1 / 77

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วิชา หลักการเลี้ยงสัตว์ (Principles of Animals Husbandry). รหัสวิชา 3500-0002 สาขาวิชา สัตวศาสตร์ ประเภทวิชา เกษตรกรรม หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

Download Presentation

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรังสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรังสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

  2. วิชา หลักการเลี้ยงสัตว์(Principles of Animals Husbandry) รหัสวิชา 3500-0002 สาขาวิชา สัตวศาสตร์ ประเภทวิชา เกษตรกรรม หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2545

  3. นายสีกุน นุชชา ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง

  4. เพื่อการจัดทำเนื้อหาและพัฒนาสื่อการสอนอาชีพและวิชาชีพเพื่อการจัดทำเนื้อหาและพัฒนาสื่อการสอนอาชีพและวิชาชีพ สำหรับใส่ในระบบ eDLTV เพื่อพัฒนาอาชีพ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

  5. บทที่ 4 โรงเรือนและอุปกรณ์สำหรับสัตว์

  6. หัวข้อการสอน • 1.1 หลักพิจารณาในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ • 1.2 โรงเรือนเลี้ยงสัตว์แบบต่าง ๆ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์

  7. 2. สาระสำคัญ การเลี้ยงสัตว์จะประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้น การจัดการด้านโรงเรือนและอุปกรณ์ ในการเลี้ยงก็จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะโรงเรือนเปรียบเสมือนที่พักพิงและเป็นที่หลับที่นอนของสัตว์ หากเราจัดการโรงเรือนดีสัตว์ก็จะอยู่อย่างสบาย ไม่เครียด และจะให้ผลตอบแทนสูง

  8. ตรงกันข้ามหากเราจัดการโรงเรือนไม่ดี ไม่เหมาะสม ไม่ถูกสุขลักษณะก็จะทำให้สัตว์อยู่อย่างไม่สบายตัว เกิดความเครียด ผลผลิตลดลง หรืออาจเกิดโรคบางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างโรงเรือนโดยมีการเลือกแบบของโรงเรือนที่เหมาะสมกับชนิดพันธุ์ เพศ และอายุของสัตว์แล้วผู้เลี้ยงก็จะประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงสัตว์ได้อย่างแน่นอน

  9. จุดประสงค์การสอน • 3.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกสถานที่และข้อพิจารณาในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ชนิดต่าง ๆ • 3.2 ออกแบบหรือเลือกแบบโรงเรือนได้เหมาะสมต่อสัตว์ที่ต้องการเลี้ยงได้ • 3.3 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดได้

  10. 4. เนื้อหา4.2.4 โรงเรือนระบบปิด (evaporative cooling system) เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิของอากาศค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงสัตว์มักสร้างโรงเรือนเป็นโรงเรือนเปิด ทั้งนี้เพื่อต้องการให้อากาศภายในโรงเรือนมีการหมุนเวียนและระบายอากาศเป็นการลดความร้อนภายในโรงเรือนได้ดี

  11. 4. เนื้อหาโรงเรือนเปิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อุณหภูมิของโรงเรือนจะผันแปรไปตามสภาพของอากาศภายนอกโรงเรือน ช่วงหน้าร้อนอากาศ จะร้อนมาก สัตว์เลี้ยงบางชนิด เช่น ไก่เนื้อ อาจทนอากาศร้อนไม่ไหว (ภาพที่ 4.87-4.88)

  12. ภาพที่ 4.87โรงเรือนไก่ระบบเปิด ที่มา: เกษตรพอเพียงดอทคอม (2556)

  13. ภาพที่ 4.88โรงเรือนสุกรระบบเปิด ที่มา: ไทยฟีดดอทเน็ต (ม.ป.ป.)

  14. เพื่อหลีกเลี่ยงจากอากาศร้อนและต้องการควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนจึงได้มีการคิดค้นโรงเรือนระบบปิดขึ้นโดยใช้หลักการระบายความร้อนด้วยน้ำและใช้พัดลมเป็นตัวถ่ายเทอากาศ โดยมีแผ่นรังผึ้ง (cooling pad) ที่ปล่อยน้ำไหลผ่านจนเปียกชุ่ม เมื่อเดินพัดลมซึ่งอยู่ในแนวตรงกันข้ามกับแผ่นรังผึ้งอากาศภายนอกจะถูกดูดผ่านแผ่นรังผึ้งเข้าภายในโรงเรือน ภายในโรงเรือนจะเย็นสบายโดยใช้หลักการระเหยน้ำ

  15. นอกจากนี้โรงเรือนระบบปิดยังสามารถป้องกันโรคได้อย่างดีโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก ซึ่งการติดตั้งและระบบการทำงานของโรงเรือนระบบปิด มีดังนี้

  16. ก. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป โรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวปนี้มีหลักการทำงานซึ่งไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากนัก ถ้าหากเข้าใจระบบการทำงานแล้วผู้เลี้ยงสัตว์ก็สามารถที่จะติดตั้งระบบอีแวปได้ที่โรงเรือนของตนเอง มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์ (2536) ได้สรุปหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบอีแวปไว้ดังนี้

  17. 1) ขนาดของโรงเรือน โรงเรือนมีขนาดมาตรฐานคือ กว้าง 12 เมตร และยาว 120 เมตร (ภาพที่ 4.89)

  18. ภาพที่ 4.89ขนาดโรงเรือนระบบปิดที่เหมาะสมและประหยัดพลังงานที่สุด ที่มา:Sciencedirect.com (2007)

  19. 2) หลังคา หลังคาเป็นแบบจั่วชั้นเดียว หลังคาจั่วสูงจากพื้น 4 เมตร โครงสร้างทั้งหมดทำด้วยเหล็กฉาก ยกเว้นแปซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็งขนาด 2 นิ้ว x 4 นิ้ว วัสดุที่นำมาใช้คลุมหลังคาโรงเรือนทำด้วยแผ่นสังกะสีฉาบด้วยกาลวาไนส์ (Galvanized) ภายใต้หลังคามุงด้วยฉนวนใยแก้ว (micro–fiber) กันความร้อน ใต้ฉนวนกันความร้อนบุด้วยแผ่นพลาสติกไวนิล (Vinyl)

  20. เพื่อป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากหลังคาไม่ให้ลงมาในโรงเรือนได้ และยังป้องกันการสูญเสียความเย็นจากการรั่วซึม ถัดลงมาจากแผ่นกันความร้อนยังมีแผ่นไม้อัดที่ติดตั้งใต้เพดานขวางตามความยาวของโรงเรียน เรียกว่า แผ่นชิงลม (Spoiler) คิดเป็นระยะทุก 12 เมตร เพื่อดักลมด้านบนให้พัดผ่านด้านล่างอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง (มีหรือไม่มีก็ได้ อาจใช้แผ่นผ้าพลาสติคแทนก็ได้) (ภาพที่ 4.90-4.93)

  21. ภาพที่ 4.90หลังคาโรงเรือนเป็นจั่วชั้นเดียว ที่มา:Poultryventilation.com (n.d.)

  22. ภาพที่ 4.91พลาสติคไวนิลใต้หลังคาโรงเรือน ที่มา:Poultryventilation.com (n.d.)

  23. ภาพที่ 4.92พลาสติค Polynum Reflective Insulation ใต้หลังคาโรงเรือน ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  24. ภาพที่ 4.93หลังคาและผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม่ต้องบุพลาสติค ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  25. 3) ผนังโรงเรือน ผนังด้านหน้าและท้ายโรงเรือนปิดทึบ ส่วนผนังด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ก่ออิฐสูงประมาณ 60 ซม. เปิดช่องลมและปิดด้วยผ้าม่านพลาสติกขนาด 1.20 เมตร และมีตาข่ายอย่างดีล้อมรอบผนังด้านข้าง เปิดประตูหน้า–หลัง และด้านกลางของโรงเรือนด้วย (ภาพที่ 4.94-4.102)

  26. ภาพที่ 4.94ด้านหัวโรงเรือน ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  27. ภาพที่ 4.95ด้านท้ายโรงเรือน ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  28. ภาพที่ 4.96ด้านข้างโรงเรือนสุกรผนังซีเมนต์ครึ่งเดียว หุ้มทับด้วยพลาสติค ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  29. ภาพที่ 4.97ด้านข้างโรงเรือนไก่ผนังซีเมนต์ครึ่งเดียว หุ้มทับด้วยพลาสติค ที่มา: บล็อกแก๊งค์ดอทคอม (2556)

  30. ภาพที่ 4.98ด้านข้างโรงเรือนไก่ผนังซีเมนต์ครึ่งเดียว หุ้มทับด้วยพลาสติค ที่มา: บล็อกแก๊งค์ดอทคอม (2556)

  31. ภาพที่ 4.99ด้านข้างโรงเรือนไก่ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  32. ภาพที่ 4.100ด้านข้างโรงเรือนสุกรมองจากด้านใน ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  33. ภาพที่ 4.101ด้านข้างโรงเรือนติดตั้งรอกกว้านแผ่นพลาสติค ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  34. ภาพที่ 4.102ประตูด้านข้างโรงเรือนไก่ ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  35. 4) แผ่นรังผึ้ง แผ่นรังผึ้งเป็นส่วนสำคัญที่ปรับให้อุณหภูมิในโรงเรือนลดลงซึ่งทำด้วยกระดาษสังเคราะห์พิเศษมีความทนทาน มีความหนา 2 ขนาด คือ ขนาดหนา 10 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร ความสูงของแผ่นรังผึ้ง 180 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15 เมตร และ 21.6 เมตร ต่อโรงเรือน

  36. การติดแผ่นรังผึ้งจะติดด้านเดียวหรือ 2 ด้านก็ได้ แต่การติด 2 ด้านนั้น การไหลเวียนของอากาศจะทั่วถึงและสม่ำเสมอดีกว่าติดด้านเดียวและไม่ต้องติดพัดลมเสริมภายในอีก หรืออาจลดจำนวนพัดลมลงได้ส่วนหนึ่งโรงเรือนส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมติดด้านเดียว (ภาพที่ 4.103-4.105)

  37. ภาพที่ 4.103การติดตั้งแผ่นรังผึ้งในโรงเรือนไก่ ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  38. ภาพที่ 4.104การติดตั้งแผ่นรังผึ้งในโรงเรือนไก่ ที่มา: สวัสดีแปดริ้วดอทคอม. 2551

  39. ภาพที่ 4.105การติดตั้งแผ่นรังผึ้งในโรงเรือนไก่ ที่มา: วีลามอลด็อทคอม (2553)

  40. 5) พัดลม พัดลมที่ใช้จะติดตั้งอยู่ในโรงเรือนด้านหลัง (ด้านท้าย) ตรงข้ามแผ่นรังผึ้ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48 นิ้ว (ภาพที่ 4.106-4.107)

  41. ภาพที่ 4.106พัดลมขนาดใหญ่สำหรับฟาร์ม ที่มา: บล็อกแก๊งค์ดอทคอม (2556)

  42. ภาพที่ 4.107พัดลมฟาร์ม ที่มา: เบทาโกร (ม.ป.ป.)

  43. 6) ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน การควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนนั้นใช้พัดลมและแผ่นรังผึ้ง โดยมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (thermostats) อยู่ ถ้าโรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะมีตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่ 11 ตัว เพราะอีก 1 ตัวนั้นสำหรับควบคุมอุณหภูมิ การปิดเปิดน้ำของเครื่องปั๊มน้ำในการปล่อยให้น้ำไหลผ่านแผ่นรังผึ้ง

  44. 6) ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน การควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนนั้นใช้พัดลมและแผ่นรังผึ้ง โดยมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (thermostats) อยู่ ถ้าโรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะมีตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่ 11 ตัว เพราะอีก 1 ตัวนั้นสำหรับควบคุมอุณหภูมิ การปิดเปิดน้ำของเครื่องปั๊มน้ำในการปล่อยให้น้ำไหลผ่านแผ่นรังผึ้ง โดยในสภาพที่อุณหภูมิทั่วไปพัดลมจะเปิดทำงาน 1 เครื่อง อยู่ตลอดเวลาและพัดลมที่เหลืออีกจะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ดังต่อไปนี้

  45. โดยในสภาพที่อุณหภูมิทั่วไปพัดลมจะเปิดทำงาน 1 เครื่อง อยู่ตลอดเวลาและพัดลมที่เหลืออีกจะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ดังต่อไปนี้

  46. สูงกว่า60องศา F พัดลมเครื่องที่ 2 จะทำงาน สูงกว่า72องศา F พัดลมเครื่องที่ 3 จะทำงาน สูงกว่า74องศา F พัดลมเครื่องที่ 4 จะทำงาน สูงกว่า76องศา F พัดลมเครื่องที่ 5 จะทำงาน สูงกว่า78องศา F พัดลมเครื่องที่ 6 จะทำงาน สูงกว่า80องศา F พัดลมเครื่องที่ 7 จะทำงาน สูงกว่า82องศา F พัดลมเครื่องที่ 8 จะทำงาน

  47. ในกรณีที่โรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะตั้งตัวควบคุมพัดลมที่อุณหภูมิช่วงระหว่าง 60–72 องศาเอฟ. อีก 2 เครื่อง เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงไป ระบบอัตโนมัติที่ติดตั้งไว้จะทำงานเพื่อปรับสภาพอากาศและอุณหภูมิในโรงเรือนให้คงที่ตลอดเวลา และพัดลมจะเป็นตัวดูดอากาศผ่านรังผึ้งซึ่งมีความเย็นเข้าไปแทนที่อากาศร้อนภายในซึ่งจะถูกดูดออกไปอีกทางหนึ่ง

  48. เมื่ออากาศเย็นเข้าไปแทนที่จะทำให้อุณหภูมิภายในลดลงได้จากปกติถึง 7 องศาซี. หรือมากกว่านั้น แต่ถ้าช่วงไหนอากาศเย็นสบายอยู่แล้ว พัดลมดูดอากาศบางตัวจะหยุดทำงานไปโดยอัตโนมัติ และม่านอะลูมิเนียมที่หลังพัดลม ก็จะปิดเพื่อป้องกันอากาศเข้าออกโรงเรือน และเมื่ออุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นม่านอะลูมิเนียมก็จะเปิด พัดลมก็จะทำงานอีกครั้ง

  49. ในสภาวะที่อากาศภายนอกโรงเรือนเย็นอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้น้ำช่วยปรับอากาศเลยก็ได้ เพียงแค่ใช้พัดลมระบายอากาศอย่างเดียวก็พอ เนื่องจากอากาศภายในเย็นพอเพียง (ภาพที่ 4.107และ 4.108)

  50. ภาพที่ 4.107แสดงลักษณะของอากาศที่เข้าไปในโรงเรือนโดยผ่านแผ่นรังผึ้ง ที่มา: มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์ (2536)

More Related