1 / 25

บทที่ 7 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ

บทที่ 7 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ. รายวิชา : 4072801 โภชน ศาสตร์สาธารณสุข ( Public Health Nutrition) ผู้สอน: อาจารย์ธนัช พร มุลิกะบุตร. เนื้อหาประจำบท. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการ เฝ้าระวังทาง โภชนาการ การ พัฒนาระบบและกระบวนการเฝ้าระวังทางโภชนาการ

fmaxwell
Download Presentation

บทที่ 7 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ รายวิชา : 4072801 โภชนศาสตร์สาธารณสุข (Public Health Nutrition) ผู้สอน: อาจารย์ธนัชพร มุลิกะบุตร

  2. เนื้อหาประจำบท • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • การพัฒนาระบบและกระบวนการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • การดำเนินงาน เฝ้าระวังทางโภชนาการในประเทศไทย

  3. 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ

  4. 1.1 ความหมายและความสำคัญการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • การเฝ้าระวังทางโภชนาการ (National surveillance)เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้เครื่องบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการทั้งในปัจจุบันและอนาคต และนำข้อมูลไปประกอบการวางแผนการดำเนินงานควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหา ทุพโภชนาการที่มีอยู่ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ • เป็นกระบวนการที่สำคัญในการป้องกันปัญหาโภชนาการ และส่งเสริมภาวะโภชนาการของประชาชนให้ดีขึ้น ในการค้นหาปัญหาและรายงานข้อมูล • ทั้งนี้ยังมีกระบวนการอื่นๆ คือ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา เลือกแนวทางแก้ไขปัญหา ดำเนินการแก้ไขปัญหา ติดตามการดำเนินงานแก้ไขว่าได้ผลหรือไม่ • และนำไปสู่การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การควบคุมป้องกัน แก้ไขปัญหาโภชนาการและส่งเสริมภาวะโภชนาการของประเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  5. 1.2 วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • เพื่อการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการของบุคคลทุกคน ครอบครัว และชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาทางทุพโภชนาการ • เพื่อระบุภาวะโภชนาการของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะและระดับความรุนแรงของปัญหาโภชนาการ • เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถใช้วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และช่วยในการตัดสินใจ รวมทั้งการคัดเลือกวิธีในการควบคุมป้องกันปัญหาโภชนาการที่มีประสิทธิภาพ • เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ ลำดับความสำคัญของปัญหา และจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  6. 1.2 วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • เพื่อใช้ในการทำนายแนวโน้มปัญหาทุพโภชนาการ โดยใช้สถานการณ์ในปัจจุบันวิวัฒนาการของปัญหาทุพโภชนาการที่เป็นไปได้ในอนาคต • เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนงานระยะยาวด้านโภชนาการและสุขภาพ โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีศักยภาพ รวมทั้งกำหนดกลวิธีที่จะป้องกันภาวะวิกฤตด้านอาหารและโภชนาการ • เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ควบคุมกำกับ และประเมินประสิทธิผลของโครงการ ซึ่งส่งผลต่อภาวะโภชนาการของประชากร • เตือนภัยล่วงหน้า ( Timely warning information System) ที่อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการของประชากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  7. 1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ ธรรมชาติของการเกิดโรค : ระยะก่อนการเกิดโรค หากไม่สมดุลกัน จะเกิดผลกระทบต่อการเกิด ปัญหาโภชนาการ หากไม่สมดุลกัน จะเกิดผลกระทบต่อการเกิด ปัญหาโภชนาการ หากไม่สมดุลกัน จะเกิดผลกระทบต่อการเกิด ปัญหาโภชนาการ

