790 likes | 1.05k Views
Math for TOI. อ.จรรยา อ้นปันส์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัย บูรพา 04/03/62. หัวข้อ. 1. กฎการบวกและกฎการคูณ ( Sum Rule and Product Rule) 2. หลักการเพิ่มเข้าและตัดออก ( Inclusion-Exclusion Principle) 3. หลักรังนกพิราบ ( Pigeonhole Principle)
E N D
Math for TOI อ.จรรยา อ้นปันส์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา 04/03/62
หัวข้อ 1. กฎการบวกและกฎการคูณ (SumRuleandProduct Rule) 2. หลักการเพิ่มเข้าและตัดออก (Inclusion-Exclusion Principle) 3. หลักรังนกพิราบ (Pigeonhole Principle) 4. การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ (Permutation and Combination) 5. การจัดหมู่แบบ Stars and Bars 6. สามเหลี่ยมปาสคาล และ สัมประสิทธิ์ทวินาม (Binomial Coefficient) 7. การอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ (Math Induction)
1. กฎการบวกและกฎการคูณ(SumRuleandProduct Rule)
แผนภาพต้นไม้ • การหาจำนวนวิธีการทำงานต่างๆนั้น วิธีพื้นฐานที่สุดนั้นคือการเขียนแจกแจงจำนวนวิธีออกมาโดยตรง ตัวอย่าง นายเคน มีเสื้อ 2 ตัว กางเกง 4 ตัว นายเคนจะมีวิธีการแต่งตัวไปเที่ยวกี่วิธี
หลักการนับ • สำหรับการทำงานบางอย่างที่มีจำนวนวิธีการทำงานมาก การแจกแจงวิธีด้วยแผนภาพต้นไม้คงจะไม่สะดวกนัก โดยทั่วไปเราจะใช้หลักการนับในการคำนวณหาจำนวนวิธี ซึ่งมีกฎที่สาคัญอยู่ 2 ข้อ • กฎการบวก (Sum rules) • กฎการคูณ (Product rules)
กฎการบวก (Sum Rules) ทฤษฎีบท งานอย่างที่ 1 มีวิธีทำได้ n1วิธี งานอย่างที่ 2 มีวิธีทำได้ n2วิธี ... งานอย่างที่ k มีวิธีทำได้ nkวิธี ถ้าต้องการเลือกทำงานเพียง 1 งานจากงานทั้งหมดที่มี จำนวนวิธีที่จะเลือกได้เท่ากับ n1 + n2 + ... + nk วิธี
Example โจทย์ นิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มีจำนวนนิสิตใน • สาขาวิชา CS จำนวน 137 คน • สาขาวิชา IT จำนวน 140 คน • สาขาวิชา SE จำนวน 63 คน ถ้าต้องการเลือกตัวแทนนิสิต 1 คนจากคณะนี้ จะมีวิธีเลือกได้กี่วิธี วิธีทำ จำนวนวิธีในการเลือกตัวแทนนิสิตเท่ากับ 137 + 140 + 63 = 340 วิธี
กฎการคูณ (Product Rules) ทฤษฎีบท ถ้างานอย่างหนึ่งมีวิธีเลือกทำได้ n1วิธี ในวิธีที่เลือกทำงานอย่างแรก มีวิธีเลือกทำงานอย่างที่ 2 ได้ n2วิธี ในวิธีที่เลือกทำงานอย่างแรก และอย่างที่ 2 มีวิธีเลือกทำงานอย่างที่ 3 ได้ n3วิธี ... จำนวนวิธีทั้งหมดที่เลือกทำงาน k อย่างเท่ากับ n1 x n2 x n3 x … nkวิธี
Example โจทย์ ต้องการสร้างสตริงที่มีความยาว 7 บิตโดยแต่ละบิตมีค่าที่เป็นไปได้คือ 0 และ 1 จงหาว่าจะมีวิธีสร้างสตริงได้กี่วิธี วิธีทำ จำนวนวิธีในการสร้างบิตที่ 1 = 2 จำนวนวิธีในการสร้างบิตที่ 2 = 2 จำนวนวิธีในการสร้างบิตที่ 3 = 2 … จำนวนวิธีในการสร้างบิตที่ 7 = 2 ดังนั้น จำนวนวิธีในการสร้างสตริงนี้คือ 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2 = 27วิธี
Exercises 1. โรงอาหารแห่งหนึ่งมีอาหาร 4 ชนิด และ เครื่องดื่ม 3 ชนิด จงหาวิธีที่นิสิตจะซื้ออาหารพร้อมเครื่องดื่มอย่างละชนิด 4 x 3 = 12 วิธี 2. การเดินทางจากเมือง A ไปเมือง B มีเส้นทาง 4 เส้น จากเมือง B ไปเมือง C มี 5 เส้นทาง และ จากเมือง A ไปเมือง C ทั้งหมด 2 เส้นทาง จงหาว่า - มีกี่วิธีที่จะเดินทางจากเมือง A ไปเมือง C โดยผ่านเมือง B ด้วย 4 x 5 = 20 วิธี - มีกี่วิธีที่จะเดินทางจากเมือง A ไปเมือง C 20 + 2 = 22 วิธี
Exercises 3. กำหนดตัวเลข 0,1,2,3,4,5 ต้องการสร้างชุดตัวเลขจากตัวเลขที่กำหนด 3 ตำแหน่ง โดยชุดตัวเลขที่สร้างจะต้องไม่ขึ้นต้นด้วยเลข 1 และตัวเลขที่ปรากฏในแต่ละชุดจะต้องไม่ซ้ำกัน จงหาจำนวนเลขชุดที่เป็นไปได้ทั้งหมด 5 x 5 x 4 = 100 วิธี 4. สถานนีรถไฟแห่งหนึ่งมีชานชาลาจอดรถไฟทั้งหมด 7 ชานชาลา ถ้ามีรถไฟเข้าจอด 4 ขบวน จะมีวิธีจัดรถไฟให้เข้าจอดในชานชาลาได้กี่วิธี 7 x 6 x 5 x 4 = 840 วิธี
Set Theoretic Version ถ้าAเป็นเซตของวิธีที่จะทำงาน 1, และBเป็นเซตของวิธีที่จะทำงาน 2 และถ้าAและBไม่มีสมาชิกร่วม(disjoint) ดังนั้น: วิธีที่จะทำงาน 1 หรืองาน 2 คือAB, และ|AB|=|A|+|B| (จำนวนวิธีที่จะเลือกสมาชิกใดๆจากเซตใดเซตหนึ่ง) วิธีที่จะทำงาน 1 และ 2 แทนด้วยAB, และ|AB|=|A|·|B| (จำนวนวิธีที่จะเลือกสมาชิกหนึ่งๆจากทั้งสองเซต) 12
2. หลักการเพิ่มเข้า - ตัดออก(Inclusion-Exclusion Principle)
Inclusion-Exclusion Principle • เมื่อบางส่วนของงานสองงานสามารถเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันจำนวนทางที่ทำงานได้ในเวลาเดียวกันจะถูกนับสองครั้ง จะต้องลบจำนวนทางที่ทำงานทั้งสองในเวลาเดียวกันนั้นออก • ถ้าAเป็นเซตของวิธีที่จะทำงาน 1, และBเป็นเซตของวิธีที่จะทำงาน 2 และถ้าAและBมีสมาชิกร่วมกัน ดังนั้น วิธีที่จะทำงาน 1 หรืองาน 2 คือ |AB| = |A| + |B| - |AB|
Inclusion-Exclusion Principle • จำนวนเต็มตั้งแต่ 1 ถึง 20 ที่หารด้วย 2 หรือ 3 ลงตัวมีกี่จำนวน • การแก้ปัญหานี้เราอาจคิดแยกเป็น 2 กรณี คือ • ตัวเลขที่หารด้วย 2 ลงตัว มี 10 จำนวน (2,4,6,8,10,12,14,16,18,20) • ตัวเลขที่หารด้วย 3 ลงตัว มี 6 จำนวน (3,6,9,12,15,18) • สังเกตเห็นว่ามี 3 จำนวน คือ 6, 12 และ 18 ถูกนับในทั้ง 2 กรณี • ดังนั้นถ้าเราจะนับรวมทั้ง 2 กรณีเข้าด้วยกัน เราต้องนับ 6, 12 และ 18 เพียงกรณีเดียว หรือ หักทั้งสามจำนวนออกจากผลรวมของการรวม 2 กรณีเข้าด้วยกัน จำนวนตัวเลข 1 – 20 ที่หารด้วย 2 หรือ 3 ลงตัว = 10 + 6 – 3 = 13
Inclusion-Exclusion principle • จากปัญหาดังกล่าว สามารถแสดงเป็นแผนภาพเวนน์ได้ดังนี้ โดย • A เป็นเซตของจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว • B เป็นเซตของจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว • จากแผนภาพจะได้ว่า |AB| = |A| + |B| - |AB| ซึ่งได้ 13 จำนวน A B 2, 4, 8, 10, 14, 16, 20 1, 5, 7, 11, 13, 17, 19 3, 9, 15 6, 12, 18 U
Exercises • จงหาจำนวนวิธีสร้างบิตสตริงยาว 8 ตำแหน่ง ที่เริ่มต้นด้วยเลข 1 หรือลงท้ายด้วยเลข 00 มีกี่วิธี? |A|:สร้างบิตสตริงที่ยาว 8 ตำแหน่งและเริ่มต้นด้วยเลข 1 มี1 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งแรก คือหยิบได้เฉพาะเลข 1 (1), มี 2 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่สอง (0 หรือ 1), มี 2 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่สาม (0 หรือ 1), . . . มี 2 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่แปด (0 หรือ 1) Product rule: สามารถสร้างบิตสตริงได้ 27 = 128 วิธี
Exercises |B|:สร้างบิตสตริงที่ยาว 8 ตำแหน่งและลงท้ายด้วย 00 มี 2 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งแรก(0 หรือ 1), มี2 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่สอง(0 หรือ 1), . . . มี2 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่หก(0 หรือ 1), มี1 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่เจ็ด(0), และ มี 1 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่แปด(0) Product rule: สามารถสร้างบิตสตริงได้ 26 = 64 วิธี
Exercises |A ∩ B|:จำนวนบิตสตริงที่เริ่มต้นด้วยเลข 1 และ ลงท้ายด้วย 00 หาได้จาก มี 1 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งแรก (1), มี 2 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่สองถึง ตำแหน่งที่หก (0 หรือ 1), มี 1 วิธีที่จะกำหนดให้ตำแหน่งที่เจ็ด, แปด(0) Product rule: มี 25 = 32 วิธี ดังนั้น วิธีสร้างบิตสตริงที่ยาว 8 ตำแหน่ง ที่เริ่มต้นด้วยเลข 1 หรือลงท้ายด้วยเลข 00 ว่ามี 128 + 64 – 32 = 160 วิธี
3. หลักรังนกพิราบ (Pigeonhole Principle)
1. หลักรังนกพิราบ (pigeonhole principle) • ถ้ามีนกพิราบ 4 ตัว บินมายังรังนกจำนวน 3 รังเพื่อที่จะหาที่พักอาศัย เนื่องจากจำนวนนก มากกว่า จำนวนรัง พบว่าจะมีอย่างน้อย 1 รังที่มีนกอย่างน้อย 2 ตัวอาศัยอยู่ในนั้น Theorem (The Pigeonhole principle) : หากมีนกพิราบอยู่ n ตัว แล้วต้องการนำนกพิราบเหล่านี้ไปใส่ในรัง m รัง โดยที่ n>m แล้วจะได้ว่าจะมีอย่างน้อย 1 รังที่มีนกพิราบอย่างน้อย 2 ตัว
Example 1. ถ้ามีคนอยู่ 6คน จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีอย่างน้อย 2 คนเกิดในเดือนเดียวกัน ไม่จำเป็นเนื่องจากจำนวนคนน้อยกว่าเดือน 2. ถ้ามีคนอยู่ 13 คน จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีอย่างน้อย 2 คนเกิดในเดือนเดียวกัน จำเป็นเนื่องจากมี 12 เดือน 3. คำภาษาอังกฤษ 27 คำ จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีอย่างน้อย 2 คำที่เริ่มต้นด้วยตัวอักษรเดียวกัน จำเป็น เพราะมีแค่ 26 ตัวอักษร 4. ต้องมีนักเรียนกี่คนในห้อง จึงจะรับประกันได้ว่ามีอย่างน้อย 2 คนที่ได้คะแนนสอบเท่ากัน ถ้าคะแนนสอบที่เป็นไปได้คือ 0 – 100 ต้องมี 102 คน เพราะมีคะแนนสอบที่เป็นไปได้ทั้งหมด 101 ค่า
The Generalized Pigeonhole Principle • ถ้ามีลูกบอลอยู่ 10 ลูก นำใส่ในกล่อง 4 กล่อง จะมีอย่างน้อย 1 กล่อง ที่มีวัตถุอยู่อย่างน้อย = 3 ชิ้น Theorem (The Generalized Pigeonhole Principle) : ถ้า nวัตถุ ถูกวางใน k กล่อง จะมีอย่างน้อย 1 กล่อง ที่มีวัตถุอยู่อย่างน้อย ชิ้น
The Generalized Pigeonhole Principle • ต้องมีลูกบอลอย่างน้อยกี่ลูก จึงจะมีลูกบอลอย่างน้อย 3 ลูกในกล่องเดียวกัน จากทั้งหมด 4 กล่อง ต้องมีลูกบอลอย่างน้อย: n = 4 * (3 – 1) + 1 = 9 ลูก ถ้าเราต้องการรู้ว่า จำนวนขั้นต่ำของวัตถุที่ต้องมีเป็นเท่าไหร่ จึงจะมีวัตถุอย่างน้อย r ชิ้น อยู่ใน 1 กล่อง จากทั้งหมด k กล่อง คำนวณได้จาก n = k(r-1) + 1
Exercises 1. ถ้ามีคน 100 คน จะมีอย่างน้อยกี่คนที่เกิดเดือนเดียวกัน = = 9 คน 2. ถ้านักเรียนในห้องนี้มี 22 คน จะมีอย่างน้อยกี่คนที่มีเบอร์โทรศัพท์ลงท้ายด้วยเลขเดียวกัน = = 3 คน 3. จำนวนนักเรียนน้อยสุดที่ต้องมีในห้อง เพื่อรับประกันว่าจะมีอย่างน้อย 6 คนที่ได้เกรดเหมือนกันในวิชาคณิตฯ ถ้าวิชานี้มีทั้งหมด 5 เกรดที่เป็นไปได้ (0-4) N = 5 * (6-1) + 1 = 26 คน
Exercises 4. ให้ A= {1, 2, 3, 4, 5, 6} จะต้องเลือกตัวเลขออกมาอย่างน้อยกี่ตัวเพื่อรับประกันว่ามีอย่างน้อย 1 คู่ที่บวกกันได้ 7 N = 3 * (2-1) + 1 = 4 ตัว เนื่องจากผลรวมของตัวเลขเป็น 7 มี 3 คู่ คือ {1+6, 2+5, 3+4} 5. ต้องหยิบไพ่ออกมากี่ใบจากสำรับที่มีไพ่ทั้งหมด 52 ใบ เพื่อรับประกันว่าจะมีอย่างน้อย 3 ใบ ที่อยู่ในชุดเดียวกัน N = 4 * (3-1) + 1 = 9 ใบ
Exercises 6. ต้องหยิบไพ่ออกมากี่ใบ เพื่อรับประกันว่ามีไพ่อย่างน้อย 3 ใบจากชุดโพแดงถูกเลือก Solกรณีแย่สุดๆ ได้ไพ่ชุดอื่นๆ (โพดำ, ข้าวหลาม, ดอกจิก) จนครบ จะได้ 39 ใบ จากนั้นหยิบไพ่ในชุดโพแดงมาอีก 3 ใบ จะได้ 39 + 3 = 42 ใบ
4. การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ (Permutation and Combination)
การเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) • ศึกษาการเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของ (Permutation) ที่มีจำนวนจำกัด โดยคำนึงถึงตำแหน่งการเรียงของสิ่งของ • ซึ่งมักจะสนใจจำนวนวิธีซึ่งได้ตำแหน่งการเรียงสิ่งของที่แตกต่างกัน • โดยการหาจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของจะใช้หลักการนับเป็นพื้นฐานในการคำนวณ
การเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) 1 ทฤษฎีบท 1 จำนวนวิธีจัดลำดับของ n สิ่งที่แตกต่างกัน โดยจัดครั้งละ n คือ n! • โดยที่ n! คือ ผลคูณของเลขจำนวนเต็มบวกตั้งแต่ n ถึง 1 • นั้นคือ n! = n x (n-1) x (n-2) x … x 1 ตัวอย่าง มีตัวอักษร 3 ตัว คือ a, b, c ต้องการนำตัวอักษร 3 ตัวนี้มาเรียงต่อกันเป็นข้อความ จะทำได้กี่วิธี จะเห็นว่าเมื่อนำตัวอักษร 3 ตัวนี้มาเรียงต่อกันเป็นข้อความ จะได้ {abc, acb, bac, bca, cab, cba} ดังนั้น สามารถสร้างข้อความได้ 3! = 3 x 2 x 1 = 6 วิธี
Example • จากตัวอักษรคำว่า COMPUTER • สามารถนำมาจัดเรียงใหม่ได้กี่วิธี 8! วิธี • ถ้ากำหนดว่าตัวอักษร CO ต้องอยู่ติดกันเสมอ จะจัดเรียงได้กี่วิธี 7! วิธี • จงหาจำนวนวิธีจัดเรียงที่ตัวอักษร CO ไม่อยู่ติดกันเสมอ จำนวนวิธีการจัดเรียงทั้งหมด = 8! จำนวนวิธีที่เรียงโดย CO ติดกัน = 7! ดังนั้น จำนวนวิธีที่ CO ไม่อยู่ติดกัน = 8! – 7! วิธี
วิธีเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) 2 ทฤษฎีบท 2 จำนวนวิธีจัดเรียงของ n สิ่งที่แตกต่างกัน โดยนำมาจัดครั้งละ r สิ่ง เมื่อ r < n จะมีวิธีจัดได้ แทนด้วยสัญลักษณ์ nPrหรือ P(n,r) ตัวอย่างมีตัวอักษร 3 ตัว คือ a, b, c ต้องการนำตัวอักษร 2 ตัว มาเรียงต่อกันเป็นข้อความ จะทำได้กี่วิธี จะเห็นว่าเมื่อนำตัวอักษร 2 ตัว จากทั้งหมด 3 ตัว มาเรียงต่อกันเป็นข้อความ จะได้{ab, ac, ba, bc, ca, cb} ดังนั้น สามารถสร้างข้อความได้ P3,2 = = 3 x 2 = 6 วิธี
Exercises • จากคำว่า BYTES • จงหาจำนวนวิธีที่จะจัดเรียงตัวอักษร 3 ตัวจากคำนี้ P(5,3) = 5! / 2! = 60 วิธี • จงหาจำนวนวิธีที่จะจัดเรียงตัวอักษร 3 ตัวจากคำนี้ โดยกำหนดว่าต้องขึ้นต้นด้วย B P(4,2) = 4! / 2! =12 วิธี
Exercises 2. มีข้อสอบ 10 ข้อต้องการแจกให้นักเรียน 8 คน คนละ 1 ข้อ จะมีวิธีแจกอย่างไรเพื่อให้ นักเรียนแต่ละคนได้ข้อสอบไม่ซ้ำกัน P(10,8) = 10! / 2! 3. การออกแบบวงจรไฟฟ้าโดยเลือกตัวต้านทาน 4 ชุด จากตัวต้านทานที่มีความแตกต่างกันทั้งหมด 8 ชุด มาต่ออนุกรมกัน จงหาว่ามีวงจรไฟฟ้าที่เป็นไปได้ทั้งหมดกี่แบบ P(8,4) = 8! / 4!
วิธีเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) 3 ตัวอย่างมีตัวอักษร 3 ตัว คือ a, b, c ต้องการนำตัวอักษร 2 ตัวนี้มาเรียงต่อกันเป็นข้อความ โดยให้ตัวอักษรซ้ำกันได้ จะทำได้กี่วิธี จะเห็นว่าเมื่อนำตัวอักษร 2 ตัว จากทั้งหมด 3 ตัว มาเรียงต่อกันเป็นข้อความ โดยตัวอักษรซ้ำกันได้ จะได้ {aa, ab, ac, ba, bb, bc, ca, cb, cc} ดังนั้น มีจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนตัวอักษรได้ทั้งหมด 32 = 9 วิธี ทฤษฎีบท 3 จำนวนวิธีในการจัดลำดับของครั้งละ r สิ่ง จากของทั้งหมด n สิ่ง โดยอนุญาตให้ของซ้ำกันได้ จะมีวิธีจัดเรียงทั้งหมด nr
วิธีเรียงสับเปลี่ยนเป็นวงกลมวิธีเรียงสับเปลี่ยนเป็นวงกลม ทฤษฎีบท 4 จำนวนวิธีในการจัดของ n สิ่งที่แตกต่างกัน เป็นวงกลม คือ (n-1)! ตัวอย่าง จงหาจำนวนวิธีที่จะจัดคน 6 คนนั่งรอบโต๊ะกลม วิธีทำ จำนวนวิธีที่จัดของเป็นวงกลมคือ (n-1)! = (6-1)! = 5! วิธี
วิธีเรียงสับเปลี่ยนของ nสิ่งที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด ทฤษฎีบท การจัดลำดับของ n สิ่ง ซึ่งมี n1สิ่งที่เหมือนกัน n2สิ่งที่เหมือนกัน ... nkสิ่งที่เหมือนกัน จะได้จำนวนวิธีจัดเท่ากับ
Example การจัดลำดับตัวอักษร 3 ตัว x , y , z โดยจัดทีละ 3 ตัวจะได้จำนวน 6 วิธี คือ x y z y x z z x y x z yy z x z y x ถ้าในกลุ่มของสิ่งเหล่านี้ มีบางสิ่งเหมือนกันเช่น y และ z เหมือนกัน การจัดรูปแบบจะเหลือแค่ 3 แบบ (แทน y และ z ด้วย w) x w w w x w w x w x w ww w x w w x สาเหตุเพราะ การสลับที่ของของที่ซ้ำกัน ไม่ถือเป็นวิธีใหม่ นั่นคือ วิธีการจัดลำดับตัวอักษรนี้คำนวณได้จาก 3! / 2! = 6/2 = 3 วิธี
Example • จากคำว่า INTELLIGENCE • สามารถจัดคำๆนี้ได้เป็นข้อความต่างๆ ได้กี่วิธี 12! / 2! 2! 3! 2! • สามารถจัดคำๆนี้ได้เป็นข้อความต่างๆ ได้กี่วิธี ถ้าคำเหล่านั้นต้องเริ่มต้นด้วยตัว T และลงท้ายด้วยตัว G 10! / 2! 2! 3! 2! • สามารถจัดคำๆนี้ได้เป็นข้อความต่างๆ ได้กี่วิธี ถ้ากำหนดว่า INT ต้องอยู่ติดกัน และ IG ต้องอยู่ติดกัน 9! / 3! 2!
การจัดหมู่ (Combination) การเลือกสิ่งของจำนวนหนึ่งขึ้นมาจากสิ่งของที่มีทั้งหมด โดยไม่สนใจลำดับการจัดเรียงของสิ่งของที่เลือก ตัวอย่าง มีตัวอักษร 3 ตัว คือ a,b,cต้องการจัดกลุ่มตัวอักษร กลุ่มละ 2 ตัวได้กี่วิธี วิธีทำ จัดได้ 3 วิธีคือ {a,b} , {a,c} , {b,c} ข้อสังเกตเมื่อไม่คำนึงถึงลำดับ {a,b} กับ {b,a} ถือเป็นกลุ่มเดียวกันนับเป็นแค่ 1 วิธี ดังนั้น จัดกลุ่มตัวอักษร ได้ 3C2 = 3 วิธี ทฤษฎีบท 1จำนวนวิธีจัดหมู่ของของ n สิ่งที่แตกต่างกัน โดยนำมาจัดทีละ r สิ่ง คือ แทนด้วยสัญลักษณ์ nCrหรือ C(n,r)
Example • มีกี่วิธีที่จะเลือกกรรมการ 3 คน จากสามีภรรยา 4 คู่ • ถ้าทุกคนมีโอกาสได้รับเลือกเท่าๆ กัน C(8,3) = 8! / 3!5! = 8 x 7 = 56 • ถ้ากรรมการต้องประกอบด้วย หญิง 2 คน ชาย 1 คน กรรมการหญิง 2 คน C(4,2) = 4! / 2!2! = 6 กรรมการชาย 1 คน C(4,1) = 4! / 3! = 4 ดังนั้น มีวิธีเลือกได้ทั้งหมด 6 x 4 = 24
วิธีจัดหมู่ (Combination) 2 ตัวอย่าง มีตัวอักษร a และ b จงหาจำนวนวิธีจัดหมู่ให้เกิดเป็นข้อความที่มี 3 ตัวอักษร โดยอนุญาตให้ใช้ตัวอักษรซ้ำกันได้ ถ้าใช้การนับปกติจะได้ 4 แบบ a aa(a หมด) b bb(b หมด) a a b(a 2 b 1) b b a (a 1 b 2) • หากจำนวนสิ่งของมากกว่านี้ การนับเองอาจยุ่งยาก จึงมีการสร้างสูตรขึ้นมาโดยใช้การพิจารณาจาก จำนวนประเภทของสิ่งของ และ จำนวนสิ่งของที่ต้องการจัดหมู่ ทฤษฎีบท 2 การจัดหมู่ของสิ่งของ r สิ่ง โดยเลือกจากสิ่งของทั้งหมดที่แบ่งออกเป็น n กลุ่ม (หรือ n ประเภท) โดยซ้ำกันได้ ทำได้ C(r+n-1 , r) วิธี
Example จากกลุ่มตัวอักษร a, b ,c จงหาจำนวนวิธีจัดหมู่ให้ได้ตัวอักษร 2 ตัว โดยสามารถใช้ตัวอักษรซ้ำได้ วิธีทำ แทนค่าตามสูตรในทฤษฎีบทที่ 2 นั่นคือ C(r+n-1 , r) โดยที่ จำนวนสิ่งของที่ต้องการจัดหมู่คือ r =2 จำนวนประเภทของสิ่งของคือn =3 ดังนั้น แทนค่าจะได้เป็น C(2+3-1,2) = C(4,2) = 4!/2!2! = 2 x 3 = 6 วิธี
