1 / 49

ผู้เสียหายคดีอาญา Victim of crimes 1. คุณสมบัติของผู้เสียหาย

ผู้เสียหายคดีอาญา Victim of crimes 1. คุณสมบัติของผู้เสียหาย 2. การมีส่วนร่วมของผู้เสียหายในคดีอาญา 3. วัตถุประสงค์ของผู้เสียหาย 4 สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา 5 การคุ้มครองผู้เสียหาย. บทบาทของผู้เสียหายในยุโรปบางประเทศ 1. ฝรั่งเศส 2. สเปน

Download Presentation

ผู้เสียหายคดีอาญา Victim of crimes 1. คุณสมบัติของผู้เสียหาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผู้เสียหายคดีอาญา Victim of crimes 1. คุณสมบัติของผู้เสียหาย 2. การมีส่วนร่วมของผู้เสียหายในคดีอาญา 3. วัตถุประสงค์ของผู้เสียหาย 4 สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา 5 การคุ้มครองผู้เสียหาย

  2. บทบาทของผู้เสียหายในยุโรปบางประเทศบทบาทของผู้เสียหายในยุโรปบางประเทศ 1. ฝรั่งเศส 2. สเปน 3. เยอรมัน

  3. 1. ฝรั่งเศส -คำฟ้องคดีอาญา (Action publique) -คำฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (Action civile)

  4. 2. สเปน ความผิดสาธารณะ (public offenses) ความผิดกึ่งสาธารณะ (semi-public offenses) -ผู้เสียหายเริ่มและยุติคดีได้ เช่น ฐานเปิดเผยความลับ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้ทรัพย์สินประมาณ 3 ล้านบาทเสียหาย เป็นต้น -ผู้เสียหายเริ่มคดีแต่ยุติคดีไม่ได้ เช่น ความฐานทอดทิ้งครอบครัว ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพทางเพศ ยักยอกทรัพย์นิติบุคคล ความผิดส่วนตัว (private offenses) ผู้เสียหายเริ่มและยุติคดีโดยอัยการไม่เกี่ยวข้อง เช่น ดูหมิ่น หมิ่นประมาท

  5. แม้อำนาจดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายและอัยการสเปนนั้นเป็นอำนาจคู่ขนาน แต่กฎหมายสเปนก็สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการใช้อำนาจทั้งสอง หลังจากที่ศาลไต่สวนปิดสำนวนการสอบสวน เราสามารถแยกสถานการณ์ได้ดังนี้ 1. ถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาไว้ หากอัยการและผู้เสียหายเห็นว่าการเปิดศาลเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีไม่มีความจำเป็น ศาลจะออกคำสั่งคดีไม่มีมูล หากอัยการหรือผู้เสียหายคนใดคนหนึ่งเห็นว่าควรจะส่งฟ้องศาลตัดสินคดี ศาลไต่สวนจะออกคำสั่งคดีมีมูล เว้นแต่ศาลอาจสั่งคดีไม่มีมูลหากข้อเท็จจริงที่ฟ้องไม่ใช่ความผิดอาญา

  6. 2. ถ้าผู้เสียหายไม่ฟ้องคดีอาญาไว้ หากอัยการต้องการส่งฟ้องศาลตัดสินคดี ศาลไต่สวนจะสั่งคดีมีมูลและส่งฟ้องต่อศาลตัดสินคดี เว้นแต่ศาลอาจสั่งคดีไม่มีมูลหากข้อเท็จจริงที่ฟ้องไม่ใช่ความผิดอาญา หากอัยการร้องขอให้ศาลสั่งคดีไม่มีมูลและศาลเห็นด้วย ศาลจะสั่งคดีไม่มีมูล อย่างไรก็ตามหากศาลไม่เห็นด้วยกับคำร้องดังกล่าว ศาลอาจแจ้งผู้เสียหายและเสนอให้ผู้เสียหายเข้ามาในคดีอาญาเพื่อฟ้องคดีอาญา

