1 / 17

สุทธนันท์ สุทธชนะ, วัชรี แก้วนอกเขา, ปภานิจ สวงโท, สมาน สยุมภูรุจินันท์, สมคิด คงอยู่

การพยากรณ์การเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2555 ( Forecasting the situation of Influenza in Thailand in 2012). สุทธนันท์ สุทธชนะ, วัชรี แก้วนอกเขา, ปภานิจ สวงโท, สมาน สยุมภูรุจินันท์, สมคิด คงอยู่ สำนักระบาดวิทยา. ความเป็นมา.

Download Presentation

สุทธนันท์ สุทธชนะ, วัชรี แก้วนอกเขา, ปภานิจ สวงโท, สมาน สยุมภูรุจินันท์, สมคิด คงอยู่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพยากรณ์การเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2555 (Forecasting the situation of Influenza in Thailand in 2012) สุทธนันท์ สุทธชนะ, วัชรี แก้วนอกเขา, ปภานิจ สวงโท, สมาน สยุมภูรุจินันท์, สมคิด คงอยู่ สำนักระบาดวิทยา

  2. ความเป็นมา • โรคไข้หวัดใหญ่เป็นที่ตระหนักว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ดังเช่นการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ไข้หวัดใหญ่ชนิด A/2009H1N1 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปี 2552 • การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด การนำข้อมูลที่เฝ้าระวังมาพยากรณ์ และการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ป่วยจะทำให้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าได้ใกล้เคียงความจริง ช่วยให้ตรวจจับความผิดปกติได้เร็วขึ้น นำไปสู่การควบคุมป้องกันโรคที่ทันเหตุการณ์ ตลอดจนนำไปใช้ในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรในการควบคุมป้องกันโรคล่วงหน้าได้ Bureau of Epidemiology

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อทราบสถานการณ์และแนวโน้มการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในปี 2555-2556 • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสัดส่วนผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่กับการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ Bureau of Epidemiology

  4. วิธีการศึกษา 1. วิเคราะห์สถานการณ์โรค และพยากรณ์การเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ • โดยรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษา ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล และจัดการข้อมูลให้มีความสมบูรณ์สำหรับวิเคราะห์ตามตัวแปรต่าง ๆ • ข้อมูลที่ใช้: เป็นข้อมูลในช่วงปี 2553-2555 เนื่องจากการเกิดโรคในปี 2555 และ 2556 น่าจะมีปัจจัยของการเกิดโรคที่คล้ายกับ 2 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่มีปัจจัยอื่นๆ มาเปลี่ยนแปลง เช่น การระบาด หรือการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อ • ข้อมูลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จากฐานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รายงาน 506) พ.ศ. 2553-2555 Bureau of Epidemiology

  5. วิธีการศึกษา (2) 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ • ข้อมูลที่ใช้: • ข้อมูลสัดส่วนผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต่อจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมดจำแนกเป็นรายเดือน จากฐานข้อมูลการเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล (Influenza Like IllnessSurveillance, ILI) พ.ศ. 2553-2555 Bureau of Epidemiology หน้า 5

  6. วิธีการศึกษา (3) • สถิติที่ใช้ในการศึกษา • Descriptive Statistics • Exponential Smoothing (Winters' multiplicative) กับชุดข้อมูลจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่รายเดือนและรายปี • วิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 31 กรกฏาคม 2555 เพื่อพยากรณ์ข้อมูลช่วงเดือนสิงหาคม 2555 – 31 ธันวาคม 2556 • ใช้โปรแกรม SPSS version 17.0 (SPSS Inc., Chicago) • Linear Regression หาความสัมพันธ์ของสัดส่วน ILI กับการเกิดโรค • ใช้โปรแกรม Epi Info version 2000, Center for Disease Control, Atlanta, GA Bureau of Epidemiology หน้า 6

  7. ผลการศึกษา • จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย ปี 2554-2555 และ ค่ามัธยฐาน 3 ปี (2552-2554) • 1. Descriptive Study • อัตราป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ต่อประชากรแสนคน ประเทศไทย ปี 2527 - 2555 Bureau of Epidemiology หน้า 7

  8. ผลการศึกษา (2) • 1. Descriptive Study(ต่อ) Bureau of Epidemiology

  9. ผลการศึกษา (3) • 2. Exponential Smoothing (Winters’ multiplicative) • การพยากรณ์ไข้หวัดใหญ่ระหว่างปี 2553 - 2556 (Exponential Smoothing (Winters' multiplicative) Bureau of Epidemiology หน้า 9

