานรัฐหรือระดับประเทศการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับหน่วยงานรัฐหรือระดับประเทศ • เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆ แห่งที่มีความพอเพียง มาแลกเปลี่ยนความรู้ ตลอดจนร่วมมือกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง • ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ด้วยหลักแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงในที่สุด • การปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหาร ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคต่างๆ อันเป็นการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ โดยการประกอบกับการกำหนดนโยบายและการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆ ผ่านการเชื่อมโยงผลประโยชน์ระดับท้องถิ่น และระดับชาติเข้าด้วยกัน
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ/เอกชนการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ/เอกชน
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับภาคเอกชนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับภาคเอกชน • สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภาคธุรกิจ และไม่ขัดต่อหลักการธุรกิจที่เน้นการหากำไร กล่าวคือ การยอมรับการมีกำไรในระดับพอประมาณ และมีเหตุมีผล • ดำเนินไปบนพื้นฐานของการไม่เอารัดเอาเปรียบที่มุ่งแต่ผลกำไรสูงสุดเป็นสำคัญ จนก่อให้เกิดผลกระทบหรือวิกฤตตามมา และต้องไม่แสวงหากำไรโดยการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือทำผิดกฎหมาย • นักธุรกิจต้องมีคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต และการแบ่งปันกันในการประกอบธุรกิจด้วย • ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ พนักงานบริษัทฯ ผู้บริโภคและสังคมโดยรวม การรักษาความสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้เสียต่างๆดังกล่าว
วงจรการวางแผนงานขององค์กรวงจรการวางแผนงานขององค์กร
วงจรของการวางแผนงาน P-D-C-A • เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน • ประกอบด้วย การวางแผน – ปฏิบัติ – ตรวจสอบ – ปรับปรุงการดำเนินงาน • การดำเนินกิจกรรม P-D-C-A อย่างเป็นระบบให้ครบวงจรอย่างต่อเนื่องหมุนเวียนเรื่อยๆ ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
Plan • หมายถึง การวางแผนการดำเนินงาน· การกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง /กำหนดเป้าหมาย / วัตถุประสงค์ • · การกำหนดมารตราฐาน เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแผนหรือไม่ • · การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะการดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
Do • หมายถึง การปฏิบัติตามแผน • · การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด • · ก่อนที่จะปฏิบัติจริง ต้องศึกษาข้อมูล และเงื่อนไขต่างๆ ทราบวิธีการและขั้นตอน • · การปฏิบัติจะต้องดำเนินการไปตามแผน วิธีการและขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ และจะต้องเก็บรวบรวมและบันทึก ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในขั้นตอนต่อไป
Check • หมายถึง การประเมินแผน/ตรวจสอบ • · การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ • · การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินปัญหาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของงาน • · ในการประเมินสามารถทำได้เอง เป็นลักษณะของการประเมินตนเอง
Act • หมายถึง การปรับปรุง • · การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการได้ทำการตรวจสอบแล้วแก้ไขแบบเร่งด่วน เฉพาะหน้า หรือการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ • · การปรังปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้นดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ
PDCA มาจากภาษาอังกฤษ 4 คำ ได้แก่ Plan การวางแผน DO ปฏิบัติ Check ตรวจสอบ Act ดำเนินการให้เหมาะสม
วงจร PDCAเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างของวงจร PDCA ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนของวงจร PDCA ประกอบด้วย 1. การวางแผน อย่างรอบคอบ เพื่อ 2. การปฏิบัติ อย่างค่อยเป็นค่อยไป แล้วจึง 3. ตรวจสอบ ผลที่เกิดขึ้น วิธีการปฏิบัติใดมีประสิทธิผลที่สุด ก็จะจัดให้เป็นมาตรฐาน หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ก็ต้องหา4. ขั้นตอนดำเนินงานที่เหมาะสม โดยการมองหาวิธีการปฏิบัติใหม่หรือใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนการวางแผน(Plan) - ครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง - พิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้าง โดยมีการระบุวิธีการเก็บข้อมูลให้ชัดเจน - วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ - กำหนดทางเลือกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ข้อดีของการวางแผน - ช่วยให้คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ - ลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ - ช่วยให้รู้สภาพในปัจจุบัน เพื่อนำไปกำหนดสภาพที่ต้องการให้ เกิดขึ้นในอนาคต
ประเภทของการวางแผน การวางแผนมีอยู่ด้วยการ 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ ประเภทที่1 การวางแผนเพื่ออนาคต ประเภทที่ 2 การวางแผนเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนการปฏิบัติ(DO) ขั้นตอนการปฏิบัติ คือการลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน ในระหว่างการปฏิบัติต้องตรวจสอบด้วยว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับการประสานงานหรือ สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ
ขั้นตอนการตรวจสอบ(Check) ขั้นตอนการตรวจสอบ คือ การประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในแต่ละขั้นตอน สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้าง บ่อยครั้งแค่ไหน ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบจะเป็นประโยชน์สำหรับขั้นตอนต่อไป
แนวทางในการดำเนินการตรวจสอบแนวทางในการดำเนินการตรวจสอบ 1. ตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่1.1 ขั้นการศึกษาข้อมูล1.2 ขั้นการเตรียมงาน การเตรียมงานตามแผนพร้อมหรือไม่ 1.3 ขั้นการดำเนินงาน มีบุคลากรและทรัพยากรหรือไม่1.4 ขั้นตอนการประเมิน มีเครื่องมือและขั้นตอนที่เหมาะสม 2. ตรวจผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ตรวจสอบโดยใช้มาตรฐานที่กำหนด 4. ตรวจสอบความพึงพอใจ
5. การตรวจสอบคุณภาพทั่วทั้งองค์กร โดยดำเนินการดังนี้ - ตรวจสอบด้านบุคลากร- ตรวจสอบขีดความสามารถที่เหมาะสมและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพของวัสดุ- ตรวจสอบวัตถุดิบมีความเพียงพอหรือมีมากเกินความจำเป็นหรือยังใช้ไม่คุ้มค่า- ตรวจสอบระบบการทำงาน- ตรวจสอบระบบการบริหาร
การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ มีส่วนประกอบดังนี้1. เป้าหมายการตรวจสอบ2. ข้อบ่งชี้ที่ใช้ในการตรวจสอบ3. หลักเกณฑ์การประเมิน หรือวัดผล4. ระยะเวลาที่ได้ดำเนินการตรวจสอบ5. สถิติเปรียบเทียบผลการตรวจสอบ6. ข้อจำกัดในขณะที่ทำการตรวจสอบ7. สรุปการตรวจสอบ8. ข้อเสนอแนะแนวทางการตรวจสอบครั้งต่อไป
ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสม(Act)ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสม(Act) ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี คือกรณีที่ 1 ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ กรณีที่ 2 ผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ - มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้- ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม- ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้- เปลี่ยนเป้าหมายใหม่
ประโยชน์ของ PDCA 1. การวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริง 2. ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรค์ล่วงหน้า ทำให้งานเกิดความราบรื่น เรียบร้อยนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ 3. การตรวจสอบให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย 3.1 ตรวจสอบจากเป้าหมายที่กำหนด 3.2 มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้ 3.3 มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน