1 / 19

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ องค์การบริหารส่วนตำบล

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ องค์การบริหารส่วนตำบล. หัวข้อบรรยาย 1. โครงสร้างการปกครองของไทย แนวคิดและทฤษฎี ลักษณะ และวัตถุประสงค์การปกครองท้องถิ่น และรูปแบบการปกครองท้องถิ่นของไทย 2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

fleta
Download Presentation

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ องค์การบริหารส่วนตำบล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ องค์การบริหารส่วนตำบล หัวข้อบรรยาย 1. โครงสร้างการปกครองของไทย แนวคิดและทฤษฎี ลักษณะ และวัตถุประสงค์การปกครองท้องถิ่น และรูปแบบการปกครองท้องถิ่นของไทย 2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 2.2 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546

  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ อบต. 2.3 พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 2.4 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254 2.5 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 2.6 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 2.7 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

  3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ อบต. 2.8 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 2.9 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 2.10 พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหาร ท้องถิ่น พ.ศ. 2545และแก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2546 2.11 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 2.12 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 2.13 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2.14 พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

  4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ อบต. • นิยามการปกครองท้องถิ่นท้องถิ่น • Encyclopedia Britannicaให้ความหมายว่า การปกครองท้องถิ่น คืออำนาจ หน้าที่(Authority)ที่จะกำหนด (determin) และการบริหารกิจการ(excute)ภายในเขตพื้นที่ที่กำหนดและขนาดพื้นที่ที่ว่านี้อยู่ภายในประเทศและมีขนาดเล็กกว่าประเทศ • William V.Hollowayให้ความหมายการปกครองท้องถิ่นว่า เป็นองค์กรที่มีอาณาเขตแน่นอนมีประชากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีอำนาจปกครองตนเอง มีการบริหารการคลังของตนเองและมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน

  5. ลักษณะของการปกครองท้องถิ่นลักษณะของการปกครองท้องถิ่น • เป็นการปกครองรูปแบบหนึ่งในระดับท้องถิ่น โดยรัฐกระจายอำนาจหน้าที่ให้ท้องถิ่นบางประการให้ท้องถิ่นรับผิดชอบ และอีกมิติหนึ่งการปกครองท้องถิ่นเป็นผลผลิตมาจากการปกครองมาแต่โบราณที่ชุมชนมีการปกครองตนเองอยู่แล้ว • ได้รับการยอมรับเป็นองค์กรที่มีสิทธิตามกฎหมายและมีอิสระในการปกครองตนเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า องค์กรดังกล่าวมีสถานะเป็นรัฐใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากยังมีหน่วยงานการปกครองส่วนกลางคอยกำกับดูแลเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นดำเนินกิจการด้วยความเรียบร้อย • เป็นการปกครองรูปแบบหนึ่งในระดับท้องถิ่น โดยรัฐกระจายอำนาจหน้าที่ให้ท้องถิ่นบางประการให้ท้องถิ่นรับผิดชอบ และอีกมิติหนึ่งการปกครองท้องถิ่นเป็นผลผลิตมาจากการปกครองมาแต่โบราณที่ชุมชนมีการปกครองตนเองอยู่แล้ว • ได้รับการยอมรับเป็นองค์กรที่มีสิทธิตามกฎหมายและมีอิสระในการปกครองตนเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า องค์กรดังกล่าวมีสถานะเป็นรัฐใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากยังมีหน่วยงานการปกครองส่วนกลางคอยกำกับดูแลเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นดำเนินกิจการด้วยความเรียบร้อย

  6. วัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่นวัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่น • เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ในด้านการเงิน บุคลากร ตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการให้บริการชุมชนและทำให้เกิดความประหยัด เนื่องจากหน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ จะมีงบประมาณ สามารถหารายให้กับท้องถิ่น ทำให้ประหยัดงบประมาณของรัฐบาลที่จะต้องจ่ายให้กับท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก และแม้มีการจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาลไปบ้าง แต่ก็มีเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างรอบคอบ • เป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพราะความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีความแตกต่างกันการรอรับบริการจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวอาจล่าช้า • เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ในด้านการเงิน บุคลากร ตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการให้บริการชุมชนและทำให้เกิดความประหยัด

  7. วัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่นวัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากหน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ จะมีงบประมาณ สามารถหารายให้กับท้องถิ่น ทำให้ประหยัดงบประมาณของรัฐบาลที่จะต้องจ่ายให้กับท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก และแม้มีการจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาลไปบ้าง แต่ก็มีเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างรอบคอบ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีประชาชนเป็นผู้บริหารย่อมตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน โดยการปกครองท้องถิ่นได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองทั้งในบทบาทของฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติ และมีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้กระบวนการในระบอบประชาธิปไตย

  8. ฐานะและโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลฐานะและโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 43 องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและราชการส่วนท้องถิ่น มาตรา 44 องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 45 (วรรคแรก) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลปประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น

  9. โครงสร้างการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รองนายก อปท.. ประชาชน นายก อปท.. เลขานายก อปท. สภา อบต. ปลัด อปท. สำนักปลัด สำนัก/ส่วนการคลัง สำนัก/ส่วนโยธา สำนัก/ส่วนการศึกษา ฝ่าย ฝ่าย ฝ่าย ฝ่าย งาน งาน งาน งาน กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์

  10. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกฯและเลขาฯ มาตรา 58 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น มาตรา 58/(วรรคแรก) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ มาตรา 58/3 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมิใช่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมายได้ไม่เกินสองคน และอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้

  11. อำนาจหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอำนาจหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 58/5 (วรรคแรก)ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 60 ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือปฏิบัติราชการของรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย

  12. สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและอำนาจหน้าที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและอำนาจหน้าที่ มาตรา 45(วรรคแรก)สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น มาตรา 46 สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล (2)พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณารายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ

  13. การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล • พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 53 (วรรคแรก)ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัยหรือหลายสมัยแล้วแต่สภาองค์การบริหารตำบลจะกำหนด แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด มาตรา 54 (วรรคแรก)ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม

  14. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการประชุมสภาฯที่น่ารู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการประชุมสภาฯที่น่ารู้ • สมัยประชุมสามัญประจำปี • สมัยประชุมวิสามัญ • คณะกรรมการสภา • ญัตติและการยื่นญัตติ • กระทู้และการยื่นกระทู้ • วาระที่ 1 รับหลักการ • วาระที่ 2 แปรญัตติ • วาระที่ 3 ลงมติ

  15. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลและอำนาจหน้าที่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลและอำนาจหน้าที่ มาตรา 60/1 ให้มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลรองจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบายและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย มาตรา 60 (วรรคสาม)ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามลำดับที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งไว้เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้รักษาราชการแทน

  16. การบริหารงานบุคคลมาตรา 72 การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

  17. ขั้นตอนการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายขั้นตอนการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย วิสัยทัศน์อบต. สภาฯพิจารณา 3 วาระ(ไม่เกิน30วัน) นายอำเภออนุมัติ นายกฯประกาศใช้ นโยบายนายกฯ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย สภาฯไม่รับร่างฯวาระที 1 ม.87/1 กก.พิจารณาหาข้อยุติ7คน /15วัน สภาฯพิจารณาภายใน30วัน แผนพัฒนาสามปี ปัญหาและความต้องการ/ประชาคม แผนชุมชนและอื่น ๆ เห็นชอบ นายกฯประกาศใช้ ไม่เห็นชอบ/ผวจ.สั่งยุบสภา

  18. สมมุติฐานต่อแนวการบรรยายสมมุติฐานต่อแนวการบรรยาย • ผู้เข้าประชุมเกือบทั้งหมดมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะของ อบต.แต่ไม่ทราบความเป็นมาของ อบต.หรือ อปท.โดยรวม • ผู้เข้าประชุมหลากหลายตำแหน่งจึงแตกต่างกันทั้งพื้นฐานความรู้และหน้าที่ความรับผิดชอบ ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างงานของตนกับคนอื่นว่าสัมพันธ์ เกื้อกูล หรือต่อเนื่องกันอย่างไร • ทุกคนต่างคำนึงว่า ตนเองต้องทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยไม่เคยรับรู้ว่า เป้าหมายของ อบต. และผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งต้องการทำไรเพื่อประชาชนกลุ่มเดียวกัน

  19. สมมุติฐานฯ(ต่อ) • สำหรับพนักงานและลูกจ้าง(พนักงานจ้าง ด้วย)แล้วสิทธิ และสวัสดิการที่ดีที่สุด สำคัญกว่าอื่นใด

More Related