310 likes | 479 Views
การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2554. ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยบูรพา.
E N D
การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพาประจำปีการศึกษา 2554
ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยบูรพาความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพาได้รับการจัดอันดับโดย "Webometrics Ranking of World Universities" อยู่ในลำดับที่ 21 ของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอยู่ในลำดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ข้อมูลการจัดอันดับ เดือนกรกฎาคม 2553 มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้สมัครคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา(Admissions) ประจำปีการศึกษา 2553 มากที่สุดเป็นอันดับ 3 มีผู้สมัครทั้งหมด 28,698คน และผ่านการคัดเลือก 3,358คน คณะพยาบาลศาสตร์เป็นคณะที่มีผู้เลือกสมัคร Admission มากที่สุดเป็นลำดับที่ 2 ในปี 2553 ซึ่งเป็นคณะที่มีผู้เลือกสมัครมากที่สุดติดอันดับ 1 ใน 3 เป็นเวลา 3 ปีซ้อน
การรับเข้าศึกษา • ในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2554 คัดเลือกหรือสอบคัดเลือกบุคคลเข้า เป็นนิสิต 4 ประเภท คือ • 1. Admissions 30% ของนิสิตรับเข้าใหม่ • 2. รับตรงในภาคตะวันออก 12 จังหวัด 50% ของนิสิตรับเข้าใหม่ • 3. รับตรงทั่วประเทศ 15% ของนิสิตรับเข้าใหม่ • 4. โครงการพิเศษต่าง ๆ 5% ของนิสิตรับเข้าใหม่ • - โครงการเพชรตะวันออก • - โครงการความสามารถพิเศษทั่วประเทศ • - โครงการช้างเผือก • - โครงการเครือญาติแพทย์แผนไทย • - โครงการบัณฑิตรักถิ่น • - โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาในท้องถิ่น (วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี) • - โครงการทับทิมสยาม
ใช้เกณฑ์การคัดเลือกจากสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) 1. ประเภท Admissions 30% ของนิสิตรับเข้าใหม่
2. ประเภทรับตรงในภาคตะวันออก 12 จังหวัด 50% ของนิสิตรับเข้าใหม่ ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2554
นโยบายการรับบุคคลเข้าศึกษา ประเภทรับตรงฯ ประจำปีการศึกษา 2554 1. พิจารณาคัดเลือกจาก GPAX, คะแนนสอบ GAT (General Aptitude Test) และคะแนนสอบ PAT (Professional Aptitude Test) 2. โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนในภาคตะวันออกและพื้นที่ขยายของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 จำนวน 12 จังหวัด สามารถสมัครคัดเลือกเข้าศึกษา โดยภาคปกติรับจำนวนร้อยละ 50 ของจำนวนนิสิตที่จะรับเข้าใหม่ การสมัครคัดเลือกครั้งนี้นักเรียนมีสิทธิ์เลือกอันดับกลุ่มวิชาหรือสาขาวิชาได้ 4 อันดับ โดยแยกเป็นภาคปกติ 3 อันดับ และภาคพิเศษ 1 อันดับ 3. มีการรับ 2 ครั้ง ซึ่งมีจำนวนรับภาคปกติ ครั้งที่ 1 จำนวน 1,983 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 1,771 คน และจำนวนรับภาคพิเศษ ครั้งที่ 1 จำนวน 621 คนครั้งที่ 2 จำนวน 586 คน รวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง จำนวน 4,971 คน
คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร 1. กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนในภาคตะวันออกและพื้นที่ขยายของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 จำนวน 12 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สมุทรปราการ ลพบุรี สระแก้ว และสระบุรี 2. มีความประพฤติเรียบร้อย 3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ หรือ โรคสำคัญที่จะเป็นอุสรรคต่อการศึกษา
ปฏิทินการคัดเลือก (ต่อ) หมายเหตุ ** ปฏิทินการคัดเลือกอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ **
คุณสมบัติเฉพาะสาขา (เฉพาะที่สำคัญ) คณะพยาบาลศาสตร์ 1. อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี 2. ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 ซม. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กก. และมีน้ำหนักไม่เกินเกณฑ์มากจนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติวิชาชีพ 3. ไม่เป็นผู้ที่มีตาบอดสี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เฉพาะสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.00 คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์เป็นคณะใหม่ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับกลุ่มภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ จะต้องไม่เป็นผู้ที่มีตาบอดสี
คุณสมบัติเฉพาะสาขา (เฉพาะที่สำคัญ) (ต่อ) คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ผู้สมัครทุกสาขาวิชาในคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.00 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาดังต่อไปนี้ที่ไม่รับผู้ที่มีตาบอดสี คือ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเลือกเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จะต้องไม่เป็นผู้ที่มี ตาบอดสี
คุณสมบัติเฉพาะสาขา (เฉพาะที่สำคัญ) (ต่อ) คณะสาธารณสุขศาสตร์ ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเลือกเรียนในสาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย จะต้องไม่เป็นผู้ที่มีตาบอดสี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผู้สมัครทุกสาขาวิชาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 คณะโลจิสติกส์ 1. ผู้สมัครในสาขาวิชาการเดินเรือ ต้องเป็นเพศชายเท่านั้น และต้องจบ รด. ปี 3 ไม่เป็นผู้ที่มีตาบอดสี และต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. 2. ผู้สมัครในสาขาวิชาการเดินเรือ จะต้องทดสอบสมรรถภาพร่างกายในวันสอบสัมภาษณ์
คุณสมบัติเฉพาะสาขา (เฉพาะที่สำคัญ) (ต่อ) คณะศึกษาศาสตร์ 1. ผู้สมัครทุกสาขาวิชาในคณะศึกษาศาสตร์ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.00 2. สาขาวิชาการสอนภาษาจีน จะต้องเดินทางไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเวลา 2 ปี (ปี 3 และ 4) 3. สาขาวิชาที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องเดินทางไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยเนอร์เทิร์น โคโรราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 2 ปี (ปี 3 และ 4)
คุณสมบัติเฉพาะสาขา (เฉพาะที่สำคัญ) (ต่อ) คณะสหเวชศาสตร์ ผู้สมัครต้องกำลังศึกษาในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เปิดสอน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ และ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาการสารสนเทศเป็นคณะเปิดใหม่ (แยกตัวมาจากคณะวิทยาศาสตร์) เปิดสอนเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผู้สมัครเข้าศึกษาต้องกำลังศึกษาในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะอัญมณี 1. ผู้สมัครในทุกสาขาวิชาของคณะอัญมณี จะต้องไม่เป็นผู้ที่มีตาบอดสี
สรุปคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญสรุปคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญ คณะที่ไม่รับผู้ที่มีตาบอดสี ได้แก่1. คณะพยาบาลศาสตร์2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (เฉพาะสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า) 3. คณะวิทยาศาสตร์ ( สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาวิชาเทคโนโลยี อาหาร) 4. คณะสาธารณสุขศาสตร์ (เฉพาะสาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย)5. คณะศิลปกรรมศาสตร์6. คณะโลจิสติกส์ (เฉพาะสาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ) 7. คณะอัญมณี 8. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ การตรวจร่างกาย ทุกคณะ/สาขาวิชา ต้องตรวจร่างกาย ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน ชลบุรี
สรุปคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญ (ต่อ) คณะที่กำหนดเกรดขั้นต่ำ 2.00 ได้แก่1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เฉพาะสาขาวิชานิเทศศาสตร์2. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์3. คณะศึกษาศาสตร์4. คณะศิลปกรรมศาสตร์คณะที่รับเฉพาะเพศชาย1. คณะโลจิสติกส์ เฉพาะสาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ครั้งที่ 1(1) GPAX (ใช้ 4 ภาคเรียน) ร้อยละ 20 (2) คะแนนสอบ GAT / PAT (ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2)ร้อยละ 80 (3) สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ผ่าน/ไม่ผ่าน ครั้งที่ 2(1) GPAX (ใช้ 5 ภาคเรียน) ร้อยละ 20 (2) คะแนนสอบ GAT / PAT (ครั้งที่ 1,2 และ ครั้งที่ 3)ร้อยละ 80 (3) สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ผ่าน/ไม่ผ่าน มหาวิทยาลัยบูรพาจะพิจารณาตัดสินการคัดเลือกให้เฉพาะผู้ที่มีคะแนน จากการสอบครบทุกวิชาที่กำหนดเท่านั้น
การใช้คะแนน GAT PAT ในการคัดเลือก • ในการพิจารณาคัดเลือกจะใช้คะแนนที่สูงสุด • ตัวอย่างสอบครั้งที่ 1 สอบครั้งที่ 2 • GAT ได้ 200 - GAT ได้ 250- PAT 1 ได้ 230- PAT1 ได้ 110- PAT 2 ได้ 150 - PAT 2 ได้ 245 • เลือกใช้คะแนน - เลือกใช้ GAT จากการสอบครั้งที่ 2 คะแนน 250 - เลือกใช้ PAT 1 จากการสอบครั้งที่ 1 คะแนน 230 • - เลือกใช้ PAT 2 จากการสอบครั้งที่ 2 คะแนน 245
รายละเอียดรหัสวิชาสอบ GAT / PAT รหัส 85 GAT ความถนัดทั่วไป รหัส 71 PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ รหัส 72 PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ รหัส 73 PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ รหัส 74 PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ รหัส 75 PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู รหัส 76 PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ รหัส 77 PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส รหัส 78PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน รหัส 79PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น รหัส 80PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน รหัส 81PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ รหัส 82PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
การสมัครคัดเลือก การสมัครทางอินเตอร์เน็ต จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้สมัครได้ชำระเงินทางธนาคารแล้วเท่านั้น กรณีที่มีการสมัครและชำระเงินหลายครั้ง มหาวิทยาลัยบูรพา จะยึดใบสมัครครั้งหลังสุดที่มีการชำระเงินอย่างถูกต้อง