Exercises ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง มีหนังสือที่นาย ก. สนใจอยู่ 3 ประเภท คือ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ และ ประวัติศาสตร์ ถ้านาย ก. อยากยืมหนังสือเหล่านี้ทั้งหมด 6 เล่มจะทำได้กี่วิธี วิธีทำนาย ก. ต้องการหนังสือ 6 เล่ม (r= 6) จากหนังสือทั้งหมด 3 ประเภท (n = 3) นาย ก. จะมีวิธีเลือกหนังสือได้ C(6+3-1,6) = C(8,6) = 8!/6!2! = 8 x 7 x 6! / 6!2! = 28 วิธี
Stars and Bars • เทคนิคในการนับจำนวนวิธีในการแบ่งของที่เหมือนกันให้คนจำนวนหนึ่ง • เนื่องจากของทุกชิ้นเหมือนกันดังนั้นใครจะได้ชิ้นไหนไม่สำคัญ • สิ่งที่สำคัญคือ “จำนวนชิ้น” ที่แต่ละคนจะได้ Exถ้าแบ่งของ 5 ชิ้น ที่เหมือนกัน ให้เด็ก 3 คน โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องได้รับอย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น จะสามารถแบ่ง ได้ 6 แบบ
Stars and Bars • ถ้าเราให้ของ 5 ชิ้น เป็น “Star” 5 ดวง ปัญหานี้คือการเอา “Bar” มาแบ่งดาว 5 ดวง เป็น 3 ส่วนนั่นเอง • ในการแบ่งดาวเป็น 3 ส่วนต้องใช้เส้นคั่น 2 เส้น (3−1) • มีดาว 5 ดวง ดังนั้นมีจุดให้เลือกวางเส้นคั่นได้ 4 ตำแหน่ง (5−1) • ดังนั้น เลือก 2 ตำแหน่ง จาก 4 ตำแหน่งนี้เพื่อวางเส้นคั่น จะเลือกได้ = 6 แบบ
Stars and Bars Ex มีลูกอมที่เหมือนกัน 8 เม็ด จะมีวิธีแจกลูกอมทั้งหมดนี้ให้คน 3 คนได้กี่วิธี เมื่อแต่ละคนต้องได้ลูกอมอย่างน้อยคนละ 1 เม็ด วิธี แจกของที่เหมือนกัน n สิ่ง ให้คน r คน โดยได้คนละอย่างน้อย 1 ชิ้น จะทำได้ วิธี
Stars and Bars • ในกรณีที่อาจมีคนที่ไม่ได้ของ จะใช้วิธี “เพิ่มของให้คนละ 1 ชิ้น” Exถ้าแบ่งของ 2 ชิ้นให้เด็ก 3 คนโดยอาจมีบางคนไม่ได้ของจะสามารถแบ่งได้ 6 แบบ สามารถจับคู่ได้กับตอนแบ่งของ 5 ชิ้น ให้เด็ก 3 คน ที่ต้องได้อย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น • ดังนั้น การนับแบบที่อาจมีคนไม่ได้ของ ได้จากการเพิ่มของให้คนละ 1 ชิ้น และนับจำนวนแบบที่ต้องได้ของอย่างน้อย 1 ชิ้น
Stars and Bars Exมีเหรียญที่เหมือนกัน 10 เหรียญ จะมีวิธีแจกเหรียญทั้งหมดนี้ให้คน 3 คนได้กี่วิธี อาจจะมีคนที่ไม่ได้รับเหรียญเลยก็ได้ วิธี แจกของที่เหมือนกัน n สิ่ง ให้คน r คน โดยอาจมีบางคนไม่ได้ของ จะทำได้ วิธี