  8. 1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ ธรรมชาติของการเกิดโรค : ระยะเกิดโรค เมื่อ 3 ปัจจัย ขาดความสมดุลต่อกัน จะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการ และโรคที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนโรคจากพิษจากอาหาร เช่น มะเร็ง ภูมิแพ้ เป็นต้น ธรรมชาติของการเกิดโรค : ระยะหลังเกิดโรค • เมื่อกลุ่มเป้าหมายเกิดปัญหาทุพโภชนาการ และได้รับการบำบัดรักษาแล้ว ผู้ป่วยอาจหายจากการเป็นโรค หรืออาจป่วยเรื้อรัง • จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังเป็นรายบุคคล หรือในภาพรวมชุมชน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการขึ้นอีก • หรือถ้าเกิดขึ้นอีก จะได้ทำการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขได้ทัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  9. 1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ การดำเนินการควบคุมป้องกันปัญหาทุพโภชนาการ ป้องกันก่อนการเกิดโรค กิจกรรมสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและยกระดับภาวะโภชนาการ คือ การคุ้มครองผู้บริโภค การให้ภูมิคุ้มกันโรคและสร้างความสมดุลของสภาวะแวดล้อม การป้องกันปฐมภูมิ การค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก เพื่อควบคุมป้องกันปัญหาทุพโภชนาการ การเกิดโรค และบำบัดรักษา การป้องกันทุติยภูมิ การป้องกันระยะสุดท้ายของการเกิดโรค โดยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น และควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดกับบุคคลอื่น การป้องกันตติยภูมิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  10. 1.4 การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ • เฝ้าระวังติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาวะของร่างกายเป็นรายบุคคล เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เป็นต้น แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน หรือการตรวจสุขภาพ สามารถบ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆทางโภชนาการของบุคคลได้ • ควรสร้างความตระหนักและทำให้เกิดการดูแลเบื้องต้นด้วยตนเอง ต้องมีความรู้ ทัศนคติ และการเฝ้าระวังที่ถูกต้องในการติดตามเฝ้าระวังทางโภชนาการและการบริโภคอาหาร ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  11. 1.4 การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ • จะต้องทราบปัญหาโภชนาการในกลุ่มประชาชนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และนำไปกำหนดแนวทางแก้ไข • ชุมชนต้องเห็นความสำคัญของกระบวนการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและสุขภาพของประชาชน ควรมีการประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับหน่วยงานอื่นๆทำงานร่วมกัน การค้นหาปัญหา ระดับชุมชน การรวบรวมข้อมูล การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  12. 1.4 การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ • จะต้องทราบปัญหาโภชนาการในกลุ่มประชาชนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และนำไปกำหนดแนวทางแก้ไข • ชุมชนต้องเห็นความสำคัญของกระบวนการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและสุขภาพของประชาชน ควรมีการประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับหน่วยงานอื่นๆทำงานร่วมกัน ระดับประเทศ กลยุทธ์หลักในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูล ( Data Collection) ใช้กระบวนการ Triple-A approach (ขนาดความรุนแรงของปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมภาวะโภชนาการ) การไหลของข้อมูล ( Data Flow) มีการส่งต่อข้อมูลจากระดับล่างเข้ามายังส่วนกลาง การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data analysis) ควรดำเนินการทั้งระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบันและข้อมูลในอดีตรวมทั้งคาดคะเนแนวโน้มของปัญหาในอนาคต การนำข้อมูลเฝ้าระวังมากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและส่งเสริมภาวะโภชนาการ ( input to Decision-Making)ระบบเฝ้าระวังที่ดีนั้นต้องนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขปัญหาระดับชุมชน และเสนอข้อมูลแก่ผู้รับผิดชอบในระดับบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  13. 2. การพัฒนาระบบและกระบวนการเฝ้าระวังทางโภชนาการ

  14. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552 2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.1 ข้อมูลสถานการณ์ทางโภชนาการ พื้นที่เขตเมือง/ชนบท ภูมิศาสตร์ แหล่งอาหาร สภาพแวดล้อม อายุ เพศ ภาวะสรีรวิทยา (ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร) กลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม รายได้ การเข้าถึงบริการสาธารณสุข