การสมัครคัดเลือก (ต่อ) เงื่อนไงการสมัครคัดเลือกสำหรับการรับตรง 1. ผู้ที่จะสมัครคัดเลือก ครั้งที่ 2 จะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาในการสมัครคัดเลือกในครั้งที่ 1 2. หากประสงค์จะสมัครคัดเลือก ครั้งที่ 2 จะต้องลาออกจากการเป็นนิสิต
ค่าธรรมเนียมการสมัคร และการชำระเงิน • - ค่าสมัครคัดเลือก 500 บาท • สามารถชำระเงินได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวงไทย และที่ทำการ • ไปรษณีย์ไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ตามเวลาเปิดทำการของแต่ละหน่วยงาน • - มหาวิทยาลัยบูรพา จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก มีสิทธิ์เข้ารับสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย
สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย หลักฐานในการเข้าสอบสัมภาษณ์1. ใบสมัครที่พิมพ์จากเว็บไซต์ (ฉบับที่นำไปชำระเงิน)2. ใบแสดงผลคะแนน GAT และ PAT3. สำเนาระเบียนผลการเรียน (ครั้งที่ 1 ใช้ 4 ภาคเรียน, ครั้งที่ 2 ใช้ 5 ภาคเรียน)4. สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน5. หลักฐานการเรียนวิชา รด. สำหรับผู้ที่สอบได้ในสาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ
ประกาศผลการคัดเลือกขั้นสุดท้ายประกาศผลการคัดเลือกขั้นสุดท้าย การรายงานตัวเข้าเป็นนิสิต
หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นในวันรายงานตัวหลักฐานที่ต้องนำไปยื่นในวันรายงานตัว 1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง 2. ใบ ปพ.1:4 หรือใบแสดงผลการเรียน ฉบับจริง และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง 3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ฉบับจริง และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง 4. ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล ( ถ้ามี ) ฉบับจริง และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง 5. รูปถ่ายติดบัตรแต่งเครื่องแบบนิสิต หรือสวมเสื้อเชิ้ตขาว (ไม่ใช่เครื่องแบบนักเรียน) หรือชุดสากลนิยม ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป เป็นรูปสี
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ประสงค์สมัคร Admission ผู้ที่รายงานตัวเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว หากประสงค์สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระบบกลาง Admissions ปีการศึกษา 2554 จะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอลาออกจากการเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพา ภายในเวลาที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยกำหนด ณ งานทะเบียนและสถิตินิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา หากไม่ดำเนินการลาออกดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ผู้สมัครหมดสิทธิ์ในการเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาตามประกาศของคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา
3. ประเภทรับตรงทั่วประเทศ15% ของนิสิตรับเข้าใหม่
โครงการเพชรตะวันออกรับสมัคร ช่วงเดือนมกราคม 2554 ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 038-102222 ต่อ 2643, 2710 เว็บไซต์ http://service.buu.ac.thโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทั่วประเทศรับสมัคร ช่วงเดือนมกราคม 2554 ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 038-102222 ต่อ 2643, 2710เว็บไซต์ http://service.buu.ac.th
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเพื่อให้การผลิตแพทย์ตามแผนลงทุนสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์อย่างรุนแรงในชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้กำหนดหลักการของการผลิตแพทย์ตามโครงการนี้ให้เป็นการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญคือหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเพื่อให้การผลิตแพทย์ตามแผนลงทุนสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์อย่างรุนแรงในชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้กำหนดหลักการของการผลิตแพทย์ตามโครงการนี้ให้เป็นการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญคือ 1) การคัดเลือกนักเรียนจากพื้นที่ 2) การฝึกปฏิบัติงานในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค 3) การให้กลับไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนในภูมิลำเนา และเพื่อไม่ให้เกิดการซ้อนทับพื้นที่ในการบริหารจัดการโครงการจึงให้แต่ละสถานบันรับผิดชอบในจังหวัดใกล้เคียงกับสถานที่ตั้งซึ่งคณะแพทยศาสตร์ได้รับผิดชอบเฉพาะในเขตภาคตะวันออกจึงรับนิสิตเพียง 9 จังหวัดในภาคตะวันออกเท่านั้นซึ่งประกอบไปด้วยสมุทรปราการนครนายกฉะเชิงเทราชลบุรีระยองจันทบุรีตราดปราจีนบุรีและสระแก้วซึ่งตรงกับการแบ่งเขตของกระทรวงสาธารณสุขในเขตที่ 3 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะแพทยศาสตร์ โทร 038-103153
ขอขอบคุณ อาจารย์ทุกท่านที่ร่วมรับฟังการชี้แจงในครั้งนี้ กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20131 โทร. 038-102222 ต่อ 2643, 2710โทรสาร 038-745794 http://service.buu.ac.th http://www.buu.ac.th