  10. ผลการศึกษา (4) • 2. Exponential Smoothing (Winters’ multiplicative) (ต่อ) • ค่าที่ได้จากการพยากรณ์อยู่บนเงื่อนไขที่ว่าปัจจัยต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ตัวเชื้อ ความหนาแน่นประชากร การเดินทาง การได้รับวัคซีนป้องกันโรค ไม่ได้เปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่มาก • พบว่าจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม และกันยายน 2555 • ค่าพยากรณ์เดือนสิงหาคม 2555 อยู่ระหว่าง 3,519 ถึง 11,065 และ ค่าพยากรณ์เดือนกันยายน 2555 อยู่ระหว่าง 2,030 ถึง 9,590 • แนวโน้มผู้ป่วยปี 2556 มีค่าพยากรณ์ลดต่ำลงเมื่อเทียบกับปี 2555 • โดยในปี 2556 จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงที่สุดในเดือนสิงหาคม (จากค่าพยากรณ์อาจพบผู้ป่วยสูงสุดจำนวน 8,932 ราย) Bureau of Epidemiology หน้า 10

  11. 3. Linear Regression การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสัดส่วนผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่กับจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ สมการ สมการพื้นฐาน: Y = a + bX สมการจากการวิเคราะห์Linear Regression : Y = -14202.137 + 3929.219 (% ILI) Coefficient of determination (R2) = 0.75 ผลการศึกษา (5) Bureau of Epidemiology หน้า 11

  12. 3. Linear Regression (ต่อ) การแปลผล : จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลที่แผนกผู้ป่วยนอก มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน คือถ้าสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลที่แผนกผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 1% จะทำให้จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 3,929 ราย แต่เนื่องจาก a มีค่าลบการนำสมการไปใช้จึงควรมีข้อมูลของร้อยละ ILI ใน OPD visit ที่สูง ผลการศึกษา (6) Bureau of Epidemiology หน้า 12

  13. สรุปและอภิปรายผล • ถ้าไม่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ในปี พ.ศ. 2555 เดือนสิงหาคม 2555 จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด เฉลี่ยประมาณ 7,300 – 11,065 ราย หลังจากนั้นจำนวนผู้ป่วยจะลดลง • พบว่าจำนวนผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2556 มีแนวโน้มลดลง โดยมีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 9,000 รายต่อเดือน • % ILI มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ถ้า % ILI เพิ่มขึ้น 1% จะทำให้จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 3,929 ราย Bureau of Epidemiology

  14. ข้อเสนอแนะ • ควรมีการควบคุมกำกับการรายงานระบบเฝ้าระวัง ILI ให้มีคุณภาพและมีการการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ILI ในการวิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ • ข้อมูลอื่นๆ ที่มีเป็นระบบ แต่ยังขาดความครบถ้วนและความครอบคลุม หรือรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ • ข้อมูลเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จาก Sentinel influenza surveillance (ตัวอย่างน้อยมาก) • ข้อมูลความครอบคลุมของการรณรงค์ให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (มีแต่จำนวนการให้บริการแต่ไม่มีรายละเอียด) • หากมีการเก็บข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดและมีความครบถ้วนมากขึ้น น่าจะนำข้อมูลมาใช้ในการพยากรณ์โรค กำหนดและประเมินนโยบายการป้องกันควบคุมโรคได้ Bureau of Epidemiology

  15. กิตติกรรมประกาศ • ขอขอบคุณผู้ที่ให้คำปรึกษาในการพยากรณ์การเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2555 ดังรายนามต่อไปนี้ • แพทย์หญิงดารินทร์ อารีย์โชคชัย • สัตวแพทย์หญิงเสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย • นายแพทย์ปณิธี ธัมมวิจยะ • นายแพทย์ฐิติพงษ์ ยิ่งยง Bureau of Epidemiology หน้า 15

  16. THANK YOU FOR YOUR ATTENTIONS Bureau of Epidemiology

  17. ผลการศึกษา (7) Linear Regressionการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสัดส่วนผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่กับจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ Variable Coefficient Std Error F-test P-Value ILI 3929.219 423.614 86.0345 0.000000 CONSTANT -14202.137 2263.769 39.3589 0.000001Correlation Coefficient : r^2 = 0.75 SourcedfSum of SquaresMean SquareF-statisticRegression 1 884704845.728 884704845.728 86.034 Residuals 29 298211179.949 10283144.136 Total 30 1182916025.677  Bureau of Epidemiology

More Related