  15. 2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.1 ข้อมูลสถานการณ์ทางโภชนาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  16. 2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.2 ข้อมูลที่เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาทุพโภชนาการ    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  17. 2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.3 ข้อมูลสภาวะแวดล้อม จะเป็นข้อมูลสำหรับการคาดคะเน/เตือนให้ทราบก่อนที่จะเกิดปัญหาทุพโภชนาการ เช่น แหล่งน้ำ ผลผลิตทางการเกษตร ปริมาณน้ำฝน 2.2 แหล่งข้อมูล 2.2.1 ระบบรายงาน เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ทำให้ทราบสถานการณ์แนวโน้มของปัญหาทุพโภชนาการ แต่ไม่สามารถแยกรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น การศึกษา อาชีพ รายได้ เป็นต้น 2.2.2 การสำรวจ/การศึกษาวิจัย จะมีความถูกต้องมากกว่า ซึ่งข้อมูลที่ได้มาต้องเป็นตัวแทนของประชากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  18. 2.3 การเลือกตัวชี้วัด มาตรฐาน และเกณฑ์ตัดสินภาวะโภชนาการ • 2.3.1 ตัวชี้วัด/วิธีการประเมินภาวะโภชนาการ จะต้อง • มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการ/บอกลักษณะของปัญหาได้ถูกต้อง • ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก • เหมาะสมต่อสถานการณ์ • เสียค่าใช้จ่ายน้อย • 2.3.2 มาตรฐานและเกณฑ์การตัดสินการประเมินภาวะโภชนาการ เป็นระบบสากลหรือกำหนดขึ้นใช้ภายในประเทศ 2.4 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • ควรคำนึงถึงความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในชุมชน • เมื่อดำเนินงานไประยะหนึ่ง ควรปรับปรุงหรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้น โดยพิจารณาว่ามีจุดอ่อนหรือข้อผิดพลาดที่ขั้นตอนใดบ้าง • ปรับปรุงระบบทำได้โดยการปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  19. 2.5 การกำหนดระบบรายงาน 2.5.1 การสร้างแบบฟอร์มรายงาน 2.5.2 การกำหนดความถี่ในการเก็บข้อมูลและการรายงาน 2.5.3 การกำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูลและการไหลของข้อมูล 2.6 การนำไปใช้ 2.6.1 ประชุมชี้แจงผู้ปฏิบัติในทุกระดับ 2.6.2 ฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในชุมชน 2.6.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเฝ้าระวัง ควรเป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ราคาไม่แพง 2.6.4 การนิเทศติดตาม ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  20. 2.7 การประเมินผลและปรับปรุงระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.7.1 การเข้าไปสังเกตการณ์การดำเนินงานเฝ้าระวังและติดตามผล 2.7.2 การสนทนากลุ่ม กับกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมาย เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.7.3 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2.7.4 การใช้แบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถาม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  21. 3. การดำเนินงาน เฝ้าระวังทางโภชนาการในประเทศไทย

  22. 3.1 การดำเนินงาน เฝ้าระวังทางโภชนาการในประเทศไทย • โรคขาดโปรตีนและพลังงานในหญิงตั้งครรภ์ทารกและเด็กก่อนวัยเรียน และวัยเรียน • โรคขาดสารไอโอดีน • โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์และเด็กวัยเรียน 3.2 แนวคิดการดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการในอนาคตของประเทศไทย • ควรมีการปรับปรุงการดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการแบบบูรณาการ • การประสานงานและการสร้างภาคีเครือข่ายการเฝ้าระวังทางโภชนาการระดับชุมชน ครัวเรือน และบุคคล • ดำเนินงานควบคุมป้องกันปัญหาทุพโภชนาการในบางกลุ่มเป้าหมาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552

  23. คำถามท้ายบท • การเฝ้าระวังทางโภชนาการ มีความหมายอย่างไร • ระบุปัจจัยของการเกิดปัญหาทุพโภชนาการ • การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ มีกี่ระดับ อะไรบ้าง • จงอธิบายองค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโภชนาการ

  24. เอกสารอ้างอิง • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2552. โภชนศาสตร์สาธารณสุข (Nutrition in health) หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. • สำนักโภชนาการ.ระบบเฝ้าระวังด้านโภชนาการ. ค้นหาเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560, จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/main.php?filename=surveillance.

  25. Thank You

More Related