  7. 3. เยอรมัน 1. การร้องทุกข์ใน“ความผิดอาญาที่การดำเนินคดีต้องอยู่ภายใต้การร้องทุกข์ของผู้เสียหาย” (Antragsdelikte) 2. การฟ้องคดีอาญาใน“ความผิดอาญาที่ผู้เสียหายสามารถฟ้องและดำเนินคดีอาญาได้” (Privatklagedelikte) 3. การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการที่ดำเนินคดีอาญาไว้แล้ว (Nebenklage) 4. การคัดค้านคำสั่งไม่ฟ้องคดี (Klageerzwingungsverfahren)

  8. คุณสมบัติของผู้เสียหายคุณสมบัติของผู้เสียหาย 1.1 ผู้เสียหายโดยตรง direct victim (ผู้เสียหายที่แท้จริง) 1.2 ผู้เสียหายโดยอ้อม indirect victim (ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย)

  9. 1.1 ผู้เสียหายโดยตรง ผู้เสียหายนิตินัย หลักกฎหมายโรมัน “Nemo auditur propriam turpitudinem allegans” “ผู้ทำเรื่องน่าละอายไม่อาจร้องขอความยุติธรรม” “อย่าทำให้น้ำพุแห่งความยุติธรรมสกปรก” หลักกฎหมายไทย “มาศาลด้วยมือสะอาด”

  10. -ฎ. ๑๑๘๓/๒๔๙๔ ต้นกำเนิด“ผู้เสียหายนิตินัย” การสมัครใจวิวาท บาดเจ็บ ไม่มีใครเป็นผู้เสียหาย เพราะ “ทางนิตินัย” ไม่ถือว่าเสียหาย -ฎ. ๑๖๐๔/๐๘ ต่างคนต่างประมาท ถือว่าทั้งสองคนมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้เสียหายนิตินัย

  11. ฎ. ๙๕๔/๒๐ หญิงยอมให้ผู้อื่นทำแท้งเถื่อนจนหญิงได้รับอันตรายสาหัส หญิงมาฟ้องผู้ทำแท้งเถื่อนไม่ได้ เพราะหญิงมี “ส่วนร่วม” ในการกระทำความผิดอาญามาตรา ๓๐๑

  12. -ฎีกาที่ ๑๓๔๓/๒๕๔๙ “จำเลยทั้งสองกับพวกและผู้เสียหายได้ทำพิธีปลุกเสกเหรียญรัชกาลที่ ๕ เพื่อให้ได้เลขท้าย ๒ ตัวของรางวัลที่ ๑ สลากกินแบ่งรัฐบาล เมื่อได้เลข ๙๖ มาแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกและผู้เสียหายตกลงกันว่าจะไปซื้อหวยใต้ดิน ผู้เสียหายได้มอบเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาทให้จำเลยที่ ๒ เพื่อซื้อหวยใต้ดิน หลังจากมอบเงินให้จำเลยที่ ๒ แล้ว จำเลยที่ ๒ กับพวกก็หลบหนีไป

  13. พฤติการณ์ของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมีโทษทางอาญา ผู้เสียหายในคดีนี้จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

  14. ฎ.๔๑๔๗/๒๕๕๐ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกมีว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงถึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่า เด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย (มีต่อ)

  15. เมื่อเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงสายรุ้ง และเด็กหญิงอริษาถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจาก การกระทำความผิดข้อหานี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงสายรุ้ง และเด็กหญิงอริษาตามลำดับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 (2)

  16. 1.2 ผู้เสียหายโดยอ้อม -บุคคลธรรมดา -นิติบุคคล

  17. ฎ. 3879/46 นาย ก. ถูกทำร้ายถึงตาย อัยการฟ้อง ป.อ.มาตรา 290 ระหว่างพิจารณา นาย ข. บิดานาย ก. ขอเป็นโจทก์ร่วม ศาลอนุญาต ศาลพิพากษาว่าพยานยังมีข้อสงสัยว่า นาย ก. ตายจากจำเลย หรือจากเหตุอื่น ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ลงโทษจำเลยเพียง ป.อ.มาตรา 295 นาย ข. อุทธรณ์ 3 ข้อ หนึ่ง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 288 สอง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289 (5), 296 ฐานทารุณโหดร้าย สาม ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. 295 ด้วยโทษสถานหนัก

  18. ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 1. อุทธรณ์ข้อแรกที่ว่าให้ลงโทษฐานป.อ.มาตรา 288 ไม่ได้กล่าวในฟ้อง เกินคำขอ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ไม่อาจรับอุทธรณ์ข้อนี้ได้ 2. ศาลลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 295 เพราะจำเลยไม่ได้ทำให้นาย ก. ตาย เมื่อไม่มีใครอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติ 3. นาย ก. จึงไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการงานได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) 4. นาย ข. บิดานาย ก. จึงไม่ใช่ “ผู้มีอำนาจจัดการงานแทนผู้เสียหาย” ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5(2) 5. นาย ข. จึงไม่อาจอุทธรณ์ได้อีกสองข้อในเรื่องทารุณโหดร้ายและลงโทษสถานหนัก

  19. นิติบุคคลที่เป็นผู้เสียหายนิติบุคคลที่เป็นผู้เสียหาย -สหภาพแรงงาน syndicats -องค์กรวิชาชีพ ordres professionnels -สมาคมที่กฎหมายรับรองโดยเฉพาะ associations habilitées ประโยชน์สาธารณะ - intérêt général - public interest ประโยชน์ส่วนรวม- intérêt collectif - collectiveinterest ประโยชน์ส่วนตัว- intérêt individuel- personalinterest

  20. 1.นาย A ขโมยป้ายจราจร 2. นาย B ทำร้ายคนขับรถแท็กซี่ซึ่งเป็นสมาชิก ของสหภาพคนขับรถแท็กซี่ 3. นาย C ขโมยโต๊ะของสภาวิศวกร 4. นาย D ประกอบอาชีพหมอโดยไม่มีใบอนุญาต

  21. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา ๔๐ สมาคมใดมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือต่อต้านการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้า และข้อบังคับของสมาคมดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ สมาชิก และวิธีการดำเนินการของสมาคมเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง สมาคมนั้นอาจยื่นคำขอให้คณะกรรมการรับรองเพื่อให้สมาคมนั้นมีสิทธิและอำนาจฟ้องตามมาตรา ๔๑ ได้ การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การรับรองสมาคมตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  22. มาตรา ๔๑ ในการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคให้สมาคมที่คณะกรรมการรับรองตามมาตรา ๔๐ มีสิทธิในการฟ้องคดีแพ่ง คดีอาญาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ในคดีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้ และให้มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนสมาชิกของสมาคมได้ ถ้ามีหนังสือมอบหมายให้เรียกค่าเสียหายแทนจากสมาชิกของสมาคม ในการดำเนินคดีตามวรรคหนึ่ง มิให้สมาคมถอนฟ้อง เว้นแต่ศาลจะอนุญาตเมื่อศาลเห็นว่าการถอนฟ้องนั้นไม่เป็นผลเสียต่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวมสำหรับคดีแพ่งเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายแทนสมาชิกของสมาคมการถอนฟ้องหรือการพิพากษาในกรณีที่คู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน จะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของสมาชิกผู้มอบหมายให้เรียกค่าเสียหายแทนมาแสดงต่อศาลด้วย

  23. 2. การมีส่วนร่วมของผู้เสียหายในคดีอาญา 2.1 ร้องทุกข์ 2.2 ฟ้องคดี

  24. 2.2 การฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหาย -ข้อดี -ถ่วงดุลอำนาจตำรวจ อัยการ -คดีที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง ผู้เสียหายอาจช่วยให้พยานหลักฐานได้ -ข้อเสีย -คดีล้นศาล -ทำให้คดีอาญาแผ่นดินเสียหาย

  25. ปัญหาการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายที่ทำให้คดีอาญาแผ่นดินเสียหายปัญหาการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายที่ทำให้คดีอาญาแผ่นดินเสียหาย 1. กรณีไม่ตั้งใจทำให้คดีอาญาเสียหาย -ผู้เสียหายขาดอำนาจรัฐในการหาพยานหลักฐาน ผลคือ ขาดพยานหลักฐาน หรือ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ศาลยกฟ้องตามมาตรา 185 อัยการไม่อาจฟ้องคดีได้อีก (คำพิพากษาฎีกาที่ 682/2537)

  26. -กรณีผู้เสียหายตาย และไม่มีทายาทเข้ามาดำเนินคดีต่อ ในศาลสูง ศาลดำเนินคดีต่อได้ (814/2520)เพราะสืบพยานไว้แล้ว และผู้เสียหายฟ้องแทนรัฐ ในศาลชั้นต้น ศาลอาจต้องมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะไม่มีพยานมาพิสูจน์ความผิดจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ซึ่งจะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

  27. 2. กรณีตั้งใจทำให้คดีอาญาเสียหาย (การดำเนินคดีโดยสมยอม) -ผู้เสียหายแกล้งทำความฟ้องคดีอาญาบกพร่อง -ผู้เสียหายแกล้งไต่สวนมูลฟ้องโดยสมยอม -ผู้เสียหายแกล้งพิจารณาคดีโดยสมยอม

  28. คำพิพากษาฎีกาที่ 2757/2544,ที่ 6770/2546 ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นคำฟ้องคดีอาญาโดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำอันทุจริตหรือการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ศาลจึงยกฟ้องโดยถือว่าศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาการกระทำผิดแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (4)

  29. คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2490 ฟ้องโจทก์ไม่ระบุเวลากระทำความผิด ศาลยกฟ้องในชั้นตรวจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 โจทก์มาฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง คำพิพากษาฎีกาที่ 758/2491 ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุสถานที่เกิดเหตุ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)

  30. คำพิพากษาฎีกาที่ 1382/2492 วินิจฉัยว่า “คดีอาญา ผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ครั้นถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ทนายโจทก์มาศาลแต่ตัวโจทก์ไม่มาศาลและไม่ได้ร้องขอเลื่อนคดี ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว อัยการจะนำคดีมาฟ้องใหม่หาได้ไม่ เพราะในคดีก่อนศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการพิพากษายกฟ้องโดยโจทก์พิสูจน์ความผิดจำเลยไม่ได้สมฟ้อง เป็นการพิพากษาในความผิดที่ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับสิ้นไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)”

  31. คำพิพากษาฎีกาที่ 9334/2538, 6446/2547 “หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่”

  32. แนวทางการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายแนวทางการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหาย พนักงานอัยการคือตัวแทนรัฐที่ระวังรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน (Public interest) ในขณะที่ผู้เสียหายมุ่งแต่ระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง (Privateinterest) การให้อัยการเข้ามามีบทบาทหลักในคดีอาญาแผ่นดินทุกคดีน่าจะเป็นแนวทางป้องกันผลประโยชน์ขัดกันระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของผู้เสียหายได้ดีที่สุด

  33. ทางเลือกและผลกระทบในการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายทางเลือกและผลกระทบในการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหาย ทางเลือกที่ 1 “การตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน โดยให้สิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเท่านั้น”

  34. ทางเลือกที่ 2“การกำหนดให้ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อแผ่นดินก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี” เพิ่มข้อความต่อไปนี้ใน มาตรา 28 วรรค 2“ในคดีอาญาที่มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว อำนาจของผู้เสียหายตามมาตรา 28 (2) เริ่มมีขึ้นเมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี”

  35. ทางเลือกที่ 3 “การกำหนดให้ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อแผ่นดินก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี โดยกำหนดให้อัยการต้องสั่งคดีภายในเวลา 3 เดือนนับแต่เวลาที่อัยการได้รับแจ้งความประสงค์จากผู้เสียหาย หากอัยการไม่สั่งคดีภายใน 3 เดือน ผู้เสียหายก็มีสิทธิฟ้องคดีอาญา” เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในมาตรา 28 วรรค2“ในคดีอาญาที่มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว อำนาจของผู้เสียหายตามมาตรา 28 (2) เริ่มมีขึ้นเมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี อย่างไรก็ดี ผู้เสียหายที่ประสงค์จะฟ้องคดีอาญาที่มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวอาจยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ดังกล่าวต่อพนักงานอัยการในเขตท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นหรือเชื่อว่าเกิดขึ้น และภายในสามเดือนนับแต่วันที่พนักงานอัยการได้รับแจ้งความประสงค์จะฟ้องคดีอาญาดังกล่าวจากผู้เสียหาย หากพนักงานอัยการไม่สั่งคดี ผู้เสียหายจึงมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้”

  36. ทางเลือกที่ 4 “การกำหนดให้ผู้เสียหายที่ประสงค์จะฟ้องคดีอาญาแผ่นดินต้องได้รับคำรับรองจากพนักงานอัยการก่อน” เพิ่มข้อความต่อไปนี้ใน มาตรา 28 วรรค 2“ในคดีความผิดอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะฟ้องคดีอาญาได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำรับรองจากพนักงานอัยการในเขตท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นหรือเชื่อว่าเกิดขึ้น”

  37. ทางเลือกที่ 5 “กำหนดให้การยกฟ้องชั้นตรวจคำฟ้อง (ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161) และคำพิพากษาว่าคดีไม่มีมูลชั้นไต่สวนมูลฟ้อง (ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167) ในคดีอาญาแผ่นดินที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ ไม่ตัดสิทธิการฟ้องคดีอาญาของอัยการ” เพิ่มข้อความต่อไปนี้ใน มาตรา 161วรรค 3 และ167 วรรค 2“หากศาลยกฟ้องในคดีที่ราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่เป็นความผิดต่อส่วนตัว”

  38. ทางเลือกที่ 6 “การกำหนดให้ศาลที่ทำคำสั่งประทับรับฟ้องของผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ต้องแจ้งให้พนักงานอัยการเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือฟ้องคดีอาญา” เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในมาตรา 168 วรรค 2 “เมื่อศาลได้ประทับฟ้องในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ให้ศาลแจ้งให้พนักงานอัยการทราบถึงการประทับฟ้องของผู้เสียหายเพื่อให้พนักงานอัยการเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือเพื่อให้พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญา”

  39. 3. วัตถุประสงค์ของผู้เสียหาย -เพื่อการแก้แค้น (revenge) -เพื่อได้รับการเยียวยา(compensation)

  40. 3.1 การแก้แค้น (revenge) -พัฒนามาเป็นการต้องการเห็นความยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม -ขึ้นอยู่กับระบบการฟ้องคดีอาญา ระบบการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหาย (private prosecution) ตอบสนองวัตถุประสงค์นี้มากที่สุด -ในระบบกล่าวหาตอบสนองวัตถุประสงค์นี้มากกว่าระบบไต่สวน -หากรัฐไม่อำนวยความยุติธรรมให้ ผู้เสียหายอาจหาความยุติธรรมเอง

  41. 3.2 การเยียวยา (compensation) -การเยียวยาโดยผู้กระทำความผิด -การเยียวยาโดยรัฐ

  42. การเยียวยาโดยผู้กระทำความผิดการเยียวยาโดยผู้กระทำความผิด -การปรับปรุงสิทธิให้ง่ายขึ้นโดย ป.วิ.อ.มาตรา 44/1 ทำเป็นคำร้อง ไม่เสียค่าธรรมเนียม -การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยโดยชัดแจ้งโดยศาลอาญา

  43. คำพิพากษาฎีกาที่ 1938/2548คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ ศ. ได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทน ศ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในฐานะเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ศ. ด้วย เมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำการแทนจำเลยที่ 2 มิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์

  44. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 47 ที่บัญญัติว่า “คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 424 ที่บัญญัติว่า “ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่”

  45. การเยียวยาโดยรัฐ -พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 -จำกัดเฉพาะผู้เสียหายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด -จำกัดเฉพาะความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย เพศ -ไม่มีการแจ้งสิทธิให้ผู้เสียหายทราบ

  46. 4. สิทธิของผู้เสียหายคดีอาญา -สิทธิร้องทุกข์ -สิทธิให้การเป็นพยาน -สิทธิฟ้องคดี -สิทธิทั้งปวงที่โจทก์ในคดีอาญาพึงมี รวมทั้งสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา

  47. 5. การคุ้มครองผู้เสียหาย -การคุ้มครองทางกาย (physic) -การคุ้มครองศักดิ์ศรี(dignity)

  48. การคุ้มครองทางกาย -พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 -การคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เสียหายเมื่อผู้กระทำความผิดได้ประโยชน์จากมาตรการรอการลงโทษ พักการลงโทษ

  49. การคุ้มครองศักดิ์ศรี -หมิ่นประมาท -ขาดกฎหมายเฉพาะในเรื่องการคุ้มครองชื่อเสียงของผู้เสียหายเป็นการทั่วไป มีเฉพาะเรื่องผู้เสียหายที่เป็นเด็ก

More Related